ss

12 ธ.ค. 2553

เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก [เทคนิคการปั่นจักรยาน ]

เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก [เทคนิคการปั่นจักรยาน ]
                การถ่ายน้ำหนักคือการย้ายจุดศูนย์ถ่วงของตัวเราไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของตัวรถจักรยานหากเราได้ฝึกฝนการถ่ายน้ำหนักจนมีความชำนาญจะช่วยให้เราขี่จักรยานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรงตัว การควบคุมรถแม้กระทั่งการเพิ่มความเร็ว และปลอดภัยขึ้น เพราะเมื่อเราทรงตัวได้ดีเราก็คงไม่ล้มง่าย ๆ นั่นเอง
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะเลี้ยวพื้นราบ
สิ่งแรกที่ต้องพึงระวังไว้เสมอคือขณะที่เลี้ยวลูกบันไดด้านที่เลี้ยวจะต้องอยู่ในทิศทางประมาณ 12 นาฬิกา เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบันใดไปเกี่ยวกับพื้น โน้มตัวไปด้านหน้าให้น้ำหนักไปกดอยู่ที่ล้อหน้าเพื่อให้ล้อหน้าเกาะกับพื้นยิ่งขึ้นช่วยไม่ให้ล้อหน้าไถลออกจากทาง ถ่ายน้ำหนักตัวท่อนล่างให้ไปทางเดียวกันกับที่เลี้ยว ส่วนท่อนบนให้ไปในทิศทางตรงกันข้าม เปิดเข่าด้านที่เลี้ยวออกเพื่อช่วยถ่วงน้ำหนัก การเปิดเข่าออกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับมุมที่เราจะเลี้ยวหากมุมแคบก็เปิดเข่ากว้างหน่อย แต่หากมุมกว้างเปิดเข่าแคบหรืออาจไม่ต้องเปิดเข่าแต่ให้เอียงตัวช่วยก็พอในการเลี้ยวนั้นน้ำหนักส่วนมากจะค่อนไปอยู่ที่ส่วนหน้าของจักรยาน แต่หากทางที่ต้องเลี้ยวเป็นทางลง ให้ถ่ายน้ำหนักตัวค่อนมากลางรถคุมความเร็วอย่าให้สูงเกินด้วยการควบคุมเบรก ต้องระวังอย่าเบรกแรงจนล้อล็อคเพราะจะทำให้เสียการควบคุม
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะที่ปั่นขึ้นเนิน [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
ถ่ายน้ำหนักในขณะขึ้นเนินปรับเกียร์ให้เหมาะกับความชันและกำลังของเรา งอแขนและกางแขนออกโน้มตัวไปข้างหน้าพร้อมถ่ายน้ำหนักลำตัวช่วงบนกดไปแฮนด์เพื่อให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนมากขึ้น ส่วนลำตัวช่วงล่างให้ทิ้งน้ำหนักลงไปที่กะโหลกเพื่อให้มีน้ำหนักไปกดที่ล้อหลังไม่ให้เกิดการฟรีซึ่งจุดนี้จะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชันของทางต้องขยับการนั่งค่อนมาทางด้านหน้าเบาะ หากทางไม่ดีนั่งปั่นไม่ได้ให้ยกก้นขึ้นลอยจากเบาะแต่ให้อยู่ในแนวเดิม แต่ถ้าสภาพทางเปียกควรนั่งปั่นเพราะการนั่งจะรักษาการถ่ายน้ำหนักและควบคุมรถได้ดีกว่าการยืน หากถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังมากเกินไปหน้ารถจะเบาทำให้ควบคุมทิศทางลำบาก ดีไม่ดีอาจหงายท้องอีกด้วย แต่ถ้าหากเราถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้ามากเกินไปล้อหลังจะไม่มีแรงกดเมื่อเราออกแรกปั่นล้อจะฟรีทำให้เสียจังหวะและอาจเสียการควบคุมรถอีกด้วย
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นลงเนินสำหรับทางวิบาก หรือทางขรุขระ
หากสภาพทางมีความลาดชันมากให้ปล่อยไหลลงมาจะปลอดภัยกว่าโดยพยายามให้ขาจานอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นงอเข่าทั้งสองข้าเพื่อช่วยในการควบคุมรถและช่วยซับแรงกระแทกยกก้นลอยขึ้นจากเบาะ ให้ถอยตัวค่อนไปตอนท้ายหรือเลยออกจากเบาะ เพื่อให้น้ำหนักไปตกอยู่ที่ล้อหลัง (สำหรับระยะของการถอยตัวจะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความชันของทาง)  พยายามกดล้อหลังให้ติดพื้นตลอด เพราะหากล้อหลังลอยจากพื้นจะทำให้เสียการควบคุมได้หากทางเรียบปั่นเติมเพื่อเพิ่มความเร็วก้มตัวให้ต่ำเพื่อลดแรงต้านให้นั่งอยู่ส่วนท้ายเบาะเพื่อให้มีน้ำหนักกดที่ล้อหลังนิ้วต้องอยู่ที่เบรกตลอดเพื่อชะลอความเร็วไม่ให้เร็วเกิน หลีกเลี่ยงการใช้เบรกหน้าถ้าไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียหลักได้ง่าย มองให้ไกลเข้าไว้เผื่อมีหลุมหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าจะได้หลบทันไม่ต้องกลิ้งลงมาแทน
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นทางเรียบ ที่ความเร็วและรอบขาสูง
ลักษณะของการถ่ายน้ำหนักจะคล้ายกับการปั่นขึ้นทางชัน คือเลื่อนตัวมาอยู่ที่ปลายเบาะด้านหน้างอแขนเข้าหาตัวโน้มตัวไปข้างหน้า (เรียกง่าย ๆ ว่าหมอบ) น้ำหนักจะตกอยู่ที่ส่วนหน้าเพื่อลดแรงเสียดทางของล้อหลังกับพื้นถนนทั้งยังช่วยให้เราสามารถรักษารอบขาได้นานขึ้นด้วย
-          การถ่ายน้ำหนักเมื่อเจอทราย [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
ให้ถ่ายน้ำหนักไปที่กะโหลกค่อนไปที่ล้อหลังเพื่อให้ล้อมีแรกตะกุยพยายามรักษารอบขาให้สม่ำเสมออย่าถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้าต้องให้หน้ารถเบาไว้เพื่อที่ล้อหน้าจะได้ไม่จมทราบ การควบคุมและบังคับทิศทางจะได้ง่ายขึ้น
-          การถ่ายน้ำหนักเพื่อเบรก
หากต้องการเบรกให้รถหยุดจัดตำแหน่งขาจานอยู่ในแนวขนานกับพื้นถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังโดยการถอยตัวไปท้ายหรือเลยเบาะใช้เบรกทั้งหน้าและหลังแต่ให้เริ่มเบรกหลังก่อนจากนั้นตามด้วยเบรกหน้า ใช้แขนดันแฮนด์ไว้เพื่อไม่ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้า แต่หากต้องการเบรกเพื่อให้ไถลไปในทิศทางที่ต้องการให้ถ่ายน้ำหนักมาที่ล้อหน้าโดยการโน้มตัวมาด้านหน้าบังคับแฮนด์ไปในทิศทางที่ต้องการ การทรงตัวจะใช้ล้อหน้าเป็นหลักน้ำหนักที่กดล้อหน้าจะช่วยให้เราอยู่ในเส้นทาง เบรกเต็มกำลังเพื่อให้ล้อหลังล็อคล้อหลังจะไถลไปในทิศทางตรงกันข้ามกับล้อหน้า ปล่อยเบรกหลังเมื่อล้อหลังอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการปั่นควรหมั่นฝึกซ้อม เพราะนอกจากคุณจะเร็วขึ้นสนุกขึ้นที่สำคัญปลอดภัยขึ้นขึ้นด้วย สำหรับการถ่ายน้ำหนักในทุก ๆ กรณีหากไม่มั่นใจแนะนำว่าเข็นหรือแบกก่อนดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและรถอันเป็นที่รักของคุณ

 [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง