ss

9 ส.ค. 2554

10 เทคนิคการปั่นจักรยาน โดยแชมป์โลกครอสคันทรี่ มร. รูธี แมทธีส

   1. ต้องใช้เวลาในการปรับระยะต่าง ๆ ของอุปกรณ์ให้พอดีตัว อย่ารีบร้อน นักจักรยานแข่งระดับมือโปรมากมายที่ใช้เวลาไปมากกับการปรับแต่หลาย ๆ เรื่อง เช่น มุมของแฮนด์ ระดับความสูงและระยะห่างของแฮนด์จากหลักอาน การยอมเสียเวลาปรับแต่งอุปกรณ์ให้เอื้ออำนวยต่อสรีระที่สุดจะทำให้เกิดความแตกต่างชัดเจน เมื่อเทียบกับไม่ปรับแต่ง จู่ ๆ ก็จูงจักรยานออกไปขี่เลย

   2. อยากเคลื่อนไหวไปทางไหนให้มองไปทางนั้น ไม่ต้องมองไปทางอื่น การขี่เมาเทนไบค์ไม่เคยมีอะไรอยู่นิ่ง ต้องมีการเลี้ยงตัวถ่ายน้ำหนักบนจักรยานอยู่เสมอบางครั้งมาก บางครั้งน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิวเส้นทางและความชัน

3.  ถ้าเจอเส้นทางชัน เวลาจะไต่จะต้องพยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุลอยู่บนล้อทั้งหน้าและหลังเพื่อให้จักรยานเกาะพื้น

4.  ถ้าต้องขี่ข้ามแนวหินยื่นจากหน้าผา ให้เลื่อนน้ำหนักตัวไปหลังอานให้มากพอที่จะยกล้อหน้าพ้นสิ่งกีดขวางตรงนั้นได้ แล้วตามด้วยการใช้กล้ามเนื้อสะโพกยกล้อหลังขึ้นข้ามไป

5.  ถ้าเจอเส้นทางดินร่วนตอนขาลง ต้องถ่ายน้ำหนักไปหลังอาน เพื่อพยายามรักษาสมดุลเอาไว้ขณะเดียวกันก็พยายามควบคุมล้อหน้าให้ได้ จงจำไว้เสมอว่าการใช้เบรกมากในขาลงจะทำให้คุณหัวทิ่มได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้มันจริง ๆ ก็ต้องถ่ายน้ำหนักให้สมดุลด้วยจะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ

6.  ประมาณการถ่ายน้ำหนักรักษาสมดุลไว้ด้วยการมองไปข้างหน้าตลอดเวลา วางแผนหาเส้นทางขี่ที่เรียบที่สุดไว้เสมอด้วยการมองไกลนั้นไม่ว่าจะเป็นขาลงหรือขาขึ้น

7.  เพ่งสมาธิไปยังจุดที่คุณต้องการจะไปตลอดเวลา นี่คือภาระที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคุณต้องปรับตัวไปด้วยพร้อมกันตลอดเส้นทาง กฎของพวกนักแข่งมอเตอร์ไซค์โมโตครอส คืออย่าไปให้ความสนใจกับอะไรนานกว่าหนึ่งวินาที กลเม็ดนี้สำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อรู้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้หวังให้ไปอยู่ หรือเมื่อกำลังพุ่งเข้าหาสิ่งที่จะเป็นอันตราย เช่น ไม้มีหนามหรือชะง่อนหินที่มีโอกาสจะหักแตกร่วงหล่นลงมาได้เสมอ

8.  ตรวจดูลมยางให้แน่ใจก่อนขี่ ยางของคุณคือจุดเชื่อมต่อระหว่างจักรยานกับพื้น ยางจะดีหรือไม่นั่นแหละคือเครื่องชี้ชะตาของคุณเลยทีเดียว ต้องเลือกยางให้ดี เติมลมยางให้เหมาะสมก่อนจะลุยเข้าเส้นทางวิบากทุกที่

9.  หินลื่น ๆ จะเป็นเส้นทางที่ใช้ดอกยางเล็ก ในขณะเดียวกันบริเวณที่อ่อนนุ่มกว่า เช่น ทรายแข็งหรือดินเหนียว ลูกรัง กลับต้องใช้ดอกยางใหญ่และลึกกว่าเพื่อการยืดจับที่มันคง ยางใหญ่จะหนึดกว่ายางเล็กเพราะพื้นที่หน้าสัมผัสมีมากกว่า แต่ให้ความนุ่มนวลได้มากกว่ายางเล็กหรือแก้มยางต่ำ

10.ยางใหญ่ใช้ดีสำหรับเส้นทางที่นุ่ม ต้องการแรงยึดเกาะและปกป้องตัววงล้อได้ดีด้วย โดยเฉพาะแรงดันลมยางที่ใช้จะมีผลกระทบกับการขี่จักรยานโดยตรง ถ้าคุณต้องการให้ยางเกาะทาง ตะกุยได้มากก็ให้ใช้แรงดันลมยางต่ำ แต่ต้องระวังด้วยเพราะถ้าแรงดันลมต่ำมากก็จะเสียดสีกับวงล้อคม ๆ ด้านในจนรั่วได้ถ้าต้องลุยหินที่ทำให้ยางบิดตัวรุนแรง หรือถ้าอยากพุ่งไปให้เร็วก็ต้องใช้แรงดันลมยางสูง เวลาเข้าเส้นทางดินร่วนแล้วคุณจะสูญเสียแรงเกาะเส้นทางไปได้นิดหน่อย แต่การลองผิดลองถูกก็จะช่วยให้รู้ได้ภายในเวลาไม่นานว่า แรงดันลมขนาดไหนถึงจะเหมาะสมกับตัวเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง