ss

25 ส.ค. 2554

วิธีการใส่หมวกกันน็อกที่ถูกต้องและปลอดภัย

|0 ความคิดเห็น
บ่อยครั้งที่เรามักจะละเลยในเรื่องของความปลอดภัย การป้องกันก่อนที่เหตุจะเกิดเมื่อยังไม่เกิดอุบัติเหตุก็ไม่คิดที่จะใส่ใจป้องกันแต่เมื่ออะไรมากได้โอกาสครั้งที่สองก็ยังกลับมาเริ่มใหม่ได้ แต่ถ้าเกิดโชคร้ายมีโอกาสครั้งเดียวจะทำอย่างไร ในเมื่อไม่รู้ว่าเราจะมีโอกาสกี่ครั้ง เรามาป้องกันไว้ก่อนไม่ดีกว่าหรือครับ


สำหรับจักรยานมีเครื่องป้องกันอยู่ไม่กี่ชิ้น หลัก ๆ เลยก็คือหมวกกันกระแทกหรือที่เราชอบเรียกกันว่าหมวกกันน็อก ถ้าเพื่อน ๆ ผู้อ่านท่านใดเคยเข้าแข่งไม่ว่าจะรายการไหนก็ตาม ในใบสมัครจะระบุไว้เป็นข้อต้น ๆ เลยว่า “ผู้เข้าแข่งขันจักรยานทุกท่านต้องสวมหมวกกันกระแทก” ถึงอย่างนั้นก็เป็นแค่การบังคับให้สวมเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าต้องสวมให้ถูกด้วย ถ้าสวมไม่ถูกแต่ไม่ล้มหรือล้มไม่แรงหรือล้มแรงแต่หัวไม่โดนก็ไม่เป็นไร แล้วจะมีอะไรรับประกันได้ว่า เมื่อพลาดล้มหัวของเราจะไม่ไปกระแทกกับอะไรเข้า คำตอบคือไม่มี จะบอกว่าถ้าเจ็บตัวถือเป็นโชคร้าย ถ้าปลอดภัยถือเป็นโชคดี คิดจะฝากความปลอดภัยของตัวเองไว้กับโชคชะตาแค่นั้นหรืออย่างไร ต่อไปนี้เราขอแนะนำเกี่ยวกับการใส่หมวกกันน็อกอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

ก่อนที่จะใส่หมวกก็ต้องมีหมวกก่อน หมวกกันน็อกมีให้เลือกหลายทรง หลายยี่ห้อ ตามแต่ความชอบและกำลังทรัพย์ สิ่งแรกที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญคือเรื่ององขนาด ต้องไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป อย่าซื้อหมวกแบบเผื่อโต หรือเล็กหน่อยจะได้สวย เลือกหมวกที่พอดีกับศีรษะมากที่สุด หมวกกันน็อกจะบอกขนาดเป็นเซนติเมตร เช่น M(53-56) หรือ L(56-62) ตัวเลขที่บอกคือเส้นรอบวงของหัวที่จะใส่ได้ เราสามารถวัดได้โดยการใช้สายวัด วัดรอบหัวเหนือแนวใบหูเมื่อมีหมวกกันน็อกแล้ว มาดูวิธีการใส่กันบ้างว่าการที่จะใส่ให้ถูกต้องควรทำอย่างไร

ตำแหน่งของหมวกด้านหน้าจะอยู่บนหน้าผากเหนือคิ้วเล็กน้อย ปรับตัวปรับความกระซับด้านหลังให้กระซับพอดีกับหัวไม่แน่นหรือหลวมเกินไป ทดสอบว่าหลวมเกินไปหรือไม่ ด้วยการยืนตรงและก้มหัวมองที่เท้าค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ถ้าหมวกหลวมเกินไปหมวกจะหล่นออกจากหัวแต่ถ้าแน่นเกินไปจะรู้สึกได้ถึงการรัดและเลือดไม่ไหลเวียน

เมื่อได้ความกระชับที่พอดีแล้ว มาที่สายรัดคางกันบ้าง หมวกกันน็อกสำหรับจักรยานจะมีสายรั้ง 2 เส้น เส้นหนึ่งมาจากด้านหน้า อีกเส้นหนึ่งมาจากด้านหลัง ทั้ง 2 เส้นจะมารวมกันเป็นรูปตัว Y ผ่านตัวปรับและกลายเป็นสายรัดคาง ตำแหน่งของตัวปรับนี้ควรอยู่ใต้ใบหูเล็กน้อย สายเส้นหน้าจะอยู่ด้านหน้าใบหู ส่วนสายเส้นหลังจะผ่านมาใต้ติ่งหู เพื่อเป็นการรั้งหมวกไว้กับใบหู ไม่ให้หมวกขยับ จุดนี้เป็นจุดที่ถูกละเลยมากที่สุดในการใส่หมวกกันน็อกหลายคนมักจะไม่ดึงตัวปรับขึ้นไปรั้งกับหูส่วนหนึ่งคงมาจากการปรับที่ต้องจุกจิกนิดหน่อย คิดว่าปรับยากซึ่งอันที่จริงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรยิ่งถ้าให้เพื่อนช่วยปรับจะยิ่งง่ายเข้าไปอีก ขั้นแรกปลดล็อคออกก่อน ปล่อยสายทั้ง 2 เส้นเป็นอิสระ ปรับทีละสาย เช่นปรับสายหน้าใช้มือหนึ่งเลื่อนตัวปรับเข้าหาใต้ติ่งหูจนติด ปรับสายหลังด้วยวิธีแบบเดียวกัน จากนั้นจับปลายสายทั้ง 2 ไว้แล้วเลื่อนตัวปรับให้ห่างจากหูเล็กน้อยแต่ไม่ควรเกิน 1 เซนติเมตรหรือถ้าจะให้เรียกง่าย ๆ คือใกล้ที่สุแต่ต้องไม่โดนสายรั้งทั้ง 2 ต้องตึงพอดีไม่หย่อน ปรับให้เท่ากันทั้ง 2 ข้าง

สุดท้ายคือสายรัดคาง ถึงจะเรียกว่าสายรัดคางแต่อันที่จริงเราไม่ได้เอาไปรัดกันที่คาง สายนี้จะรัดไว้ใต้คางถ้ารัดแน่นเกินไปจะทำให้หายใจไม่สะดวก แต่ถ้าหลวมเกินไปหมวกจะหลุดเอาได้ ให้รัดแล้วใช้นิ้วมือสอดลอดระหว่างสายรัดกับใต้คางได้สัก 2 นิ้วโดยประมาณ เป็นอันจบขั้นตอนการใส่ ลองขยับดูหน่อยว่าเข้าที่หรือไม่ด้วยการเขย่าหัวไปมา หมวกจะขยับได้เล็กน้อยแต่ไม่ควรเกิน 1.5 เซนติเมตร

คงไม่ยุงยากเกินไปนะครับสำหรับวิธีการใส่หมวกกันน็อกให้ถูกวิธี ถึงแม้จะยุ่งยากสักหน่อยแต่เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตก็ควรเสียสละเวลาซักเล็กน้อยเพื่อปรับหมวกกันน็อกให้กระชับพอดีกับศีรษะของเราครับ

22 ส.ค. 2554

ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 3 “Front Deraillure”

|0 ความคิดเห็น
3. สับจานหน้า (Front Deraillure)
                สับจานจะเป็นตัวเปลี่ยนตำแหน่งของโซ่บนจานหน้า โดยอาศัยการดึงของสายเกียร์เพื่อผลักโซ่จากจานเล็กขึ้นไปจานใหญ่กว่าและอาศัยการดีดกลับของสปริง ในการดันโซ่จากใบจานใหญ่ลงไปใบจานที่เล็กกว่าสับจานแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทตามวิธีในการยึดกับจักรยาน

                - สับจานแบบรัดท่อ (Seat tube band mount) สับจานชนิดนี้จะยึดติดกับท่ออาน (Seat tube) โดยอาศัยแหวนรัด (Clamp band) ซึ่งมีอยู่ถึง 3 ขนาด ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของท่ออาน คือ 28.6, 31.8, 34.9 มม. จึงเป็นเรื่องน่าปวดหัวอย่างหนึ่งในการต้องหาสับจานให้ถูกขนาดกับท่ออานทุกครั้งที่เปลี่ยนเฟรมจักรยานอันใหม่ นอกจากจะมีถึง 3 ขนาดแล้ว ยังแบ่งประเภทย่อยออกไปตามตำแหน่งตัวรัดได้แก่
                - รัดล่าง (Top-swing link type) แหวนรัดท่อจะอยู่ต่ำกว่าขอบบนของใบสับจาน                                                     
                - รัดบน ( Standard link type) แหวนรัดท่อจะอยู่สูงกว่าขอบบนของใบสับจาน ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่ทำมานานแล้ว                                                                                                                                                                        การจะเลือกใช้รัดบนหรือรัดล่างนั้น ไม่ได้มีข้อแตกต่างกันนักในเรื่องการใช้งานเพียงแต่ว่าในเฟรมบางเฟรม ส่วนท่ออานด้านล่างอาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้สับจานรัดล่างเช่น ติดรอยเชื่อม หรือติดจุดหมุน

                - สับจานแบบเกี่ยวกะโหลก (Bottom bracket mount หรือสับจาน Type E)  สับจานชนิดนี้จะยึดเกี่ยวติดกับกะโหลก โดยจะต้องใช้กับกะโหลกที่ออกแบบไว้ ตัวสับจานเองจะมีรูสำหรับขันสกรูเพื่อยึดกับตัวท่ออาน เพื่อป้องกันไม่ให้สับจานขยับไปมา ดังนั้นนอกจากจะต้องใช้กับกะโหลกที่ออกแบบไว้แล้วตัวท่ออานเองก็ต้องออกแบบมาเผื่อด้วย โดยจะต้องมีรูสำหรับยึดกับตัวสับจานด้วย แต่เราอาจจะแก้ปัญหาด้วยการหาแหวน Adapter ที่เจาะรู้ทำเกลียวเอาไว้สำหรับยึด มารัดกับท่ออานแทน ซึ่งจะมีอยู่  3 ขนาดเช่นกัน  นอกจากจะแบ่งตามวิธีที่ยึดกับจักรยานแล้ว ก็ยังแบ่งออกตามวิธีการดึงของสายเกียร์ (Cable routing)

                - สับจานดึงบน (Top route) สายเกียร์จะเดินมาตามท่อบนแล้วตีโค้งลงมาหาตัวสับจาน เฟรมของเสือภูเขาส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะออกแบบมาสำหรับสับจานดึงบนเราจึงสามารถหาสับจานแบบนี้ได้ทั่ว ๆ ไป                                
                - สับจานดึงล่าง (Bottom route) สายเกียร์จะเดินมาตามท่อล่าง แล้วจึงจะวกอ้อมกะโหลกขึ้นไปดึงสับจาน ถ้าไม่นับเสือหมอบ แล้วเสือภูเขาที่ใช้สับจานแบบดึงล่างนี้จะมีสัดส่วนอยู่น้อยกว่าแบบดึงบน (ในปัจจุบันเสือภูเขาหลายยี่ห้อ เช่น GT ซึ่งเคยใช้สับจานแบบดึงล่าง ก็หันมาทำเฟรมที่ใช้กับสับจานแบบดึงบนแทน)                                                               
               - สับจานแบบดึงได้ 2 ทาง (Dual-pull type) ถูกนำมาให้ใช้ได้ทั้งดึงบนและดึงล่างโดยทาง Shimano ได้ทำออกในท้องตลาดเพียงรุ่นเดียวคือ Deore                                                                                                
              - สกรูตัว H และ L ทำหน้าที่จำกัดระยะของสับจาน                                                                                                
              - Chain guide ทำหน้าที่ผลักโซ่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งใบจาน มีลักษณะเป็นกรอบ ด้านในจะผลักโซ่ขึ้นจานใหญ่ ด้านนอกจะผลักโซ่ลงจานเล็ก


บทความที่เกี่ยวข้อง:


>> ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 1 “Shifter”

>> ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 2 “Shift Cable and Shift Cable Casing”

 


                                                                                                



ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 2 “Shift Cable and Shift Cable Casing”

|0 ความคิดเห็น
            
2. สายเกียร์และปลอกสาย (Shift Cable and Shift Cable Casing)    
สายเกียร์ทำมาจากลวดเส้นเล็ก ๆ นำมาขวั้นเป็นเกลียวกล้ายกับสายลวดสลิง สายเกียร์จะแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่                                                                                                                                                              
 - Plain Cable เป็นสายโลหะธรรมดาไม่มีอะไรเคลือบอยู่จึงมีโอกาสสกปรกหรือเป็นสนิมได้ ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ                                                                                                                            
- Coated Cable เป็นสายโลหะเคลือบผิวด้วยสารสังเคราะห์ได้แก่ Teflon มีผลช่วยลดความเสียดทานระหว่างตัวสายกับปลอกสายทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ราบรื่นขึ้น และยังช่วยลดโอกาสการเกิดสนิมของสายเกียร์ได้ 

                สายเกียร์จะสอดร้อยไปในปลอกสายแล้วเดินไปตามตัวถึงจักรยาน การเดินสายเกียร์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ


1.  เดินไปตามท่อบน (Top Tube) จะใช้กับสับจานชนิดดึงบน ส่วนสายที่ดึงตีนผีจะเดนไปตามตะเกียบอาน (Seat Stay) การเดินสายโดยวิธีนี้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการดึงสับจาน เพราะแนวของสายเกียร์จะค่อย ๆ โค้งไปตามปลอกสายจากท่อบนลงมาที่ท่ออาน ทำให้ไม่ต้องออกแรงในการดึงสับจานมากนัก

2.  เดินไปตามท่อล่าง (Down Tube) จะใช้กับสับจานชนิดดึงล่าง ส่วนสายที่ดึงตีนผีจะดินไปตามตะเกียบโซ่ (Chain Stay) วิธีเดินสายไปตามท่อล่างเป็นที่นิยมกันในหมู่เสือหมอบและเสือภูเขาบางยี่ห้อ การเดินสายวิธีนี้จะใช้ปลอกสายน้อยกว่าวิธีการเดินตามท่อบน แต่มีข้อเสียที่สายเกียร์จะมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งสกปรกหรือโคลนทำให้เกิดสนิมได้ง่าย และสายเกียร์ที่ดึงสับจานก็จะต้องมีการวกอ้อมกระโหลกขึ้นไปโดยอาศัยร่องพลาสติกเป็นตัว Guide ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าจะค่อนข้างกินแรงกว่าวิธีเดินตามท่อบน และเมื่อสายเกียร์บริเวณนั้นเป็นสนิม จะทำให้มีความฝืดมากขึ้น

ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 1 “Shifter”

|0 ความคิดเห็น
เรามาทำความรู้จักกับระบบเกียร์ของจักรยานกันดีกว่าครับ

ระบบเกียร์เป็นสิ่งพื้นฐานที่เราควรจะดูแลเองได้บ้าง ระบบเกียร์นั้นจะเริ่มต้นกันตั้งแต่ Shifter สายเกียร์ (Shift cable) ตัวสับจานหน้า (Front derailleur) หรือตีนผี (Rear derilleur) และชุดใบจาน (Chain rings) หรือเฟืองหลัง (Cog set) รวมไปถึงโซ่ (Chain) ที่รับส่งกำลังให้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เราควรจะต้องมี คือจะต้องมีความรู้จักมักคุ้นกับสิ่งที่เราจะลงมือเสมอ

1.  Shifter  ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะประกอบด้วยตัวเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ และตัวเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์หลังจะอยู่ด้านขาวมือของแฮนด์เสมอ Shifter แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะรูปร่าง ได้แก่

Thumb Shift – ยี่ห้อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Shimano ซึ่งได้ทำการพัฒนา ปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและแม่นยำภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Rapidfire
Rotary Shift – หรือที่เราชอบเรียกติดปากตามยี่ห้อว่า Grip shift ซึ่งปัจจุบันยี่ห้อที่เป็นที่นิยมกันคือ SRAM หรือ SACH ในอดีตนั่นเอง


Shifter จะทำการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยอาศัยการส่งแรงดึงผ่านสายเกียร์ โดยสอดอยู่ภายในปลอกสายเกียร์ สายเกียร์จะไปดึงสับจานหรือตีนผี ให้ไปดันโซ่ให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าหรือเฟืองหลัง ตัว Shifter จะต้องทำมาให้เข้ากันกับตัวสับจานหรือตีนผีที่ใช้ เช่น ตีนผีสำหรับ 9 สปีด ก็ต้องใช้กับ Shifter สำหรับ 9 สปีดด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว SRAM กับ Shimano จะสามารถใช้แทนกันได้ ยกเว้นเฉพาะ SRAM รุ่น ESP ที่ต้องใช้กับตีนผี SRAM รุ่น ESP ด้วยกัน เพราะว่ามีระยะดึงมากกว่าตัวอื่น ๆ ถึง 2 เท่า

บริเวณที่สายเกียร์ออกจาก Shifter นั้น จะมีตัวปรับความตึงของสายเกียร์ (ยกเว้น Rapid fire ที่ใช้เปลี่ยนเกียร์หลังของ Shimano รุ่นล่าง ๆ จะไม่มีตัวเร่งสายเกียร์ที่ Shifter  แต่ให้ไปปรับที่ตีนผีแทน) ถ้าหมุนเข้าในหรือที่ฝรั่งเรียกว่าหมุนวนขวาหรือหมุนตามเข็มนาฬิกา (ในกรณีที่ดูจากด้านนอกเข้าไป) จะทำให้สายเกียร์หย่อนลง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหมุนออกหรือที่เรียกว่า หมุนวนซ้ายหรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา จะทำให้สายเกียร์ตึงขึ้น ซึ่งอันนี้ขอให้เข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนไม่เช่นนั้นเวลาเจอคำว่าหมุนเข้า หรือหมุนออกจะได้ไม่สับสน อาจจะมีหลายคนถามว่า Rapidfire vs Grip Shift อะไรดีกว่ากัน ถามง่ายแต่ตอบยาก เพราะความจริงแล้วไม่มีอะไรที่ดีไปกว่ากัน แล้วแต่คนชอบแล้วแต่คนใช้

- RapidFire ให้ความรู้สึกนุ่มนวลกว่า ให้ความรู้สึกแม่นยำกว่า
- Grip Shift ให้ความรู้สึกหนักแน่นกว่า แต่เนื่องจากใช้ข้อมือบิดซึ่งมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่และหยาบกว่ากล้ามเนื้อที่คุมนิ้วมือ จึงมีโอกาสที่จะบิดเกินหรือบิดขาดโดยเฉพาะด้านเกียร์หลัง ทำให้บางคนเข้าใจว่าไม่แม่นยำเท่ากับ RapidFire แต่ถ้าหากเรียนรู้วิธีการใช้งานจนชำนาญแล้ว จะพบว่ามีความแม่นยำไม่แตกต่างจาก RapidFire นอกจากนี้ Stroke ในด้านการเปลี่ยนตำแหน่งสับจานหน้าจะทำได้กว้างกว่า RapidFire เนื่องจากสามารถบิดต่อเนื่องกันได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้ร่วมกับใบจานหน้าแบบเก่าที่ไม่มีหมุดช่วยวิดโซ่


บทความที่เกี่ยวข้อง:

>> ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 3 “Front Deraillure”


19 ส.ค. 2554

แจ้งกำหนดงาน Bangkok Car Free Sunday #2

|0 ความคิดเห็น
วันอาทิตย์หยุดขับ@กรุงเทพ ครั้งที่ 2
21 สิงหาคม 2554 เวลา 07.00-13.10 น.
เส้นทาง: ลานคนเมือง > นางเลิ้ง


ชวนคนกรุงเทพฯ จอดรถยนต์ไว้บ้าน มาปั่่นจักรยานลดมลภาวะ...ชม ชิม ช้อป เพลิดเพลิน ย่านนางเลิ้ง ป้อมปราบ พระนครปั่นกับวิทยากร หรือปั่นตามอัธยาศัย (มีจักรยานให้ยืมฟรี) ร่วมสนุก ปั่นสะสมตราประทับ ลุ้นจักรยาน Trek ราคาพิเศษ

รู้จักของดีประจำย่าน พร้อมสะสมแต้มตามลายแทงฉลาด​เดินทาง ลุ้นแลกซื้อจักรยานทัวร์ริ่​ง Trek 7.3 FX 

เชิญคนกรุงเทพฯ พาครอบครัวมาพักผ่อน เรียนรู้ ปั่นจักรยานเที่ยว
ร่วม กิจกรรมตามอัธยาศัย นำจักรยานมาเอง หรือยืมจักรยานในงานแล้วปั่​นเที่ยวเล่นตามอัธยาศัย หรือร่วมปั่นจักรยานกับวิทย​ากร-จุดนัดหมายรวมขบวน หน้าลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)

กำหนดการ Bangkok Car Free Sunday #2
07.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสารที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
07.30 น. ชี้แจงกิจกรรมและเส้นทาง
07.45 น. ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน
08.00 น. เริ่มปั่นจักยานตามเส้นทางร​ณรงค์หรือปั่นตามสบายเพื่อส​ะสมตราประทับแล้วลุ้นรางวัล

ช่วงที่ 1 การรณรงค์ใช้จักรยาน (08.15 – 10.30 น.)
08.15 น. อาคารอนุรักษ์ ประปาแม้นศรี (ตราประทับ#1)
08.45 น. พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระป​กเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตราประทับ#2)
09.20 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงค​ล พระนคร (วังนางเลิ้ง) (ตราประทับ#3)
10.00 น. วัดสุนทรธรรมทาน (ตราประทับ#4)

ช่วงที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และกิจกรรมสันทนาการ
10.30 – 12.00 น.
กลุ่มที่ 1
เส้นทาง “เรื่องนี้มีที่มา” (บ้านสุริยานุวัตร ตราประทับ#5 -สะพานมัฆวานรังสรรค์ – บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนต​รี ฯลฯ)

กลุ่มที่ 2
เส้นทาง “ศรัทธาวิถี” (วังกรมพระสมมติอมรพันธ์ ตราประทับ#6 - วัดสระเกศ - วังวรดิศ ตราประทับ#7- วัดโสมมนัสวิหาร ตราประทับ#8 ฯลฯ)

กลุ่มที่ 3
เส้นทาง “วิถีถิ่น ชุมชนบางกอก” (ตรอกบ้านบาตร ตราประทับ#9 - ตรอกเซี่ยงไฮ้ ทำหีบศพ ตราประทับ#10 – ถนนสายไม้ - บ้านนราศิลป์ ปักเครื่องแต่งกายโขน ละคร ตราประทับ#11 - บ้านศิลปะ เพื่อการฟื้นฟูชุมชน ฯลฯ)

12.00 – 13.00 น. ตะเวน ชม ชิม ช็อป อาหารอร่อยในตลาดนางเลิ้ง (ตราประทับ#12) โรงหนังเฉลิมธานี (ตราประทับ#13) และร้านย่านใกล้เคียง อาทิ เป็ดย่าง บะหมี่-เกี้ยว ข้าวหมูแดง ข้าวแกง เย็นตาโฟ ไก่ย่างสนามมวย ขนมไทย กล้วยทอด ชา- กาแฟ ฯลฯ ซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคร้า​นโชห่วยแบบไทย ไทย ในชุมชนให้อยู่รอด อาทิ เสื้อตราห่านคู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ยาประจำบ้าน ฯลฯ

13.10 น. เดินทางกลับถึงลานคนเมือง

ไม่ลืมเรื่องสิ่งแวดล้อม : ตลอดวันมีการวัดอุณหภูมิอาก​าศใต้ต้นไม้ย่านวัดโสมนัสที​่รมรื่น เปรียบเทียบกับถนนตากแดดเพื​่อตอกย้ำประโยชน์ของต้นไม้ใ​หญ่

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่​ 1 ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเส้นท​าง “เรื่องนี้มีที่มา” (สถานที่สำคัญทางประวัติศาส​ตร์) รวม 7 แห่ง
1.1 สะพานมหาดไทยอุทิศ
1.2 บ้านสุริยานุวัตร
1.3 สะพานมัฆวานรังสรรค์
1.4 สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
1.5 บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนต​รี
1.6 ตลาดนางเลิ้งร้อยปี
1.7 โรงหนังเฉลิมธานี

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่​ 2 ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเส้นท​าง “ศรัทธาวิถี” (วัด วัง ศาลเจ้า) รวม 6 แห่ง
2.1 วังกรมพระสมมติอมรพันธ์
2.2 วัดสระเกศ
2.3 วัดสิตาราม (วัดคอกหมู)
2.4 วังวรดิศ
2.5 วัดสมณณัมบริหาร (วัดญวนสะพานขาว)
2.6 วัดโสมมนัสวิหาร
- ตลาดนางเลิ้งร้อยปี
- โรงหนังเฉลิมธานี

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่​ 3 ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเส้นท​าง “วิถีถิ่น ชุมชนบางกอก” (บ้านโบราณ อาชีพ ภูมิปัญญา) รวม 7 แห่ง
3.1 ตรอกบ้านบาตร
3.2 ตรอกเซี่ยงไฮ้ (ทำหีบศพ)
3.3 ถนนสายไม้
3.4 บ้านนราศิลป์ (ปักเครื่องแต่งกายโขน ละคร)
3.5 บ้านศิลปะ (ศิลปะเพื่อการฟื้นฟูชุมชน)
3.6 ตลาดนางเลิ้งร้อยปี
3.7 โรงหนังเฉลิมธานี

ช่วงที่ 3
กิจกรรมภาค ค. “ตามใจฉัน” (ชม ชิม ช็อป)
12.00 – 13.00 น.
ตะเวนชม ชิม ช็อป อาหารอร่อยในตลาดนางเลิ้งแล​ะร้านย่านใกล้เคียง อาทิ เป็ดย่าง บะหมี่-เกี้ยว ข้าวหมูแดง ข้าวแกง เย็นตาโฟ ไก่ย่างสนามมวย ขนมไทย กล้วยทอด ชา- กาแฟ ฯลฯ ซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคร้า​นโชห่วยแบบไทย ไทย ในชุมชนให้อยู่รอด อาทิเสื้อตราห่านคู่ สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ยาประจำบ้าน ฯลฯ
13.10 น. เดินทางกลับถึงลานคนเมือง โดยสวัสดิภาพ

18 ส.ค. 2554

จักรยานกับ Cro-Moly ตอนที่ 3 (จบ)

|2 ความคิดเห็น
วิธีสังเกตว่าเฟรมเหล็กกับโครโมลีจะแตกต่างกันอย่างไร คงต้องดูที่มีสติ๊กเกอร์แปะไว้หรือหากไม่มี ก็ต้องใช้วิธีชั่งน้ำหนักที่ตัวเฟรมเปล่า ๆ โดยเฟรมที่ทำจากโครโมลีจะมีน้ำหนักเบากว่าเฟรมเหล็ก หรือดูด้วยตาก็เพียงถอดหลักอานแล้วมองดูที่เฟรมโดยตัวถังเหล็กจะมีความหนามากกว่า อีกทั้งโครโมลียังเป็นสนิมได้ยากกว่าด้วย


สำหรับข้อดีของโครโมลีคือ ด้วยตัวเฟรมเปล่าของโครโมลีนั้นมีน้ำหนักเบามากกว่าเฟรมอลูมิเนียม ส่งผลให้เกิดแรงเฉื่อยได้มากกว่าเฟรมอลูมิเนียม เหมาะสำหรับการขี่บนถนนเรียบที่ยาวไกลและคงสภาพความเร็วสม่ำเสมอ รถไหลไปได้นานกว่าเฟรมที่เบา ช่วยให้มีเวลาพักแรกกดบันได อีกทั้งโครงรถจักรยานยังซับแรงกระแทกได้ดีไม่กระด้างอย่างอลูมิเนียม นุ่มนวลขึ้นรูปง่าย เนื้อเหนียวทนทาน  สามารถออกแบบท่อให้มีความบางทำให้สร้างเฟรมที่มีน้ำหนักเบาได้ ยิ่งถ้าหากเป็นเฟรมเกรดสูง ๆ ด้วยนั้นจะมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับไททาเนียม ด้วยเหตุนี้โครโมลีจึงนิยมกันอยู่ในรถประเภทที่ต้องการความแข็งแรง ปั่นเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลอย่างจักรยานทัวริ่งแต่สำหรับเสือภูเขาเรซซิ่งจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากเฟรมโครโมลีให้ตัวมากกว่าวัสดุอย่างอลูมิเนียม ส่งผลให้รถเกิดอาการดิ้นได้เมื่อลงแทร็ก 


ข้อด้อยที่มองข้ามไม่ได้ก็คือเรื่องของน้ำหนักที่ทำให้เกิดแรงเฉื่อย แต่จะเสียเปรียบด้านการออกตัวกว่าเฟรมที่มีน้ำหนักเบาอย่างอลูมิเนียม การดูแลรักษาผิววัสดุก็ยากกว่า เนื่องจากเฟรมโครโมลีสามารถเกิดสนิมขึ้นได้ และปัจจุบันเฟรมที่ทำจากคาร์บอนนั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ดีขึ้น ราคาที่ถูกลง ทำให้เฟรมท่อโครโมลีเป็นที่นิยมน้อยลง ในส่วนการดูแลรักษา ซึ่งปกติเฟรมโครโมลีจะทนต่อการเกิดสนิมกว่าเฟรมเหล็ก แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้ เบื้องต้นของการไม่ให้เกิดสนิมก็เพียงแค่หาน้ำมันเอนกประสงค์อย่างน้ำมันจักร หรือ WD40 ฉีดตามบริเวณรูปลายท่อเฟรมหรือถอดหลักอานแล้วฉีดเข้าไปภายในให้ทั่ว เท่านี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้แล้ว 


สุดท้ายนี้ ถึงเฟรมโครโมลีจะมีน้ำหนักที่เสียเปรียบกว่าเฟรมที่ทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาอย่างอลูมิเนียม ไททาเนียม หรือคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ถ้าหากหมั่นฝึกซ้อมบ่อย ๆ ก็สามารถชนะคู่แข่งได้ไม่ยาก อย่างนักแข่งระดับโลก Tony Rominger ที่เจาะจงใช้เฟรมเหล็กของ Colnago ทำสถิติโลกในการปั่น 1 ชั่วโมง ในปี 1994 ด้วยความเร็วเฉลี่ย 55.291 กิโลเมตร/ชั่วโมง ชนะรถจักรยานที่ใช้เฟรมคาร์บอนที่ใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยตัวเฟรมแบบ Monocuque ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าอย่างขาดลอย  จะเห็นได้ว่าเฟรมโครโมลี ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักปั่นหลาย ๆ กลุ่ม ที่ยังอนุรักษ์และหลงใหลกับเฟรมโครโมลีอย่างไม่เสื่อมคลาย หากเพื่อน ๆ สนใจอยากได้เฟรมโครโมลีมาใช้ลองหา ๆ ดูตามร้านจักรยาน หรือที่ประกาศขายมือสองกันครับ...


บทความที่เกี่ยวข้อง:


จักรยานกับ Cro-Moly ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
โครโมลี (Cro-Moly) ยังถูกนำมาพัฒนาใช้ในการสร้างท่อเฟรมจักรยานอยู่หลายยี่ห้อ เช่นท่อสัญชาติญี่ปุ่นในแบรนด์ TANGE ที่จะแบ่งเกรดท่อออกเป็น 4 เกรด ได้แก่ Tange Ultimate, Tange Prestige, Tange Infinity, Tange  ที่ใช้ในรถจักรยานแบรนด์ Tange เองหรือ Soma รุ่น Groove ท่อน้องใหม่จากญี่ปุ่น ส่วนอีกแบรนด์ที่กำลังมาแรงในตอนนี้คือท่อ Kung Fu Tubing ซึ่งท่อตัวนี้จุดเด่นคือมีความแข็งแรงไม่แตกต่างกับท่อ True Temper แต่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เพราะมีสายการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น จักรยานที่ใช้ท่อนี้คือ Salsa รุ่นปัจจุบันเนื่องจาก ราคาท่อโครโมลีดีดสูงมากถ้า Salsa ยังใช้ท่อ True Temper เหมือนเดิมราคาจะเพิ่มไปไกลกว่านี้เยอะ ดังนั้นก็ต้องหาท่อที่คุณสมบัติตอบโจทย์ของสินค้าเค้าได้ แต่ราคาที่ไม่สูงเกินไป มันก็เลยไปจบที่ท่อ Kung fu จาก Sanko


ท่อ Kung Fu Tubing ท่อ Kung Fu Tubing Ala Carte ท่อโครโมลี True Temper ท่อแบรนด์นี้ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ก่อสร้าง ไม้กอล์ฟ อุปกรณ์ตกปลา เฟรมจักรยาน โดยท่อที่นำยิมนำมาทำเฟรมจักรยานจะเป็นรุ่น ox2,ox3,platimun อย่างจักรยานของ KHS รุ่น SOFT TAIL ปี 2002 ใช้ TRUE TEMPER OX2 ต่อด้วยท่อที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้น ๆ อย่างท่อสัญชาติอังกฤษ Reynolds ท่อแบรนด์นี้จะแบ่งเกรดออกเป็นตัวเลขตามสายการผลิต ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างเช่นท่อรหัส 500 เป็นการพัฒนาโดยใช้ส่วนโลปะผสมเพิ่มเติมเป็น Chromium-molybdenum (CrMo) steel, Seamed,Butted  ท่อรหัส 501 ได้รับการพัฒนาเริ่มออกสู่ตลาดประมาณปี 1983 ต่อมาท่อรหัส 520,525 เริ่มพัฒนาต่อให้รับแรงได้ดีขึ้น จึงทำบางได้มากขึ้น เริ่มนำมาใช้ทำเฟรมในกลุ่ม Triathlon ท่อรหัส 531 ปรับปรุงส่วนผสม Manganese/Molybdenum, ยุคนี้ถือว่าได้เข้าสู่สุดยอด พัฒนาให้กลับกลุ่มทัวร์ริ่ง เฟรมใช้รหัส 531ST – Special Tourig Tubeset เป็นต้น โดยแบรนด์ที่ใช้ท่อ Reynolds คือ Specialized รุ่น Allez Steel ใช้ท่อรุ่น 520,Jamis รุ่น Dragon กับ Voodoo รุ่น Bizango ใช้ท่อรุ่น 853 แบรนด์ที่ได้รับความนิยมอีกรุ่นคือ Columbus เป็นท่อสัญชาติอิตาลี่ ซึ่งในสมัยก่อนจะแบ่งเป็น slx,sl,sp เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่ว่านำไปใช้กับประเภทไหน เพราะแต่ละประเภทจะใช้รุ่นท่อไม่เหมือนกัน 


แต่ปัจจุบันท่อของ Columbus ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนใหม่เป็น 6 รุ่น ได้แก่ SPIRIT LIFE, ULTRA FOCO FOCO, ZONA, THRON จักรยานที่ใช้ท่อนี้ได้แก่ Rocky Mountain รุ่น Blizzard 2011 โดยใช้ท่อรุ่น ZONA รวมถึงจักรยานโครโมลีที่ผลิตในอิตาลี ท่ออีกแบรนด์ที่แฟนโครโมลียากที่จะมีไว้ครอบครองท่อ Ritchey เป็นท่อที่สร้างชื่อให้กับวงการเฟรมโครโมลี เนื่องจากเฟรมทุกเฟรมทำด้วยมืออีกทั้งยังมีน้ำหนักที่เบากว่าเฟรมอลูมิเนียมในสิบกว่าปีก่อน แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะ Tom Ritchey ได้ยกเลิกสายการผลิตไปเสียก่อนแล้ว ที่ยกตัวอย่างมานี้ทั้งหมดเป็นท่อที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ในบ้านเรานะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง:

จักรยานกับ Cro-Moly ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
กาลเวลาผ่านไปหลายยุคสมัยทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวก็ถูกพัฒนาเปลี่ยนไปให้มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่มีหยุดยั้งไปด้วยแน่นอน สำหรับนักปั่นอย่างเรา ๆ แล้วก็ต้องมีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือวัสดุให้มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ตรงความต้องการไปด้วย ถึงอย่างไรก็ดีกลิ่นอายเก่า  ที่ยังไม่เสื่อมคลาย แม้เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนก็ยังมีผู้คนให้ความสนใจกับวัสดุชนิดนี้ มันเป็นเนื้อผิวเป็นสีเงิน น้ำหนักเบากว่าเหล็ก แต่หนักกว่าอลูมิเนียม สามารถเกิดสนิมได้ ใช่แล้วครับวัสดุชนิดนี้เรียกกันว่า “โครโมลี (Cro-Moly)”  ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความน่าสนใจไม่แพ้วัสดุอย่างคาร์บอน อลูมิเนียม ไททาเนี่ยม สแกนเดี่ยม  วัสดุนี้ยังคงได้รับความนิยมอยู่ ทั้ง ๆ ที่โครโมลีมีกำเนิดมาเป็นเวลาหลายสิบกว่าปีแล้ว เรามาดูกันว่าโครโมลีคืออะไร


โคโมลีเป็นคำย่อมาจาก โครเมี่ยม+ โมลิบดินั่ม เรียกเต็ม ๆ ว่า Cromolibdinum Alloy Steel ซึ่งจะมีส่วนผสมของธาตุต่าง ๆ รวมกัน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเหล็ก ซึ่งจักรยานประเภทที่ใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ทำจากโครโมลีเป็นส่วนมาก คือจักรยานประเภท Dirt, Fixed Gear, BMX เพื่อเน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ เนื่องจากโครโมลีมีความแข็งแรงกว่าวัสดุอย่างอลูมิเนียม จักรยานประเภทที่กล่าวมาต้องรับแรงกระแทกสูง จึงต้องใช้โครโมลี นอกจากนี้ก็ยังมีจักรยานเสือภูเขา ที่ใช้ชิ้นส่วนอย่างบันไดหรือตัวจี๋ของชิมาโน ทุกรุ่นใช้โครโมลีเป็นส่วนประกอบ โดยท่อโครโมลีที่นิยมมากที่สุดคือท่อรหัส 4130 โดยมีส่วนผสมที่ประกอบของ Chromium 0.95%, Mangness 0.5%, Carbon 0.3%, Silicon 0.25%,Molybdemun 0.2% นำมาเจือผสมกับเหล็ก 


บทความที่เกี่ยวข้อง:

>> จักรยานกับ Cro-Moly ตอนที่ 2

12 ส.ค. 2554

วิธีการวัดไซส์รองเท้าสำหรับปั่นจักรยาน

|0 ความคิดเห็น

1. อุปกรณ์ที่ใช้ : กระดาษ A4, ปากกา / ดินสอ, ไม้บรรทัดยาว (และ / หรือ สายวัด), เทปกาว
 

2. วางกระดาษลงบน พื้นเรียบๆ แล้วติดเทปกาวยึดไว้อย่างแน่นหนา ให้ยากต่อการเลื่อน หลุด จากนั้นนั่งตั้งขาและเข่า หนึ่งข้างให้เท้าวางอยู่บนกระดาษ ที่สำคัญเท้าของคุณต้องไม่สวมรองเท้า
a. ถ้า ปกติใส่รองเท้าแล้วไม่ ใส่ถุงเท้า ก็วางเท้าเปล่าบนกระดาษ (ไม่ต้องใส่ถุงเท้า) หรือ
b. ถ้า รองเท้าที่จะใส่คุณจะใส่ ถุงเท้าด้วย คุณก็ควรสวมถุงเท้าเพื่อความพอดีเมื่อคุณ เลือกซื้อรองเท้า


3. วาดรูปเท้า ลากดินสอไปรอบๆรูปเท้าของคุณ และลากซ้ำเพื่อความแน่นอน อาจหาคนช่วยในการขีดร่าง รูปรอยเท้าเพื่อความถูกต้องก็ได้


4. ขีดเส้นกำหนดขอบ เขตที่จะวัดขนาด พอเอาเท้าออกก็ใช้ดินสอลงเส้นให้ เข้มๆ โดยมาร์กเส้นตรงตัดที่ริมสุดของปลายเท้า ส้นเท้าและข้างเท้าทั้งสองข้าง (ส่วนที่ยาวที่สุด และกว้างที่สุด)


5. วัดขนาดความ “ยาว” ของเท้าที่วาด (จากรูป เส้น B left และ B right) วัด ความยาวตั้งแต่จุดปลายเท้าถึงเส้นจุดส้นเท้า โดยต้องแน่ใจว่าเทปยังติดอยู่แน่นไม่เลื่อนไม่หลุด และจุดวัดแน่นอนถูกต้อง อย่าวัดขึ้นๆลงๆสลับไปมา จากนั้นก็จดตัวเลขลงไป หน่วยเป็น เซนติเมตร (ซม.) เพื่อเทียบกับตารางไซส์ได้ง่าย
รูปภาพ
6. วัดขนาดความ “กว้าง” ของเท้าที่วาด (จากรูป เส้น A left และ A right) คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องรู้ส่วนกว้าง ส่วนแคบของเท้าด้วย คุณวัดได้โดยใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัด วัดจุด ที่ลายเท้าบนกระดาษจากข้างหนึ่งไปจากยังอีกข้างซ้ายขวา หน่วยเป็น เซนติเมตร (ซม.) เพื่อเทียบกับตารางไซส์ได้ง่าย

7. จดไว้ และทำซ้ำ เพื่อความแน่ใจ ต้องทำอีกครั้ง อย่าลืมจดขนาดลงไปด้วย

8. ทำซ้ำ กับเท้าอีกข้าง

9. เผื่อขนาดเพิ่ม ถ้าจำเป็น ขนาดรองเท้าที่วัดได้อาจต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับขนาดความกว้างของเท้าคุณ
a. ถ้าคุณเป็นคนเท้ากว้าง คุณก็ควรเผื่อให้ใหญ่ขึ้น ½ ถึง 1 เบอร์
b. รองเท้าบางแบบ เวลา ใส่ จำเป็นต้องเลือกไซส์ใหญ่ขึ้น ½ ถึง 1 เบอร์ เช่นพวกรองเท้าปลายแหลม หน้าแคบ
รองเท้าแฟชั่น รองเท้าหน้าแคบ


10. เทียบขนาด รองเท้าจากตาราง

รูปภาพ
อันนี้ตารางอีกอันหนึ่ง อินเตอร์ฯขึ้นอีกหน่อย
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ

ตารางข้างล่างนี้ สำหรับเด็กๆ (ไม่เกิน 13 ขวบ หากเกิน 13 ให้ใช้ตารางผู้ใหญ่)
รูปภาพ
ส่วนขนาดอื่นๆ ที่เล็ก หรือ ใหญ่กว่า ก็เทียบเคียงขึ้นลงไปครับ

ถ้าจะเอาแบบว่า เป็นการคำนวณ และ แบ่งย่อยไปถึงเด็กๆด้วย ก็นี่เลยครับ
1.แบบภาษาอังกฤษ http://en.wikipedia.org/wiki/Shoe_size
2. แบบแปลเป็นไทยแล้ว http://translate.google.co.th/translate ... /Shoe_size
ผิดพลาดประการใดขออภัยครับ...
รูปภาพ

วิธีเปลี่ยนยางในจักรยาน

|0 ความคิดเห็น


สิ่งที่ควรปฏิบัตเมื่อเกิดสถานการณ์ยางแบน

* อย่าตกใจ ชะลอความเร็วจนหยุด ห้ามฝืนขี่ต่อไปทั้งที่ยางแบน
จะทำให้ยางนอกและขอบล้อเสียหายไปด้วย
* ถอดล้อข้างที่ยางแบนออก ตรวจดูภายนอกว่ามีหนามหรือสิ่ง
แหลมคมปักคาอยู่หรือไม่ บางครั้งอาจมีรอยรั่วมากกว่าหนึ่งจุด
* การพกอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไปในขณะขี่จักรยาน ช่วยให้งาน
เปลี่ยนยางที่รั่วง่ายขึ้นมาก อย่ายืมยางในจากเพื่อนร่วมทาง
* อุปกรณ์อำนวยความสะดวกบางอย่างเช่น หลอดบรรจุแก๊สจะ
ช่วยประหยัดเวลา ทำให้เดินทางต่อได้รวดเร็ว ประหยัดแรง
แต่สูบมือยังเป็นปัจจัยยอดนิยมที่ประโยชน์
อุปกรณ์ที่ควรจะพกติดตัวทุกทริป
1. ยางใน
2. สูบแบบพก
3. ที่งัดยาง
4. เครื่องมือแบบพกพา , ที่ตัดโซ่
5. ข้อต่อโซ่
6. อาหารสำหรับรับประทานระหว่างทาง เช่น แอปเปิ้ล , ช๊อคโกแลต , กล้วย , เวเฟอร์
7. กระเป๋าเป้สำหรับใส่สัมภาระ แบบที่มีถุงบรรจุน้ำพร้อมสายสำหรับดื่ม
ขั้นตอนการเปลี่ยนยางใน
ใช้ที่งัดยางด้านที่เป็นจะงอย สอดเข้าไป
ระหว่างของล้อและขอบยางนอก ให้เริ่ม
ทำจากด้านที่อยู่ตรงข้ามวาล์วสูบลมก่อน
เพราะเป็นบริเวณที่ไม่มีฐานวาล์ว ทำให้
สอดที่งัดยางได้ง่าย ให้สังเกตว่าแถบยี่ห้อ
ของยางจะอยู่ด้านเดียวกับวาล์วสูบลมทั้ง
นี้เพื่อให้สังเกตได้ง่าย
ช่วงที่สอดที่งัดยางเข้าไปด้านใน ให้ระวังอย่าให้ไปเกี่ยวถูกยางใน
จะทำให้ยางในฉีกขาดได้ ปลายอีกด้านหนึ่งของที่งัดยางให้เกี่ยว
ไว้กับซี่ลวดที่อยู่ด้านใต้บริเวณที่เริ่มงัดยาง
- ใช้ที่งัดยางอันที่สองทำ เช่นเดียวกับครั้งแรก จะเริ่มงัดที่ตำแหน่งห่างจาก จุดแรกหนึ่งช่วงของซี่ลวด

- หรือจะห่างออก มาสองช่วงซี่ลวดก็จะทำให้สอดและ งัดเข้าไปได้ง่ายขึ้น
- ยางธรรมดาทั่วไปบางชนิดสามารถที่จะงัด ออกด้วยการใช้ที่งัดยางเพียง 2 อัน แต่ ยางที่มีขอบยางแข็งแรงหลายแบบ อาจจะต้องใช้ที่งัดยางถึง 3 อันจึงจะหลวมพอที่ จะใช้มือปลิ้นขอบยางออกมาได้ง่าย


- ปลิ้นขอบยางออกให้รอบวงล้อ จนสามารถดึงยางในออกมาได้ทั้งเส้น ควรระวังในการ ดึงบริเวณวาล์วสูบลม เพราะจะทำให้ฐานวาล์วฉีกขาดได้ง่าย


- เมื่อดึงยางในออกควรตรวจอบที่ผิวของยางนอก และที่ขอบล้อว่ามีวัสดุที่จะมาทิ่มยางในเส้นใหม่ได้
นำยางในเส้นใหม่มาสูบลมเข้า ไปเล็กน้อยพอขึ้นรูป แล้วเริ่ม
ใส่ยางในเส้นใหม่เข้าไประหว่าง ยางนอกกับขอบล้อ โดยเริ่มสอด
วาล์วที่รูตรงขอบล้อก่อน จัดวาล์ว ให้ตั้งฉากกับเส้นรอบวงด้านใน
แล้วจึงเริ่มใล่จัดยางในจนครบวง
- ขยับยางในให้เข้าที่ โดยให้ยางในทั้งวง วางอยู่บนขอบล้อ ไม่มีส่วนหนึ่ง
ส่วนใดปลิ้นออกมาด้านนอกให้เห็นได้ การสูบลมไว้ล่วงหน้าช่วยให้การจัดตำแหน่งยางในง่ายขึ้นมาก


- เมื่อยางในเข้าที่แล้วจึงเริ่มสอดให้ขอบยางนอกกลับลงไปยึดกับขอบล้อ เริ่มทำจาก
ด้านวาล์วสูบลมก่อน ขณะเดียวกันให้จัดให้วาล์วตั้งฉากกับขอบล้ออีกครั้ง เพื่อลด
โอกาสฐานวาล์วฉีกขาดหลังจากสูบลมไล่สอดขอบยางนอกจนครบรอบวงเป็นอันเสร็จ
ก่อนที่จะสูบลมให้ปล่อยลมที่สูบไว้ตอนแรกออกเล็กน้อย กดบริเวณขอบยางที่
ใกล้ขอบล้อเพื่อสำรวจดูว่า มีส่วนหนึ่งส่วนใดของยางในถูกหนีบอยู่ระหว่างขอบ
ยางและขอบล้อที่ไหนหรือไม่ หากพบจะต้องแก้ไขก่อนที่จะสูบลม หากใช้ยางใน
ประเภทวาล์วเล็ก ขอแนะนำให้ใช้วาล์วอะแตพเตอร์ valve adapter ซึ่งจะ
ช่วยป้องกันไม่ให้แกนวาล์วงอหรือหักได้ง่าย ให้สอบถามจากผู้ขายและวิธีใช้
ข้อควรปฏิบัตและคำแนะนำที่น่ารู้

* นำยางที่ชำรุดกลับออกมาจากเส้นทางทุกครั้ง
* เวลาสูบลม ให้จับที่บริเวณหัวสูบอย่าให้โยกไปมาจะทำให้ ฐานวาล์วมีโอกาสฉีกขาดได้
* หากเป็นการเดินทางไกล ควรจะนำยางในติดตัวไปสัก 2 เส้น
* ยางในที่ชำรุดอาจใช้ประโยชน์ที่คาดไม่ถึงได้ เช่นใช้เป็นเชือก สำหรับมัดสิ่งของที่รุงรัง หรือใช้พันอานที่ชำรุดจนใช้งานได้เพียงพอที่จะกลับออกจากเส้นทางโดยปลอดภัย
* ตอนที่ถอดยางในออกจากล้อแล้ว ให้ใช้มือลูบด้านในของยาง นอกด้วยทุกครั้ง พื่อหาเศษหรือปลายหนามที่ตำคาอยู่ด้านใน มี ความเป็นไปได้ที่จะพบหนามมากกว่าหนึ่งจุด

เทคนิคการฝึกซ้อมจักรยานด้วย Trainer

|1 ความคิดเห็น
ทำความเข้าใจกับการฝึกด้วย Trainer

เทรนเนอร์(Trainer) คืออุปกรณ์ช่วยในการฝึกซ้อมจักรยาน เดิมถูกเรียกว่าอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมจักรยานภายในอาคาร แต่ความจริงสามารถใช้ที่ไหนก็ได้ แม้แต่ในคอนโยที่พักอาศัย ระเบียงบ้าน ริมสวน หรือแม้กระทั่งสำนักงานที่ยังพอมีที่ว่างและมีความเป็นส่วนตัว เทรนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นโดยเฉพาะประเทศที่หน้าหนาวมีหิมะตกจนออกซ้อม ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าในบ้านเราไม่ควรใช้เทรนเนอร์ บ้านเรามาโอกาสที่จะต้องใช้เทรนเนอร์มากมายหรืออาจจะมากกว่าสำหรับผู้ที่ อาศัยอยู่ในเมืองที่มีรถราติดขัด ออกซ้อมต่อเนื่องไม่ได้ไม่ว่าเวลาไหน หากเป็นหน้าฝนยิ่งอันตราย ไม่ใช่อันตรายจากถนนลื่นอย่างเดียว ยังอันตรายจากรถที่เสียการควบคุมซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
เทรนเนอร์ เป็นอุปกรณ์การซ้อมจักรยานที่มีคุณประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง สามารถใช้ได้สำหรับทำให้เกิดการซ้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อการขี่จักรยานอย่าง สนุก ตามพรรคพวกได้ทันในวันหยุดสุดสัปดาห์ ในต่างประเทศนิยมใช้ประกอบการซ้อมทั่วไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเฉพาะทาง เช่นการซ้อมขึ้นเขาซึ่งหลายแห่งหาเขาแทบจะไม่ได้ การซ้อมสำหรับไทม์ไทรอัล (Time Trial) หรือแม้กระทั่งการซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถทางแอโรบิคของร่างกาย

ผู้ที่ต้องทนอยู่ในกรุงเทพหรือต้องอยู่กับบ้านทำอะไรไม่ได้ในช่วงที่ฝนตก อาจนึกถึงการฝึกซ้อมกับเทรนเนอร์พร้อมๆกับความคิดที่ว่า”มันน่าเบื่อ” แต่ใครจะรู้ว่าตอนที่เรานั่งจิบกาแฟหรือนอนหลับอุตุ เพื่อนของเราบางคนอาจกำลังฝึกซ้อมอยู่กับบ้าน รอเวลที่จะร่วมกลุ่มกับเราในวันหยุดกับพัฒนาการที่ดีขึ้นจนเราตามไม่ทันก็ เป็นไปได้ เทรนเนอร์สามารถให้สิ่งที่ดีกว่าที่คนอื่นพูดเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านพละกำลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อ และทักษะของการใช้กำลังที่ดีขึ้น ไม่เพียงแต่มีประโยชน์กับจอมยุทธสุดสัปดาห์เท่านั้น จอมยุทธตัวจริงระดับมืออาชีพที่ติดอยู่ในเมืองใหญ่ หรือติดกับอยู่กับบ้านช่วงหน้าฝนก็สามารถ ฝึกฝนทักษะของการสปริ๊นท์ หรือการฝึกซ้อมแบบอินเทอวัล (Interval) ซึ่งค่อนข้างจะอันตรายหากทำกันบนถนนที่มีรถราแล่นอยู่

ในอดีตนักจักรยานระดับทีมชาติจะใช้เทรนเนอร์ที่เรียกกันว่าลูกกลิ้ง 3 ลูกช่วยในการฝึกซ้อม จนทุกวันนี้นักจักรยานจำนวนหนึ่งก็ยังพิสมัยที่จะใช้ลูกกลิ้งแบบนี้ นัยว่าให้ความรู้สึกที่คล้ายจริงมากที่สุด เพียงแต่ได้ทักษะของเรื่องรอบขากับสมาธิเท่านั้น หากเป็นการฝึกซ้อมชนิดอื่นอาจเกิดอันตรายได้เพราะ ล้อจักรยานที่ตั้งอยู่บนลูกกลิ้งโดยไม่มีอะไรจับยึด ค่อนข้างจะอันตราย เพียงแค่หันหน้าหรือเสียสมาธิเพียงวินาทีเดียวก็มีสิทธิ์กลิ้งได้ ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านผู้ผลิตหลายรายจึงพยายามพัฒนาอุปกรณ์ที่จะมาแทนที่ลูก กลิ้ง ทำให้คนทั่วไปสามารถฝึกซ้อมจักรยานได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพที่มีความชำนาญ แม้แต่ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายอยู่กับบ้านก็สามารถฝึกซ้อมเองได้
ผู้ ผลิตเทรนเนอร์รายใหญ่คือ Minoura ได้แนะนำเทรนเอร์หลายรุ่นหลายแบบ แบบที่นิยมมากที่สุดมี 2 แบบคือแบบที่สร้างแรงต้านด้วยแรงเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Magnetic) และแบบสร้างแรงต้านด้วยของเหลว (Fluid)

• แบบแรงต้านเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Magnetic)
มีจุดเด่นที่สามารถปรับความหนืดเป็นขั้นๆได้ ทำให้เทรนเนอร์ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการฝึกการขึ้นเขา ฝึกซอยรอบขาสูง ฝึกสปริ๊นท์ หรือแม้กระทั่งฝึกไทม์ไทรอัล สามารถปรับความหนืดได้ตามความต้องการหรือเหมาะสมกับความแข็งแรง การปรับความหนืดของเทรนเนอร์ Minoura จะใช้วิธีปรับมุมของแม่เหล็กเพื่อให้เปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก เป็นระบบแบบง่ายๆ หากใช้กับยางหน้าเรียบแล้วเสียงจะค่อยมาก ค่ายยุโรปมีการพัฒนาเทรนเนอร์แบบแรงต้านเหนี่ยวนำโดยใช้กระแสไฟฟ้า ด้วยการปรับค่ากระแสไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก เทรนเนอร์เหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ช่วยวัดที่สามารถบอกความเร็ว รอบขา กำลังที่ใช้ (watt) รวมถึงการจับเวลา ในขณะที่บ้างแบรนด์สามารถตั้งโปรแกรมการซ้อมเองได้
• แบบแรงต้านจากของเหลว (Fluid)
เป็นเทรนเนอร์ที่โปรค่อนข้างจะนิยมกันมาก มีความเงียบมาก เป็นเทรนเนอร์ที่เงียบมากเพราะแรงต้านได้จากชุดใบพัดที่อยู่ในกระเปาะที่ บรรจุด้วยของเหลวประเภทน้ำมันความหนืดสูง ทำให้แรงต้านของเทรนเนอร์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นตามอัตราความเร็วรอบขาที่เราปั่น ยิ่งรอบสูงความหนืดยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เทรนเนอร์ชนิดนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับตารางการฝึกซ้อมอินเทอวัลที่ค่อนข้าง หนักเพื่อรักษาระดับอัตราการเต้นหัวใจที่ค่อนข้างสูง
เทรนเนอร์ชนิดต่างๆ

1. Minoura Rim Drive trainer RDA-850D-LW เป็นเทรนเนอร์ที่เหมาะสำหรับใช้กับเมาเทนไบค์ สามารถติดตั้งเมาเทนไบค์กับเทรนเนอร์โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยางให้เป็นแบบ หน้าเรียบ ปรับความหนืดได้ 7 ระดับตามชนิดของการฝึกซ้อม หรือตามตารางฝึกซ้อม ปรับใช้ได้ทั้งกับล้อเมาเทนไบค์ 26” หรือล้อที่ใหญ่กว่า ผู้ใช้ยังสามารถปรับเกียร์ของจักรยานเพื่อเพิ่มความหลากหลายของความหนืดได้

2. Minoura Variable Fluid trainer VFS และ VFS-G เทรนเนอร์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีประสพการณ์แล้ว หรือผู้ที่ต้องการขึ้นชั้นไปสู่ระดับการขี่ที่มีคุณภาพมากขึ้น Minoura ได้ออกแบบเทรนเนอร์รุ่น VFS-G ให้มีความรู้สึกเสมือนจริงมากขึ้น โดยล้อหลังของจักรยานจะถูกกดทับลงบนลูกกลิ้งด้วยน้ำหนักของนักจักรยานเอง และได้ติดตั้งฟลายวิลล์น้ำหนัก 1.5 กก. เพื่อเพิ่มสร้างแรงเฉื่อย ทำให้การฝึกซ้อมกับเทรนเนอร์รุ่นนี้เป็นไปอย่างนุ่มนวลเสมือนกับขี่อยู่บน ถนน ระบบแรงต้านของเหลวจะสร้างแรงต้านหรือความหนืดมากขึ้นเมื่อเพิ่มรอบขา ทำให้เหมาะกับการซ้อมเพาเวอร์ที่อัตราการเต้นของหัวใจค่อนข้างสูง

Elite Trainer (จาก Italy) อิตาลีที่ได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมจักรยานไม่แพ้ชาติอื่นๆในยุโรป แต่ละปีหลังสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันนักจักรยานจะออกพักผ่อนจนย่างเข้าช่วงหน้า ต้นหน้าหนาวซึ่งหลายพื้นที่หิมะตกจนไม่สามารถซ้อมจักรยานต่อได้ เทรนเนอร์เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่นักจักรยานยุโรปมีความคุ้นเคยเป็นที่สุด ฤดูกาลแข่งขันใหม่มักจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม การแข่งขันทั้งภายในทีมและในเปโลตองจะสูงขึ้นทุกปี Elite ได้พัฒนาเทรนเนอร์เพื่อให้เหมาะกับความเป็นอยู่ของคนยุโรปที่ค่อนข้างจะ แออัด จึงเป็นที่มาของ ElastroGel ลูกกลิ้งที่เคลือบด้วยเจลความหนาแน่นสูง ทนทั้งความร้อน ความชื้น และการสึกหรอจากการซ้อม และเก็บเสียงได้เกือบหมดยกเว้นเสียงหายใจหอบของนักจักรยาน

3. Elite Crono E-Mag In and Out เป็นเทรนเนอร์ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้า 220 โวลท์แปลงเป็นกระแสตรงผ่านอะแดพเตอร์ ควบคุมความหนืดด้วยการกดปุ่มปรับจากหน้าปัดที่สามารถถอดออกไปใส่กับจักรยาน คันอื่นได้เพื่อเก็บสถิติการซ้อมไม่ให้ขาดตอน จอแสดงผลแสดงตัวเลขทั้งกำลัง (watt) ความเร็ว รอบขา อัตราความชันเป็น% รวมถึงค่าเฉลี่ยและค่าสูงสุดต่างๆ เหมาะกับการซ้อมทุกรูปแบบ Elite ถือเป็นเจ้าแห่งระบบยึดจักรยานกับเทรนเนอร์แบบ Gravity force คือใช้น้ำหนักของนักจักรยานกดทับล้อลงบนลูกกลิ้งที่เคลือบด้วย ElastroGelโดยตรง ทำให้ไม่จำเป็นต้องตั้งน้ำหนักใดๆ
4. Elite Crono Fluid Wireless เทอนเนอร์แบบแรงต้านระบบของเหลว ซึ่งใช้ลูกกลิ้งแบบ ElastroGel ที่ให้แรงต้านตามรอบขา จุดเด่นก็คือมีจอแสดงผลที่แสดงข้อมูลเช่นกำลัง (watt) รอบขา ความเร็ว ค่าเฉลี่ยและค่าสูงสุด ของการฝึกซ้อมอย่างพร้อมมูลแบบไร้สาย มีเพียงรอบขาเท่านั้นที่ต้องเดินสายจากก้านบันไดสู่ตัวแสดงผล เทรนเนอร์รุ่นนี้ใช้ระบบยึดจักรยานแบบ Gravity force ทำให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการขี่บนถนนมากที่สุดและไม่จำเป็นต้องปรับแต่ง เรื่องน้ำหนักกดใดๆอีก

ผู้ผลิตเทรนเนอร์แต่ละรายจะมีรายละเอียดวิธีการใช้งานและการฝึกซ้อมเป็น ตัวอย่างให้นักจักรยานหรือผู้ที่สนใจการออกกำลังกายได้ทดสอบใช้งาน นักจักรยานยังสามารถที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามเวบไซท์ต่างๆเช่น www.spinervals.com หรือ www.trainright.com หรือเวบไซท์ของบริษัทฯโปรไบค์ที่ www.probike.co.th เพื่อสอบถามข้อมูลการฝึกด้วยเทรนเนอร์เพิ่มเติม
ผลดีจากการฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์

• ใช้เพื่อซ้อมได้ทุกเวลา ไม่เลือกสภาพอากาศ กินเนื้อที่น้อย จะใช้ในอาคารติดแอร์หรือในที่ร่มนอกอาคารเพื่อรับอากาศดีๆก็ได้ หากเป็นที่อากาศอับไม่มีลมอาจใช้พัดลมช่วยให้อากาศมีการเคลื่อนไหวบ้าง
• สร้างความหลากหลายในการฝึกซ้อมได้ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมความแข็งแรงเพื่อขึ้นเขาโดยเฉพาะ ซ้อมรอบขาเพื่อให้หัวใจทำงานในระดับที่ต้องการ ซ้อมแบบเพาเวอร์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
• หากมีตารางซ้อมหรือดีวีดีที่ช่วยการซ้อม จะทำให้สมาธิค่อนข้างดี เพราะต้องวางแผนล่วงหน้าและจัดการกับตนเองเพื่อให้บรรลุตารางซ้อมแต่ละครั้ง ได้
• เหมาะสำหรับผู้มีเวลาขี่จักรยานจริงน้อยหรืออาศัยในเมืองใหญ่ มีโอกาสเอาจักรยานจริงไปขี่นอกเมืองน้อย แม้ในสภาพที่อากาศไม่เป็นใจเช่นฝนตก ไม่เสียโอกาสในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งตลอดเวลา
• เผาผลาญแคลอรี่ได้ดีไม่แพ้การขี่จักรยานกลางแจ้ง แต่ไม่เสี่ยงอันตราย
• หากมีกระจกบานใหญ่พอสมควร ผู้ฝึกซ้อมสามารถมองตำแหน่งและลักษณะการขี่ของตนเอง เพื่อจะได้แก้ไขได้กรณีที่ร่างกายส่วนบนส่าย หรือขาโก่งงอ เท้าทิ่มเกินไป เป็นต้น
• หากจัดตารางซ้อมที่สม่ำเสมอ นักจักรยานจะสามารถวัดขีดความสามารถได้เมื่อต้องซ้อมด้วยตารางซ้อมเดียวกันในครั้งต่อๆไป
แนะนำเทรนเนอร์สำหรับฝึกซ้อม
อุปกรณ์แนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเทรนเนอร์
Hart Rate Moniter เครื่องวัดหัวใจ บอกค่าชีพจรทั้งโซนต่ำและสูง พร้อมสัญญาณเตือน ช่วยให้การฝึกซ้อมของงคุณเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
Gel Block อุปกรณ์หนุนล้อให้ได้ระดับราบ เมื่อประกอบกับเทรนเนอร์ให้ความรู้สึกเหมือนคุณกำลังขี่บนถนน
Mat แผ่น รองเทรนเนอร์ ช่วยลดเสียงให้คุณขี่เทรนเนอร์ได้เงียบและป้องกันพื้นจากรอยขูดขีดและเบื้อ นเหงื่อที่หยดขณะออกกำลังเพิ่มความปลอดภัยในการฝึกซ้อม
Sweat net ผ้าซับเหงื่อ แผ่นรองไม่ให้โดนเฟรมระหว่างซ้อม

11 ส.ค. 2554

วิธีชิงอันดับหนึ่งในช่วง 200 เมตรสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย

|0 ความคิดเห็น

เทคนิคการเอาชนะคู่แข่งในช่วง 200 เมตรสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย

ของการแข่งขันจักรยานทางไกล

Cavendish

  • รู้เขารู้เรา ประโยคนี้ยังสามารถนำมาใช้ได้เสมอแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ใหนก็ตาม คือคุณต้องรู้ว่าคู่แข่งของคุณมี ลักษณะ หรือ style การขี่จักรยานแบบ ใหน ฝีเท้าในการ สปริ้นจัดจ้านหรือไม่ วิธีสังเกตุแบบง่ายๆ ครับคือพวกที่สปริ้นดีๆ ส่วนมากจะคอยแปะคอยดูด จะไม่ค่อยขึ้นมาช่วยนำเท่าไหล่เพราะพวกเขาเหล่านี้ จะพยายามเก็บแรงไว้เพื่อมาสปริ้นหน้าเส้นชัย ถ้าหากคุณรู้ Style การขี่จักรยานของ เขาเหล่านั้นแล้วมันก็จะง่ายในการวางแผนว่าเราจะเอาชนะคู่แข่งของเราได้ อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณสปริ้นไม่ดีเท่าไหล่ และในการแข่งขันจักรยานทาง ไกลกลุ่มของคุณมีตัวที่สปริ้นเก่งๆ ติดมาด้วยคุณควรหาวิธีสลัดเขาให้หลุด หรือ ทำให้เขาเหนื่อยและล้าที่สุด ก่อนจะเข้าเส้นชัยเพราะถ้าหากเขายังมีแรงเหลือเยอะ คุณจะไม่สามารถเอาชนะพวกเอาในการสปริ้นหน้าเส้นได้ครับ
  • การใช้พลังงานของเราอย่างระมัดระวัง คือพยายามเก็บแรงของเราใว้ให้ได้มากที่สุดระหว่างการแข่งขันจักรยานทางไกล ไม่ใช้พลังงานอย่างพร่ำเพรื่อ พูดง่ายๆ ภาษานักปั่นจักรยานก็คือ ไม่ยิงพร่ำเพรื่อ นั่นเองครับ ดังนั้นถ้าคุณตัดสินใจที่จะยิงแล้วคุณต้องมั่นใจว่าคุณจะสามารถขี่จักรยานต่อ ไปแบบเดี่ยวจนเข้าเส้นชัยได้ คุณต้องแบ่งการใช้พลังงานของคุณให้คุ้มค่าที่สุด และไม่ต้องสนใจว่าใครจะหาว่าคุณกินแรงไม่ช่วยนำ เพราะว่ามันอยู่ในเกมส์การแข่งขัน เพราะการแข่งขันจักรยานระยะทางไกลๆ คนที่แข็งแกร่งกว่าอาจจะไม่ชนะเสมอไปครับ เพราะมันต้องใช้สมองด้วยครับ
  • ตำแหน่งของคุณในช่วงก่อนการสปริ้น หน้าเส้นถ้าคุณไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ดี แม้ว่าคุณจะสปริ้นดีคุณอาจจะขึ้นไม่ได้เพราะโดนกั๊ก นั่นเองครับดังนั้นก่อนถึงระยะยิงของคุณ คุณควรทำให้ตัวคุณอยู่ในตำแหน่ง ด้านหน้าๆ ไว้ครับ
  • การฝึกฝนอย่างจริงจัง และในท้ายที่สุดแล้วทุกอย่างจะสำเร็จได้ก็ต้องมาจากการฝึกฝน ถ้าหากคุณไม่ใช่ผู้ที่มีฝีเท้าจัดจ้านคุณควรฝึกให้คุณมีความแข็งแกร่งอดทน มากที่สุด และถ้าหากคุณเป็นตัวสปริ้นแล้วละก็คุณควรเสริมการฝึกทางด้านความอดทนของคุณ เสริมเข้าไปด้วย ครับ ดังนั้นทุกอย่างก็ต้องมาจากความขยันหมั่นเพียรนั่นเองครับ หากคุณมีวินัยในตนเองมีความรับผิดชอบในหน้าที่แล้วความสำเร็จในอาชีพนักปั่นจักรยานก็อยู่ไม่ไกลครับ

ขอบคุณบทความจาก: www.thbike.blogspot.com

    คุณหักโหมในฝึกซ้อมจักรยานมากเกินไปหรือเปล่า ?

    |0 ความคิดเห็น

    หลายท่านคงคิดว่าการฝึกซ้อมจักรยานมากๆ ซ้อมหนักๆ ซ้อมทุกวันถึงจะแข่งแกร่ง เมื่อก่อนตอนเป็นเด็กเริ่มปั่นจักรยานใหม่ๆ ผมก็เคยคิดแบบนั้นครับ แต่พอผมโตขึ้น และได้ค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากหนังสือ และ ทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผมได้รู้ว่าทำไม่เมื่อก่อนซ้อมทุกวันซ้อมหนักๆ มันไม่ทำให้ผมปั่นจักรยานได้ ดีขึ้นเลย อาจจะดีขึ้นบ้างแต่น้อยมาก และการพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ก็แย่ไปด้วยครับ เช่นการเรียน อารมณ์ และ ผลเสียทางด้านอื่นๆ อีกเยอะครับ ไม่ใช่ว่าผมแบ่งเวลาได้ไม่ดีนะครับ แต่หลังจากที่ผมลองมาคิดๆดู และนึกถึงโปรแกรมการฝึกซ้อมในสมัยก่อนแล้วมันก็หนักจริงๆ ครับ คือ ซ้อม 6 วันพัก 1 วัน โดยแต่ละวันไม่ได้มีการกำหนดว่าจะออกไปขี่แบบไหน คว้าจักรยาน สูบยางแล้วก็ออกไปขี่ให้เหนื่อยสุดๆ ก็จบการซ้อมสำหรับวันนั้น ถ้าหากเป็นตอนนี้ผมคงป่วยนอนโรงพยาบาลไปแล้ว แต่สาเหตุที่ผมไม่ป่วยในตอนนั้นคงเป็นเพราะผมยังเป็นวัยรุ่นการฟื้นตัวของ ระบบร่างกายจะทำได้เร็วกว่าคนที่อายุเยอะ ๆ ยิ่งอายุยิ่งเยอะการฟื้นตัวก็จะยิ่งช้าตามไปด้วย ดังนั้นเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราฝึกซ้อมมากเกินไป มีหลักในการสังเกตุดังนี้ครับ

    1. อารมณ์ของคุณจะแปรปรวนได้ง่ายโดยไร้สาเหตุ หรือมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย รู้สึกหดหู่และเบื่อการฝึกซ้อมจักรยาน ข้อนี้หลายๆท่านคงเคยเป็นนะครับ อยู่ดีๆ ก็เบื่อการขี่จักรยานขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ
    2. อัตราการเต้นของชีพจร เพิ่มขึ้นขณะท่านตื่นนอนใหม่ๆ ผมแนะนำให้ทุกท่านจับการเต้นของชีพจรตัวเองตอนตื่นใหม่ๆ วีธีคือ พอเราตื่นปุบยังไม่ต้องลุกจากเตียงครับ ทำการจับชีพจรของท่านก่อนเลยว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาทีถ้าหากวัดแล้วอัตราการ เต้นของชีพจรของท่านเพิ่มขึ้นเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นปรกติในแต่ละวันแล้วละก็แสดงว่าท่านเริ่มมีความเสี่ยงต่อการ ฝึกซ้อมหนักเกินไป หรือ "Overtraining"แล้วละครับ
    3. เกิดอาการผิดปรกติทางด้านร่างกายของท่าน เช่นมีอาการท้องเสีย, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อย่างต่อเนื่องพักแล้วก็ยังไม่หายปวดเมื่อย อาการพวกนี้ก็เป็นส่วนที่จะบอกได้ว่าท่านเริ่มฝึกซ้อมหนักเกินไป
    สรุปแล้วการฝึกซ้อมจักรยานหนักเกินไปหรือที่เรียกว่า "Overtraining" หมายถึงความเหนื่อยล้าเป็นเวลานานและซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพและความแข็ง แกร่งของร่างกายลดลงแม้จะมีการฝึกซ้อมจักรยานเพิ่ม ขึ้น ผลของมันจะรวมถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อการกระทำไซโตไคน์, การตอบสนองระยะเฉียบพลัน, โภชนาการที่ไม่เหมาะสมรบกวนอารมณ์ และผลการตอบสนองความหลากหลายของฮอร์โมนความเครียด และถ้าหากท่านตกอยู่ในอาการของการฝึกซ้อมหนักเกินไปแล้วละก็ท่านต้องใช้เวลา ในการรักษาอาการนี้เป็นเวลานานเลยครับ โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาน 1-2 เดือนเลยละครับโดยในระหว่างการพักให้ร่างกายฟื้นกลับมาเหมือนเดิมนั้นท่านจะ ไม่สามารถออกไปขี่จักรยานซ้อม ได้เลยครับ จะเห็นได้ว่าผลของมันนั้นร้ายแรงกว่าที่เราคิดไว้เยอะครับ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดการฝึกซ้อมหนักเกินไป หรือ"Overtraining"นั่นเองครับ

    บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง