การทำอะไรให้ง่ายเข้าไว้เป็นเรื่องดี ไม่งั้นฝรั่งจึงไม่มีคำพูดว่า “Keep it simple,stupid” เราได้รวบรวมกลเม็ดเด็ดพรายเพื่อนักเมาเท่นไบค์ ให้คุณได้อ่านง่าย ๆ ทำง่าย ๆ มาลงไว้ข้างล่างนี้ เชิญอ่านได้ตามหัวข้อเลยแล้วนำไปปฏิบัติตาม คุณจะทราบเองว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้
โดดเนิน
1. จงเหินให้เหมือนนกอินทรี แต่จงลงพื้นให้เหมือนเป็ด
2. ใคร ๆ ก็โดดได้ แต่ลงโดยไม่เอาหน้าฟาดนั่นยากเต็มที
3. เริ่มหัดเหินที่เนินหญ้าก่อน จะได้ไม่เจ็บตัวตอนลง
4. ไม่จำเป็นต้องยายามโดเนินลงพื้นถนนหรือบริเวณมีสิ่งกีดขวางเลย อยากเจ็บตัวหรือ
5. ปั่นสุดแรงแล้วหยุดทันทีก่อนโดด แตะเบรกติดหน่อยก่อนจะโดยให้อยู่ในความเร็วที่ควบคุมได้
6. ไม่จำเป็นต้องปั่นตลอดเวลาจนจวนจะเหิน ถ้าทำอย่างนั้นจะเสียสมดุลตอนเหินอากาศ ทางที่ดีคือหยุดปั่นให้ได้ประมาณ 10 ฟุตก่อนโดด
7. อย่างนั่งอานตอนลอยตัวแล้ว ตอนลงมันจะงัดตัวคุณกระเด้งข้ามแฮนด์ ให้ยืนขึ้นโดยงอแขนและเข่าไว้ก็พอ เพื่อซับแรงกระแทก
8. จับจ้องมองจุดลงพื้นให้มั่น ต้องมองจุดนั้นให้นิ่ง
9. หัดลงพื้นด้วยล้อหลังก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงค่อยลงพื้นพร้อมกันทั้งสองล้อ
10. ใช้ศอกและเข่าเป็นตัวรับแรงกระแทกระหว่างลงพื้น
11. ต้องอยากเหินเป็นชีวิตจิตใจ มองเส้นทางและทุก ๆ สิ่งที่จะมาใช้เพื่อปั่นโดดได้ ฝึกฝนเทคนิคใหม่ ๆ ให้ดีเมื่อโดดแต่ละครั้ง
12. ก่อนจะโดดเนินไหนให้ทดลองก่อนด้วยการลองปั่นขึ้นเนินโดยไม่ต้องข้าม แล้วคุณจะรู้เองในเวลาต่อมาว่าจะข้ามเนินนั้นได้หรือไม่และเหินได้สูงแค่ไหน
โดดบันนี่ฮ็อป
13. การโดดสองล้อข้ามสิ่งกีดขวางบ่อย ๆ ทำให้ดูเหมือนเส้นทางจะเรียบขึ้น
14. การโดดบันนี่ฮ้อปต้องมีจังหวะเหมาะสม ต้องขย่มจักรยานก่อนจะข้ามสิ่งกีดกวางแล้วค่อยดึงจักรยานทั้งคันลอยข้ามไปทั้งสองล้อ
15. เมื่อจะโดด ให้ยกตัวขึ้นจากอาน งอเข่าและศอกไว้เพื่อซับแรงกระแทก
16. การงอเข่าและศอกขณะพุ่งเข้าหาสิ่งกีดขวาง ช่วยลดน้ำหนักรวมได้เล็กน้อย
17. เมื่อจะยกจักรยานให้โดดแบบบันนี่ฮ็อป เท้าซ้ายและขวาต้องวางบนลูกบันไดขนานกับพื้นในตำแหน่ง 9 นาฬิกาและ 3 นาฬิกา เมื่อมองจากด้านข้างจักรยาน
18. ก่อนจะถึงสิ่งกีดขวางให้ใช้ขาเป็นเสมือนสปริง ทำนองเดียวกับตอนเพิ่งแล่นออกจาโค้งหักศอก แล้วขย่มลูกบันไดให้เกิดสปริงยกตัวก่อนจะยกจักรยานโดยลอยทั้งคัน
19. ใช้ขาขย่มลูกบันได จะเกิดแรงยกมากกว่าใช้แขนดึงแฮนด์ขึ้น
20. มุ่งยกแฮนด์อย่างเดียวอาจจะเสียหลักล้มเอาได้ง่าย ๆ
21. ลำพังแค่ขย่มลูกบันไดอย่างเดียวแล้วยกอีกนิด คุณก็ลอยตัวข้ามสิ่งกีดขวางสบาย ๆ แล้ว
22. บางทีก็ต้องจำต้องฝึกฝนกันมากหน่อย แต่พอเป็นแล้วมันจะเกิดขั้นเองโดยธรรมชาติ
23. มือใหม่ก็ฝึกบันนี่ฮ็อปได้โดยไม่ต้องมีสิ่งกีดขวาง
เบรก
24. ควบคุมเบรกหน้าให้อยู่มือได้ คุณก็เอาจักรยานอยู่หมัด
25. เบรกหน้าสำคัญกว่าเบรกหลัง เพราะน้ำหนักคนและรถจะเคลื่อนไปกดล้อหน้าระหว่างเบรก
26. เบรกหน้าเท่านั้นที่จะหยุดหรือชะลอรถให้คุณได้ระหว่างลงเนินชัน
27. เริ่มด้วยการใช้นิ้วเดียวลากเบรกก่อน ตามด้วยอีกสองนิ้วเพื่อดึงเบรกหลัง ด้วยวิธีนี้หากตกใจกลัวขึ้นมาจะได้ไม่ตกใจกำเบรคหน้าจนแน่นจนหัวทิ่มได้
28. ให้ฝึกใช้เบรกในลานกว้าง ๆ ให้ปั่นด้วยความเร็วพอสมควร แล้วหยุดด้วยการกดเบรกด้วยแรงไม่เท่ากันที่เบรกหน้าและหลัง จะทำให้รู้ได้ชัดเจนว่าต้องใช้แรงมาหรือน้อยแค่ไหนตอนจะเบรกจักรยาน
29. จงอย่าได้กลัวพลังอำนาจของเบรกหน้า คุณควบคุมมันได้
30. เบรกหน้าจะไม่ล็อคล้อแม้คุณจะกำเบรกแน่น ตราบใดที่จักรยานไม่เอียงตอนเข้าโค้ง
31. จงหลีกเลี่ยงการเบรกให้ล้อตายลากพื้น
32. การลากล้อจะทำให้ระบบกันสะเทือนทำงานได้ไม่นุ่มนวล และจักรยานจะไถลอออกนอกแนวที่ต้องการ
33. จักรยานของคุณจะเข้าโค้งและบังคับทิศทางได้ดีด้วยการไม่ใช้เบรก ยิ่งลากเบรกก็ยิ่งไถล และจะยิ่งแย่ถ้าลงมาจากที่สูง
34. การลากเบรก ตัวเบรก และยางเบรก ผ้าเบรกจะยิ่งร้อนยิ่งสึกหรอเร็ว
35. ระวังความเร็ว ลดความเร็วแล้วจึงเบรกก่อนเข้าโค้ง
36. การเบรกตอนเข้าโค้งจะทำให้จักรยานไถล
37. พื้นเส้นทางที่ใช้ขี่จักรยาน คือตัวกำหนดพลังอำนาจในการเบรก
38. การขี่บนทางลูกรังหรือทางปนทรายร่วนต้องค่อย ๆ เพิ่มแรงเบรก อย่าเบรกฮวบฮาบจะล้ม
39. ฟังเสียงลากยางกับพื้นเสมอ ให้กำเบรกเต็มกำลังแต่ต้องคอยฟังเสียงยางไถลกับพื้น เพราะจะลื่นจนบังคับทิศทางไม่ได้
40. แม้เมื่อใช้ความเร็วสูงสุด นักจักรยานที่เก่งก็ยังไม่ค่อยยอมให้ล้อตายแล้วไถลกับพื้น
41. ใช้เบรกเมื่อเส้นทางเรียบดีและจักรยานเกาะถนน ปล่อยเบรกในช่วงยาก หากไม่ปล่อยจะควบคุมทิศทางไม่ได้
42. การใช้เบรกตอนลงเขาและในบริเวณที่ทางสภาพแย่จะทำให้เบรกด้อยประสิทธิภาพไป หยุดยาก
43. ถ้าจำเป็นต้องใช้เบรก ให้ใช้มันให้น้อยที่สุด แล้วจะประหลาดใจที่การไม่ใช้เบรกจะช่วยให้เข้าโค้งชัน ๆ ได้ง่ายกว่าการกำเบรคไว้ ไม่เสียการทรงตัวด้วย
การใช้เกียร์
44. สับจานหน้าของจักรยานคืออุปกรณ์ที่เปราะบางที่สุด
45. ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนจากจานหน้าใหญ่มาเป็นใบเล็ก ให้ออกแรงผลักบันไดไปข้างหน้าให้มีแรงเฉื่อยเล็กน้อยก่อนจะเปลี่ยนเกียร์ โซ่จะไม่พัง
46. ถ้าใช้ชุดใบจานหน้าจอ Truvatib XX แบบใบจานคู่และใช้สับจานหนาของ SRAM XX ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อ 45
47. จงมองไปข้างหน้าเสมอและตัดสินใจหาทางไปให้ได้ เมื่อใช้เกียร์ต่ำ เบาแรง
48. การลู่ลม ไม่จำเป็นเมื่อไต่เนิน เพราะคุณจะใช้ความเร็วต่ำ แค่โน้มตัวไปข้างหน้าอานก็พอแล้ว
49. ต้องพยายามหายใจให้เต็มปอดเข้าไว้ อย่าได้ห่อไหลให้เลื่อนมือไปที่ปลายแฮนด์เพื่อช่วยการทรงตัว
50. เมื่อไต่ที่สูงให้พยายามนั่งอานไว้ตลอด เลื่อนตัวมาอยู่ปลายอานแล้วพยายามเลื่อนน้ำหนักตัวมาข้างหน้าเพื่อจะได้มีน้ำหนักไปกดพื้นไว้ จะได้บังคับทิศทางได้เป็นปกติ
51. อย่าหยุดปั่นถ้าล้อหลังหมุนฟรี เพียงแค่เงยลำตัวขึ้นเท่านั้น น้ำหนักก็จะกลับไปกดล้อหลังเหมือนเดิม แล้วจึงออกแรงปั่นต่อไป
52. นักจักรยานส่วนใหญ่ที่ไต่ขึ้นที่สูง เมื่อล้อหลังหมุนฟรีแล้วจะเสียการทรงตัวเพราะทิ้งน้ำหนักตัวไปข้างหน้ามากเกินไป จำไว้ว่าไต่เนินชัน ๆ ครั้งใดให้พยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุล คือไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีน้ำหนักกดล้อหลังไว้บ้างเพื่อให้จักรยานเกาะถนน
บทความที่เกี่ยวข้อง:
>> 103 เทคนิคง่าย ๆ ของการขี่ Off-Road (ตอนจบ)
บทความที่เกี่ยวข้อง:
>> 103 เทคนิคง่าย ๆ ของการขี่ Off-Road (ตอนจบ)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น