ss

11 ส.ค. 2554

เทคนิคการดัดแปลง จักรยานเสือหมอบธรรมดา ให้เป็นจักรยานฟิกเกียร์ สุดฮิป

สวัสดีครับ ผมไปเจอบทความดี ๆ สำหรับคอฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) จึงนำมาฝากเพื่อน ๆ เผื่อเป็นแนวทางในการปรับแต่งจักรยานฟิกซ์เกียร์ (fixed Gear) สำหรับมือใหม่หรือมือเก๋าทั้งหลายลองเอาไปประยุกต์ใช้ได้ดูครับ ..


จักรยานฟิกเกียร์

ภาพข้างบนนี้คือ จักรยานฟิกเกียร์ แบบทั่วๆ ไปที่เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่าย จักรยาน ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ ร้านจำหน่าย จักรยาน แทบจะทุกร้าน จะมี จักรยานฟิกเกียร์ ไว้จำหน่าย เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสนใจ จักรยาน ประเภทนี้ เพราะในปัจจุบันกลุ่มผู้ปั่น จักรยาน หันมาสนใจ จักรยาน ประเภทนี้กันมาก ครับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น ผมเห็นขี่กันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ราคาของเจ้า จักรยานฟิกเกียร์ นี้ก็ไม่ไช่ถูกๆ เลยครับ ราคายืนพื้นเบาะๆ ก็ตกราวๆ คันละ ประมาณ 7,000 - 10,000 กว่าบาท จนไปถึงระดับขั้นเทพ ก็เหยียบๆ แสนกันเลยครับ วัยรุ่นหลายคนที่กำลังศึกษาอยู่ และมีทุนทรัพย์น้อยก็ อดเท่กันไปครับ เพราะถ้าเป็น จักรยาน ธรรมดาๆ คัน 3 - 4 พันบาท ก็ยังพอใหวแต่นี่ราคา เกือบๆ หมื่นน้องๆ ที่กำลังศึกษาคงต้องเก็บเงินค่าขนมกัน นานพอสมควรกว่าจะได้ มาขี่สักคัน
     วันนี้ผมเลยจะมาแนะนำ แนวทางการดัดแปลง จักรยานเสือหมอบ ธรรมดาๆ เก่าๆให้เป็น จักรยานฟิกเกียร์ สวยๆ ไว้ขี่กันครับ น้องๆ บางคนอาจมีจักรยานเสือหมอบ เก่าๆ อยู่ที่บ้าน อาจจะยังใช้ได้อยู่หรือ ไม่ได้ใช้แล้วก็ตามครับ อย่าทิ้งนะครับ เพราะเราสามารถ นำมันมาดัดแปลงให้เป็น ฟิกเกียร์ แจ่มๆ ไว้ขี่เล่นได้ครับ และที่สำคัญ ต้นทุนต่ำอีกต่างหาก เวลาเราเบื่อแล้วก็ไม่ต้องเสียดายเงินด้วย ข้อดีก็มีเยอะมากเลย งั้นเรามาดู จักรยานฟิกเกียร์ ที่ทำการดัดแปลงมาจาก จักรยานเสือหมอบ กันเลยนะครับ โดยดูจากรูปข้างล่างครับ

ฟิกเกียร์ แปลง

จากภาพข้างบน ผมจะทำลูกศร ตรงจุดที่แตกต่างระหว่าง จักรยานเสือหมอบ กับ จักรยานฟิกเกียร์ ไว้ จริงๆ แล้วมันเยอะกว่านี้ครับ แต่เอาตรงที่จุดที่ มีความแตกต่าง กันอย่างชัดเจนจริงๆ ครับ

  1. คือจุดสำหรับใส่สายเบรค สำหรับ จักรยานฟิกเกียร์ แล้วจะไม่มีครับ
  2. คือ จุดที่ติดตั้งกล้ามเบรค ถ้าเป็นเฟรม ฟิกเกียร์ จริงๆ แล้วจะไม่มีครับ แต่ที่ในปัจจุบันเฟรมจักรยานประเภทนี้จะมีรูให้ติดตั้งเบรคด้วย ผมว่าเขาคงคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ตามท้องถนนมากกว่า ติดไว้ก็ดีนะครับ ปลอดภัยไว้ก่อน
  3. คือ จานหน้าครับ รถจักรยานฟิกเกียร์ จะมีใบจานแค่อันเดียว ส่วนเสือหมอบจะมี 2 ใบ
  4. คือ จุดยึดล้อหลัง สำหรับเฟรมของ จักรยานเสือหมอบ หรือภาษาชาวบ้านเรียก "หางปลา" จะใส่โดยการคล้องแล้วดึงมาด้านหลัง ส่วน ของ ฟิกเกียร์ จะใส่จากด้านหลังแล้วดันไปข้างหน้าครับ
  5. คือ ดุมหลังนั่นเองครับ คือจุดที่เราต้องเปลี่ยนครับ คือถ้าเป็นดุมของ จักรยานเสือหมอบ จะไม่สามารถ ใส่เฟืองหลังของฟิกเกียร์ได้ครับ
ส่วนที่เราต้องดัดแปลง

ดุมล้อ ฟิกเกียร์
ตรง จุดนี้เรียกว่าดุมล้อครับ เราจะทำการเปลี่ยนเฉพาะดุมหลังเท่านั้นครับ เพราะดุมหน้าใช้ของเดิมได้ โดยการเปลี่ยนจาก ดุมของเดิมมาเป็นดุมของ จักรยานฟิกเกียร์ แต่เวลาเราไปซื้อดุมเราควร นับจำนวน ซี่ลวดของล้อเราด้วยนะครับ ว่ามีกี่ซี่ โดยทั่วไปแล้วจะมี 32 ซี่ ครับ แต่ถ้าเป็นรุ่นเก่าจริงๆ จะมี 36 ซี่ หากของเรามี 36 ซี่ ผมแนะนำใช้ ดุมของรถจักรยาน BMX แทนได้ครับ เพราะ BMX ส่วนมากจะมี 36 ซี่ ผมแนะนำถ้าใคร ขึ้นซี่ลวดล้อเองไม่เป็น ให้ร้าน จักรยาน ทำให้นะครับ จะดีกว่า โดยส่วนตัวแล้วผมจะทำเอง เพราะไม่ใว้ใจร้านที่ ทำ เพราะให้เขาทำทีไรเขาจะขึ้นซี่ลวดให้เราตึงเกินไป ข้อเสีย คือ เวลาขี่ไปนานๆ ซี่ลวดอาจขาดได้ครับ และที่สำคัญหากขาดแล้ว ล้อรถเราจะคดมากกว่าปรกติ และไม่สามารถขี่กลับบ้านได้ ต้องยกรถขึ้นสองแถวอย่างเดียว ผมเจอมาแล้วครับ ตอนนั้นทำเองไม่เป็น เลยเข้า-ออกร้าน จักรยาน บ่อยมากจนลำคาญ เลยฝึกทำเอง ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป หลังจากทำเองแล้วซี่รถ ผมไม่เคยขาดอีกเลย "ขอออกตัวผมไม่ใช่ระดับเซียนนะครับแค่พอทำได้ครับ"

ชุดจาน จักรยานฟิกเกียร์
ตรงจุดนี้เราเรียกว่า จานหน้า ครับของ จักรยานฟิกเกียร์ จะมีใบจานแค่ใบเดียวครับ ส่วนของเสือหมอบจะมี 2 ใบ คือใบใหญ่ ก็ตรงจุด A นั้นแหละครับ ส่วนใบเล็กก็จุด B ครับ หากเราจะทำเป็นจานฟิกเกียร์ ก็ถอดใบใหญ่เก็บไว้ แล้วเอาใบเล็กมาใส่แทนใบใหญ่ ครับไม่ยากครับ ลองทำดูครับ หรือให้เพื่อนที่พอมีความรู้ทางด้านนี้ทำให้ แล้วเลี้ยงกาแฟ เขาสักแก้วคงพอใหวนะครับ ถ้ารักกันจริง ถ้าหากเปลี่ยนแล้ว หากไปลองปั่นแล้ว รู้สึกเบาเกินไป คือเวลาปั่นแล้วปั่นซะ ซอยยิกๆ เราควรเปลี่ยนเฟื่องหลังให้เล็กลง ให้เหลือซักประมาน 12 - 13 ฟันน่าจะพอครับ แต่ถ้าจานหน้าเป็นของเสือหมอบรุ่นเก่าๆ ใบเล็กจะมี 42 ฟันครับ แต่ถ้าเป็นจานรุ่นใหม่ จะมีแค่ 39 ฟันครับ ถ้าของเพื่อนๆ เป็นจานรุ่นเก่าที่มี 42 ฟันก็ใช้เฟื่องหลัง ประมาณ 15 - 16 ฟันน่าจะพอปั่นแบบสบายๆ ไม่หนักจนเกินไปครับ

จุดที่เราไม่ต้องดัดแปลง


เฟรม จักรยาน
จุดนี้ โดยทั่วไปเขาเรียกว่า หางปลา ครับเราไม่ต้องไปทำอะไรกับมันครับ ผมเอามาลงให้ดูเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จักรยาน ทั้งสองประเภทครับ แต่ผมเคยเห็น บางคนไปตัด หางปลาของเสือหมอบ ออกแล้วทำการเชื่อมหางปลาของ จักรยาน BMX เข้าไปแทน โดยส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำครับ เพราะความแข็งแรงเฟรมจะลดลง ยิ่งถ้าหากร้านที่ทำฝีมือไม่ถึงแล้ว ปัญหาจะตามมาอีกเยอะครับ ผมแนะนำใช้แบบเดิมนั่นแหละครับ ดีแล้ว ไม่งั้นผมคิดว่ามันจะไม่ คลาสสิค ผมคิดเองนะครับ

ส่วนรูปข้างล่างเป็น
จักรยานฟิกเกียร์ ที่ดัดแปลงมาจาก จักรยานเสือหมอบ แต่ละคันสวยๆ ทั้งนั้นครับผมหามาให้ชมเพื่อที่เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการตกแต่ง จักรยาน ของตนเองได้ครับ

ฟิกเกียร์
คันนี้ก็อย่างสวยครับจะเห็นได้ เขายังใช้จานหน้าของ เสือหมอบ อยู่ครับใหญ่เชียว คงหนักน่าดูเวลาปั่น แต่ก็สวยครับ


จักรยานฟิกเกียร์ ดัดแปลง
อีกคันที่ดัดแปลงมาได้สวยครับ แต่จานหน้าของเขาใช้ของ จักรยานฟิกเกียร์ จริงๆ  ล้อของเขายังเป็นแบบ 36 ซี่อยู่ครับซึ่งเราสามารถ นำดุมล้อของ จักรยาน BMX มาใส่แทนได้ครับ


ฟิกเกียร์ แปลงแล้ว
คันนี้ก็ทำได้สวยอีกคันหนึ่งครับ แต่เบาะน่าจะแพงอยู่ครับ


ฟิกเกียร์ จักรยานสวย
คันนี้คนขี่คงสูง น่าดูผมว่าน่า 190 ซ.ม ขึ้นนะครับ สังเกตุจากเฟรมแล้วไม่น่าพลาด เพื่อนๆ สังเกตุตรงแฮนครับ เขาตัดเอาของเสือหมอบธรรมดา นี่แหละครับมาใส่ ช่างสร้างสรรค์จริง งานก็เนียนดีครับ


ฟิกเกียร์ คลาสสิค
คันนี้เขาแต่งแนวคลาสสิค ครับแต่ก็ดูดีมีสกุล ครับตามแบบฉบับ Vintage

สุดท้ายนี้หวังว่าเพื่อน ๆ ชาวฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) คงมองเห็นแแนวทางในการแต่งรถ จักรยานฟิกเกียร์ ของตนเองบ้างนะครับ หากมีบทความเกี่ยวกับจักรยานฟิกซ์เกียร์ ผมจะนำมานำเสนอให้กับเพื่อน ๆ อีกครับ... ขอบคุณครับที่ติดตาม -_-



(ขอบคุณบทความดี ๆ จาก : www.thbike.blogspot.com)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง