ss

8 ต.ค. 2554

103 เทคนิคง่าย ๆ ของการขี่ Off-Road (ตอนจบ)


เทคนิคการไต่ที่สูง

53.  ถ้าต้องปั่นไต่ทางยาว ต้องแน่ใจว่าตัวเองจะมีช่วงเวลาให้พักฟื้นตัวได้ รวมทั้งต้องขี่จักรยานบนทางเรียบให้ได้ทุกสัปดาห์ หรือเนินลูกสั้น ๆ เล็ก ๆ ที่คุณจะได้มีโอกาสปั่นยาว ๆ บ้าง
54.  จงเตรียมใจไว้ว่าต้องลำบากแน่ ๆ เมื่อไต่เขา สมัยยังเด็กอยู่นั้นพวกเราต่างก็รู้มาว่าความเจ็บปวดนั้นไม่ดีและมันเป็นความจริง แต่คุณต้องระลึกไว้เสมอว่าความเจ็บปวดระหว่างการไต่ออกแรงนั้นคือความเจ็บปวดที่ดีเพราะมันจะทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น
55.  อาการปวดเมื่อยเมื่อไต่ที่สูงนั้นไม่ใช่ความเจ็บปวดที่จะบ่อนทำลายร่างกาย มันทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น
56.  แม้แต่พวกนักจักรยานมากประสบการณ์ยังต้องเหนื่อยเวลาเจอทางชันมาก ๆ คุณต้องลองปั่นก่อนสักสามสี่ครั้งก่อนจะพบว่ารอบขาที่เหมาะสมกับตัวเองคือแค่ไหน
57.  เลื่อนก้นมาปลายอาน โดยเท้าข้างหนึ่งยังติดบันไดอยู่และขาอีกข้างแตะพื้นไว้
58.  ใช้ขาข้างที่แตะพื้นยันไปแล้วค่อยเริ่มปั่น ให้ขาข้างแตะพื้น ยังไม่ต้องตบบันไตและมองจ้องเส้นทางข้างหน้า
59.  เมื่อปั่นไปได้สี่หรือห้ารอบในทิศทางที่ต้องการแล้วค่อยยกเท้าข้างที่ปล่อยฟรีมาติดบันได เลื่อนก้นมาหลังอานแล้วค่อยเริ่มต้นดาวน์ฮิลลงมา
60.  เป็นเรื่องปกติที่คุณจะหายไม่ทันเมื่อปั่นขึ้นเนินลูกยาวมา ให้รวบรวมสติให้รวดเร็วแล้วใช้รอบขาปั่นเป็นเสมือนเครื่องบอกจังหวะของนักดนตรี แล้วค่อยกลับมาหายใจให้เป็นปกติไปพร้อมขาปั่น
61.  คุณคงไม่เชื่อหรอกว่าต้องสูญเสียพลังงานไปมากแค่ไหน ทั้งที่ทำแค่ทรงตัวอยู่บนจักรยานเพียงอย่างเดียว
62.  ไม่จำเป็นต้องจับแฮนด์แน่น แค่กำไว้หลวม ๆ แล้วปล่อยร่างกายท่อนบนให้ผ่อนคลายไปตามจังหวะความเคลื่อนไวของจักรยานก็พอ
63.  กลเม็ดเพื่อการผ่อนคลายระหว่างการไต่หรือปั่นในช่วงค่อนข้างง่ายคือ การยกแค่หัวแม่มือจากแฮนด์เท่านั้น เมื่อนิ้วหัวแม่มือของคุณได้ผ่อนคลายจากากรกำแฮนด์ ข้อศอกของคุณจะเคลื่อนเข้าหาตัว ด้วยการเคลื่อนไหวง่าย ๆ เพียงเท่นี้มันจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังช่วงลำตัวทั้งหมดเพื่อให้ผ่อนคลายความเกร็งที่มีมาตลอดโดยไม่รู้สึกตัว
64.  คุณสามารถขจัดความกลัวช่วงขาลงได้ โดยการแบ่งมันออกเป็นช่วงย่อย ๆ แล้วผ่านมันไปให้ได้แต่ละช่วง
65.  ให้แบ่งช่วงลงเขาที่นาหวาดเสียวออกเป็นกลุ่ม ๆ คือช่วงชัน ช่วงยากและช่วงชันน้อย หรือแทบจะราบ เมื่อมาถึงช่วงไหนก็พยายามนึกถึงการซ้อมที่เคยทำในช่วงนั้น ๆ ไว้
66.  ในช่วงชันมาก ให้เลื่อนตัวมาหลังอานแล้วหมอบเพื่อเลื่อนจุดศูนย์ถ่วงให้ต่ำลง บีบเบรกหน้าเอาไว้เบา ๆ เพราะคุณต้องใช้พลังหยุดยั้งหลัก ๆ จากเบรกหน้า
67.  อย่าให้เบรกล็อคเป็นอันขาด จงปล่อยให้มันเคลื่อนที่ไปได้ช้า ๆ เพื่อจะได้ควบคุมทิศทางผ่านอุปสรรคไปได้
68.  ฝึกอะไรไว้ให้นึกถึงมันตลอดเวลา เมื่อใดที่ลงมาถึงช่วงง่ายของเส้นทางแล้วให้เบรกจนจักรยานช้าพอ ๆ กับเดิน เมื่อมาถึงช่วงชันหรือช่วงลื่นจึงปล่อยเบรคเพื่อป้องกันการลื่นไถล
69.  ให้ใช้แรงส่งมาจากช่วงก่อนเพื่อให้พุ่งข้ามทางขรุขระหรือบริเวณหินตะปุ่มตะป่ำไปได้ จำไว้เสมอว่าต้องแตะเบรคเฉพาะตอนที่ควรเบรคเท่านั้น
70.  ต้องยืดหยุ่นตลอดเวลา ถ้าทำท่าว่าจะไถลออกนอกทางให้พยายามโยกตัวหนีให้ได้ก่อน จะได้ไม่ไถล
71.  ทางชันเกือบตั้งฉากไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการร่วงหล่นที่ควบคุมท่าทางได้ ระวังให้ดีในช่วงก่อนถึงและตอนลงพื้น ระหว่างนั้นจะเร็วจนเบลอ
72.  การจูงจักรยานในช่วงที่ไม่แน่ใจหรือคิดว่าจะอันตรายมาก ๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหน้า
73.  จักรยานพังยังเปลี่ยนได้ ถ้าจวนตัวก็ปล่อยให้มันตกหน้าผาไปเถอะ ดีกว่ายอมตายไปพร้อมกับมัน
74.  แนวขี่ที่ดีที่สุดในช่วงผาชันมักจะเป็นช่วงตรงที่สุด ถึงแม้มันอาจจะมีช่วงทิ้งตัวดักหน้าหรือเป็นร่องตัววีก็ตาม

ดาวน์ฮิลล์

75.  ยิ่งมาโค้งช่วงขาลง โอกาสหมดแรงหรือพลาดท่าเสียทีย่อมมีมาก
76.  ความเข้าใจผิดช่วงขาลงไม่ว่าจะเป็นซิลเกิลแทรคหรือดาวน์ฮิลล์จริง ๆ คือ การพยายามห้อยตัวไว้ท้ายอานแล้วสวดภาวนา
77.  การห้อยตัวไว้ท้ายอานมีแต่จะทำให้ล้อหลังไถลและล้อหน้าบังคับยาก มีสิทธิ์แหกโค้งได้ง่าย ๆ
78.  ตำแหน่งตัวเมื่อดาวน์ฮิลล์ลงมาที่ถูกต้องคือหมอบลง งอข้อศอก มองไปข้างหน้าอย่างต่ำ 50 ฟุตเพื่อคอยระวังเส้นทางข้างหน้า
79.  หัวใจสำคัญในการดาวน์ฮิลล์คือยืนขึ้นแล้วพยายามควบคุมน้ำหนักร่างกายให้สมดุลระหว่างล้อทั้งสอง

ทราย

80.  มองไปยังบริเวณที่มีทรายล่วงหน้าก่อนถึง มองหาทางเข้าซึ่งจะช่วยให้ใช้ความเร็วส่งให้เจอ
81.  ให้ใช้เกียร์หนักกว่าเดิมหนึ่งหรือสองระดับ จะช่วยให้ไม่ต้องออกแรงมากและป้องกันไม่ให้ล้อหลังสะบัดด้วย เมื่อเข้าบริเวณมีทราย
82.  สังเกตร่องทรายของคนที่มาก่อน ใช่ร่องนั้นให้เป็นประโยชน์โดยให้ล้อหน้าและหลังทรงตัวอยู่ในร่องนั้น
83.  การชี่ซ้ำรอยเดิมของเพื่อนในทราย จะช่วยประหยัดพลังงานของคุณระหว่างลุยทรายได้ถึงครึ่ง
84.  ทรงตัวให้ได้ในทรายด้วยการหมอบลงกับจักรยาน พยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุลระหว่างล้อทั้งคู่
85.  จงนั่งบนอานเสมอเมื่อลุยทราย มันจะช่วยให้ปั่นบันไดได้ง่ายกว่าลุกขึ้นโยกซึ่งมีโอกาสล้มสูงกว่า

สวนหิน

86.  เข้าหาสวนหินด้วแรงส่งและด้วยความมั่นใจ
87.  ระบบกันสะเทอนจะบั่นทอนแรงส่งได้ในช่วงความเร็วต่ำ และอาจจะหยุดสนิทเลยก็ได้เมื่อเจอทางแบบสวนหิน จงคงความเร็วไว้ให้ได้เสมอ
88.  เกร็งท่อนบนรับ ให้เหมือนกับจะพุ่งเข้าชนหิน
89.  เลือกแนวให้ได้แล้วจงอยู่ในแนวนั้น ไม่มีทางหลีกเลี่ยงการพุ่งเข้าชนหินก้อนใหญ่อยู่แล้ว จงเลือกเส้นทางที่เลวร้ายน้อยที่สุดและตรงที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วพุ่งผ่านไปให้ได้
90.  จงเตรียมใจว่าอาจต้องหลุดออกนอกแนวบ้าง ให้มองแนวให้ดี เพื่อจะได้บังคับจักรยานให้เคลื่อนไปในทิศทางนั้น
91.  ถ้าต้องเฉไฉออกแนว ให้ตายังคงมองกลับไปยังแนวเดิมนั้น แล้วปั่นลูกบันไดด้วยรอบสม่ำเสมอ ในที่สุดก็จะกลับมาได้เอง
92.  จงอย่าหยุดหากล้อหน้าหยุดสนิท ให้ปั่นไปเรื่อย ๆ แล้วจะกลับไปเข้าแนวเดิมเอง พอพ้นแนวสวนหินไปแล้วไม่ต้องมองกลับมา ให้ปั่นต่อไป
93.  ต้องพยายามปั่นอยู่เสมอ ถ้าทำท่าว่าจะเอาบันไดไปกระแทกหิน ก็ให้เบี่ยงตัวหลบไม่จำเป็นต้องหยุดปั่น เพราะหยุดเมื่อใด จักรยานอาจจะหยุดนิ่งได้
94.  ต้องเข้าใจจักรยาน หากคุณใช้จักรยานเทรล เพราะจักรยานชนิดนี้ซึมซับแรงกระแทกโดยเฉพาะในย่านสวนหินได้ดีกว่าจักรยานอื่น ๆ อย่าเสียเวลาเลือกแนวปั่นนานถ้าคุณใช้จักรยานเทรล ลุยได้ลุยไปเลย
95.  เลือกแนวให้ลุยไปบนหินได้ตามสมควรถ้าก้อนมใหญ่มาก มีระบบกันสะเทือนแล้วให้ใช้มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

โค้งหักกลับ

96.  เมื่อถึงโค้งหักกลับ ให้ตีโค้งกว้างเข้าไว้ก่อน เข้าหาโค้งด้วยความเร็วต่ำและวาดโค้งให้กว้างเข้าไว้ การใช่พื้นที่มากจะช่วยให้เคลื่อนที่ได้มาก เป็นประโยชน์ในการเลือกแนวเพื่อออกจากโค้งนั้น
97.  ต้องมั่นใจเมื่อเข้ามาถึงหัวโค้งหักกลับแล้วจะเลี้ยวซ้ายหรือขวาก็ให้ทำได้ทันที
98.  ถ้าหักแฮนด์ฉับพลันคุณอาจทำได้ทั้งลดความเร็วและล้ม
99.  พยายามอย่าให้ล้อหลังครูด
100.  มองเส้นทางที่หมายไว้ว่าจะไปตลอดเวลา
101.   เมื่อออกพ้นโค้งหักกลับแล้วให้หักแฮนด์ตรงเส้นทาง
102.   ถ้าเป็นโค้งหักกลับขาขึ้น ให้ถ่ายน้ำหนักไปข้างหน้า แต่ถ้าเป็นขาลง ก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวมาข้างหลัง
103.   เมื่อพื้นโค้งแล้วค่อยแตะเบรก แล้วต่อจากนั้นจะให้จักรยานไถลลงหรือออกแรงปั่นก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง:


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง