ss

4 มิ.ย. 2555

มาทำความรู้จักกับจักรยาน Full-Suspension

|0 ความคิดเห็น
มาทำความรู้จักกับจักรยาน Full-Suspension


เป็นเวลาสามสิบกว่าปีแล้วที่จักรยานเสือภูเขาได้กำเนิดเกิดขึ้นมาในโลก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาการให้จักรยาน ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังแตกสาขาออกไปเพื่อตอบสนองการขี่แต่ละประเภทให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับการใช้งาน ในเส้นทางแบบต่าง ๆ


จักรยานเสือภูเขาแต่เดิมจะเป็นตะเกียบตายและมีตัวเฟรมไร้ระบบกันสะเทือนซึ่งจักรยานแบบนี้หากนำไปใช้ในเส้นทางขรุขระมาก ๆ จะทำให้ผู้ขี่อ่อนล้าจากแรงกระแทกในเส้นทางต่อมา จึงได้มีการคิดค้นระบบกันสะเทือนแทนตะเกียบขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกรวบทั้งเพื่อยืดเกาะเส้นทางได้ดี


ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาวิทยาการด้านวัสดุศาสตร์ ได้ทำให้จักรยาน Full Suspension มีน้ำหนักเบาลงกว่าอดีตมาก นอกจากนี้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบยังช่วยให้จักรยานชนิดนี้สูญเสียแรงในการปั่นน้อยลง รวมถึงเทคโนโลยีของช็อคอัพจักรยานที่มีประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน ทั้งสามตัวแปรดังกล่าวคือเหตุผลที่ทำให้จักรยาน Full Suspension กลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าในอดีต


ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ระบบกันสะเทือนหลัง ติดเฟรมให้จักรยานมีระบบกันสะเทือนทั้งหน้า-หลัง เรียกว่าจักรยาน Full Suspension (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Full-sus) ซึ่งเกาะยึดเส้นทางได้ดี และยังสามารถลดแรงกระแทกได้ด้วย ในช่วงแรก ๆ Full sus มีน้ำหนักมาก และสูญเสียแรงในการปั่น ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิย


ในการแบ่งประเภทของจักรยาน Full Sus จะแบ่งตามลักษณะการขี่ และช่วงระยะยุบตัวของระบบกันสะเทือน โดยทั่ว ๆ ไปจักรยาน Full sus จะมีระยะยุบของระบบกันสะเทือนทั้งด้านหน้าและด้านหลังเท่ากัน เพื่อให้เดความสมดุลในการทำงานของระบบ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อขี่ ปัจจุบันจึงแบ่งประเภทของจักรยาน Full suspension ได้ดังนี้


1. Cross Country : มีระยะการยุบตัวของระบบกันสะเทือนไม่เกิน 4 นิ้ว เฟรมมีท่อบนยาว ใช้สำหรับเส้นทางที่มีค่อนข้างขรุขระ เน้นการขี่ทำความเร็วสูง มีน้ำหนักเบา ระบบกันสะเทือนอาจจะมีระบบล็อคกันยุบตัว เพื่อการขี่บางลักษณะ เฟรมมีความชันของท่อคอประมาณ 70 องศา




2. Trail Bike: มีระยะการยุบตัวของระบบกันสะเทือนประมาณ 5 นิ้ว ใช้ขี่ในเส้นทางขรุขระมากกว่าแบบแรกแต่ยังทำความเร็วได้ดี




3. All Mountain : มีระยะการยุบตัวของระบบกันสะเทือนประมาณ 6 นิ้ว ออกแบมาสำหรับเส้นทางขรุขระมากพอสมควร เฟรมมีท่อบนสั้นเน้นการควบคุมง่ายไม่เน้นทำความเร็วสูง นอกจากนี้ตัวรถยังมีความแข็งแรงมากกว่าสองแบบแรก สามารถกระโดดกระโจนได้บ้าง มีความชันของท่อคอประมาร 67-8 องศา




4. Free Ride: มีระยะการยุบตัวของระบบกันสะเทือนประมาณ 7 นิ้ว ออกแบบมาให้ตัวถังมีความแข็งแรงสูง สามารถขี่โดดกระโจนลงจากที่สูงได้ เน้นความคล่องตัวมีความชันของท่อคอประมาณ 66-77 องศา




5. Down Hill: มีระยะการยุบตัวของระบบกันสะเทือนตั้งแต่ 8 นิ้วหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปจะนิยมใช้ช็อคหน้าแบบสองแผงคอ (Double Crown) เฟรมออกแบบมาให้มีความแข็งแรงสูง รองรับแรงกระแทกได้ดี ทำความเร็วได้สูง และยังควบคุมรถได้ง่าย ความชันของท่อคอประมาณ 65-66 องศา


จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าจักรยาน Full Suspension แต่ละประเภทถูกออกแบบมาให้ใช้กับเส้นทางเฉพาะของแต่ละแบบ ดังนั้นในการเลือกจักรยานจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานส่วนใหญ่ของท่าน เพื่อการใช้งานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ

1 มิ.ย. 2555

Campagnolo เผยโฉมจานหน้าคอมแพคสามใบ

|0 ความคิดเห็น
Campagnolo เผยโฉมจานหน้าคอมแพคสามใบ สำหรับแฟนพันธุ์แท้กรุ๊ปเซ็ตเสือหมอบคัมปันโญโล จากแดนมักกะโรนี ผู้ปรารถนาจะไต่เนินชันให้สบายแรงกว่าเดิม ปี 2013 นี้ 


Campagnolo Athena 2013
Campagnolo ประกาศแล้วว่าท่านจะไม่ต้องรอคอยให้เนิ่นนานอีกต่อไป ด้วยการเปิดตัวชุดจานหน้าคอมแพคสามใบไปแล้วเมื่อกลางเดือน พฤษภาคม


ชุดจานหน้าสามใบใหม่นี้ทางคัมปันโญโลประกาศว่ามี ยู-แฟคเตอร์ (ความกว้างระหว่างขาจานทั้งสองข้าง) และ คิว-แฟคเตอร์ (ความกว้างของตัวขาจาน) น้อยที่สุดในระดับเดียวกัน ทางคัมปันโญโลย้ำด้วยว่าทั้งความเร็วและความแม่นยำในการสับจานไม่แพ้แบบสองใบจานเดิม ๆ เลย


ชุดจานคอมแพคใหม่นี้จะเป็นจานสามใบน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ อัลตราไลต์ สร้างจากอลูมินัมเนื้อเหนียวที่เบาด้วยกรรมวิธีหล่อกลวง (ฮอลโลว์ ฟอร์จ) โดยจะมีชื่อรุ่นตานี้คือ อาธีนา (Athena) สำหรับชุดเกียร์ 11 สปีดในสีดำและสีเงินมัน เซ็นเทาร์ (Centaur) สำหรับชุดเกียร์ 10 สปีดสีดำ ดำด้านและแดง และเวโลเซ (Veloce) สำหรับชุดเกียร์ 10 สปีด สีดำและเงินมัน


เพื่อให้เข้าชุดกัน สับจานหน้าจึงถูกออกแบบใหม่หมดให้รับกับใบจานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ตีนผีซึ่งมีทั้งแบบขาเฟืองสั้น (55 มม.) กลาง (72.5 มม.) กลาง+ (82 มม. สำหรับชุดอาธีนา เกียร์ 11 สปีดเท่านั้น) หรือขาเฟืองยาว (89 มม. เฉพาะเกียร์ 10 สปีด จะใช้ตัวตีนผีเหมือนกัน) ทั้งแบบ 10 และ 11 สปีดของอาธีนา, เซ็นเทาร์ และเวโลเซ รุ่นขาเฟืองยาวจะใช้ได้กับเซ็นเทารุ่น 10 สปีดที่มีฟันเฟือง 12 – 30 ซี่ เซ้นเทาร์มีเฟือง 10 สปีด ฟันเฟือง 12 -27 ซี่ ให้เลือกด้วยเช่นกันซึ่งชุดเฟืองท้ายดังกล่าวนี้จะใช้งานได้เงียบและทนทานขึ้น ด้วยเทคนิคการชุปแข็งและการรออกแบบสัดส่วนเรขาคณิตใหม่ ประกอบกับใช้เทฟลอนเคลือบในโซ่ของเซ็นเทาร์รุ่น 10 สปีดด้วย


ในชุดจานหน้า 2 ใบสำหรับเฟือง 11 สปีด คัมปันโญโลก็บอกว่าจะทำใหม่ด้วยเช่นกันในแบบฟันเฟือง 38 และ 52 ซี่ ส่วนแบบที่ทำใบจานด้วยคาร์บอนทั้งหมดในสัดส่วนเท่ากันนั้นจะมีจำหน่ายสำหรับเกียร์ 11 สปีด ทั้งหมดคือซูเปอร์เรคคอร์ด, เรคคอร์ด,คอรัส และอาธีนา โดยจะมีความยาวขาจานตั้งแต่ 165 – 175 มม. หนัก 663 กรัม สำหรับอาธีนา คาร์บอน 690 กรัม สำหรับคอรัส สำหรับรุ่นเรคคอร์ดเดิมซึ่งหนัก 650 กรัมและซูเปอร์เรคคอร์ดที่หนัก 607 กรัมนั้นจะเบาขึ้นอีกรุ่นละ 40 กรัม ที่ดียิ่งขึ้นคือชุดจานหน้าสองใบแบบ 36-52 นั้น จะใช้งานร่วมกับชุดเกียร์อีเลคทรอนิค คัมปันโญโลอีพีเอสได้ด้วย...


อีกไม่นานเกินรอ สำหรับแฟนพันธุ์แท้ของกรุ๊ปเซ็ตสัญชาติอิตาเลียนแบรนด์นี้ คงจะนำเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย รอเสียตังค์กันได้แล้วครับ...


ที่มา นิตยสาร Sports Street

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง