Shimano ทำตีนผีขาสั้นยาวแตกต่างกัน 3 รหัสคือ
1. SS ซึ่งจะสั้นที่สุด และใช้กับเสือหมอบที่มีจานหน้า 2 จานเท่านั้น
2. GS สำหรับเสือหมอบจะเป็นตีนผีขายาวซึ่งจะใช้กับจานหน้า 3 จาน (52-42-30) แต่ถ้าเป็นของเสือภูเขาจะถูกเรียกเป็นตีนผีขาสั้น
3. SGS เป็นตีนผีที่ขายาวที่สุด
ก่อนที่จะพูดเรื่องความแตกต่างของขาสั้น ขายาวนั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะเน้นก็คือ อย่าเพิ่งละเลยเรื่องพื้นฐาน มาดูตารางแสดงคุณสมบัติของตีนผีรุ่นต่าง ๆ กันก่อนดีกว่าครับ
ตีนผีทุก ๆ รุ่นจะมีสปริงอยู่ด้วยกัน 3 ชุด
1. B-tension spring หรือสปริงที่อยู่ใน Hanger bracket หรือที่ที่เราขันยึดตัวตีนผีเข้ากับ drop out สปริงตัวนี้จะทำหน้าที่ดึงให้ hanger bracket ถอยไปด้านหลังตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เฟืองจ็อคกี้กระแทกกับชุดเฟืองท้าย โดยเฉพาะช่วงที่ใช้เฟืองท้ายใบใหญ่ที่สุด
2. Parallelogram link spring จะอยู่ระหว่าง inner link และ outer link ของขาบน
- สำหรับตีนผีธรรมดา สปริงตัวนี้ทำหน้าที่ดึงให้ขาของตีนผีขยับกลับออกไปด้านนอก โดยจะเกี่ยวจาก link pin ตัวหลังของ outer plate ไปยัง link pin ตัวหน้าของ inner plate พูดง่าย ๆ คือเป็นตัวถึงให้ตีนผีขยับเพื่อเปลี่ยนเกียร์จากเฟืองใหญ่ลงมายังเฟืองเล็ก
- ส่วนในตีนผี reverse หรือ Rapid rise สปริงตัวนี้จะเกี่ยวจาก link pin ตัวหลังของ inner plate ไปยัง link pin ตัวหน้าของ outer plate สปริงตัวนี้จึงทำหน้าดึงในทิศทางตรงกันข้ามแบบปกติ คือ จะดึงให้ขาของตีนผีขยับเข้าด้านในแทน หรือเป็นตัวดึงให้ตีนผีขยับเพื่อเปลี่ยนเกียร์จากเฟืองเล็กขึ้นไปยังเฟืองใหญ่
3. สปริงใน pulley cage bracket สปริงตัวนี้จะทำหน้าที่ดึงให้ขาล่างหรือ pulley cage งอเข้าหาขาบนตลอดเวลา โดยสปริงตัวนี้จะทำหน้าที่ร่วมกับ B-tension spring ในการดึงให้โซ่ตึงตลอดเวลา ที่ต้องกล่าวให้เข้าใจแบบนี้ก่อนเพราะว่าจะได้หลับตานึกภาพการทำงานไปด้วยกันได้ไงครับ
คนรักการขี่จักรยานขอที่อาบน้ำแต่งตัวที่ทำงานทุกที่ให้มีกฎหมายบังคับให้มีอยากขี่รถจักรยานไปทำงานกันทั้งนั้นแต่ขาดสิ่งเหล่านี้ ช่วยสร้างให้ด้วยครับเจ้านาย