ss

25 มี.ค. 2554

กฎจราจร..ที่นักปั่นจักรยานทุกท่านควรทราบ

|0 ความคิดเห็น

กฎจราจร...มาตราที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่จักรยาน

พระราชบัญญติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

มาตรา 79 ทางใดที่ได้จัดไว้สำรหับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น

มาตรา 80 รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่จักรยานต้องจัดให้มี
1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
2) เครื่องห้ามที่ใช้การได้ดีเมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ในทันที
3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้าง หน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
4) โดยไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้าง หลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกส่องให้มีแสงสะท้อน

มาตรา 81 ในเวลาต้องเปิดไฟตาม มาตรา 11 หรือ มาตรา 61 ผู้ขัขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ต้องจุดโคมไฟแสงขาวหน้ารถเพื่อให้ผู้ขับขี่ หรือคนเดินเท้า ซึ่งขับรถหรือเดินสวนสามารถมองเห็นรถ

มาตรา 82 ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ็ยสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น

มาตรา 83 ในทางเดินรถไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยาน
1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
5) ขับโดยบรรทุกผู้อื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
6) บรรทุก หรือถือสิ่งของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

มาตรา 84 เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะนี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติตาม

Trainer คืออะไร?

|0 ความคิดเห็น

Trainer คืออะไร?

Trainer คือ อุปกรณ์ในการช่วยฝึกซ้อมจักรยานใช้เพื่อซ้อมได้ทุกเวลา กินเนื้อที่น้อย ให้ความหลากหลายในการฝึกซ้อมได้ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมความแข็งแกร่งเพื่อขึ้น เขาโดยเฉพาะ ซ้อมรอบขาเพื่อให้หัวใจทำงานได้ในระดับที่ต้องการ ซ้อมแบบพาวเวอร์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเหมาะสำหรับผู้มีเวลา ขี่จักรยานจริงน้อย ทำให้ไม่เสียโอกาสในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งตลอดเวลา หากจัดตารางซ้อมที่สม่ำเสมอ นักจักรยานจะสามารถวัดขีดความสามารถได้ เมื่อต้องซ้อมด้วยตารางซ้อมเดียวกันในครั้งต่อๆไป

การฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์ทัศนคติ ของการฝึกซ้อมจักรยานด้วยเทรนเนอร์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนจากความน่าเบื่อกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายและตื่นตัวกับตารางซ้อมใหม่ๆ ที่น่าสนใจ อีกทั้งซีดีแนะนำการฝึกซ้อมของต่างประเทศที่มีให้ตั้งแต่ผู้ที่ต้องการออก กำลังกายให้แข็งแรง จนถึงระดับสูง โดยเน้นทักษะเฉพาะอย่างให้เลือกตามความต้องการ ลองศึกษาเหตุผลต่างๆที่ต้องใช้เทรนเนอร์ และลองสอบถามผู้ที่ใช้เทรนเนอร์อย่างได้ผล แล้วค่อยไปศึกษาชนิดของเทรนเนอร์ที่เหมาะกับการฝึกซ้อมของแต่ละคน

เหตุผลที่ต้องใช้เทรนเนอร์• อยู่ กทม. ถนนอันตรายเกินกว่าจะซ้อมได้เต็มที่โดยไม่ต้องระวังอะไร
• มีจุดอ่อน เช่น ขึ้นเขาไม่ดี หรือไม่สามารถรักษาระดับการขี่ได้นานๆ ขี่ไม่คงเส้นคงวา
• ใช้เวลาน้อยแต่มีประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมสูง
• เลือกเวลาซ้อมได้ตามความจำเป็น ไม่เกี่ยวกับการเดินทางหรือเส้นทางที่ฝึกซ้อม
• จัดตารางซ้อมได้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนถึงระดับสูง
• ไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ได้อยู่ใกล้ครอบครัว เพียงแค่ไม่กี่ก้าวก็ซ้อมได้เต็มที่
• ไม่ต้องง้อเพื่อนที่มักจะเล่นตัวเพราะเราขี่ช้าไม่ทันใจ
• ฝนตก(อีกแล้ว) ฟ้ามืดเร็วหรือสว่างช้าในช่วงฤดูหนาว
• การฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์คนเดียว ทำให้มีสมาธิ มีความอดทนสูง ทนต่อความกดดันได้ดี

ใครบ้างที่ควรใช้เทรนเนอร์เอาล่ะ คราวนี้คุณลองถามตัวเองซิว่า กำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่หรือไม่ ?
• ชอบขี่จักรยานช่วงสุดสัปดาห์แต่มีเวลาจำกัดสำหรับการซ้อมระหว่างสัปดาห์
• เป็นคนติดบ้าน หรืองานยุ่งจนไม่มีโอกาสออกไปซ้อมขี่จักรยานนอกเมืองได้บ่อยๆ
• มักจะขี่ตามเพื่อนไม่ทันแม้จะขี่ด้วยกันทุกสัปดาห์
• เป็นผู้ที่มีนิวาสสถานอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ต้องพูดถึงสถานที่ๆจะขี่จักรยานได้ตามใจชอบ(คือไม่มี นั่นเอง)
• นอกจากจะมีเวลาน้อยแล้ว ยังหาเวลาออกนอกเมืองบ่อยๆไม่ได้ (คนที่บ้านถามทุกที เวลาจะออกไปขี่ข้างนอก)
• มักเจออุปสรรคไม่คาดฝัน เช่น ฝนตก รถติด รถเมล์ไม่เป็นมิตร พ่นควันใส่หน้าเรา ตกท่อกทม.
• ผู้ที่มีความกระตือรือล้นอยากขี่จักรยานได้ดีขึ้น ไล่ตามเพื่อนๆทัน และช่วยเพื่อนๆได้บ้าง
• เป็นคนที่ชอบเซอร์ไพรส์ให้เพื่อนๆประหลาดใจ (ไปทำอะไรมา ทำไมเก่งขึ้นผิดหูผิดตา)
• อยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ ที่ไม่มีภูเขา หรืออยู่ชานเมืองที่มีแต่ทางเรียบ อยากเปลี่ยนแนวทางการซ้อมบ้าง
• อยากซ้อมใจจะขาด แต่แถวบ้านไม่มีใครปั่นจักรยานพาซ้อมได้เลย
ไม่ ว่าคุณจะตอบใช่ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อก็ตาม หากคุณปลงใจที่จะให้เทรนเนอร์เป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้แล้วล่ะก็ คราวหน้าเราจะมาดูกันว่า เทรนเนอร์มีกี่ประเภท และแบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณกันค่ะ


ประเภทของ Trainer

Fluid Trainer (แบบแรงต้านจากของเหลว)เป็น เทรนเนอร์ที่โปรค่อนข้างจะนิยมกันมาก เป็นเทรนเนอร์ที่เงียบมาก เพราะแรงต้านได้จากชุดใบพัดที่อยู่ในกระเปาะที่บรรจุด้วยของเหลวประเภท น้ำมันความหนืดสูง ทำให้แรงต้านของเทรนเนอร์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นตามอัตราความเร็วรอบขาที่เราปั่น ยิ่งริบสูงความหนืดยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เทรนเนอร์ชนิดนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับตารางการฝึกซ้อมอินเทอวัลที่ค่อนข้าง หนัก เพื่อรักษาระดับอัตราการเต้นของหัวใจที่ค่อนข้างสูง

Magnetic Trainer (แบบแรงต้านเหนี่ยวนำแม่เหล็ก)
มี จุดเด่นที่สามารถปรับความหนืดเป็นขั้นๆได้ ทำให้เทรนเนอร์ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการฝึกขึ้นเขา ฝึกซอยรอบขาสูง ฝึกสปริ๊นท์ หรือแม้กระทั่งฝึกไทม์ไทรอัล สามารถปรับความหนืดได้ตามต้องการหรือความแข็งแรง การปรับความหนือของเทรนเนอร์ Minoura จะใช้วิธีปรับมุมของแม่เหล็กเพื่อให้เปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก เป็นระบบแบบง่ายๆหากใช้กับยางหน้าแล้วเสียงจะค่อยมาก ค่ายยุโรปมีการพัฒนาเทรนเนอร์แบบแรงต้านเหนี่ยวนำโดยใช้กระแสไฟฟ้า ด้วยการปรับค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก เทรนเนอร์เหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ช่วยวัดที่สามารถบอกความเร็ว รอบขา กำลังที่ใช้ (watt) รวมถึงการจับเวลา ในขณะที่บางแบรนด์สามารถตั้งโปรแกรมการซ้อมเองได้


Roller Trainer (แบบลูกกลิ้ง)
เทรนเนอร์ แบบลูกกลิ้งสำหรับนักจักรยานที่มีประสบการณ์ใช้งานได้ทั้งเสือหมอบ และเมาเท่าไบค์ ติดตั้งและเก็บง่ายไม่เปลืองที่ ทราบความเร็วด้วยเพราะล้อหน้าหมุนจากแรงสายพาน น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับใช้ในร่ม โดยเฉพาะบริเวณมีที่ยึดจับ เพื่อป้องกันล้ม ใช้ฝึกอินเทอวัลและปั่นเพื่อความฟิตได้เช่นเทรนเนอร์ทั่วไป


อุปกรณ์แนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ Trainer

Sweat Net ผ้าซับเหงื่อ แผ่นรองเหงื่อ ช่วยซับเหงื่อไม่ให้โดนเฟรมระหว่างซ้อม





Mat แผ่นรองเทรนเนอร์ช่วยลดเสียง ให้คุณขี่เทรนเนอร์ได้เงียบและป้องกันพื้นจากรอยขูดขีดและเปื้อนเหงื่อที่ หยดขณะออกกำลังเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการฝึกซ้อม
Gel Block อุปกรณ์หนุนล้อจักรยานเพื่อให้ได้ระดับราบ เมื่อประกอบกับเทรนเนอร์ให้ความรู้สึกเหมือนคุณกำลังขี่บนถนน

Heart Rate Monitors เครื่องวัดหัวใจ วัดความเร็วและระยะทาง บอกค่าชีพจรทั้งโซนต่ำและสูงพร้อมสัญญาณเตือน ช่วยให้การฝึกซ้อมของคุณเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณ: http://www.thaipixstories.com/

"ปั่นจักรยาน" เพื่อสาวออฟฟิศที่ฟิตแอนด์เฟิร์ม

|0 ความคิดเห็น


 
          สำหรับ คนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะกับสาวออฟฟิศอย่างเราๆ เวลาจะเลือกออกกำลังกายเพื่อให้ได้สุขภาพดีแต่ละที มักจะติดอยู่กับปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ และโอกาสที่เหมาะสม หลายคนจึงเลือกวิธีการเข้าฟิตเนสหรือเข้าคอร์สออกกำลังกายราคาแพง เพื่อความสะดวกสบายและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

          แต่ กีฬาที่หลายคนมองข้าม อย่างการปั่นจักรยานอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หากนำมาประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้สาวออฟฟิศหลายคนมีรูปร่างที่ฟิตแอนด์เฟิร์ม สุขภาพกายและจิตดีได้แบบไม่เสียสตางค์อีกด้วย

          คุณ ชลิตา จุลหาญกิจ นักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ให้ความรู้เกี่ยวกับการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพว่า "การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (Aerobic Exercise) ที่ ดีและมีประโยชน์ไม่แพ้การออกกำลังกายในแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษคือผู้ที่ออกกำลังกายจะได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรง ฟิต เฟิร์ม เกือบทุกส่วนของร่างกาย

          นอก จากนี้การได้หายใจเอาก๊าซออกซิเจนจากต้นไม้ข้างทางเข้าไปในร่างกาย ยังช่วยให้ระบบหลอดเลือด ปอด และหัวใจแข็งแรงดีกว่าการออกกำลังกายในห้องแอร์ตามฟิตเนสเซ็นเตอร์ ที่ได้รับแต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายไม่ต้องการ มิหนำซ้ำหากไปเจอใครที่เป็นหวัดก็อาจติดกันได้ทั้งห้อง"

          "การขี่จักรยานที่เหมาะสมนั้น ควรขี่อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน ซึ่งถ้าขี่ไปทำงานทุกๆ วัน ก็จะได้ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 10 ครั้ง (ไป - กลับ) แต่ก็ควรดูระยะทางและระยะเวลาในการขี่ด้วย ซึ่งจะต้องไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ให้ได้อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป ก็เพียงพอ การขี่จักรยานให้ฟิตแอนด์เฟิร์ม ต้องเน้นตรงที่การเกร็งแขนในส่วนกล้ามเนื้อฝ่ามือท่อนแขนล่างด้านหน้าแขน (Writst Flexor Muscle) ทำ ให้แขนเฟิร์มขึ้น กระชับขึ้น ช่วงขี่ต้องกำ ปล่อย มีจับ มีเบรก ทำให้กล้ามเนื้อต้องหดตัวซึ่งเป็นการออกกำลังกายในกล้ามเนื้อ ต้องคอยจับแฮนด์แล้วบ่าจะยกขึ้นโดยอัตโนมัติ ช่วยให้กล้ามเนื้อบ่า (Trapezious) แข็งแรงขึ้นเพราะเวลาจับแล้วไหล่จะเกร็งขึ้นโดยอัตโนมัติ"

          ด้านกินรี ดาร์ริงตัน ผู้บริหารสาววัย 41 ปี เป็นอีกหนึ่งคนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลรูปร่างของตัวเองที่เน้นเรื่องการออกกำลังกาย โดยใช้การขี่จักรยานไปทำงานอาทิตย์ละ 3 วัน กล่าวว่า "มาเริ่มห่วงเรื่องรูปร่างก็เมื่ออายุเลยเข้าเลข 3 ก่อนหน้านี้ทานอะไรก็ไม่อ้วน ใส่เสื้อผ้าได้สวย ขาแขนไม่มีเซลลูไลต์ แต่เดี๋ยวนี้เผลอไม่ออกกำลังกายแค่อาทิตย์เดียวเซลลูไลท์ที่ต้นขาด้านหลังก็ มีให้เห็น จึงพยายามเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างจริงจัง ช่วงแรกเลือกวิ่งจ๊อกกิ้งทุกวัน ก็รู้สึกดีนะคะ แต่สังเกตได้ว่ามันจะฟิตเฉพาะช่วงขา ประกอบกับสามีที่หันมาเริ่มสนใจขี่จักรยาน ก็ลองขี่บ้าง"

          "เมื่อ ก่อนเคยกลัวว่าขี่จักรยานแล้วน่องจะใหญ่ จึงปรึกษากับนักกายภาพบำบัดว่าขี่อย่างไรให้ได้หุ่นสวยเฟิร์ม ได้คำตอบว่าอยู่ที่การเลือกจักรยานที่เหมาะกับสรีระของเรา และที่สำคัญคือการปรับที่นั่งให้สูงโดยให้เท้าแตะพื้นถึง เวลาออกแรงปั่นจะได้ทำให้ต้นขาและน่องเรียวสวย และขี่ระยะแค่เพียง 16 กิโลเมตร ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่พอเหมาะไม่มากเกินไป ดิฉันจึงเลือกใช้การปั่นจักรยานมาทำงานเป็นการออกกำลังกายประจำวันไปเสีย เลย"

          นอกจากนี้ นักกายภาพบำบัดยังได้แนะนำเทคนิคกระชับสัดส่วน จากการปั่นจักรยานทั้ง 4 แบบมาฝากด้วย ดังนี้

          1. ปรับความสูงของเบาะนั่งเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนต้นขาด้านหน้า (Quadricep) ควรปรับเบาะให้สูงในระดับที่เท้าแตะพื้นได้ เมื่อขาถีบไปที่บันไดจนสุดแล้วเข่าเหยียดเกือบตรง (งอประมาณ 5 องศา) ท่านี้จะทำให้ไม่ต้องใช้กำลังของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ามากเกินไป ทำให้ไม่เมื่อย และได้กล้ามเนื้อต้นขาที่เรียวกระชับ เพราะถ้าปรับเบาะต่ำ กล้ามเนื้อจะต้องออกแรงในการถีบไปข้างหน้ามาก ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาเป็นมัดใหญ่ และทำให้เมื่อยเร็วขึ้น

          2. ปั่นจักรยานช่วยให้ต้นแขนกระชับ ขณะขี่จักรยานจะต้องออกแรงที่แขนเพื่อบังคับแฮนด์จักรยานให้อยู่นิ่งเพื่อ การทรงตัวที่ดี เกิดการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อแขน ส่งผลให้กล้ามเนื้อไหล่ส่วนหน้า (Anterior Deltoid), กล้ามเนื้อบ่า (Trapezius Muscle), กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า (Biceps Brachii), กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง (Triceps Brachii), กล้ามเนื้อแขนส่วนล่าง (Brachioradialis) แข็งแรง กระชับ และช่วยลดเซลลูไลต์ โดยเฉพาะถ้าขี่ในทางขรุขระก็จะทำให้แขนได้ออกกำลังมากขึ้น

          3. ปั่นจักรยานช่วยให้กล้ามเนื้อหลัง (Back Muscle) สวย เฟิร์ม ขณะขี่จักรยานกล้ามเนื้อหลังต้องเกร็งตัวเพื่อการทรงตัวตลอดเวลาที่ปั่น ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อคอด้านหลังกระชับ แข็งแรง และดูสวยงาม โดยเฉพาะตอนเข้าโค้ง ซึ่งถ้าเลี้ยวไปทางซ้ายก็ต้องเอี้ยวตัวไปทางขวาเพื่อทรงตัวให้รถไม่ล้ม ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อท้องบริเวณด้านข้าง (Trunk Lateral Flexor Muscle) ทำให้กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวและหน้าท้องกระชับแบนสวนได้รูป

          โดยผู้ขี่จะต้องปรับเบาะให้พอเหมาะที่ขายืนถึง ขณะขี่หากเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไปด้วยเล็กน้อย ก็จะช่วยให้หน้าท้องส่วนบน (Upper Abdomen) และกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่าง (Lower Abdomen) กระชับและแบนสวยมากขึ้นด้วย

          4. ปั่นจักรยานช่วยให้จิตใจที่แจ่มใส ตื่นตัว และเป็นหนุ่มสาวขึ้น ขณะปั่นจักรยานตาต้องมองไปข้างหน้าและรอบข้าง หูก็ต้องฟังเสียงรถและสิ่งรอบข้างเช่นกัน ซึ่งเป็นการฝึกประสาทสัมผัสทั้งทางสายตาและหูไปในตัว เมื่อตาเห็นหรือหูได้ยิน กล้ามเนื้อและข้อ (Muscle & Joints) ก็ ต้องทำงานทันที เช่น เมื่อเห็นหลุมก็ต้องเบรก หลบหรือเตรียมตัวลงหลุมโดยประคองจักรยานไม่ให้ล้ม ทำให้ประสาทตื่นตัวได้ดีขึ้น ส่งผลให้รู้สึกคล่องแคล่วว่องไว กระฉับกระเฉง ตื่นตัว และแจ่มใสขึ้นทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
 
ที่มา:หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

2 มี.ค. 2554

Bar End (บาร์เอนด์) อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

|1 ความคิดเห็น
Bar End  (บาร์เอนด์) อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
 

Bar End อุปกรณ์ที่หลายคนอาจมองข้ามแต่อีกหลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งอยู่ส่วนปลายของแฮนด์ ที่บางครั้งอาจมองเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับรถคันเก่งของคุณ บางคันใส่บางคันไม่ใส่ทำไมถึงไม่ใส่แล้วถ้าใส่จะมีประโยชน์อะไร คงขอบอกว่ามีประโยชน์แน่นอน หากรู้จักที่จะใช้เพราะจักรยานเสือภูเขาที่ใช้แฮนด์แบบตรงน้ำหนักตัวจะกดมาที่มือมากกว่าแฮนด์แบบยก และมีตำแหน่งในการวางมืออยู่เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อเราปั่นจักรยานเป็นระยะทางยาว ๆ (บางคนปั่นไปไม่นานก็มีอาการแล้ว) จะเกิดความเมื่อยล้าที่หลังหรือชาที่มือขึ้นได้หากเราไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางมือบ้าง การใส่บาร์เอนด์จึงถือเป็นการเพิ่มตำแหน่งในการวางมือจับแฮนด์ ให้เราได้เปลี่ยนอิริยาบถของลำตัวและการจับแฮนด์
                บาร์เอนจะสร้างประโยชน์ให้อย่างมากทั้งในทางเรียบและทางชัน ด้วยท่าการจับที่ต่างกัน ในทางเรียบการจับที่แฮนด์แนวของฝ่ามือจะอยู่เป็นแนวเดียวกันกับแฮนด์เมื่อทอดตัวลงหมอบแขนจะอยู่ใต้ลำตัวทำให้ลงได้ไม่ต่ำมาก ส่วนการจับที่บาร์เอนแนวของฝ่ามือจะตั้งกับแฮนด์ช่วยให้แขนอยู่ด้านข้างการทอดลำตัวไปข้างหน้าหมอบลงได้มากขึ้นหัวไหล่เคลื่อนไหวได้คล่องตัวกว่า แขนไม่บีบหน้าอกช่วยให้การหายใจคล่องขึ้นอีกด้วย เมื่อเรายืนโยกไม่ว่าจะในช่วงทางราบหรือทางชันการจับที่บาร์เอนจะช่วยให้เรามีแรงกดมากขึ้นเพราะเราจะยกตัวได้สูงขึ้นกว่าการจับที่แฮนด์ทั้งยังให้ความมั่นคงมากกว่า เพราะท่าทางในการจับที่ต่างกัน น้ำหนักจะถูกถ่ายไปที่ด้านหน้าช่วยลดแรงเสียดทานที่ล้อหลังเมื่อนั่งปั่นขึ้นทางชันการจับที่บาร์เอนด์จะช่วยให้ถ่ายน้ำหนักมาด้านหน้าด้วยการดึงที่บาร์เอนด์
                การเลือกใช้ในเรื่องของขนาด รูปทรง ความยาวและผิวจึงขึ้นอยู่กับความชอบและความพอดีของแต่ละคน สำหรับคนมือใหญ่การใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดเล็กคงไม่เหมาะนักเพราะจะจับได้ไม่ถนัดมือ คนที่มือเล็กการใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดใหญ่เกินไปก็จะทำให้จับได้ไม่มั่นคง ควรเลือกแบบที่กำแล้วพอดีกับฝ่ามือ บาร์เอนด์แต่ละยี่ห้อจะมีรูปทรงและขนาดต่างกันออกไป แต่ที่เหมือนกันนั่นคือเป็นแท่งติดที่ปลายแฮนด์ มีทั้งแบบตรงตั้งฉากกับแฮนด์ ตรงเฉียงเข้าด้านในตรงขึ้นไปแล้วช่วงปลายงอเข้ามีความยาวที่แตกต่างกัน รูปทรงที่มีทั้งกลมตลอด กลมเป็นร่องรูปคลื่น วงรี เหลี่ยมขอบมน ผิวเรียบมัน มีลายบ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ วัสดุที่นำมาผลิตมีตั้งแต่เหล็ก อะลูมิเนียม ไปจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์และล่าสุดเป็นยางที่ให้ความนุ่มมือมากขึ้น สำหรับอะลูมิเนียมมีหลายสีให้เลือก ทั้งยังมีน้ำหนักเบาไม่หนีคาร์บอนไฟเบอร์
                สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตั้งบาร์เอนด์ตั้งแต่แรก ต้องดูก่อนว่าแฮนด์ของคุณมีความกว้างอยู่เท่าไหร่ หากเป็นแฮนด์เดิม ๆ ที่ยังไม่เคยตัดเลยก็ไม่มีปัญหา โดยปกติแฮนด์จะมีความกว้างมากกว่าหัวไหล่อยู่แล้ว ถ้าหากเป็นแฮนด์ที่ตัดแล้วต้องดูว่ามีความยาวพอหรือไม่ เพราะบาร์เอนด์จะกินเนื้อที่ของแฮนด์จากส่วนปลายเข้าไปประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทำให้ต้องเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน เนื่องจากแฮนด์ทุกแบบช่วงกึ่งกลางของแฮนด์จะป่องออกมาแล้วจึงค่อย ๆ เล็กลงโดยเฉพาะแฮนด์ที่เป็นแบบ Over Size จะป่องออกมามาก การเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านจึงมีขีดจำกัด ดังนั้นก่อนที่จะหาบาร์เอนด์มาใส่ต้องลองดูก่อนว่าจะสามารถเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปได้เท่าไหร่หากคุณตัดแฮนด์โดยใช้ขนาดความกว้างเท่ากับหัวไหล่แล้วคงต้องแนะนำให้เปลี่ยนแฮนด์หรือตัดปลอกแฮนด์เท่านั้น การเลือกที่จะตัดเฉพาะในกรณีที่ปลอกแฮนด์ยาวเกินมือออกมาแต่ต้องไม่กระทบกับการจับแฮนด์ในท่าปกติ ตำแหน่งการวางมือต้องไม่แคบกว่าหัวไหล่เป็นอันขาด เนื่องจากจะทำให้จับแฮนด์ไม่ถนัดและการหายใจจะไม่ค่อยสะดวก นอกจากนี้ยังส่งผลให้หน้ารถไวควบคุมยาก
                การติดตั้งบาร์เอนด์ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงรุ่นมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน สวมบาร์เอนด์เข้ากับแฮนด์ให้ขอบด้านนอกของบาร์เอนด์อยู่พอดีกับปลายแฮนด์ ให้บาร์เอนด์ทำมุมกับพื้นประมาณ 10-45 องศา ขึ้นอยู่กับความชอบ ความพอดีและวัตถุประสงค์ของแต่ละคนว่าจะเน้นไปทางไหน หากต้องการเน้นไปในทางเรียบก็ตั้งให้เอนไปด้านหน้า(ทำมุมน้อย) หากเน้นไปในทางขึ้นเขาชันก็เอนมาหาตัว (ทำมุมมาก) แต่ต้องไม่ตั้งจนเกินไปเพราะจะทำให้น้ำหนักไม่ถ่ายไปด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่างคือต้องขันให้แน่นไม่เช่นนั้น เวลาเรากระชากหรือยืนโยกอาจจะรูดได้นั่นหมายถึงการเจ็บตัวแน่ แต่ต้องระวังอย่างขันแน่นจนเกินที่กำหนด เพราะอาจจะทำให้ขาของบาร์เอนด์หักหรือแฮนด์แตกได้ ส่วนใหญ่บาร์เอนด์จะหักก่อน นอกจะจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ดูสวยงามอีกด้วย..

บทความที่เกี่ยวข้อง :

>>   อัพเดททิศทางของรถ Cross Country ปี 2011 จากงาน Eurobike 2010

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง