ss

30 พ.ย. 2553

วิศวกรได้คิดค้นจักรยานไฟฟ้า ที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเอง

|0 ความคิดเห็น
เมื่อตอนคุณอายุประมาณเด็กอายุ 5 ขวบคงเคยรู้สึกว่าการขี่จักรยานนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเพราะต้องทรงตัวให้ได้บนรถที่มีเพียงล้อสองล้อ แต่ก็มีวิศวกรก็พยายามที่จะสร้างจักรยานที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเองขึ้นมา โดยปราศจากการควบคุมจากมนุษย์ [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]


อย่างไรก็ตาม วิศวกรจากมหาวิทยาลัยไคโอในเมืองโยโกฮาม่า ได้ทำการพัฒนาจักรยานไฟฟ้าที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเองขึ้นมา โดยที่จักรยานนี้สามารถตั้งอยู่ได้ในขณะที่เคลื่อนที่ไปด้วยและมีมอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน สำหรับเป้าหมายในครั้งนี้คือสร้างจักรยานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถเป็นทางเลือกใหม่ในวงการรถขนาดเล็ก
ยาสูชิโตะ ทานากะและโยชิสูกิ มูรากามิ จากสาขาวิศวกรรมการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยไคโอ ได้กล่าว่า จักรยานเป็นยานพาหนะที่มีความสะดวกสบาย ความปลอดภัย โดยเฉพาะสามารถใช้ในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการเกิดอุบัติเหตุจากจักรยานก็เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุบ่อยๆ และจักรยานไฟฟ้าแบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]
          และขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่แป้าหมายนั้น นักวิจัยได้ทำการออกแบบจักรยานไฟฟ้าที่สามารถรักษาสมดุลและเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ในการจำลองและการทดลอง พวกเขาได้ทำการทดสอบโดยใช้การควบคุมความสมดุลและควบคุมเส้นทางควบคู่กันไป จนได้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวของมันเอง
การเตรียมการทดลองนั้น ได้ใช้จักรยานทั่วไปประกอบด้วยโรเลอร์ 3 ตัว โดยที่อยู่ด้านหลัง 2 ตัวและอยู่ด้านหน้า 1 ตัว เมื่อโรเลอร์ด้านหลังหมุน โรเลอร์ด้านหน้าก็จะถูกหมุนผ่านเส้นลวด มอเตอร์ 2 ตัวที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของจักรยานจะถูกควบคุมมาจากมอเตอร์บนแฮนด์บังคับ มอเตอร์ที่ควบคุมล้อหลังมีความเร็วประมาณ 2.5 เมตรต่อวินาที
หน้าจอที่แสดงตำแหน่งและความสมดุลของจักรยานเป็นหน้าจอแบบ แอล ซี ดี ติดอยู่บริเวณด้านหลังของจักรยานและติดตั้งกล้อง เพื่อจับตำแหน่งที่ด้านหลังของจอภาพ ใช้เซนเซอร์ที่ชื่อ ไจโร ในการจับตำแหน่งมุมของจักรยานที่เปลี่ยนไป [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]
          ทีมของผู้ของออกแบบได้ทำการปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการคำนวณความผิดปกติของถนนและคุณสมบัติของล้อ เป็นการยืนยันความเป็นไปได้ในการรักษาสมดุลของจักรยาน โดยไม่มีคนควบคุม
มูรากามิ กล่าวว่า เป้าหมายสุดท้ายของพวกเขาคือการรักษาสมดุล ในขณะที่มีความเร็วเป็นศูนย์ เนื่องจากอุบัติเหตุจากการตกจักรยานที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเมื่อผู้สูงอายุหยุดปั่นจักรยานเมื่อถึงบริเวณทางข้าม [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]


29 พ.ย. 2553

การดูแลรักษาจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง

|0 ความคิดเห็น
การดูแลจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง
          แม้คุณจะมิใช่ช่างซ่อมเสือภูเขา และคุณอาจรู้เรื่องเครื่องจักรกลน้อยถึงน้อยมาก แต่เพื่อความสนุกสนานในการเดินทางโดยไม่มีอุปสรรคจุกจิก ในระหว่างการเดินทางแต่ละครั้ง คุณสามารถดูแลเสือภูเขาด้วยตนเองได้ตามตารางการดูแลดังต่อไปนี้

ทุกครั้งก่อนการนำเสือภูเขาออกทริป
- ตรวจการเกาะของดุมล้อให้แน่นหนา
- ตรวจสภาพยางและความดันของลม
- ตรวจคอแฮนด์ให้ตั้งตรงทางและแน่นหนา
- ตรวจสอบการทำงานของเบรกให้เป็นปกติ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน

ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง - ล้างและเช็ดตัวจักรยานและชิ้นส่วนต่างๆ และตากให้แห้งสนิท
- ตรวจดูร่องรอยการกระทบกระแทกและบาดแผลต่างๆ หากมี
ให้ฉีดน้ำยากันสนิมและน้ำมันรักษาเนื้อโลหะ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน

ตรวจทุกสัปดาห์
- เช็ดตัวรถด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ให้ทั่วคัน
- ตรวจซี่ลวดไม่ให้หย่อน

ตรวจทุกเดือน - ตรวจสอบและหยอดน้ำมันโซ่และเฟืองท้าย
- ตรวจสอบและหล่อลื่นตัวจัดเฟือง
- ตรวจหานอตที่หลวมตามจุดต่างๆ
- ตรวจสอบสายเกียร์และเบรก หารอยสึกและชำรุด
- ตรวจสอบและปรับลูกปืนคอจักรยาน

ตรวจทุก 3 เดือน - ตรวจดูรอยสึกของขอบล้อ เปลี่ยนถ้าจำเป็น
- ตรวจและหล่อลื่นมือจับเบรก
- ทำความสะอาดจักรยานทั้งคันด้วยผ้าและน้ำอุ่น
- ตรวจสอบชุดบันได

ตรวจปีละครั้ง
- อัดจาระบีลูกปืนที่กะโหลกและแกนบันได
- อัดจาระบีลูกปืนล้อหน้าและล้อหลัง
- อัดจาระบีคอจักรยาน
- หล่อลื่นหลักอาน

หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะไม่ลืมดูแลรักษาจักรยานคันเก่งของเราให้ใช้งานได้ดีเสมอนะครับ จะได้ใช้งานคู่กันไปอีกนานแสนนาน

[การดูแลรักษาจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง]

ที่มา : หนังสือเสือภูเขาแรมทาง

11 พ.ย. 2553

เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]
       
 
             หากจะพูดถึงทางขึ้นเขา จะมีนักจักรยานน้อยมากที่จะมีความพึงพอใจในผลงานของตัวเอง เพราะการปั่นทางขึ้นเขานั้นนอกจากต้องใช้พละกำลังอันมหาศาลแล้ว ยังจะต้องมีเทคนิคต่าง ๆ มาเสริมในการปั่น โดยเฉพาะการใช้เกียร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรศึกษาและฝึกฝนตัวเองให้ชำนาญ เพราะหากไม่มีเทคนิคในการเปลี่ยนเกียร์ นอกจากจะทำให้การขี่ขึ้นเขาจะเป็นปัญหาใหญ่หลวงเหมือนที่เขาเรียกว่า "หนักกว่าเข็ญครกขึ้นเขาเสียอีก" ก็ยังจะทำให้ชิ้นส่วนของรถจักรยานของท่านเสียหายได้เช่นกัน
การเปลี่ยนเกียร์ในการขี่ขึ้นเขา
          ในการขี่จักรยานขึ้นเขา ไม่เป็นที่น่ายินดีสำหรับคนขี่จักรยานเท่าใดนัก ทุกครั้งที่เห็นเส้นทางข้างหน้าที่เป็นเนินเขาทำให้หลาย ๆ คนบ่นอยู่ในใจเสมอ ๆ ว่า ต้องออกแรงอีกแล้ว บางคนถึงกับถอดใจเอาเสียดื้อ ๆ บางคนต้องทำใจดีสู้เสือ เสียงดีดชิปเตอร์ดังป๊อกแป๊ก ๆ สนั่นหวันไหวเพื่อเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลง จะมีน้อยคนนักที่ยังใช้เกียร์เดิมแถมไม่ท้อแท้กับเส้นทางที่มีเนินอยู่ข้างหน้า เขาจะพุ่งเสือสุดที่รักของเขาขึ้นไปอย่างรวดเร็วตามลำดับ ฉะนั้นเทคนิคการใช้เกียร์ในช่วงนี้อาจจะเป็นตัวชี้ว่าจะแพ้หรือชนะก็ย่อมเป็นได้ ท่านลองฝึกหัดตามเทคนิคเหล่านี้ดูนะครับ   [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]
    1. เมื่อท่านขี่อย่างเร็วมาถึงเส้นทางที่มีเนินไม่ควรเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงทันทีทันใด
    2. ให้ขี่มาด้วยเกียร์เดิมจนท่านมีความรู้สึกว่ารอบขาของท่านเริ่มลดลงจากเดิมก็เปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงทีละหนึ่งชั้นเฟือง โดยเริ่มเปลี่ยนจากเฟืองหลังก่อน
    3. เมื่อเฟืองหลังได้เปลี่ยนมาจนอยู่ในระดับเฟืองที่ 5 หรือ  4 แล้ว หากรอบขาในการปั่นช้าลง ก็ให้เริ่มเปลี่ยนจานหน้า ลงไปหนึ่งชั้นเฟือง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเปลี่ยนจานหน้าลง รอบขาเริ่มเบาลง ให้เปลี่ยนเฟืองหลังเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้นเฟือง
    4. ไม่ควรใช้เกียร์เบามาก ๆ ในการขึ้นเขา และเปลี่ยนให้เป็นเกียร์หนักขึ้นเล็กน้อยเพื่อเร่งความเร็วเมื่อใกล้ ๆ จะถึงยอดเขา
   5. ควรคำนึงถึงรอบขาในการปั่นให้มากที่สุดในการใช้เกียร์แต่ละครั้ง
   6. ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์กระทันหันเมื่อรอบขาไม่สามารถปั่นต่อไปได้ หรือรถเริ่มหยุดการเคลื่อนที่ เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนจักรยานเสียหายได้ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโซ่ขาดจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ในขณะขึ้นเขา
[เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]

บทความจาก : http://www.lungmae.com/gear02.html

เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]

|3 ความคิดเห็น
เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน
 [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]
          
          เทคนิคการหายใจ 1. ขณะขี่แข่งขันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ชัยชนะในการแข่งขัน: ทำได้ดังนี้ ถ้าคุณหายใจไม่ทันขณะที่ปล่อยตัวออกไปอย่างรวดเร็ว คุณต้องฝึกการหายใจเข้า - ออกทุกๆ วันก่อนออกฝึกซ้อม
มีวิธีฝึกดังนี้
    1. ฝึกหายใจเข้าทางจมูกให้เต็มปอด และ เป่าลมออกทางปากจนหมดปอด จังหวะการหายใจให้หายใจลึกๆ ( ยาว ) ช้าๆก่อนทั้งเข้า - ออก
     2. ฝึกหายใจเข้า-ออกทั้งทางปากและจมูกพร้อมๆกัน จังหวะการหายใจเหมือนแบบที่ 1.  
    3. รวมการหายใจแบบที่ 1+2 เข้าด้วยกันแต่เน้นจังหวะการหายใจที่หนักหน่วงแรงและเร็วเหมือนแข่งขันฯประมาณ 15-20 สะโตก( เข้า - ออก ) แล้วผ่อนการหายใจยาวๆเป็นแบบที่หนึ่งหรือสองจนกว่าจะรู้สึกว่าหายเหนื่อยดีแล้วก็ให้กลับมาเริ่มฝึกหายใจแบบที่สามอีก คือหนักหน่วงแรงและเร็ว  ทำสลับกันอย่างนี้ใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที แล้วก็ออกไปฝึกซ้อม  [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]


หมายเหตุ: การฝึกแรกๆระวังหน้ามืดเป็นลม ต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อร่างกายปรับตัวได้ดีแล้วคุณจะเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการหายใจว่า " นี่คือหัวใจของความอึด " ในการปั่นเสือที่คุณชอบครับ การฝึกหายใจเป็นประจำทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น พร้อมกับฝึกประสาทควบคุมการหายใจให้รับรู้วิธีการหายใจในขณะแข่งขันฯ ทำให้คุณผ่านพ้น " ภาวะอึดอัด "  ( หายใจไม่ทัน )ไปได้ ซึ่งจะเป็นผลดีในการปั่นแข่งขัน  มากกว่าคนที่ไม่เคยฝึกเทคนิคการหายใจครับ  แต่ทุกๆคนต้องหายใจเพื่อชีวิตเพียงแต่ว่าคุณหายใจได้ดีแค่ไหน ? โดยเฉพาะอากาศออกซิเจนที่คุณต้องการน่ะมากพอหรือยังครับ

เทคนิคการหายใจ 2.( การหายใจที่นุ่ม-ลึก ) [เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]
 เราเรียนรู้การหายใจมาพอสมควรแล้ว ต่อไปนี้เราจะใช้จังหวะการหายใจในการขี่แต่ละแบบดังนี้
     1. การหายใจในการขี่ทางเรียบ : จะใช้การปั่นแบบ 8 สะโตก คือเมื่อหายใจออก( เร็วปานกลาง ) กดลูกบันไดให้ได้ 4  ครั้ง และเมื่อหายใจเข้า ( ช้ากว่าหายใจออกเล็กน้อย )  ให้ดึงหัวเข่าขึ้นให้ได้ 4 ครั้ง จังหวะการหายใจออกถีบ 1 2 3 4 ครั้ง หายใจเข้าดึงเข่าขึ้น 5 6 7 8  ครั้ง
     2.การหายใจขณะขี่ทางขึ้นเขา :  จะใช้การปั่นแบบ 4 สะโตก คือ เมื่อหายใจออก ( เร็วขึ้น ) ให้ถีบลูกบันไดให้ได้ 2 ครั้ง และเมื่อหายใจเข้า ( ช้าปานกลาง )ให้ดึงหัวเข่าขึ้นให้ได้ 2 ครั้งเช่นกัน จังหวะการหายใจ ( 1 2 - 3 4 )
    3. การหายใจขณะขึ้นเขาชัน : จะใช้การปั่นแบบ 2 สะโตก คือเมื่อหายใจออก( เร็วกว่า )ให้ถีบลูกบันไดลงหนึ่งครั้ง และดึ่งหัวเข่าขึ้นหนึ่งครั้งเมื่อหายใจเข้า( เร็วกว่า ) จังหวะการหายใจ ( 1-2 )แบบนี้จะสัมพันธ์กับการปั่นลูกบันไดตลอดเวลา
     4.การหายใจขณะสปริ้นท์ : จะเป็นการปั่นลูกบันไดแบบ2 สะโตกเช่นกันแต่การหายใจจะเร็วกว่าทุกๆแบบที่กล่าวมาข้างต้น

หมายเหตุ : การหายใจที่นุ่มนวลตลอดเวลาต้องอาศัยสมาธิและการฝึกฝน ( นุ่ม-ลึก ) ทำให้ประสิทธิภาพการปั่นจักรยานดีขึ้น ถ้ารู้จักการใช้จังหวะการปั่นลูกบันไดให้สัมันธ์กับการหายใจเข้า - ออกข้างต้น
[เทคนิคการปั่นเสือภูเขา]


เครดิตบทความ :เสือเฒ่า เทอร์โบ


บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง