ss

13 ส.ค. 2555

จักรยาน LITESPEED C3 2012

|0 ความคิดเห็น

จักรยาน LITESPEED C3 2012

LITESPEED C3 2012
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาแนะนำจักรยาน Litespeed ที่ผลิตจากวัสดุที่ทำจาก Carbon Fiber กันครับ ศาสตร์แห่งการทำจักรยานโดยใช้วัสดุที่เรียกว่า Titanium มีไม่กี่แบรนด์หรอกครับ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุดแห่งความแข็งแกร่งและทรงคุณค่า หนึ่งในแถวหน้าของผู้ผลิตไททาเนียม ปฏิเสธไม่ได้ว่า Litespeed คือหนึ่งในนั้น มีถิ่นกำเนินจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1986 โดย David Lynskey เขาเริ่มจากโรงกลึงเล็ก ๆ Southeast Machine ในเมือง Ooltewah รัฐแทนเนสซี่ ธุรกิจเล็ก ๆ เกิดจากงาน Custom Bike และงาน  Hand made จนได้รับความไว้วางใจจากทีมแข่งหลาย ๆ ทีม ต่อมา Litespeed ค่อย ๆ โตขึ้นขยับขยายจากรถที่ผลิตแค่ Titanium ก็มีรถที่ผลิตจากอลูมิเนียม ไปจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์ Litespeed เคยเป็นรถที่ Lance Armstrong เลือกใช้ให้เป็นรถ Time trials ในการคว้าแชมป์ Tour de France ครั้งแรกของเขาในปี 1999 และ Robbie McEwen ในยุคปี 2002 สังกัดทีม Lotto Adecco ก็ใช้รถ Litespeed Vortex เป็นเจ้าความเร็ว คว้าเสื้อเขียวในการแข่งขั้น Tour de France หลังจากนั้น Litespeed ไม่ใช่รถที่รู้จักเฉพาะวงการเสือภูเขาเพียงอย่างเดียว รถเสือหมอบก็ได้รับการยกย่องและไว้วางใจ Litespeed พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างรวดเร็ว

LITESPEED C3 2012
ปัจจุบัน Litespeed เป็นหนึ่งในเครือบริษัท American Cycle Group ที่ผลิตรถ Merlin/ Quintana Roo/ อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตเฟรมไทเทเนียมหั้กบแบรนด์จักรยานดัง ๆ หลายแบรนด์ และเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมแข่งต่าง  ๆ ผลงานที่โดดเด่นคือ การได้รับชัยชนะ The World Cup ITU Triathlon Champion นออกจากจะผลิตจักรยาน Litespeed ยังเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานอวกาศให้องค์การ NASA อีกด้วย

ด้วยชื่อเสียงที่การันตีมีดีในเรื่อง ไททาเนียม แต่ในยุค 2012 คาร์บอนไฟเบอร์คือเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด Litespeed จึงตอบสนองความต้องการนี้ตั้งแต่ปี 2010 และ Litespeed ไม่ได้โดดเด่นเฉพาะวัสดุที่ผลิตจาก Ti แต่เพียงอย่างเดียว Carbon Fiber Litespeed ก็ไม่เป็นรองผู้ผลิตระดับชั้นนำแต่อย่างใด ถึงเวลาแล้วที่เราจะไปรู้จักกับเจ้า Litespeed C3 Ultegra ตัวจริงเสียงจริงกันเสียที

Litespeed เพิ่มขีดความสามารถให้กับคาร์บอน

Series C เป็นการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักปั่นที่หลงใหล และชื่นชอบความเร็วแบบราบเรียบโดยเฉพาะรูปทรงเจ้า Series C ออกแนวแอร์โรไดนามิก Aero Logic Windproof คือ เทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยของ Litespeed  แล้วนำมาออกแบบเฟรมทรงลู่ลม รวมถึงหลักอานและตะเกียบหน้าที่สามารถลดแรงต้านทานจากลมได้ถึง 20 วัตต์ หรือได้มากกว่าเฟรมทั่ว ๆ ไปถึง 16% โดยทำการทดสอบในอุโมงค์ลมที่  Charlotte’s A2 wind tunnel และได้รับการยืนยันจากนิตยสาร Triathlete Magazine ที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการทดสอบรถอีกด้วย

Reactive Pressure Molding หรือ RPM

คือเทคโนโลยีในการผลิตเฟรมคาร์บอนของ Litespeed ที่นำมาใช้กับรถใน C Series เป็นกรรมวิธีในการหล่อเฟรมคาร์บอนด้วยแรงดัน โดยใช้กระเปาะลมดันรูปทรงจากภายใน ช่วยให้เฟรมมีความหนาที่สม่ำเสมอกัน ให้ความแข็งแรงและน้ำหนักเบา
ไม่ธรรมดาเลยครับกับสรรพคุณของเจ้า C Series คันนี้ เมื่อดูภายนอกเจ้า C3 ดูดุดันสะอาดตา สีเทาด้านผสมลวดลายกราฟฟิกที่ลงตัว ขนาดเฟรม Size M ท่อบน Top tube  54cm ท่อนั่ง Seat tube 50cm ใช้ Carbon Super Modulus (30t) Full Aero Suite ถ้วยคอขนาด 1/1/2” 1/1/8” กะโหลก BB 30 หลักอานแอร์โรออกแบบพิเศษ เฟรมรองรับการติดตั้งระบบเกียร์ไฟฟ้า Di2 ตัวถังยังรับประกันตลอดอายุการใช้งานอีกด้วย

ชื่อก็บอกแล้วครับว่า C3 Ultegra ชุดขับเคลื่อนส่วนใหญ่จะเป็น Shimano Ultegra ตั้งแต่ชุดซิปเตอร์ / เบรก / ตีนผี / โซ่ / เฟือง 12-25 /ยกเว้นขาจานเป็น PSA BB30 Energy Cranks ชุดคอมโพเน้นท์ ยังคงเป็นของ FSA ชุดแฮนด์ FSA Wing Compact ขนาด 40cm สเตม FSA OS-150 ความยาว 100 mm เบาะเลือกติดตั้ง Fizik Arione เข้ากับชุดผ้าพันแฮนด์ของ Fizik เช่นกัน ชุดล้อไว้วางใจ Fulcrum Racing 5 Litespeed C5 Ultegra

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับสเปคเจ้า Litespeed C2 Ultegra 2012 ตัวนี้ เห็นแล้วสวยงามและน่าจับจองไม่เบาเลย สำหรับในบ้านเรามีตัวแทนนำเข้ามาจำหน่ายกันแล้ว หากเพื่อน ๆ สนใจหรืออยากทดลองตัวเป็น ๆ ลองติดต่อไปทาง บ. TCA ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายกันได้ครับ ..โชคดีมีความสุขกันทุกท่านครับ

ขอบคุณบทความบางส่วนจาก นิตยสาร RACE BICYCLE


8 ส.ค. 2555

TREK Domane 6.2 นวัตกรรมสำหรับคนพิเศษ

|0 ความคิดเห็น
TREK Domane 6.2 นวัตกรรมสำหรับคนพิเศษ

TREK Domane 6.2
การพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดไม่หยุดแค่ปัจจุบัน แต่มันคืออนาคต คือคติของผู้ผลิตที่ไม่ยึดติดกับอดีตและเพิ่มขีดความสามารถกับผู้ปั่น เรากำกลังพูดถึงผู้ผลิตจักรยานรายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง Trek และสิบปี ที่ Trek สร้างความแปลกใหม่ให้แก่วงการและยกระดับมาตรฐานของผู้ผลิตจักรยานให้มากกว่าแค่คำว่าดี แต่ต้องดีกว่า การพัฒนารถเพื่อนักแข่งชั้นยอดเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อโลกได้สร้างคนที่ชื่อ Lance Arm Strong การคว้าแชมป์ Tour de France 7 สมัย บนจักรยาน Trek เพียงแบรนด์เดียวเท่านั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารถเพื่อบรรลุเป้าหมายของการแข่งขันโดยนำมาตรฐานรถที่ใช้ในการแข่งขัน มาเป็นรถที่ขายทั่วไปในท้องตลาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่นิยมชมชอบรถ Trek มาก ยิ่งขั้นฮีโร่ไม่ได้มีเพียงแค่ Lance Arm Strong เพียงคนเดียว หลายนักกีฬาดาวเด่นผู้ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้ Trek ต้องพัฒนารถของตนเป็นเลิศ ภายใต้ชื่อ Trek Madone แต่นักกีฬาที่ทำให้ Trek ต้องยอมออกรถมาเพื่อเค้าซึ่งมากกว่าการทำสีพิเศษ มันไม่ง่ายเลยที่ Trek จะยอมคิดค้นรถมาเพื่อตอบสนองการทำงานในแบบที่เหมาะสมกับเส้นทางการแข่งขัน หากผู้นั้นไม่ได้มีชื่อว่า Fabian Cancellara

ใช่แล้วครับรถที่เกิดมาเพื่อ Fabian Cancellara ต้องไม่ธรรมดา ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าของวงการรถถนนเลยทีเดียว ด้วยผลงานการแข่งขับแบบ One Day Race ที่โดดเด่น เรียกว่า The Classic อย่างเช่น Paris Roubaix/ Tour of Flander/ Strade Bianche เป็นต้น Fabian Cancellara ได้รับฉายาว่า นักรบสปาตัน ซึ่งก่อนหน้าที่ Trek ก็ได้ออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเค้าบน Madoe 6.0 ssl Project One Spartacus เท่านั้นยังไม่พอ Trek ได้สร้างรถที่เกิดมาเพื่อนักรบในตำนานที่เกิดมาเพื่อรับบทโหดในทุก ๆ เส้นทางของ The Classic มันถูกเรียกว่า Domane
TREK Domane 6.2


เจ้า Domane ถูกจับคู่กับ Fabian Cancellara ลงสนามแข่งขันรายการ Strade Bianche เส้นทางที่เต็มไปด้วยหิน Pave หรือหิน Cobble คือเส้นทางโบราณที่ใช้สัญจรในสมัยอดีต Trek ปิดเป็นความลัยเงียบสนิทสื่อต่าง ๆ แทบไม่รู้เรื่องนี้กันมาก่อน ความมาแตกตอนที่ Fabian Cancellara คว้าแชมป์รายการนี้อย่างขาดลอย ด้วยเทคโนโลยีที่ไม่แน่ชัดทิ้งไว้กับความประหลาดใจทั่วทั้งวงการ หลังจบการแข่งขั้น Strade Bianche ทุกสื่อต่างขุดคุ้ยตามล่าหาความจริงว่าเจ้ารถคันดำ ๆ ที่ Fabian Cancellara คว้าแชมป์มันมีชื่อว่าอะไร ทำจากคาร์บอนเกรดไหน มันทำงานยังไง เพื่อให้หายสงสัยหลังจากนั้นไม่นานการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเจ้า Domain ก็จัดขึ้นที่ประเทศเบลเยี่ยมสร้างความประหลาดใจให้กับทุกสื่อ เมื่อได้รู้ว่าหัวใจของเจ้า Domane คือระบบ ISO Speed

ISO Speed: Trek ใช้เวลาค้นคว้าตลอดระยะเวลา 2 ปีเต็ม เพื่อสู้กับเจ้าหิน Pave หรือหิน Cobble คำตอบอยู่แค่ต้องทำระบบกันสะเทือนหรือระบบซับแรงกระแทก ที่สามารถเอาชนะอุปสรรค์ที่มากกว่ารถถนนทั่ว ๆ ไป แนวคิดที่แตกต่างเริ่มจากการแยกท่อนั่งออกจากตัวถัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ บังเอิญวิศวกร Trek คิดได้และก็ทำได้ด้วย การแยกชิ้นระหว่างท่อนั่ง กับท่อนอน แยกกันเป็นอิสระ โดยมีวงแหวนที่เปรียบเสมือนบูช ยึดทั้งสองจุดนี้ไว้ด้วยกัน โดยมีแผ่นยางกันกระแทกอยู่ด้านหน้า เมื่อทั้งสองส่วนถูกผนวกเข้าด้วยกัน ระบบ ISO ก็จะพร้อมทำงาน ทุก ๆ ครั้งที่มีการกระแทกจากด้านล่าง โดยผู้ปั่นจะต้องนั่งอยู่บนอานแนวท่อนั่งที่ส่งตรงจากหลักอานไปจนถึงท่อล่างของเฟรม มันสามารถรับแรงกระแทกด้วยการให้ตัวไปด้านหลังถึง 43.66%

ระบบ ISO Speed ไม่ได้มีแค่ระบบท่อนั่งกับหลักอ่านแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีระบบรับแรงกระแทกที่ตะเกียบหน้า ออกแบบมาพิเศษแนวโค้งซึ่งมุมองศาต่างจาก Trek Madone 1 cm เพื่อซับแรงกระแทกและรักษาสมดุลในขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง บนพื้นถนนที่ไม่ราบเรียบ ตามติดด้วยระบบ Power Transfer Construction= E2;Down Tube ;BB90 ; Rear Whell connection: คอ E2 มุมองศา Endurance Fit เพิ่มความชันจากมุมอาศา H2 เล็กน้อย และลดขนาดคามยาวที่ Chain Stay เมื่อเทียบกับรถ Madone ซึ่งยังคงใช้กะโหลกแบบ BB90 ที่ Seat Stay and Chain Stay เพิ่มความแข็งแรงให้กับท่อที่ใหญ่กว่าและกว้างรองรับความแข็งแรงได้มากกว่า ด้วยเหตุผลเรื่องความแข็งแกร่งเจ้า Domane เลือกใช้คาร์บอน OCLV 600 ที่ออกแบบมาพร้อมกับระบบ 3S Integrated Chain Keeper คือตัวกันโซ่ตก ที่เน้นความสำคัญเมื่อต้องเจอการกระแทกแบบหนักหน่วง ลดปัญหาโซ่ติดได้เป็นอย่างดี Trek Domane ได้ออกแบบระบบเดินสายที่ท่อใหม่หมด และยังคงติดตั้งระบบ Duo Trap ไว้ที่ Chain Stay เหมือนเดิม

นอกเหนือจากนี้ Trek Domane ยังมาพร้อมกับชุดแฮนด์ Bontrager Carbon Iso Zonebar ที่เซาะร่องสำหรับใส่เจลหรือใยผ้าที่นุ่มกระซับเมื่อสัมผัสกับแฮนด์ ล่าสุด Trek Domane คว้าแชมป์ในรายการ Paris Roubaix รุ่น U23 จากหนุ่มน้อยวัน 19 ปี Bob Jungels ซึ่งถึงแม้รุ่นใหญ่อย่าง Fabian Cancellara จะไม่ได้ลงแข่งเพราะเกิดอุบัติเหตุในการแข่งขัน Tour of Flander ไปก่อนหน้านี้

เอาละครับนี่เป็นประวัติที่มาของเจ้า TREK Domane 6.2 แบบคร่าว ๆ ให้พอรับรู้กันไว้ ส่วนบททดสอบตัวรถ เราจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป โชคดีมีความสุขในการปั่นจักรยานครับ...

ขอบคุณบทความบางส่วนจาก นิตยสาร RACE BICYCLE

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง