ss

17 ก.ค. 2555

ทำไมนักจักรยานต้องโกนขนหน้าแข้ง

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับ  เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าเวลาที่เราดูการแข่งขันจักรยาน มักจะเห็นนักจักรยานมีหน้าแข้งที่เกลี้ยงเกลา ไร้ซึ่งเส้นขนให้รำคาญสายตา และเคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าทำไมนักจักรยานระดับโปรเหล่านั้นจึงต้องโกนขนหน้าแข้ง วันนี้ผมมีเหตุผลดี ๆ มาเพื่อคลายความสงสัยกันครับ




  • เพื่อให้ง่ายต่อการนวดคลายกล้ามเนื้อ อันนี้เป็นความจริงครับโดยส่วนใหญ่แล้วนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่มักจะนวดคลายกล้ามเนื้อขาของตนด้วย แป้งซึ่งแป้งในที่นี้ก็คือแป้งที่เราใช้ทาตัวหลังอาบน้ำนั่นแหละครับยี่ห้ออะไรก็ได้ ผมก็นวดด้วยแป้งเช่นกันครับ ลองนึกดูนะครับถ้าเราไม่โกนขนหน้าแข้งออกเวลาเรานวดมันจะเจ็บ เพราะราวกับว่าเราดึงขนหน้าแข้งของตนเองทุกวันแต่พอเราโกนมันออกแล้ว ลื่นเลยครับนวดได้อย่างคล่องตัว แต่หากเป็นสุภาพสตรี อาจไม่ประสบกับปัญหานี้เพราะผู้หญิงโดยส่วนมากจะไม่มีขนหน้าแข้งครับ
  • ทำให้ง่ายต่อการรักษาความสะอาด เพราะเวลาเราปั่นจักรยานตามท้องถนนนั้นจะมีฝุ่น และสิ่งสกปรกมากมายเช่น ฝุ่น, คราบน้ำมัน เป็นต้น หากเรามีขาที่ปราศจากขนแล้ว มันจะทำให้ขาของเรายากต่อการที่พวกฝุ่น และควันต่างๆ จะมาเกาะ และยังมีประโยชน์มากหาก เพื่อนๆ เป็นนักปั่นจักรยานเสือภูเขา เพราะเวลาเพื่อนๆ ปั่นไปในเส้นทางที่ค้อนข้างรก หรือปั่นไปในป่าแล้วอาจจะเจอหนามของต้นไม้เกี่ยวขนหน้าแข้งทำให้เราบาดเจ็บได้ ซึ้งถ้าหากเราโกนขนหน้าแข้งออกแล้ว หนาม หรือกิ่งไม้จึงไม่สามารถเกี่ยวขนเราได้ครับ
  • ง่ายต่อการรักษาบาดแผลเวลาเราเกิดอุบัติเหตุ จากการปั่นจักรยาน เพราะแผลถลอกที่เกิดจากการล้มเวลาเราปั่นจักรยานนั้นหากจะทำให้หายเร็วนั้นเราต้องหมั่นรักษาความสะอาด และใส่ยาทุกวัน ซึ่งในเรื่องนี้ผมมีประสบการณ์มาแล้วครับสมัยที่ยังปั่นจักรยานอยู่ หากเราไม่รักษาความสะอาดของแผลเป็นประจำ จะทำให้แผลนั้นหายช้ามากเราจึงต้องล้างแผล และทายาทุกวันครับจึงจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น

ประวัติการแข่งขันจักรยาน ตูร์เดอฟรองซ์

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ช่วงนี้เป็นฤดูการแข่งจักรยาน ที่คนทั่วโลกกำลังจับจ้อง เกาะขอบสนามหรือขอบจอกันอยู่ เพื่อรอดูการแข่งขันจักรยานระัดับโลกที่เรียกว่า การแข่งจักรยาน ตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France) ที่ผมเืชื่อว่า เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนก็กำลังใจจดใจจ่อกับผลการแข่งขันแต่ละสนามอยู่เป็นแน่แท้  และเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม วันนี้ผมจึงนำบทความเกี่ยวกับการกำเนิด การแข่งขันจักรยาน ตูร์เดอฟรองซ์ มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกันครับ สำหรับท่านที่ทราบแล้วก็ถือเป็นการทบทวนก็แล้วกันนะครับ -_- 


ประวัติการแข่งขันจักรยาน ตูร์เดอฟรองซ์
Tour de France หรือ ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยาน ทางไกลที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการก่อตั้ง และจัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ 1903 โดย Henri Desgrange และหนังสือพิมพ์ ออโต้แอล โดยจะมีการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีใน ประเทศฝรั่งเศส ประมานเดือน กรกฎาคม ในการแข่งขันจักรยานรายการนี้จะใช้ระยะทางรวมในการแข่งขันนั้นมากกว่า 3,000 กิโลเมตร โดยชาวฝรั่งเศสถือว่า การแข่งขันจักรยาน รายการนี้มีชื่อเสียงที่สุดในโลกรายการหนึ่ง โดยในปี 2009 มีสถานีโทรทัศน์กว่า 78 สถานี ซึ่งได้มีการถ่ายทอดการแข่งขันจักรยานตูร์เดอฟรองซ์ ไปใน 170 ประเทศทั่วโลก

ความเป็นมาของการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์


ในปลายศตวรรษที่สิบเก้า ในประเทศฝรั่งเศสการแข่งขันกีฬาจักรยานถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ชื่อ ปิแอร์ Giffard พวกเขาได้สนับสนุนทางด้านการเงิน, การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ของพวกเขา ในปี 1900 ผ่านตัวแทนของพวกเขา โดยพวกเขาเลือก Henri Desgrange เพื่อสร้างหนังสือพิมพ์สำหรับรายงานการแข่งขันกีฬาจักรยาน ซึ่งมีชื่อว่า "L' Auto - VELO" โดย Henri Desgrange กับ หนังสือพิมพ์ดังกล่าว ได้เริ่มจัดการแข่งขัน จักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์ ขึ้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม ค.ศ 1903 โดยประกาศว่าเราจะสร้างการแข่งขันจักรยาน "ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดขึ้น คือ ตูร์เดอฟรองซ์" โดยการแข่งขันได้เปิดตัวขึ้นในเดือน กรกฎาคม ในปีเดียวกัน ซึ่งส่งผลทำให้ยอดขายของหนังสือพิมพ์ ออโต้แอล เพิ่มขึ้นอย่างสูง และยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้

10 ก.ค. 2555

การรับประทานอาหารสำหรับนักจักรยาน

|0 ความคิดเห็น
การรับประทานอาหารสำหรับนักจักรยาน
อาหารมื้อก่อนการแข่งขัน 

สิ่งที่บางคนต้องการสำหรับการเตรียมตัวแข่งขันและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ อาหารก่อนการแข่งขัน อาหารมื้อก่อนการแข่งขันกีฬาที่ใช้พลังงานอย่างมากจนถึงปานกลางนักกีฬาควรกินอาหารก่อนการแข่งขัน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารได้เคลื่อนไปที่กระเพาะและนำสู่กระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย แต่หากมีความกังวล ความเครียด กลัว หรือโกรธ ก็อาจทำให้กระเพาะทำงานช้ากว่ากำหนดได้ ซึ่งทำให้อาหารตกค้าง อยู่ในกระเพาะและลำไส้ ดังนั้นขอให้ยึดหลักง่าย ๆ ว่า อาหารก่อนการแข่งขันควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและเป็นประเภทแป้ง เช่น ขนมปัง โจ๊ก ข้าวต้ม ไม่ควรเป็นอาหารที่ย่อยยาก เช่น อาหารที่มีโปรตีนหรือไขมันสูง อย่างไรก็ดีก็ต้อง คุ้นเคยกับอาหารก่อนแข่งด้วย และที่สำคัญต้องดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ


ส่วนกีฬาที่ใช้เวลาในการแข่งขันสั้นไม่จำเป็นต้องกินอาหารก่อนแข่ง เนื่องจากพลังงานที่ใช้ในกีฬาประเภทนี้ใช้น้อย จึงสามารถใช้พลังงานที่สะสมอยู่แล้วในกล้ามเนื้อ สำหรับนักกีฬาที่ต้องใช้เวลาในการแข่งขันมากควรกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตมาก เพื่อสะสมไกลโคเจนไว้ในกล้ามเนื้อให้มาก ไม่ควรดื่มกาแฟและแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน เพราะอาจทำให้ปัสสาวะมาก และการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน สำหรับนักกีฬาจักรยาน อาหารมื้อก่อนแข่งขันยึดหลักว่าควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อจะได้ย่อยหมดไปก่อนการแข่งขัน อาหารที่เข้าหลักนี้คือ อาหารที่มีไขมันต่ำและมีปริมาณโปรตีนไม่มากนัก เพิ่มอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น อาหารมื้อหลักควรกินก่อนการแข่งขัน 3-4 ชั่วโมง อาหารว่างกินได้ 1-2 ชั่วโมงก่อนแข่ง อาหารที่เหมาะแก่การบริโภคในมื้อก่อนแข่งจึงควรเป็นอาหารธรรมดา ที่ถูกหลักโภชนาการ โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เช่น พริกไทย กะหล่ำปลี ผักดอง ซึ่งจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายท้องหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรืออาหารที่มีรสหวานมาก เลือกรับประทานอาหารให้ถูกจังหวะกับการแข่งขัน และควรเป็นอาหารที่นักกีฬาคุ้นเคย ไม่ควรจะอดอาหารก่อนการแข่งขันถ้ารู้สึกไม่อยากอาหาร อาจเปลี่ยนจากอาหารปกติมาเป็นอาหารเหลวได้ ซึ่งนอกจากจะง่ายต่อการย่อยแล้ว ยังจำเป็นสำหรับการเสริมพลังงานแก่ร่างกายได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย



อาหารระหว่างการแข่งขัน 

ปกตินักกีฬาจะไม่รับประทานอาหารในระหว่างแข่งขันเพราะจะมีปัญหาเรื่องการย่อยยกเว้นในกีฬาบางประเภท เช่น การแข่งจักรยานประเภทถนนที่แข่งกันครั้งละหลาย ๆ ชั่วโมง อาหารส่วนใหญ่ที่นักกีฬาจะกินได้จึงเป็นรูปของเครื่องดื่มที่มีกลูโคสหรือสารคาร์โบไฮเดรตตัวอื่น ๆ 
สำหรับเครื่องดื่มเหล่านี้ควรระวังไม่ให้มีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป เพราะจะมีปัญหาเรื่องการดูดซึมและเกิดอาการท้องอืด แน่น จุก เสียด หรือ คลื่นไส้อาเจียน ความเข้มข้นของน้ำตาลไม่ควรเกิน 25 % ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก ถ้าคิดในแง่ของการเสริมพลังงานผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าแทน โดยเฉพาะในการแข่งขันที่ไม่นานเกินกว่าหนึ่งชั่วโมงครึ่ง การสูญเสียพลังงานและเกลือแร่ยังไม่มากนัก ดื่มน้ำเปล่าชดเชยก็เพียงพอ แต่การแข่งขันที่ยาวนานกว่านั้น การดื่มเกลือแร่อาจเข้ามามีบทบาท ทั้งน้ำเปล่าและเกลือแร่ควรแช่เย็นก่อนรับประทานจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนระอุในร่างกายอันเกิดจากการออกกำลังกาย



อาหารหลังการแข่งขันควรเป็นอย่างไร

การกินอาหารหลังการแข่งขันไม่มีข้อจำกัด เพียงแต่พยายามกินชดเชยพลังงานที่ใช้ไปตลอดจนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปในระหว่างการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น การแข่งขันที่ใช้เวลานาน เช่น วิ่งมาราธอน จักรยานทางไกล ก็ต้องกินอาหารที่มี าร์โบไฮเดรตสูงและมีปริมาณเกลือแร่เพียงพอ โดยเฉพาะโปตัสเซียม ซึ่งมีมากในผลไม้ประเภทส้ม กล้วย และในเมล็ดถั่ว การกินอาหารชดเชยไม่ใช่กินเพียงมื้อเดี่ยวจะได้ แต่จะ ต้องใช้เวลา 2 - 3 วัน กว่าจะมีการสร้างและสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อกลับคืนสู่สภาพเดิม

5 ก.ค. 2555

จอร์จ ฮินคาพี ประกาศแขวนล้อแล้ว

|0 ความคิดเห็น
คำพูดว่าต่อให้เก่งแค่ไหนก็ต้องแพ้สังขารเข้าสักวันยังเป็นจริง ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยและกับทุกวงการ หลังจากเพื่อนรัก แลนซ์ อาร์มสตรอง ประกาศเลิกแข่งจักรยานอาชีพไปแล้วก็ถึงตา จอร์จ  ฮินคาพี เพื่อนร่วมทีมที่เคยบุกบั่นฝ่าฟันด้วยกันมาตั้งแต่อยู่ทีม ยูเอสโพสเติล เซอร์วิส ซึ่งประกาศว่าจะเลิกแข่งจักรยานอาชีพแน่ในเดือนสิงหาคมนี้ และตูร์ เดอ ฟร็องที่จะเริ่มในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมปีนี้คงจะเป็นตูร์ฯ ครั้งสุดท้ายของเข้าด้วย


“ไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายเลยครับ ผมต้องเลิกทั้งที่ยังแข่งได้อยู่ การแข่งจักรยานอาชีพได้นานถึงสิบเก้าปีนี้เป็นสิ่งที่ไม่นึกไม่ฝันมาก่อนเลย แต่ผมก็อยากจะมีเวลาอยู่กับลูก ๆ บ้าง พวกเขาต้องโตขึ้นมาโดยทีพ่อแทบจะไม่มีเวลาอยู่บ้านเลย ต้องแข่งจักรยานตลอด” ฮินคาพี กล่าวถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญ

จากประวัติการแข่งขันจักรยานของเขา จอร์จ  ฮินคาพี เป็นนักจักรยานอเมริกันที่สร้างเกียรติประวัติไว้มากที่สุดคนหนึ่ง ในฐานะลูกทีม เขาเป็นส่วนสำคัญในชัยชนะของ แลนซ์ อาร์มสตรอง ทั้งเจ็ดครั้ง รวมทั้ง อัลแบร์โต คอนทาดอร์ และ คาเดล อีแวนส์ หลังจากการแข่งจักรยานอาชีพมา 19 ปี เขาคือสุดยอดนักจักรยานประเภทคลาสสิค จากการคว้าชัยชนะรายการแข่งขัน เกนต์-เวเวลเฮ็ม ในปี 2001 และคูร์เน่อะ-บรุสเซล-คร์เน่อะ ในปี  2005 ในปีเดียวกันนั้นเช่นกันที่เขาครองที่ 2 จากการแข่งคลาสสิกปารีส์-รูเบและชนะในคริเตเรียม ดู ดอฟีนและตูร์ เดอ ฟร็องซ์ รายการและสองสเตจ เป็นผู้ชนะในไทม์ ไทรอัลประเภททีมสามครั้งจากตูร์ฯ และชนะในสเตจขึ้นเขา ปลา ดา เดต์ ด้วยในปี 2005

เขาเป็นลูกทีมผู้มีส่วนสำตัยในการลาก คาเดล อีแวนส์ จนครองแชมป์ตูร์ฯ ปี 2011 เมื่อเขาพลาดจากเสื้อเหลืองไปเมื่อสองปีก่อนหน้านั้น ฮินคาพีเคยชวนอีแวนส์มาเข้าทีม BMC ในดิวิชั่น 2 ที่กำลังดีวันดีคืน อีแวนส์กล่าวหลังจากทราบข่าวแขวนล้อของฮินคาพีว่าเขาอยากให้เพื่อนตัดสินใจเสียใหม่
หลังจากเพื่อนรัก แลนซ์ อาร์มสตรอง ประกาศแขวนล้อ ฮินคาพีก็ย้ายจากมีมเดิมมาอยู่โคลัมเบีย-ไฮ โรด และ BMC ซึ่งเป็นการกลับมาพบกับ จิม โอโซวิคส์ ผู้นำเขามาสู่ทีมจักรยานอาชีพคือโมโตโรลเมื่อปี 1994 โอโวชิคส์กล่าวถึงฮินคาพีว่า “จอร์จเป็นนักจักรยานระดับดาราคนแรกที่เชื่อมั่นในทีม BMC เขานำเราสู่สามปีแห่งการแข่งประเภทคลาสสิคและในระดับแกรนทัวร์ทั้งในตำแหน่งหัวหน้าและลูกทีม ผมภูมิใจที่เขามาเริ่มอาชีพนักแข่งจักรยานกับผมในทีโมโตโรล่าเมื่อปี 1994 และยังได้เห็นเขาแข่งจนเลิกแข่งไป รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เห็นเขาแข่งตั้งแต่ต้นจนจบ จอร์เป็นสุดยอดนักจักรยานเท่าที่อเมริการเคยมีมาจริง ๆ ครับ”

ถ้าฮินคาพีวางแผนไว้ว่าจะเริ่มตูร์ฯ ในวันที่ 30 มิถุนายน นี้ที่เมืองลิเอจ เบลเยี่ยม นั่นจะเป็นสถิติใหม่ของเขาคือการเริ่มตูร์ เดอ ฟร็องซ์ได้ 17 ครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ทำสถิติไปแล้วทั้งทัวร์ ออฟ ฟลานเดอร์ส และปารีส์-รูเบ

ที่มาบทความ นิตยสาร Sport Street

น้ำหนักของจักรยาน เรื่องที่มืออาชีพควรใส่ใจ

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมไปเจอบทความเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักของจักรยาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ที่คิดได้หลายแง่หลายมุม จะว่าซีเรียสก็ใช่ จะว่าไม่ซีเรียสก็ไม่เชิง ซึ่งสำหรับท่าน ที่ปั่นจักรยานเล่น ๆ ออกกำลังกาย ไม่ได้เจาะจงต้องใช้แข่งขันก็คงไม่ซีเรียสหรือคิดมากกับน้ำหนักของจักรยานที่ท่านใช้อยู่ แต่สำหรับมืออาชีพที่เป้าหมายแข่งขันเป็นหลัก ก็คงจะไม่สนใจกับน้ำหนักจักรยานคงไม่ได้แล้ว เพราะสิ่งนี้ก็เป็นตัววัดผลแพ้ชนะได้เช่นเดียวกัน หากฝีมือฝีเท้าใกล้เคียงกัน  ส่วนสำหรับท่านที่มีเงินถุงเงินถังจะอัพไปใช้จักรยานเบา ๆ แพง ๆ ใช้ก็ไม่ว่ากันนะครับ ...


กลับมาเข้าเรื่องน้ำหนักของจักรยานกันดีกว่า สำหรับบทความนี้ต้องยกเครดิตให้กับเวป thbike.blogspot.com ตามมารยาทผมลงลิ้งค์ให้ท้ายบทความแล้วนะครับ สำหรับบทความดี ๆ เชิญอ่านกันได้เลยครับ...

หากเราจะพูดเรื่องน้ำหนักของจักรยาน กันแล้วหลายคนคงนึกถึงจักรยานที่มีราคาแพง ๆ รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบประกันขึ้นมาเป็นจักรยาน 1 คัน วันนี้ผมจึงมาเล่าถึงประสบการณ์เล็กน้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวครับ



หลายครั้งที่เราออกไปปั่นจักรยาน กับกลุ่มเพื่อนๆ แล้ววันไหนหากเพื่อนในกลุ่มเรา คนใดคนหนึ่ง ซื้อจักรยานมาใหม่หลายคนคงสงสัยว่า จักรยานของเขาจะหนักสัก กี่กิโลกลัม แล้วเขาซื้อมาด้วยราคาเท่าไหล่ (นึกในใจ!! มันชั่งสวยงามอะไรเช่นนี้) หากเราไม่ใช่คนมีฐานะ ร่ำรวย เราคงคงต้องนึกอยู่แล้วครับว่า (หากเราได้จักรยานแบบเขามาขี่สักคัน เราคง ปั่นได้เร็วและแรง น่าดู!!) บางคนไปหาซื้อของมาตกแต่งจักรยานของตน หาอะไรต่อมิอะไร มาเปลี่ยน ทั้งที่ของเดิมที่ใช้อยู่ก็ยังสภาพ เกิน 80% หรือแทบจะไม่มีอะไรสึกหลอเลย แต่ก็อย่างว่าละครับ มันอยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละคน หากท่านไหนพอจะมีฐานะ หน่อยก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ เขาก็ใช้เงินสมกับฐานะทางสังคมของเขา แต่ก็มีอีกหลายคน เช่นกันครับ ที่ตามๆ เขาไปทั้งที่กำลังทางการเงินของตัวเอง ก็เดือนชนเดือน อยู่แล้ว ต่างคนก็ต่างจิต ต่างใจครับ

ผมมีเรื่องเรานิดหน่อยครับ ตอนที่ผมจะประกอบรถของผม คือคันที่ผมใช้ขี่อยู่ทุกวันนี้ สักหน่อยครับ ตอนแรกผมก็หาข้อมูลจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ต อยู่นานพอสมควรครับ โดยผมจะค่อยๆ ซื้อมาประกอบทีละชิ้นเลยละครับ คือตอนนั้นผมไม่มีเงินก้อน ที่จะซื้อมาประกอบที่เดียวทั้งคัน ผมเลยซื้อมาเดือนละชิ้น สองชิ้น ก็ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนกว่าๆ ครับ กว่าผมจะได้ขี่จักรยานคันนี้ หมดเงินไปประมาณ สี่หมื่นกว่าบาท แต่อะไหล่ทุกชิ้นที่ผมซื้อมา ล้วนแต่คุณภาพสมราคาครับ แถมไปซื้อของเขาบ่อยๆ เขาก็ลดราคาให้แบบผมไม่ต้องต่อลองราคาเลยครับ

เบาะจักรยานเบาๆ

ส่วนเรื่องน้ำหนักของอะไหล่แต่ละชิ้น ยิ่งเบาราคาก็ยิ่งสูงครับ โดยส่วนตัวผมจะเลือก อะไหล่จักรยาน ที่มีราคากลางๆ ไม่สูงเกินไป ผมขอยกตัวอย่างตอนที่ผมจะหาซื้อเบาะจักรยาน คันที่ผมใช้อยู่นะครับ ยี่ห้อ A ราคา 6,000 บาท น้ำหนัก 200 กรัม ยี่ห้อ B ราคา 1,200 บาท น้ำหนัก 250 กรัม เป็นคุณจะเลือกยี่ห้อไหนครับ แต่ตัวผมเลือก ยี่ห้อ B ครับ เพราะว่าผมคิดว่า น้ำหนักต่างกันแค่ 50 กรัม ราคามันไม่น่าจะต่างกันราวฟ้ากับเหว เช่นนี้ ส่วนเรื่องยี่ห้อ ไม่ได้กินผมหลอกครับ เพราะผมไม่สนเลยครับ ผมสนแต่คุณภาพเท่านั้น หลายอย่างของดีไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป ครับ ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของดีไม่แพงแล้วกันนะครับ นั่นคือกางเกงสำหรับปั่นจักรยาน ครับ ผมเคยใช้ของนอกยี่ห้อหนึ่ง ผมไม่บอกยี่ห้อแล้วกันครับเดี๋ยวเขาจะได้รับความเสียหาย ผมใช้ไม่กี่เดือนก็ยานแล้วครับ ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงภาพถุงเท้านักเรียน ที่มันหมดสภาพเอาครับ เหมือนกันไม่มีผิดเลยครับ ผมเลยกลับไปใช้ของประเทศเราผลิตเองยี่ห้อ "กุ้งทอง" หลายคนอาจจะงง ครับว่า กางเกงปั่นจักรยาน ยี่ห้อดังกล่าว มันมีอยู่ในโลกนี้ด้วยหรอ ผมขอตอบแบบไม่เขินเลยครับ ว่ามีครับ และหลายคนอาจจะสงสัยอีกว่าแล้ว จะหาซื้อได้ที่ไหนกันหละ!! ไม่ต้องกลัวครับผมบอกเลยแล้วกัน ผมไปซื้อที่ร้าน "โกเหลียง" ครับซึ่งร้านของพี่เขาอยู่แถวลาดพร้าว 101 ครับ ผมใส่ทั้งชุดครับ ยี่ห้อนี้หมด มันถูกใจผมตรงที่ กางเกง 300 บาท เสื้อ 120 บาท (ราคานี้ สมัย 2 - 3 ปีที่แล้วครับ) ความทนไม่ต้องพูดถึงครับใช้กันจมลืมเลยละครับว่าซื้อมาตอนไหน

ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับน้ำหนักของจักรยานนั้น ก็ไม่ใช้เรื่องใหญ่อะไรมากมายครับ เราแค่เลือกน้ำหนักแล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคา และคุณภาพครับ ว่ามันเหมาะสมกันหรือเปล่า สุดท้ายแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความพึงพอใจ แล้วก็เงินครับ สุดท้ายครับ จักรยานจะเทพขนาดไหน แต่เจ้าของขี้เกียจฝึกซ้อมเสียแล้ว ดังนั้นน้ำหนักรถเบาๆ จะมีประโยชน์เช่นไรครับ 



ที่มาบทความ thbike.blogspot.com

ประโยชน์ทางการแพทย์จากการขี่จักรยาน

|0 ความคิดเห็น


ประโยชน์ทางการแพทย์จากการขี่จักรยาน

โดยปกติแล้วคนที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ถ้าเดินในอัตราส่วนประมาณ 3 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง (เดินเร็ว) จะใช้พลังงานไป 2.3-60 = 138 กิโลแคลอรี่ต่อการเดิน 1 ชั่วโมง 
(เท่ากับการเผาผลาญข้าวกระเพราะไก่ไข่ดาว 1 จาน) แต่ถ้าขี่จักรยานในอัตราประมาณ 
10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะเผาผลาญสารอาหารและใช้พลังงานในปริมาณไล่ๆ กับการ
เดิน 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่นหมายความว่าประโยชน์จากการขี่จักรยานก็คือการ
เผาผลาญและการใช้พลังงาน ทำให้ลดอัตราการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

นอกจากนั้นการขี่จักรยานอย่างต่อเนื่องจึงเป็นการออกกำลังแบบแอโรบิคที่มีผลทำให้
หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อเนื่อง
ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น ซึ่งรวมถึงเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยง
กล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะสำคัญในร่างกาย ได้แก่ สมอง ไต ลดการเก็บสะสมตะกรัน
ไขมันในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ดังนั้นจึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันในอวัยวะ
สำคัญที่กล่าวข้างต้น

นอกจากนั้นการขี่จักรยานยังเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ช่วยระบบการหายใจ 
เพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอดให้
ดีขึ้นและยังเพิ่มระดับของฮอร์โมนแอนดอร์ฟินอันจะช่วยลดความเครียดในร่างกายให้
ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ

การออกกำลังกายโดยการขี่จักรยานเสือภูเขา เป็นกิจกรรมที่เข้าถึงธรรมชาติที่ดี ได้รับ
อากาศที่มีมลพิษน้อยลงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแน่นอน การขี่จักรยานขึ้นลงเขาถือ
เป็นการออกกำลังแบบแอโรบิคที่หนัก เพราะต้องใช้พลังงานมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ
หัวใจในคนที่หัวใจแข็งแรงอยู่แล้วจึงเหมาะที่จะปั่นจักรยานเสือภูเขาจะทำให้หัวใจ
แข็งแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ คล้ายๆ กับการเล่นเทนนิส ฟุตบอล สมรรถภาพระบบหัวใจ
และปอดจะดีขึ้นอย่างเด่นชัดหากว่าคุณขี่จักรยานเสือภูเขาเป็นประจำ การขี่จักรยาน
เสือภูเขา ปีนเขา ไตรกรีฑา เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหนัก ผู้ที่สามารถเล่น
กีฬาประเภทนี้ได้ จำเป็นต้องมีสมรรถนะหัวใจและปอดดีเยี่ยมถึงจะมีความปลอดภัย

สำหรับการขี่จักรยานแล้วยังได้ประโยชน์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพราะได้
ยืดเส้นยืดสาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอว สะโพก ทำให้ป้องกันปัญหาปวดกล้าม
เนื้อขาได้ดี

ผู้ที่เริ่มขี่จักรยานใหม่ๆ มีข้อควรระวังดังนี้


เบาะที่นั่ง(อาน) จะต้องเหมาะกับสรีระของร่างกาย ไม่ควรนิ่มมากเกินไป เพราะจะทำ
ให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นขาได้ แต่ก็ไม่ควรแข็งเกินไปเพราะจะกระแทกกล้ามเนื้อก้น 
อักเสบง่ายและทำให้เมื่อยล้า

ความสูงของเบาะกับขาถีบ ควรมีความสัมพันธ์กับความยาวของขาของผู้ถีบ เมื่อถีบ
จนสุดควรให้องศาของเข่า เท่ากับแนวตรงของขาไม่เกิน 150 องศา ไม่เช่นนั้นจะทำ
ให้ปวดกล้ามเนื้อขาและเมื่อยล้าง่าย 

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today  โดย 
นพ.ชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์ 

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง