ss

ยินดีต้อนรับสู่สังคมจักรยาน มิตรภาพที่ไม่มีวันจางหาย

24 ก.ค. 2557

เชิญร่วมการแข่งขันจักรยานเสือภูเขารายการ "เขาอีโต้ เสือภูเขา คลาสสิค 2014"

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับทุกท่าน ไม่ค่อยได้มาอัพเดทข้อมูลและบทความซักเท่าไหร่ วันนี้โอกาสดีก็เลยขอมาประชาสัมพันธ์ ข่าวแข่งจักรยานให้กับเพื่อน ๆ ทุกท่านกันครับ

ไซเคิลบูติค ร่วมกับชมรมจักรยานปราจีนบุรี โดย อ.นิพนธ์ สุขประสาท, องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี,  สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปราจีนบุรี

ขอเชิญและร่วมการแข่งขันจักรยานเสือภูเขา รายการ "เขาอีโต้ เสือภูเขา คลาสสิค 2014" จังหวัดปราจีนบุรี ประจำปี 2557 ในวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2557 ณ สนามจักรยานเขาอีโต้ (อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์) ตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี




























ใกล้ถึงวันแข่งแล้ว สำหรับท่านใดที่สนใจก็ลองไปทดสอบฝีเท้ากันได้ครับ ส่วนใครยังไม่ได้ฟิตซ้อม หรือยังฟิตไม่พอ ก็ยังพอมีเวลาให้ฟิตร่างกายอีก 1 เดือนกว่า ๆ สำหรับเตรียมความพร้อมเพื่อชัยชนะครับ ถึงแม้ไม่ชนะในเกม ก็ชนะใจตนเองแน่นอน

ดูข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=54&t=1016134




16 ก.ค. 2557

เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการปั่นจักรยานลดน้ำหนัก

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาวจักรยานที่รักทุกท่าน การปั่นจักรยานมักจะเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีคนนิยมปั่นกันมาก ทั้งปั่นเพื่อสุขภาพและบางท่านปั่นจริงจังกับการแข่งขัน และก็มีบางท่านใช้วิธีการปั่นจักรยานเพื่อลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วน บางครั้งบางท่านอาจจะยังไม่รู้วิธีและขั้นตอนในการปั่นจักรยานเพื่อลดความอ้วน ซึ่งก็มีวิธีการที่ไม่ยากเลย วันนี้จึงขอเอาแนวทางและวิธีการปั่นจักรยานเพื่อลดความอ้วนอย่างถูกวิธีมากฝากกันครับ


เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการปั่นจักรยานลดน้ำหนัก

การปั่นจักรยานเป็นทางเลือกที่ดีที่จะได้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อได้รับอากาศที่สดชื่น เเถมยังได้ท่องเที่ยวชมทัศนียภาพรอบข้างไปพร้อมกัน และยังถือว่าเป็นการเผาผลาญพลังงานและลดไขมันที่ดีทางนึง นอกจากนี้ จักรยานถือว่าเป็นพาหนะที่เหมาะในยุคนี้ เพราะมีคุณสมบัติ 3 ส. คือ สะดวก สิ้นเปลืองน้อย และ สุขภาพดี ทำให้เราผ่อนคลายและยังช่วยให้ระบบหายใจแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดขาวใน กระแสเลือดได้ดีขึ้น และส่งผลให้เราอารมณ์ดีจากการเพิ่มของระดับฮอร์โมนแอนเดอร์ฟินอีกด้วย

การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยอย่างมากต่อการไหลเวียนของเลือด ซึ่งนั่นก็เท่ากับช่วยให้หัวใจของเราแข็งแรงไปด้วย ที่สำคัญคือตะกรันไขมันที่จับอยู่ตามเส้นเลือดของเราก็พลอยจะถูกกำจัดออกไป จึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันได้อีกทางหนึ่ง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง ย่อมส่งผลดีไปด้วยโดยเฉพาะปอด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยพัฒนาระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย สำหรับการปั่นจักรยานนั้นโดยปรกติจะสามารถเผาผลาญพลังงานได้ประมาณ 400-500 kcal ต่อหนึ่งชั่วโมง ทั้งนี้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและความหนักของการปั่นด้วย

ด้านกล้ามเนื้อ การปั่นจักรยานมีประโยชน์ทำให้กล้ามเนื้อขา โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาหน้าและหลังมีความแข็งแรง เป็นการยืดเส้นยืดสาย โดย เฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอว สะโพก ทำให้ป้องกันปัญหาปวดกล้ามเนื้อขาได้ นอกจากนี้ ยังช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทำให้ลดอัตราการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี และหากเราออก กำลังกายด้วยการปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น

ปั่นจักรยานลดความอ้วน

การปั่นจักรยานให้ผลลัพธ์ที่ดีมากเพราะเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก หากทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องจะช่วยเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อช่วงขาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงหน้าท้อง ก้น และหากใช้อุปกรณ์บางอย่างเพิ่มจะช่วยบริหารแขนได้ด้วยเพียงแค่มีแท่งยกน้ำ หนัก 1 คู่ ที่หนักไม่มากก็เพียงพอแล้ว

การปั่นจักรยานนั้นดีกว่าการวิ่งเพราะจะไม่ส่งผลกระทบกับข้อเท้า หัวเข่า และหลัง คุณอาจเริ่มจากการปั่นแบบช้า ๆ โดยไม่มีแรงเสียดทานหรือเรียกว่าขั้นพื้นฐาน แล้วค่อยเพิ่มความเร็วในการปั่นและน้ำหนักที่แป้นถีบมากขึ้นเหมือนปั่นขึ้น เขาและเช่นเดียวกับการออกกำลังกายทุกประเภท เคล็ดลับที่จะบริหารร่างกายให้ได้ผลก็คือ ทำทุกวันบ่อย ๆ แม้จะใช้เวลาไม่มากก็ตาม

วิธีการปั่นจักรยานลดความอ้วน

อบอุ่นร่างกาย - ปรับที่นั่งให้สูงพอที่จะเหยียดขาเวลาปั่นได้ เมื่อวางเท้าบนแป้นขนานกับพื้นหัวเข่าจะต้องทำมุม 10-15 องศา ถ้าที่นั่งอยู่ต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นและทำให้หัวเข่าต้อง ออกแรงมากกว่าปกติ ถ้าอยู่สูงเกินไปทำให้ต้องเคลื่อนไหวส่วนอุ้งเชิงกราน ทำให้หลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักมากที่จับสามารถปรับระดับได้ ขั้นแรกเริ่มจากระดับ “สูง” ก่อนวางมือทั้งสองข้างขนานกันบนที่จับจากนั้นค่อยลดระดับลงเพื่อเพิ่มความโค้งให้แผ่นหลัง

ความเร็วและแรง - ถ้าคุณ ยังไม่ชินเริ่มจากการปั่นแบบธรรมดาที่ความเร็ว 60 รอบต่อนาที (1 รอบต่อวินาที) นาน 10 นาที จากนั้นเริ่มปรับให้ชันมากขึ้น ปั่น 10 นาที สลับกลับไปที่แบบธรรมดาอีก 10 นาที ทำแบบนี้อาทิตย์ละ 3 ครั้ง 3 วัน เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมถัดไป
เมื่อเริ่มชำนาญมาก ขึ้นแนะนำให้เริ่มปั่น 80-90 รอบต่อนาที สลับกับแบบธรรมดา 15 นาที และแบบชัน 15 นาที และแบบธรรมดา 15 นาที ทำ 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์ อย่างน้อย 3 อาทิตย์ก่อนที่จะเข้าโปรแกรมที่สูงขึ้นต่อไป หลังจากชินกับระดับ ต่าง ๆ แล้ว ลองเปิดเพลงเพื่อกำหนดความเร็วสำหรับการปั่นแบบธรรมดาและแบบชัน ในขั้นนี้อาจสลับด้วยการเดินได้และเพิ่มเวลาขึ้นอีก 2 อาทิตย์
ขี่จักรยานแค่ไหนดี

ถ้าขี่จักรยานบนทางราบด้วยความเร็วน้อยกว่า 20 กม./ชม. อย่างนี้เราถือว่าช้าไป จะไม่เกิดสภาพแอโรบิคที่ต้องการ อย่าลืมว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังที่ตัวจักรยานมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมาก ถ้าขี่ช้าๆ ตัวจักรยานจักเป็นตัวช่วยเสียส่วนใหญ่ ประโยชน์ต่อหัวใจก็ไม่มี หรือมีก็น้อย

แต่ผู้รู้กล่าวได้ว่า ถ้าขี่จักรยานด้วยขนาดความเร็วกว่า 30-32 กม./ชม. ก็จะเทียบได้เท่ากับการวิ่งความเร็วประมาณ 3 นาทีเศษต่อกิโลเมตร (อันนี้เป็นการวิ่งที่เร็วมากสำหรับนักวิ่งส่วนใหญ่ในบ้านเรา) ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้

โดยสรุป เราจึงควรถีบจักรยานอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 25 ถึง 28 กม./ชม. จึงจะได้ออกแรงสมกับที่ตั้งใจมาออกกำลังกันความเร็วที่พูดถึงในตอนนี้ เป็นความเร็วเฉลี่ยที่ฝรั่งเขาทำได้กัน แต่คนไทยเราโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ออกกำลังมานาน ก็อย่าได้เผลอไผลยึดข้อมูลนี้เป็นบรรทัดฐานในการฝึกเป็นอันขาด ทางที่ดีควรจะลองขี่ไปลองจับชีพจรไป ก็จะรู้ได้ว่าแค่ไหนจึงจะได้ 75-80% ของอัตราหัวใจเต้นสูงสุดของตัวเอง ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นๆ

วิธีการปั่นจักรยานให้ถูกต้อง

พวกขี่จักรยานใหม่ๆมักเข้าใจผิดและพยายามใช้เกียร์สูงสำหรับการขี่โดยส่วนใหญ่ ไม่พิจารณาว่าทางจะเป็นอย่างไร ทางที่ถูกแล้วควรเลือกเกียร์ต่ำไว้ก่อน และถีบให้วิ่งไปเรื่อยๆอย่างราบเรียบ โดยถีบซอยขาด้วยความถี่ประมาณ 70 รอบต่อนาที พยายามถีบให้ขาซอยคงที่ขนาดนี้ ถ้ามีทางขึ้นเนินลงเนินหรือมีลมต้าน ก็ค่อยสับเกียร์ต่ำเกียร์สูงตามไปอีกที คือพยายามปรับการซอยให้คงที่อย่างที่ว่าไว้
ไอ้รอบซอยขาคงที่ขนาดนี้ นักจักรยานฝรั่งเขาเรียกว่า ‘เคเดนซ์’ หรือ cadence แปลตรงตัวว่า จังหวะเคาะตอนเล่นดนตรี ในที่นี้คงหมายถึงการทำอะไรให้เป็นจังหวะคงที่สำหรับพวกเราๆ เอาเป็นว่าพยายามซอยขาให้คงที่ด้วยความถี่ประมาณ 70 รอบต่อนาทีที่ว่านี้ก็แล้วกัน

ตอนเริ่มใหม่ๆ ถีบไปสัก 20 นาทีก็พอ แล้วพักจนชีพจรกลับมาเป็นปกติ แล้วก็เริ่มซอยขาใหม่ต่ออีกจนคุณรู้สึกเหนื่อยแบบสบายๆ คือเหนื่อย แต่ไม่ใช่เหนื่อยจนเดินไม่ได้ หัวใจแทบจะเต้นออกมานอกอกหล่นไปกองกับพื้น จนเกือบถูกจักรยานที่ขี่อยู่ทับเอา อย่างนี้ใช้ไม่ได้ มันเหนื่อยเกินไป เอาแค่เหนื่อยไม่มากก็เป็นพอ

ระยะเวลาในการปั่นจักรยาน

พยายามให้เหมือนกับการคารร์ดิโอทั่วไป อยู่ที่ ครั้งไม่ต่ำกว่า 40 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ค่ะ การขี่จักรยานโดยเฉลี่ยจะใช้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี/ชม. ซึ่งการใช้พลังงานขนาดนี้ถ้าทำสม่ำเสมอก็จะสามารถลดความอ้วนได้อีกด้วย

ไปหน้าแรก  จักรยานเพื่อสุขภาพ





Credit: thailandbiketrip.com, หมอชาวบ้าน, hibalanz.com, answer.com

วิธีการเลือกซื้อจักรยานให้ถูกใจและตรงกับการใช้งาน

|1 ความคิดเห็น
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้มีโอกาสดี ก็ขอมาอัพเดทบทความ และข่าวสารในวงการจักรยานบ้านเรา และที่สำคัญผมมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อจักรยานมาฝากทุกท่านกันครับ


จักรยานใช่สักแต่ว่าปั่นๆ ไปก็จบเรื่อง เพราะจักรยานนั้นมีหลายแบบ และคุณลักษณะของจักรยานแต่ละประเภทก็แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกซื้อจักรยาน ควรจะรู้ความต้องการของตนเองก่อนว่า จะซื้อจักรยานมาเพื่ออะไร
       
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักจักรยานแต่ละประเภทก่อน ซื้อเมื่อแบ่งตามลักษณะและการใช้งานแล้ว แบ่งจักรยานออกได้เป็น 5 ประเภทคือ
       
       1. จักรยานทั่วไป หรือจักรยานแม่บ้าน จักรยานจ่ายกับข้าว แล้วแต่จะเรียก จักรยานประเภทนี้ส่วนมากไม่มีเกียร์ แต่ในทางช่างถือว่ามี 2 เกียร์ คือ เฟืองหน้า 1 ชิ้น และเฟืองหลัง 1 ชิ้น แต่มีสปีดเดียว ซึ่งปัจจุบันมีการพัมนาไปมาก จนมี 3-6 เกียร์ จะขายสำเร็จรูปพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เช่น บังโคลน ไฟหน้า ขาตั้ง บังโซ่ อานซ้อนท้าย รวมไปถึงตะแกรงหน้า จักรยานแบบนี้มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จึงต้องใช้แรงมาก แต่มีข้อดีคือ ราคาถูก ประมาณ 1,500-3,000 บาท และหาซื้อได้ทั่วไป รวมทั้งเมื่อชำรุดก็มีร้านรับซ่อมทั่วไปด้วย
       
       2. จักรยานพับได้ จักรยานแบบนี้แม้จะของที่ผลิตในประเทศ แต่มักนิยมของที่ส่งมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจักรยานมือสองของญี่ปุ่น แต่ที่เป็นของนอกราคาแพงขนาด 3-5 หมื่นบาทต่อคันก็เป็นที่นิยมของคนบางกลุ่ม ล้อมีขนาดตั้งแต่ 16-20 นิ้ว เพราะหากล้อมีขนาดใหญ่มาก เวลาพับแล้วจะไม่กะทัดรัด จึงไม่เป็นที่นิยม

       3. จักรยานออกกำลังกายและท่องเที่ยว จักรยานประเภทนี้คือจักรยานที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละกิจกรรม และให้ถีบเบาแรง โดยมีระบบเกียร์และลดน้ำหนักรถลง ราคาสูงกว่าจักรยานจ่ายกับข้าว แบ่งตามลักษณะเฉพาะ ดังนี้
       
       - จักรยานเสือหมอบ รูปแบบคล้ายจักรยานแข่ง แต่คุณภาพของอุปกรณ์จะด้อยกว่า ขึ้นอยู่กับราคา ใช้เป็นจักรยานออกกำลังกายได้ดี หรือใช้เป็นจักรยานสำหรับขี่ท่องเที่ยวก็ได้ แต่เหมาะสำหรับขี่ทางเรียบเท่านั้น หาซื้อได้ในราคา 3,000-5,000 บาท
       
       - จักรยานท่องเที่ยว จักรยานแบบนี้ออกแบบสำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ แต่ก็ใช้ขี่ออกกำลังหรือขี่ไปทำงานหรือใช้งานอเนกประสงค์ได้ มักมีตะแกรงท้ายสำหรับวางสัมภาระ ปกติจะมีชุดบังโคลนและขาตั้งติดมากับรถ ระบบเกียร์มีให้เลือกตั้งแต่ 10-27 สปีด
       
       - จักรยานเสือภูเขา เป็นจักรยานที่ออกแบบสำหรับขี่ขึ้นลงเขาโดยเฉพาะ มีโครงสร้างแข็งแรง ยางล้อใหญ่หรืออ้วน ดอกยางใหญ่และหนา ทำให้เกาะพื้นถนนได้ดีเวลาขี่ขึ้นเนินชันๆ ใช้งานได้ในทุกพื้นผิวถนน บางครั้งเรียกจักรยาน ATB (All-Terrain Bike) ระบบเกียร์มีให้เลือกตั้งแต่ 10-27 สปีด จักรยานเสือภูเขานอกจากจะใช้งานขี่สมบุกสมบันแล้ว ยังใช้เป็นจักรยานท่องเที่ยว หรือใช้เป็นจักรยานอเนกประสงค์ได้ จึงเป็นลูกผสมระหว่างจักรยานท่องเที่ยวและจักรยานเสือภูเขาคือ ออกแบบให้ใช้งานสมบุกสมบันได้ แต่เมื่อขี่บนถนนธรรมดาก็สามารถไปได้เร็วด้วย จักรยานลูกผสมจึงมีลักษณะเหมือนเสือภูเขา แต่ยางล้อจะเล็กหรือผอมกว่า ดอกยางไม่ลึก เมื่อขี่ในเมืองจึงเปลืองแรงน้อยกว่า บางครั้งเรียกจักรยานแบบนี้ว่า ซิตี้ไบค์ หรือจักรยานเมือง ราคาตั้งแต่ 4,000-20,000 บาท
       
       4. จักรยานแข่ง คือจักรยานแบบเสือหมอบที่เห็นนักกีฬาฝช้แข่งทั่วไป มีน้ำหนักเบามาก มีเกียร์ตั้งแต่ 1-27 สปีด กรณีมีเกียร์เดียวมักใช้แข่งในลู่หรือเวโลโดรมในระยะทางสั้นๆ ตัวถังเล็ก เพรียวลม ยางรถจะผอมและทนแรงดันได้สูง คือสูบยางได้แข็งมาก และเพื่อให้มีน้ำหนักเบา จึงตัดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น เช่น ขาตั้ง บังโคลน ออกทั้งหมด จักรยานชนิดนี้มีราคาแพงมาก ถึงระดับหลายแสนบาท ถ้าระดับแข่งขันภายในประเทศส่วนใหญ่ราคาคันละประมาณ 30,000-50,000 บาท
       
       5. จักรยานฟิกซ์เกียร์ จักรยานประเภทนี้มีสปีดเดียว และเฟืองหลังเป็นแบบตายหรือฟิกซ์ คือปล่อยฟรี หรือปั่นขาทวนกลับไม่ได้ การขี่จึงต้องหมุนขาไปตลอดเวลา เพราะหากไม่หมุนขาเฟืองก็จะไม่หมุน ซึ่งก็คือการเบรกนั่นเอง และถ้าต้องเบรกเร็วๆ แรงๆ ก็กระทืบขาย้อนกลับหลัง เฟืองก็จะหยุดหมุนทันทีและรถก็จะหยุดทันทีเช่นกัน
       

ส่วนการเลือกซื้อจักรยานนั้นจะเน้นประเภทออกกำลังกายและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นจักรยานที่คนกลุ่มใหญ่เลือกใช้ ซึ่งจำเป็นต้องมีเทคนิคในการเลือกซื้อมากกว่าจักรยานทั่วไป โดยมีข้อพิจารณาเบื้องต้นง่ายๆ ดังนี้
       
       1. ขนาด ต้องเลือกให้ขนาดจักรยานเหมาะสมกับขนาดตัวผู้ขี่ จักรยานมีขนาดตั้งแต่ 16-25 นิ้ว เบอร์นี้บอกความยาวของท่อนั่ง (ท่อที่ต่อจากหลังอานลงไปถึงหัวกะโหลก) วิธีเลือกขนาดอย่างง่ายคือให้วัดความสูงเป็นนิ้ว จากพื้นถึงปุ่มสะโพกผู้ขี่ เอาค่าที่ได้ลบออกด้วย 9 จะเป็นขนาดตัวถังจักรยานท่องเที่ยวหรือเสือหมอบ แต่ถ้าจะเลือกซื้อเสือภูเขาให้ลบด้วย 11
       
       2. ตัวถัง (โครง) ให้ดูที่น้ำหนัก ยิ่งเบายิ่งดี (แต่มักราคาแพง)
       
       3. เบรก มีอยู่ 5 แบบ คือแบบดึงข้าง ดึงกลาง แบบคานกระดก แบบวีเบรก และแบบเบรกจาน แบบหลังจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า จกรยานท่องเที่ยวหรือเสือภูเขาควรใช้เบรกแบบนี้
       
       4. เกียร์ ชุดเกียร์ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้ชุดเกียร์ยี่ห้อที่เชื่อถือได้ (สอบถามจากผู้รู้) ถ้างบประมาณน้อย ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่เชื่อถือได้แต่เป็นรุ่นเก่า ดีกว่ารุ่นใหม่ล่าสุดแต่ยี่ห้อไม่น่าเชื่อถือ
       
      5. อาน อานแบบเรียวเหมาะสำหรับเสือหมอบ เสือภูเขา และจักรยานท่องเที่ยว ส่วนจักรยานทั่วไปควรเป็นแบบอานป้าน

ไปหน้าแรก  การปั่นจักรยาน

       
 ขอบคุณข้อมูลจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพประเทศไทย

13 มิ.ย. 2557

มาดูว่าจักรยานเสือภูเขาล้อ 26 นิ้ว, 27.5 นิ้ว และ 29 นิ้ว แตกต่างกันอย่างไร

|0 ความคิดเห็น

สำหรับคุณๆ ที่เป็นมือใหม่และยังใหม่กับวงการจักรยานเสืออาจจะรู้สับสนและงงกับข้อมูลมากมายเพราะตัวเลือกที่มีมันช่างแตกต่างกันให้เลือกสรรซึ่งอันไหนล่ะ?ที่จะเป็นจักรยานที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เพราะมันมีทั้งแบบ โช้คหน้าอย่างเดียว(Hardtail), Full suspension, ขนาดล้อที่มีตั้งแต่ 26 นิ้ว, 27.5 นิ้ว และ 29 นิ้ว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเลือกได้อย่างถูกต้องแล้วจากตัวเลือกที่หลากหลายนี้ และนี้เป็นเหตุผลที่ผมอยากจะเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลไว้ประกอบการเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ..


(ปล.บทความนี้ไม่ได้เขียนเองนะครับ และขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก http://mountainbikedetail.blogspot.com/2013/11/26-275-29.html)


ก่อนอื่นผมจะต้องพูดความจริงและอยากจะให้คุณๆ ผู้อ่านยอมรับความจริงเหล่านี้ว่า “มันไม่มีจักรยานเสือภูเขารุ่นไหนที่ดีที่สุดสมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับทุกๆคน” เสือภูเขาแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่มีการออกแบบและผลิตมานั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งแรกที่ควรจะพิจารณาก็คือ คุณจะปั่นจักรยานเพื่ออะไร? (ออกกำลังกายเฉยๆ หรือแข่งขัน) ต่อมาก็คือสถานที่ที่คุณจะปั่น (คุณจะปั่นในเมืองหรือที่ๆ ขรุขระ เป็นเขา) สุดท้ายก็คือหาจักรยานเสือภูเขาที่คุณคิดว่า มันใช่สำหรับคุณ

จักรยานเสือภูเขาขนาดล้อเท่าใดที่จะเหมาะสำหรับคุณ


จักรยานเสือภูเขาล้อ 26 นิ้ว

แต่เดิม เสือภูเขาขนาดล้อ 26 นิ้วเป็นจักรยานขนาดมาตรฐานที่สุดสำหรับเสือภูเขา มาจนถึงปี 2012 ที่เสือภูเขาขนาดล้อ 29 นิ้วได้เข้ามามีส่วนในตลาด และเริ่มปลายปี 2012- ปัจจุบันที่เสือภูเขาขนาดล้อ 27.5 นิ้วได้กลายมาเป็นรุ่นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปแล้ว ล้อขนาด 26 นิ้ว เป็นจักรยานที่มีความเร็วมากซึ่งนักปั่นจะต้องตอบสนองต่อความเร็วนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เสือภูเขาล้อ 26 นิ้วนี้มักจะช้าลงเมื่อใช้สปิดที่สูงขึ้น(ความเร็วปลาย), และด้วยความที่มีล้อเล็กจึงมีผลกระทบกับการกระโดด การไถล, ก้อนกรวด ซึ่งทำให้ต้องการการดูดซับแรงกระแทกที่เพิ่มมามากนี้ด้วย(ต้องใช้โช้คที่ดี) ซึ่งถ้าไม่ได้มีการออกแบบทีดีและถูกต้องก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการปั่นลดลงไป หากคุณคิดจะอัพเกรดเจ้าล้อ 26 นิ้วของคุณ คุณก็จะรู้สึกว่ามันสบายมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก่อนที่จะคิดอัพเกรดผมก็อยากให้คุณพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ของล้อ 27.5 นิ้ว กับ 29 นิ้วด้วยเช่นกัน

ข้อดีของ เสือภูเขา 26 นิ้ว

• น้ำหนักเบากว่าล้อขนาดอื่นๆ เนื่องจากมีขนาดล้อและโช้คที่เล็กจึงทำให้น้ำหนักลดลง
• ล้อขนาดเล็กจึงทำให้มีประสิทธิภาพทางเทคนิคในการปั่นที่ดีที่ต้องใช้เวลาการตอบสนองที่รวดเร็ว(สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักปั่นมีการตัดสินใจที่หรือรีดเอาประสิทธิภาพของนักปั่นออกมา) เช่นพวกเส้นทางขรุขระ
• ใช้ได้กับนักปั่นทุกขนาดทุกรูปร่าง ในขณะที่จักรยานล้อ 29 มักจะเหมาะกับคนรูปร่างใหญ่
• ให้อัตราเร่งสูง ออกตัวได้เร็ว
• เพิ่มความเข้มแข็งหรือประสบการณ์ให้กับนักปั่นที่ต้องการขยับไปเล่นพวก Downhill หรือ Freeride (พวกผาดโผน แต่ไม่ใช้ BMX)

ข้อเสียของเสือภูเขาล้อ 26 นิ้ว

• การกระโดดได้สูง, การปีนไปตามโขดหิน หรือ รากไม้ อาจจะทำได้ไม่ดี
• ให้ความเร็วที่ช้าลงในเกียร์สูงๆ เมื่อเทียบกับจักรยานล้อใหญ่กว่า (ความเร็วปลาย)
• ต้องการการออกแบบที่ดี ในการดูดซับแรงกระแทก หรือต้องมีระบบดูดซับแรงกระแทกที่ดี เพราะไม่งั้นจะนำไปสู่การสูญเสียประสิทธิภาพในการทำความเร็วหรือเทคนิคในการปั่นจักรยาน
• ด้วยขนาดล้อที่เล็กจึงมีแรงฉุดที่ดี
• ต้องใช้แรงดันลมยางสูงกว่าล้อใหญ่


จักรยานเสือภูเขาล้อขนาด 27.5 นิ้ว

ถึงแม้ว่าในปี 2010 จักรยานเสือภูเขาขนาดล้อ 29 นิ้วจะมาแรงและความได้เปรียบเรื่องล้อที่ใหญ่ก็สร้างความได้เปรียบให้แก่นักปั่นได้ดีกว่าเสือภูเขาขนาดล้อ 26 นิ้ว อย่างไรก็ตามไม่ใช่นักปั่นทั้งหมดที่เล็งเห็นข้อดีของล้อขนาด 29 นิ้ว เพราะมันก็ยังมีข้อเสียอยู่ ถึงแม้ว่าในตลาดส่วนใหญ่จะต้องการจักรยานเสือภูเขาล้อ 29 นิ้วอยู่มาก แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็ยังคงตระหนักว่า มีนักปั่นจำนวนไม่น้อยที่ยังคงรับไม่ได้รับกับข้อเสียของเสือภูเขาล้อ 29 นิ้วนี้

ดังนั้นตั้งแต่ปลายปี 2012 จนถึงปัจจุบัน จักรยานเสือภูเขาขนาดล้อ 27.5 นิ้วจึงได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น หรือที่เราๆรู้จักกันดีในนามของ จักรยานเสือภูเขา 650b ซึ่งเป็นการพยายามนำเอาข้อดีและข้อเสียของล้อ 26 นิ้วและ 29 นิ้ว มาปรับปรุงและนำเสนอให้แก่นักปั่นให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าจะพูดโดยรวมก็คือ มันสามารถทำความเร็วได้ดี และปีนป่ายได้ดีเช่นกัน แต่ว่าในทางขรุขระที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วนั้น สำหรับล้อ 27.5 นิ้วยังคงทำได้ดีในระดับปานกลาง (ยังคงเป็นรองล้อ 26 นิ้ว)

ข้อดีของเสือภูเขาล้อ 27.5 นิ้ว

• ให้ความเร็วสูงกว่า 26 นิ้ว และให้การตอบสนองได้รวดเร็วกว่าล้อ 29 นิ้ว
• ให้ความเร็วต้นได้เร็วกว่า 29 นิ้ว
• ให้แรงฉุดได้ดีกว่าล้อ 26 นิ้ว
• เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักปั่นร่างเล็กที่ต้องการรถใหญ่ และไม่ใหญ่เท่าล้อ 29 นิ้ว

ข้อเสียของเสือภูเขาล้อ 27.5 นิ้ว

• ให้ความเร็วปลายได้ไม่ดีไปกว่าล้อขนาด 29 นิ้ว แต่ก็เร็วกว่าขนาดล้อ 26 นิ้ว
• ในส่วนของความเร็วต้น หรืออัตราเร่ง จะช้ากว่า 26 นิ้ว
• ถึงแม้จะมีแรงฉุดที่ดีกว่าล้อ 26 นิ้ว แต่ก็ไม่ดีเท่ากับล้อ 29 นิ้ว

หากใครที่ยังงุนงงอยู่ว่าจะเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขาล้อขนาดไหนดี? อ่านบทความนี้แล้วลองเปรียบเทียบดูนะครับว่าคุณต้องการจักรยานล้อขนาดไหน เพราะมันมีข้อดี และข้อเสียเหมือนๆกัน ถ้าชอบแบบไม่ผาดโผนมากก็ล้อ 26 ก็พอ มันอาจจะเร็วปรูดปร้าดแค่แรงต้น แต่แรงปลายอาจจะไม่ค่อยดีเพราะล้อเล็ก แต่เราไม่ได้เอาไปปั่นรอบโลก เอาแบบฉิวๆ อันนี้ไม่ต้องซีเรียสเรื่องล้อเลยครับสบายๆ 
แต่ถ้าขยับขึ้นมาหน่อย วันดีคืนดีนึกอยากจะลุยยกจักรยานใส่รถขับไปอุทยาน ไปรีสอร์ท หรือร่วมทริปกับพรรคพวก ต้องการแรงต้นดีและแรงปลายด้วย ก็นี่เลย ล้อ 27.5 นิ้ว เพราะมันเป็นแบบผสมผสานอยู่ระหว่างล้อเล็กสุดกับใหญ่สุด



จักรยานเสือภูเขาขนาดล้อ 29 นิ้ว

เริ่มจากปี 2010 ที่เจ้าเสือภูเขา ล้อ 29 นิ้วนี้ได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำเสนอข้อได้เปรียบที่ดีกว่าล้อมาตรฐาน 26 นิ้วทั่วไป ด้วยล้อขนาดใหญ่กว่าจึงสามารถทำความเร็วได้มากกว่าในระดับเกียร์สูงๆ และมันยังสามารถไปได้ทุกสภาพแวดล้อมที่ล้อ 26 นิ้วยังทำได้ไม่ดีนัก เช่น ก้อนหิน รากไม้ หรือ แม้แต่ตอไม้ จึงเรียกว่าเป็นการผสมผสานข้อดีและข้อเสียของล้อขนาดเล็กอย่าง 26 นิ้วได้เป็นอย่างดี และอย่างนักปั่นทั่วไปทราบกันดีว่า เสือภูเขาล้อ 29 นิ้ว กับโช้คขนาด 100-120 มม. ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกันกับล้อ 26 นิ้ว กับโช้คขนาด 140 มม. เลยทีเดียว

ข้อดีของเสือภูเขาล้อขนาด 29 นิ้ว

• ทำความเร็วปลายได้ดี
• ด้วยความที่เป็นล้อใหญ่ จึงไปได้ทุกสภาพพื้นที่ที่ล้อ 26 นิ้วไปไม่ค่อยได้ดีนัก (นึกภาพรถ 4x4 ที่ลุยไปได้ทุกที่กับรถเก๋งที่ไปได้เฉพาะทางเรียบ และไม่ขรุขระนัก)
• ไม่ต้องการระบบดูดซับแรงกระแทกมากนัก (เมื่อเทียบจากข้างต้น โช้คขนาด 100-120 มม.กับล้อ 29 นิ้ว ประสิทธิภาพจะเทียบเท่ากับรถเล็กที่ใช้โช้คขนาด 140 มม) จึงทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อน
• ใช้ได้ดีกับนักปั่นที่มีรูปร่างสูง
• มีประสิทธิภาพสำหรับการปั่นระยะไกล และให้การขับเคลื่อนที่ราบรื่นกว่า ควบคุมได้ง่ายกว่า

ข้อเสียของเสือภูเขาล้อขนาด 29 นิ้ว

• ล้อใหญ่จึงสูญเสียการควบคุมในสภาพพื้นที่ขรุขระหรือทางขรุขระที่ต้องใช้ความเร็ว (นึกภาพเราปั่นรถเล็กลงเนินที่ขรุขระเราจะสามารถควบคุมได้ดี มันจะเร็วเราก็สามารถตอบมันได้ดี แต่ถ้าเป็นรถใหญ่เราอาจจะต้องเบรกหรือทำให้รถช้าลงกว่าที่ควรจะเป็นเพื่อควบคุมมัน หรือสภาพที่เป็นมุมหักศอกหรือโค้ง ถ้ารถเล็กก็สามารถซิ่งไปได้ แต่รถใหญ่มุมเลี้ยวหรือองศามันก็ต้องมากกว่า ซึ่งรถเล็กจะได้เปรียบตรงนี้)
• ไม่เหมาะกับคนตัวเตี้ย
• มีน้ำหนักรวมที่เพิ่มขึ้น
• จะช้าในขณะที่ออกตัว
• ไม่เหมาะกับการใช้แบบ Downhill หรือ Freeride ถ้าพูดตรงๆ มันเหมาะกับ XC เป็นอย่างมากครับ

ล้อใหญ่ ก็ต้องนี้เหมาะกับนักผจญภัย แอดแวนเจอร์ ลุยไปกับเส้นทางหฤโหด มันจะไม่ทำให้คุณผิดหวังเลย แล้วบางท่านอ่านแล้วอาจจะมีคำถามว่า แล้วจะเลือกแบบไหนอีกดีระหว่างมีโช้คหน้าอย่างเดียว กับโช้คหน้า-หลัง ผมไม่ค่อยสัมผัสกับแบบ Full sus ครับ แต่เห็นฝรั่งเค้าให้ความเห็นว่า แบบฟูลซัส มันนุ่มนิ่ม ไหลลื่นได้ดี แต่มันขาดอรรถรสในการลุย คือความขาดความดิบ ไม่มันส์เท่ากับโช้คหน้าเพียงข้างเดียว สรุปว่าอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบครับและงบประมาณในกระเป๋าของคุณ




ที่มาบทความจาก http://mountainbikedetail.blogspot.com/2013/11/26-275-29.html

11 มิ.ย. 2557

VDO UCI MTB WORLD CUP 2014: สนาม 1

|1 ความคิดเห็น
VDO การแข่งจักรยานเสือภูเขา UCI MTB WORLD CUP 2014: PIETERMARITZBURG, SOUTH AFRICA สนามแรกของปี 2014 ท่านใดยังไม่ได้ดูก็กดดูได้ที่รูปหรือที่ลิ้งค์ด้านล่างได้เลยครับ รับรองความมันส์ซะใจแน่นอนครับ 

UCI MTB WORLD CUP 2014: PIETERMARITZBURG, SOUTH AFRICA สนาม 1



หรือคลิ๊กที่นี่ http://live.redbull.tv/events/346/uci-mtb-world-cup-2014-pietermaritzburg-xco-men/


สนามที่ 2,3,4  ดูที่นี่ >> VDO UCI MTB WORLD CUP 2014 สนาม 2,3,4

VDO UCI MTB WORLD CUP 2014:สนาม 2,3,4

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับ ทุกท่าน  วันนี้เอาลิ้งค์ VDO การแข่งขัน UCI MTB WORLD CUP 2014: CAIRNS, AUSTRALIA มาให้ทุกท่านดูกันครับ สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้ดูก็กดดูได้ตรงรูปหรือลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยครับ 

UCI MTB WORLD CUP 2014:CAIRNS, AUSTRALIA สนาม 2

หรือคลิกที่นี่>>  http://live.redbull.tv/events/349/uci-mtb-world-cup-2014-cairns-xco-men/



UCI MTB WORLD CUP 2014:NOVE MESTO, CZECH REPUBLIC สนาม 3

 หรือคลิ๊กที่นี่ http://live.redbull.tv/events/352/uci-mtb-world-cup-2014-nove-mesto-xco-men/


UCI MTB WORLD CUP 2014: ALBSTADT, GERMANY สนาม 4

หรือคลิ๊กที่นี่  http://live.redbull.tv/events/355/2014-uci-mtb-world-cup-4-albstadt-xco-men/



หวังว่าทุกท่านคงชอบกันนะครับ 

เปิดตัวทีมจักรยานอาชีพสายพันธ์ไทย "SINGHA INFINITE" ทีมจักรยานอาชีพของไทย สานฝันสู่เส้นทางระดับโลก

|0 ความคิดเห็น
ทีมจักรยานอาชีพไทย SINGHA INFINITE


สวัสดีครับ คุณเพื่อน ๆ นักปั่นทุกท่าน  วันนี้ผมมีข่าวคราวเกี่ยวกับวงการจักรยานบ้านเรามาฝาก ให้กับทุกท่านครับ

และในที่สุด บ้านเราก็มีทีมจักรยานเสือหมอบอาชีพเกิดขึ้นแล้ว หลังจากที่เคยมีทีมจักรยานอาชีพสยามพารา และได้เลิกไปในที่สุด และมีการแถลงเปิดตัวทีมจักรยานอาชีพทีมนี้ขึ้น มีชื่อว่า  "SINGHA INFINITE" ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือบริษัท สิงห์คอเปเรชั่น กับ  บริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล ( LA Bicycle ) ส่วนเราชาวจักรยานก็คอยเป็นกำลังใจให้กับทีมจักรยานอาชีพสายพันธ์ไทย เพื่อสานฝันสู่เส้นทางโปรระดับโลกกันครับ

ความเป็นมาเป็นอย่างไร ?

ทางบ.สิงห์/บ.บุญรอด ต้องถือว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สนับสนุนด้านการกีฬาหลายๆอย่างมาโดยตลอดอยู่แล้ว กีฬาจักรยานก็ถือเป็นกีฬาหนึ่งที่ทางสิงห์อยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงก็ชื่นชอบการขี่จักรยานเช่นกัน ส่วนทางบริษัท LA Bicycle ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นแค่จักรยานทั่วไประดับราคากลางถึงล่าง แต่จริงๆแล้วทางบริษัท LA ถึอว่าเป็นโรงงานจักรยานยักษ์ใหญ่ของไทย ที่อยู่เบื้องหลังรับจ้างผลิตจักรยานคุณภาพสูงๆ OEM ให้กับจักรยานยี่ห้อดังๆมากมาย ซึ่งตอนนี้ทางบริษัท LA ได้หันมาผลิตจักรยาน Hi-end ในแบรนด์ของตัวเองในชื่อใหม่ว่า "INFINITE" เพื่อผลักดันให้เป็นแบรนด์ไฮเอนระดับโลก 

ต่างจากทีมจักรยานอาชีพเดิมอย่างไร?

ในอดีตสิบกว่าปีก่อนก็เคยมีการทำทีมสยามพาราฯ ซึ่งถือว่าเป็นการทำทีมอาชีพโดยผู้บริหารบ.พาราวินเซอร์ที่มีใจรักจักรยาน แต่ไม่สามารถจดทีมเป็นทีม continental ได้จึงไม่ได้ทำทีมต่อ แต่ทีม SINGHA INFINITE จะเปลี่ยนแนวทางใหม่ เป็นการสร้างความร่วมมือกับสมาคมฯและทั้งยังร่วมสนับสนุนทีมชาติไทย โดยจะเน้นไปที่เป้าหมายการทำทีมในต่างประเทศให้สำเร็จในระดับโลกให้จงได้ ซึ่งเมื่อประกอบกับทางบริษัท LA ที่มุ่งมั่นทำจักรยานแบรน Hi-end INFINITE จึงต้องการสนับสนุนนักกีฬามืออาชีพซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

นี่จึงเป็นความร่วมมือกันสร้างทีมจักรยานอาชีพ ระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยสองราย ที่มีศักษภาพและกำลังทรัพย์ที่จะผลักดันให้เกิด ทีมโปรจักรยานของไทย เพื่อให้เราได้มีโอกาสไปปักธงไทยในแวดวงโปรทัวส์ได้มากที่สุดแล้วครับ

อ่านข่าวการแถลงเปิดตัวทีมจักรยานอาชีพไทย SINGHA INFINITE ฉบับเต็มได้ที่  thaimtb.com 


14 มี.ค. 2557

วิธีป้องกันการเป็นตะคริวระหว่างปั่นจักรยาน

|0 ความคิดเห็น

การป้องกันก่อนที่จะเป็นตะคริวครับ

1. มีการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลัง
2. ถ้าออกกำลังกายหนักควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ
4. การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับ
ที่หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนังและค่อยๆ เหยียดแขนออกเพื่อยืดกล้ามเนื้อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น
5. ระวังไม่ให้ร่างกายขาดเกลือแร่ โดยรับประทานผลไม้ที่มีเกลือแร่สูง เช่น กล้วย
6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
7. ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
8. งดสูบบุหรี่
9. พักผ่อนให้เพียงพอ
10.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
11.สวมรองเท้าที่พอเหมาะและอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า
12.ผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ
13.ในรายที่เป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไข

ไปหน้าแรก  การปั่นจักรยาน

Overtraining ผลเสียของการฝึกซ้อมจักรยานมากเกินไป

|1 ความคิดเห็น
การฝึกซ้อมจักรยานมากเกินไปมีผลร้ายกว่าที่คุณคิด



หลายท่านคงคิดว่าการฝึกซ้อมจักรยานมากๆ ซ้อมหนักๆ ซ้อมทุกวันถึงจะแข่งแกร่ง เมื่อก่อนตอนเป็นเด็กเริ่มปั่นจักรยานใหม่ๆ ผมก็เคยคิดแบบนั้นครับ แต่พอผมโตขึ้น และได้ค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากหนังสือ และ ทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผมได้รู้ว่าทำไม่เมื่อก่อนซ้อมทุกวันซ้อมหนักๆ มันไม่ทำให้ผมปั่นจักรยานได้ดีขึ้นเลย อาจจะดีขึ้นบ้างแต่น้อยมาก และการพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ก็แย่ไปด้วยครับ เช่นการเรียน อารมณ์ และ ผลเสียทางด้านอื่นๆ อีกเยอะครับ

ไม่ใช่ว่าผมแบ่งเวลาได้ไม่ดีนะครับ แต่หลังจากที่ผมลองมาคิดๆดู และนึกถึงโปรแกรมการฝึกซ้อมในสมัยก่อนแล้วมันก็หนักจริงๆ ครับ คือ ซ้อม 6 วันพัก 1 วัน โดยแต่ละวันไม่ได้มีการกำหนดว่าจะออกไปขี่แบบไหน คว้าจักรยานสูบยางแล้วก็ออกไปขี่ให้เหนื่อยสุดๆ ก็จบการซ้อมสำหรับวันนั้น ถ้าหากเป็นตอนนี้ผมคงป่วยนอนโรงพยาบาลไปแล้ว แต่สาเหตุที่ผมไม่ป่วยในตอนนั้นคงเป็นเพราะผมยังเป็นวัยรุ่นการฟื้นตัวของระบบร่างกายจะทำได้เร็วกว่าคนที่อายุเยอะๆ ยิ่งอายุยิ่งเยอะการฟื้นตัวก็จะยิ่งช้าตามไปด้วย ดังนั้นเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราฝึกซ้อมมากเกินไป มีหลักในการสังเกตุดังนี้ครับ

1.อารมณ์ของคุณจะแปรปรวนได้ง่ายโดยไร้สาเหตุ หรือมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย รู้สึกหดหู่และเบื่อการฝึกซ้อมจักรยาน ข้อนี้หลายๆ ท่านคงเคยเป็นนะครับ อยู่ดีๆ ก็เบื่อการขี่จักรยานขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ

2.อัตราการเต้นของชีพจร เพิ่มขึ้นขณะท่านตื่นนอนใหม่ๆ ผมแนะนำให้ทุกท่านจับการเต้นของชีพจรตัวเองตอนตื่นใหม่ๆ วิธีคือ พอเราตื่นปุบยังไม่ต้องลุกจากเตียงครับ ทำการจับชีพจรของท่านก่อนเลยว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาทีถ้าหากวัดแล้วอัตราการเต้นของชีพจรของท่านเพิ่มขึ้นเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นปรกติในแต่ละวันแล้วละก็แสดงว่าท่านเริ่มมีความเสี่ยงต่อการฝึกซ้อมหนักเกินไป หรือ "Overtraining"แล้วละครับ

3.เกิดอาการผิดปรกติทางด้านร่างกายของท่าน เช่นมีอาการท้องเสีย, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อย่างต่อเนื่องพักแล้วก็ยังไม่หายปวดเมื่อย อาการพวกนี้ก็เป็นส่วนที่จะบอกได้ว่าท่านเริ่มฝึกซ้อมหนักเกินไป
สรุปแล้วการฝึกซ้อมหนักเกินไปหรือ "Overtraining" หมายถึงความเหนื่อยล้าเป็นเวลานานและซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งของร่างกายลดลงแม้จะมีการฝึกซ้อมจักรยานเพิ่มขึ้น ผลของมันจะรวมถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อการกระทำไซโตไคน์, การตอบสนองระยะเฉียบพลัน, โภชนาการที่ไม่เหมาะสมรบกวนอารมณ์ และผลการตอบสนองความหลากหลายของฮอร์โมนความเครียด และถ้าหากท่านตกอยู่ในอาการของการฝึกซ้อมหนักเกินไปแล้วละก็ท่านต้องใช้เวลาในการรักษาอาการนี้เป็นเวลานานเลยครับ โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาน 1-2 เดือนเลยละครับโดยในระหว่างการพักให้ร่างกายฟื้นกลับมาเหมือนเดิมนั้นท่านจะไม่สามารถออกไปขี่จักรยานซ้อมได้เลยครับ จะเห็นได้ว่าผลของมันนั้นร้ายแรงกว่าที่เราคิดไว้เยอะครับ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดการฝึกซ้อมหนักเกินไปหรือ"Overtraining"นั่นเองครับ



ไปหน้าแรก  เทคนิคการปั่นจักรยาน




 
ขอบคุณบทความจาก: www.thbike.blogspot.com

6 ระดับความหนักของการฝึกซ้อมจักรยานเพื่อความเป็นเลิศ

|0 ความคิดเห็น
หลักการฝึกซ้อมจักรยาน : ระดับความหนักของการฝึกซ้อมจักรยาน (Intensity Training)

นักกีฬาจักรยานที่ฝึกซ้อมจักรยานจะต้องรู้เกี่ยวกับระดับความหนักของการฝึกซ้อมว่าเราควรจะฝึกอยู่ในระดับใดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางร่างกาย และสมรรถภาพของตนเอง ก่อนฝึกต้องอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ก่อนเสมอ และหลักฝึกต้องผ่อนคลาย (Cool Down) เพื่อปรับให้ร่างกายเย็นลง ในการฝึกซ้อมจักรยานจะแบ่งระดับการฝึกดังนี้

1. การฝึกในระดับที่หนักมากที่สุด (Maximun Effort)
เป็นระดับที่มีความเข้มข้นในการฝึกสูงที่สุด การฝึกในรูปแบบนี้ได้แก่การสปริ๊นท์ร่างกายจะทำงานที่ในระดับนี้ได้ระยะเวลา 10-25 วินาที หัวใจจะเต้นด้วยอัตราสูงสุด ร่างกายทำงานโดยไม่ใช้ออกซิเจน แหล่งพลังที่กล้ามเนื้อดึงมาใช้ได้แก่ ATP และ PC

2. การฝึกในระดับที่หนักใกล้สูงสุด (Submaximum Effort) เป็นการฝึกที่ร่างกายสามารถใช้เวลาได้นานขึ้น 25 วินาทีถึง 2 นาที การฝึกขี่จักรยานในระดับนี้ เช่นการขี่จับเวลาไทม์ไทรอัล (TT) ระยะทาง 1,000 เมตรในลู่ หัวใจจะเต้นด้วยอัตราเกือบเท่า 100 % ของอัตราการเต้นสูงสุด การฝึกซ้อมในระดับนี้จะแตกต่างกับระดับแรกที่ว่าร่างกายใช้ “แอนแอโรบิกไกลโคเจน” (Anaerobic Glycogen) เป็นแหล่งพลังงาน

3. การฝึกในระดับสูง (High Inensity) ร่างกายสามารถทำงานในระดับนี้ได้นาน 2-4 นาที การขี่จักรยานระดับนี้เช่นการขี่เปอร์ซูท 300-400 เมตร หัวใจจะเต้นถึงอัตราสูงสุดได้ในระดับความเข้มที่ร่างกายทำงานที่เขตติดต่อระหว่าง “แอโรบิก” (ใช้ออกซิเจน) และ “แอนแอโรบิก” (ไม่ใช้อากาศ) แต่ตอนปลาย ๆ ของการาทำงานร่างกายจะเข้าสู่สภาพการไม่ใช้ออกซิเจนพลังงานที่ใช้มาจากทั้ง แอโรบิกและแอนแอโรบิกไกลโคเจน บางคนเรียกวิธีการฝึกขี่นี้ระดับนี้ว่า “การฝึกอินเตอร์วอลแบบยาว” (Long Interval)

4. การฝึกในระดับความเข้มปานกลาง (Average Intensity) หรือที่เรารู้จักกันดีในการฝึกที่เรียกว่า Anaerobic Threshold (AT) ร่างกายของเราจะสามารถทำงานในระดับนี้ อาจเป็นการขี่ไทม์ไทรอัลระยะทาง 5-20 กิโลเมตร อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 90-100% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ร่างกายจะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญทำให้เกิดพลังงานที่ระดับนี้ หมายเหตุนักจักรยานจะใช้เวลาส่วนมากฝึกซ้อมที่ระดับความเข้มในระดับนี้และที่ต่ำกว่านี้รวมทั้งการฝึก AT (Anaerobic Theershol Training)

5. การฝึกในระดับเบา (Light Intensity) ร่างกายจะสามารถทำงานในระดับนี้ตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปการฝึกในระดับนี้คล้าย ๆ กับการขี่ไทม์ไทรอัลระยะทาง 40 กิโลเมตร หรือขี่หนักในระยะที่ใกล้กว่านั้น อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 80-90% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด การทำงานของร่างกายจะเป็นแบบแอโรบิก (ใช้ออกซิเจน)ตอนแรกจะใช้ไกลโคเจนและต่อมาจะใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน พอมาถึงจุดนี้ร่างกายก็จะหมดแรงหรือที่เรียกว่า “บ๊องส์” (Bonks) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาวะชนกำแพง” (Hitting the wall)

6. การฝึกในระดับต่ำ (Low Intensity) ร่างกายสามารถทำงานในระดับนี้ได้นานเท่าที่ต้องการเช่นการขี่จักรยานข้ามประเทศสหรัฐอเมริกา (การแข่ง RAMM) ที่ขี่แข่งขันกันในระดับความเข้มระดับนี้สามารถขี่จักรยานได้เก็บตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 65 – 87% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด แหล่งพลังงานที่ร่างกายนำมาใช้คือไขมัน (Fatty Acid)

หมายเหตุ: โปรแกรมการฝึกซ้อมจักรยานที่สมบูรณ์ควรจะต้องรวมเอาการฝึกซ้อมที่ทุก ๆ ระดับเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ไปหน้าแรก  การปั่นจักรยาน


บทความโดย: อาจารย์ปราจิน รุ่งโรจน์

12 ม.ค. 2557

ประชาสัมพันธ์ งานประเพณีปั่นจักรยานพิชิตอินทนนท์ ประจำปี 2557

|0 ความคิดเห็น
ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรม "ประเพณีปั่นจักรยานพิชิตอินทนนท์ ประจำปี 2557 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557 นี้ คณะกรรมการกำหนดเปิดรับสมัคร ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2557 และสิ้นสุดการรับสมัคร ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 และที่สำคัญสำหรับท่านที่ยังไม่รู้ ต้องขอบอกมิตรรักนักปั่นกันก่อนว่า งานนี้ไม่มีการลงทะเบียนหน้างานนะครับ เพราะทางผู้จัดงานได้แจ้งไว้ในกระทู้ thaimtb แล้วส่วนท่านใดที่สนใจและยังไม่ได้สมัคร ก็ไปสมัครได้ตามลิ้งค์นี้เลย  http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=54&t=870759  ส่วนผู้เขียน ตอนนี้ก็กำลังฝึกซ้อมเพื่อไปงานนี้โดยเฉพาะ เพราะตั้งใจมาหลายปีแล้วว่าจะพิชิตอินทนนท์ให้สำเร็จ เพราะเคยไปเมื่อครั้งที่ 2 แต่ครั้งนั้นปั่นรุ่นท่องเที่ยว 16 กิโลเมตร จึงยังค้างคาใจมาจนทุกวันนี้ และปีนี้ได้โอกาสอันดีจะต้องพิชิตให้สำเร็จ สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ซ้อมก็เริ่มซ้อมได้แล้วนะครับ เพราะใกล้ถึงวันงานแล้ว แล้วเราไปพบกันที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เพื่อทำความฝันให้เป็นจริงครับ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=54&t=870759

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง