ss

10 ต.ค. 2553

การบีบรัดดีหรือไม่ ทำไมพวกนักจักรยานมือโปรชอบทำกัน ?

การบีบรัดดีหรือไม่ ทำไมพวกนักจักรยานมือโปรชอบทำกัน ?

          ถึงการบีดรัดอวัยวะบางส่วน จะถูกเชื่อว่าเป็นผลดีด้วยเหตุผลบางอย่างแต่แพทย์ก็ยังไม่แนะนำให้ทำ เมื่อปี 2001 นี้เองที่นักวิทยาศาสตร์อังกฤษกลุ่มหนึ่งที่กลับมาแนะนำให้บีบรัดกล้ามเนื้อไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเป็นลิ่มระหว่างการโดยสารเครื่องบินทางไกล
          สมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาชื่อ Skins ในปี 2007 แล้วเพื่อผลิตอุปกรณ์ทำนองนี้ แต่ดูเหมือนว่า แลนซ์ อาร์มสตรอง จะทำให้การบีดรัดเป็นกระแสได้มากกว่าเมื่อมีหลายภาพข่าวที่แสดงว่าเขาใช้ถุงเท้ายาวรัดกล้ามเนื้อขึ้นมาถึงเขาในตูร์เดอฟร็องซ์ 2009 การใช้ของประเภทนี้ของแลนซ์ทำให้ใคร ๆ โดยเฉพาะนักจักรยานที่จริงจังมุ่งหวังประสิทธิภาพหันมามองด้วยความคิดว่ามันคงดีแน่ถ้าจะทำอย่างนี้เพราะแม้แต่แลนซ์เองก็ยังใช้
          นานมาแล้วที่เสื้อผ้าผลิตด้วยผ้าสแปนเด็กซ์แนบเนื้อถูกออกแบบมาให้เพิ่มพูนสมรรถนะ และช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นสภาพได้รวดเร็วคือกระแสหลักของเสื้อผ้ากีฬา นักกีฬาทั่วไปมักจะสวมถุงเท้าหรือเสื้อผ้าเพื่อบีบรัดกล้ามเนื้อสั่งทำพิเศษมาด้วยระดับของการบีบรัดมากน้อยแตกต่างกัน ด้วยแนวความคิดว่าเสื้อผ้าชนิดนี้จะค่อยๆ บีบรัดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือดจากกล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักกลับสู่หัวใจได้เร็วกว่า เพื่อให้ร่างกายผู้สวมใส่ได้ขจัดของเสียออกไปทางระบบย่อยสลายสารอาหาร (ระบบเมตาบอบิสซึ่ม) ได้เร็วกว่าเดิม ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นสภาพได้เร็ว นักกีฬาโดยเฉพาะนักจักรยานมักจะสวมถุงเท้าบีบรัดกล้ามเนื้อไว้ด้วยหลังการขี่ทางไกล ๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็ว แต่ด้วยการประดิษฐ์กางเกงจักรยานที่บีบรัดได้ในตัวสำเร็จ จึงมีแนวโน้มว่านักจักรยานจำนวนมากขึ้นหันมาใช้กางเกงแบบนี้กัน
          เจ้าหน้าที่ในทีมจักรยานหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ Skins มากขึ้นจนทำให้มันกลายเป็นอุปกรณ์บีบรัดกล้ามเนื้อยอดนิยมไปในเวลาอันสั้น พวกเขาสวมถุงเท้ารัดน่องยาวทั้งขาไปและขากลับจากการแข่งหลาย ๆ รายการ แม้แต่สวมมันนอนด้วยซ้ำ มีหลายคนที่อ้างว่ากล้ามเนื้อรู้สึกอ่อนล้าน้อยลงเมื่อสวมกางเกงสแปนเด็กซ์บีบรัดนี้ ถ้ามันดีพอสำหรับแลนซ์มันก็น่าจะดีสำหรับคนอื่นด้วยหรือเปล่า ?
          ใครจะใช้แล้วบอกว่าดีก็เรื่องหนึ่ง แต่การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ลงตัว ยังสรุปไม่ได้ว่าการสวมกางเกงรัดหรือถุงเท้ายาวถึงเขารัดน่องจะเป็นผลดีช่วยพยุงกล้ามเนื้อได้จริง ๆ หรือมันจะช่วยเร่งการไหลเวียนของเลือดยังไม่มีใครมายืนยันได้แน่นอน รายงานการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในนิตยสารอินเตอร์เนชั่นแนลเจอร์นัลออฟสปอร์ตส์ฟิซิโอโล จี แอนด์เพอร์ฟอร์แมนซ์ พบว่าการใช้กางเกงรัดกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มพละกำลังกล้ามเนื้อได้จริง เพิ่มได้ทั้งความทนทานต่อการก่อตัวของกรดแลคติคและเพิ่มประมาณออกซิเจนให้กล้ามเนื้อได้ด้วย สำหรับนักจักรยานทางไกล แต่กลับไม่พบว่าช่วยให้นักแข่งไทม์ ไทรอัล ทำเวลาดีขึ้นเลย แต่พอมาดูกันที่การฟื้นตัวแล้วกลับพบว่าได้ผลน่าพอใจมากกว่า ในปี 2007 กลุ่มนักวิจัยในนิวซีแลนด์พบว่าถุงเท้าบีบรัดนี้ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อขาหลังออกกำลังได้ดีมากสำหรับนักวิ่งทางไกล
          มีหลักฐานหลายอย่างที่บ่งบอกว่าการบีบรัดกล้ามเนื้อน่าจะใช้ได้ ตัวอย่างคือ จอร์จ ฮินคาพี นักจักรยานฝีเท้าจัดชาวอเมริกัน  และมีกิจการผลิตเสื้อผ้าจักรยาน ก็โดดเข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วยกับเสื้อผ้าบีบรัดกล้ามเนื้อด้วยชื่อว่า R3 Performance Compression Socks และไท (ถุงเท้ายาวคล้ายถุงน่องเต็มตัวของสตรีแต่เนื้อหนาและบีบรัดมากกว่า) พอฮินคาพีเป็นหัวหอกก็มีอีกหลายบริษัท ที่เข้ามาร่วมวงด้วยคือ 2XU ที่ปัจจุบันนี้ผลิตกางเกงแบบบีบรัด ที่เหลือก็คือซูกอย ซึ่งเริ่มความคิดเรื่องการบีบรัดมาก่อนใคร ๆ ถึง 20 ปี เพียงแต่ไม่เน้นโฆษณา และเซนซาฮ์ที่ผลิตอุปกรณ์บีบรัดมานานจนเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักไตรกีฬา จะว่ากันจริง ๆ แล้วคงต้องบอกว่านักกีฬายังช้ากว่าสาวออฟฟิศ เพราะพวกเธอรู้จักถุงน่องซัพพอร์ทที่ใช้หลักการเดียวกันนี้มานานกว่าพวกเราเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง