ss

22 ส.ค. 2554

ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 3 “Front Deraillure”

3. สับจานหน้า (Front Deraillure)
                สับจานจะเป็นตัวเปลี่ยนตำแหน่งของโซ่บนจานหน้า โดยอาศัยการดึงของสายเกียร์เพื่อผลักโซ่จากจานเล็กขึ้นไปจานใหญ่กว่าและอาศัยการดีดกลับของสปริง ในการดันโซ่จากใบจานใหญ่ลงไปใบจานที่เล็กกว่าสับจานแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทตามวิธีในการยึดกับจักรยาน

                - สับจานแบบรัดท่อ (Seat tube band mount) สับจานชนิดนี้จะยึดติดกับท่ออาน (Seat tube) โดยอาศัยแหวนรัด (Clamp band) ซึ่งมีอยู่ถึง 3 ขนาด ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของท่ออาน คือ 28.6, 31.8, 34.9 มม. จึงเป็นเรื่องน่าปวดหัวอย่างหนึ่งในการต้องหาสับจานให้ถูกขนาดกับท่ออานทุกครั้งที่เปลี่ยนเฟรมจักรยานอันใหม่ นอกจากจะมีถึง 3 ขนาดแล้ว ยังแบ่งประเภทย่อยออกไปตามตำแหน่งตัวรัดได้แก่
                - รัดล่าง (Top-swing link type) แหวนรัดท่อจะอยู่ต่ำกว่าขอบบนของใบสับจาน                                                     
                - รัดบน ( Standard link type) แหวนรัดท่อจะอยู่สูงกว่าขอบบนของใบสับจาน ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่ทำมานานแล้ว                                                                                                                                                                        การจะเลือกใช้รัดบนหรือรัดล่างนั้น ไม่ได้มีข้อแตกต่างกันนักในเรื่องการใช้งานเพียงแต่ว่าในเฟรมบางเฟรม ส่วนท่ออานด้านล่างอาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้สับจานรัดล่างเช่น ติดรอยเชื่อม หรือติดจุดหมุน

                - สับจานแบบเกี่ยวกะโหลก (Bottom bracket mount หรือสับจาน Type E)  สับจานชนิดนี้จะยึดเกี่ยวติดกับกะโหลก โดยจะต้องใช้กับกะโหลกที่ออกแบบไว้ ตัวสับจานเองจะมีรูสำหรับขันสกรูเพื่อยึดกับตัวท่ออาน เพื่อป้องกันไม่ให้สับจานขยับไปมา ดังนั้นนอกจากจะต้องใช้กับกะโหลกที่ออกแบบไว้แล้วตัวท่ออานเองก็ต้องออกแบบมาเผื่อด้วย โดยจะต้องมีรูสำหรับยึดกับตัวสับจานด้วย แต่เราอาจจะแก้ปัญหาด้วยการหาแหวน Adapter ที่เจาะรู้ทำเกลียวเอาไว้สำหรับยึด มารัดกับท่ออานแทน ซึ่งจะมีอยู่  3 ขนาดเช่นกัน  นอกจากจะแบ่งตามวิธีที่ยึดกับจักรยานแล้ว ก็ยังแบ่งออกตามวิธีการดึงของสายเกียร์ (Cable routing)

                - สับจานดึงบน (Top route) สายเกียร์จะเดินมาตามท่อบนแล้วตีโค้งลงมาหาตัวสับจาน เฟรมของเสือภูเขาส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะออกแบบมาสำหรับสับจานดึงบนเราจึงสามารถหาสับจานแบบนี้ได้ทั่ว ๆ ไป                                
                - สับจานดึงล่าง (Bottom route) สายเกียร์จะเดินมาตามท่อล่าง แล้วจึงจะวกอ้อมกะโหลกขึ้นไปดึงสับจาน ถ้าไม่นับเสือหมอบ แล้วเสือภูเขาที่ใช้สับจานแบบดึงล่างนี้จะมีสัดส่วนอยู่น้อยกว่าแบบดึงบน (ในปัจจุบันเสือภูเขาหลายยี่ห้อ เช่น GT ซึ่งเคยใช้สับจานแบบดึงล่าง ก็หันมาทำเฟรมที่ใช้กับสับจานแบบดึงบนแทน)                                                               
               - สับจานแบบดึงได้ 2 ทาง (Dual-pull type) ถูกนำมาให้ใช้ได้ทั้งดึงบนและดึงล่างโดยทาง Shimano ได้ทำออกในท้องตลาดเพียงรุ่นเดียวคือ Deore                                                                                                
              - สกรูตัว H และ L ทำหน้าที่จำกัดระยะของสับจาน                                                                                                
              - Chain guide ทำหน้าที่ผลักโซ่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งใบจาน มีลักษณะเป็นกรอบ ด้านในจะผลักโซ่ขึ้นจานใหญ่ ด้านนอกจะผลักโซ่ลงจานเล็ก


บทความที่เกี่ยวข้อง:


>> ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 1 “Shifter”

>> ระบบเกียร์ของรถจักรยาน ตอนที่ 2 “Shift Cable and Shift Cable Casing”

 


                                                                                                



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง