ss

25 มี.ค. 2554

Trainer คืออะไร?

Trainer คืออะไร?

Trainer คือ อุปกรณ์ในการช่วยฝึกซ้อมจักรยานใช้เพื่อซ้อมได้ทุกเวลา กินเนื้อที่น้อย ให้ความหลากหลายในการฝึกซ้อมได้ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมความแข็งแกร่งเพื่อขึ้น เขาโดยเฉพาะ ซ้อมรอบขาเพื่อให้หัวใจทำงานได้ในระดับที่ต้องการ ซ้อมแบบพาวเวอร์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเหมาะสำหรับผู้มีเวลา ขี่จักรยานจริงน้อย ทำให้ไม่เสียโอกาสในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งตลอดเวลา หากจัดตารางซ้อมที่สม่ำเสมอ นักจักรยานจะสามารถวัดขีดความสามารถได้ เมื่อต้องซ้อมด้วยตารางซ้อมเดียวกันในครั้งต่อๆไป

การฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์ทัศนคติ ของการฝึกซ้อมจักรยานด้วยเทรนเนอร์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนจากความน่าเบื่อกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายและตื่นตัวกับตารางซ้อมใหม่ๆ ที่น่าสนใจ อีกทั้งซีดีแนะนำการฝึกซ้อมของต่างประเทศที่มีให้ตั้งแต่ผู้ที่ต้องการออก กำลังกายให้แข็งแรง จนถึงระดับสูง โดยเน้นทักษะเฉพาะอย่างให้เลือกตามความต้องการ ลองศึกษาเหตุผลต่างๆที่ต้องใช้เทรนเนอร์ และลองสอบถามผู้ที่ใช้เทรนเนอร์อย่างได้ผล แล้วค่อยไปศึกษาชนิดของเทรนเนอร์ที่เหมาะกับการฝึกซ้อมของแต่ละคน

เหตุผลที่ต้องใช้เทรนเนอร์• อยู่ กทม. ถนนอันตรายเกินกว่าจะซ้อมได้เต็มที่โดยไม่ต้องระวังอะไร
• มีจุดอ่อน เช่น ขึ้นเขาไม่ดี หรือไม่สามารถรักษาระดับการขี่ได้นานๆ ขี่ไม่คงเส้นคงวา
• ใช้เวลาน้อยแต่มีประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมสูง
• เลือกเวลาซ้อมได้ตามความจำเป็น ไม่เกี่ยวกับการเดินทางหรือเส้นทางที่ฝึกซ้อม
• จัดตารางซ้อมได้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนถึงระดับสูง
• ไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ได้อยู่ใกล้ครอบครัว เพียงแค่ไม่กี่ก้าวก็ซ้อมได้เต็มที่
• ไม่ต้องง้อเพื่อนที่มักจะเล่นตัวเพราะเราขี่ช้าไม่ทันใจ
• ฝนตก(อีกแล้ว) ฟ้ามืดเร็วหรือสว่างช้าในช่วงฤดูหนาว
• การฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์คนเดียว ทำให้มีสมาธิ มีความอดทนสูง ทนต่อความกดดันได้ดี

ใครบ้างที่ควรใช้เทรนเนอร์เอาล่ะ คราวนี้คุณลองถามตัวเองซิว่า กำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่หรือไม่ ?
• ชอบขี่จักรยานช่วงสุดสัปดาห์แต่มีเวลาจำกัดสำหรับการซ้อมระหว่างสัปดาห์
• เป็นคนติดบ้าน หรืองานยุ่งจนไม่มีโอกาสออกไปซ้อมขี่จักรยานนอกเมืองได้บ่อยๆ
• มักจะขี่ตามเพื่อนไม่ทันแม้จะขี่ด้วยกันทุกสัปดาห์
• เป็นผู้ที่มีนิวาสสถานอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ต้องพูดถึงสถานที่ๆจะขี่จักรยานได้ตามใจชอบ(คือไม่มี นั่นเอง)
• นอกจากจะมีเวลาน้อยแล้ว ยังหาเวลาออกนอกเมืองบ่อยๆไม่ได้ (คนที่บ้านถามทุกที เวลาจะออกไปขี่ข้างนอก)
• มักเจออุปสรรคไม่คาดฝัน เช่น ฝนตก รถติด รถเมล์ไม่เป็นมิตร พ่นควันใส่หน้าเรา ตกท่อกทม.
• ผู้ที่มีความกระตือรือล้นอยากขี่จักรยานได้ดีขึ้น ไล่ตามเพื่อนๆทัน และช่วยเพื่อนๆได้บ้าง
• เป็นคนที่ชอบเซอร์ไพรส์ให้เพื่อนๆประหลาดใจ (ไปทำอะไรมา ทำไมเก่งขึ้นผิดหูผิดตา)
• อยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ ที่ไม่มีภูเขา หรืออยู่ชานเมืองที่มีแต่ทางเรียบ อยากเปลี่ยนแนวทางการซ้อมบ้าง
• อยากซ้อมใจจะขาด แต่แถวบ้านไม่มีใครปั่นจักรยานพาซ้อมได้เลย
ไม่ ว่าคุณจะตอบใช่ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อก็ตาม หากคุณปลงใจที่จะให้เทรนเนอร์เป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้แล้วล่ะก็ คราวหน้าเราจะมาดูกันว่า เทรนเนอร์มีกี่ประเภท และแบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณกันค่ะ


ประเภทของ Trainer

Fluid Trainer (แบบแรงต้านจากของเหลว)เป็น เทรนเนอร์ที่โปรค่อนข้างจะนิยมกันมาก เป็นเทรนเนอร์ที่เงียบมาก เพราะแรงต้านได้จากชุดใบพัดที่อยู่ในกระเปาะที่บรรจุด้วยของเหลวประเภท น้ำมันความหนืดสูง ทำให้แรงต้านของเทรนเนอร์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นตามอัตราความเร็วรอบขาที่เราปั่น ยิ่งริบสูงความหนืดยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เทรนเนอร์ชนิดนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับตารางการฝึกซ้อมอินเทอวัลที่ค่อนข้าง หนัก เพื่อรักษาระดับอัตราการเต้นของหัวใจที่ค่อนข้างสูง

Magnetic Trainer (แบบแรงต้านเหนี่ยวนำแม่เหล็ก)
มี จุดเด่นที่สามารถปรับความหนืดเป็นขั้นๆได้ ทำให้เทรนเนอร์ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการฝึกขึ้นเขา ฝึกซอยรอบขาสูง ฝึกสปริ๊นท์ หรือแม้กระทั่งฝึกไทม์ไทรอัล สามารถปรับความหนืดได้ตามต้องการหรือความแข็งแรง การปรับความหนือของเทรนเนอร์ Minoura จะใช้วิธีปรับมุมของแม่เหล็กเพื่อให้เปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก เป็นระบบแบบง่ายๆหากใช้กับยางหน้าแล้วเสียงจะค่อยมาก ค่ายยุโรปมีการพัฒนาเทรนเนอร์แบบแรงต้านเหนี่ยวนำโดยใช้กระแสไฟฟ้า ด้วยการปรับค่ากระแสไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก เทรนเนอร์เหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ช่วยวัดที่สามารถบอกความเร็ว รอบขา กำลังที่ใช้ (watt) รวมถึงการจับเวลา ในขณะที่บางแบรนด์สามารถตั้งโปรแกรมการซ้อมเองได้


Roller Trainer (แบบลูกกลิ้ง)
เทรนเนอร์ แบบลูกกลิ้งสำหรับนักจักรยานที่มีประสบการณ์ใช้งานได้ทั้งเสือหมอบ และเมาเท่าไบค์ ติดตั้งและเก็บง่ายไม่เปลืองที่ ทราบความเร็วด้วยเพราะล้อหน้าหมุนจากแรงสายพาน น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับใช้ในร่ม โดยเฉพาะบริเวณมีที่ยึดจับ เพื่อป้องกันล้ม ใช้ฝึกอินเทอวัลและปั่นเพื่อความฟิตได้เช่นเทรนเนอร์ทั่วไป


อุปกรณ์แนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ Trainer

Sweat Net ผ้าซับเหงื่อ แผ่นรองเหงื่อ ช่วยซับเหงื่อไม่ให้โดนเฟรมระหว่างซ้อม





Mat แผ่นรองเทรนเนอร์ช่วยลดเสียง ให้คุณขี่เทรนเนอร์ได้เงียบและป้องกันพื้นจากรอยขูดขีดและเปื้อนเหงื่อที่ หยดขณะออกกำลังเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการฝึกซ้อม
Gel Block อุปกรณ์หนุนล้อจักรยานเพื่อให้ได้ระดับราบ เมื่อประกอบกับเทรนเนอร์ให้ความรู้สึกเหมือนคุณกำลังขี่บนถนน

Heart Rate Monitors เครื่องวัดหัวใจ วัดความเร็วและระยะทาง บอกค่าชีพจรทั้งโซนต่ำและสูงพร้อมสัญญาณเตือน ช่วยให้การฝึกซ้อมของคุณเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณ: http://www.thaipixstories.com/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง