ss

18 ส.ค. 2554

จักรยานกับ Cro-Moly ตอนที่ 3 (จบ)

วิธีสังเกตว่าเฟรมเหล็กกับโครโมลีจะแตกต่างกันอย่างไร คงต้องดูที่มีสติ๊กเกอร์แปะไว้หรือหากไม่มี ก็ต้องใช้วิธีชั่งน้ำหนักที่ตัวเฟรมเปล่า ๆ โดยเฟรมที่ทำจากโครโมลีจะมีน้ำหนักเบากว่าเฟรมเหล็ก หรือดูด้วยตาก็เพียงถอดหลักอานแล้วมองดูที่เฟรมโดยตัวถังเหล็กจะมีความหนามากกว่า อีกทั้งโครโมลียังเป็นสนิมได้ยากกว่าด้วย


สำหรับข้อดีของโครโมลีคือ ด้วยตัวเฟรมเปล่าของโครโมลีนั้นมีน้ำหนักเบามากกว่าเฟรมอลูมิเนียม ส่งผลให้เกิดแรงเฉื่อยได้มากกว่าเฟรมอลูมิเนียม เหมาะสำหรับการขี่บนถนนเรียบที่ยาวไกลและคงสภาพความเร็วสม่ำเสมอ รถไหลไปได้นานกว่าเฟรมที่เบา ช่วยให้มีเวลาพักแรกกดบันได อีกทั้งโครงรถจักรยานยังซับแรงกระแทกได้ดีไม่กระด้างอย่างอลูมิเนียม นุ่มนวลขึ้นรูปง่าย เนื้อเหนียวทนทาน  สามารถออกแบบท่อให้มีความบางทำให้สร้างเฟรมที่มีน้ำหนักเบาได้ ยิ่งถ้าหากเป็นเฟรมเกรดสูง ๆ ด้วยนั้นจะมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับไททาเนียม ด้วยเหตุนี้โครโมลีจึงนิยมกันอยู่ในรถประเภทที่ต้องการความแข็งแรง ปั่นเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลอย่างจักรยานทัวริ่งแต่สำหรับเสือภูเขาเรซซิ่งจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากเฟรมโครโมลีให้ตัวมากกว่าวัสดุอย่างอลูมิเนียม ส่งผลให้รถเกิดอาการดิ้นได้เมื่อลงแทร็ก 


ข้อด้อยที่มองข้ามไม่ได้ก็คือเรื่องของน้ำหนักที่ทำให้เกิดแรงเฉื่อย แต่จะเสียเปรียบด้านการออกตัวกว่าเฟรมที่มีน้ำหนักเบาอย่างอลูมิเนียม การดูแลรักษาผิววัสดุก็ยากกว่า เนื่องจากเฟรมโครโมลีสามารถเกิดสนิมขึ้นได้ และปัจจุบันเฟรมที่ทำจากคาร์บอนนั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ดีขึ้น ราคาที่ถูกลง ทำให้เฟรมท่อโครโมลีเป็นที่นิยมน้อยลง ในส่วนการดูแลรักษา ซึ่งปกติเฟรมโครโมลีจะทนต่อการเกิดสนิมกว่าเฟรมเหล็ก แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้ เบื้องต้นของการไม่ให้เกิดสนิมก็เพียงแค่หาน้ำมันเอนกประสงค์อย่างน้ำมันจักร หรือ WD40 ฉีดตามบริเวณรูปลายท่อเฟรมหรือถอดหลักอานแล้วฉีดเข้าไปภายในให้ทั่ว เท่านี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้แล้ว 


สุดท้ายนี้ ถึงเฟรมโครโมลีจะมีน้ำหนักที่เสียเปรียบกว่าเฟรมที่ทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาอย่างอลูมิเนียม ไททาเนียม หรือคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ถ้าหากหมั่นฝึกซ้อมบ่อย ๆ ก็สามารถชนะคู่แข่งได้ไม่ยาก อย่างนักแข่งระดับโลก Tony Rominger ที่เจาะจงใช้เฟรมเหล็กของ Colnago ทำสถิติโลกในการปั่น 1 ชั่วโมง ในปี 1994 ด้วยความเร็วเฉลี่ย 55.291 กิโลเมตร/ชั่วโมง ชนะรถจักรยานที่ใช้เฟรมคาร์บอนที่ใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยตัวเฟรมแบบ Monocuque ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าอย่างขาดลอย  จะเห็นได้ว่าเฟรมโครโมลี ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักปั่นหลาย ๆ กลุ่ม ที่ยังอนุรักษ์และหลงใหลกับเฟรมโครโมลีอย่างไม่เสื่อมคลาย หากเพื่อน ๆ สนใจอยากได้เฟรมโครโมลีมาใช้ลองหา ๆ ดูตามร้านจักรยาน หรือที่ประกาศขายมือสองกันครับ...


บทความที่เกี่ยวข้อง:


2 ความคิดเห็น:

  • ไม่ระบุชื่อ says:
    13/11/59 03:50

    Tange 5 คืออะไรครับขอข้อมูลด้วยครับผม

  • Unknown says:
    17/11/62 03:17

    เห็นด้วยว่าเฟรมโครโมลี่​ปั่นสนุกเเละรู้สึกว่าหนึบดีเวลาลงเขาจะนิ่งกว่าอะลูมีเนียม

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง