ss

29 ธ.ค. 2554

DIY ยามเจ็บตัวกลางป่าเขา ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
ใช้กระเดื่องปลดเร็วให้เป็นประโยชน์ กระเดื่องปลดเร็วที่ติดอยู่สองข้างของดุมล้อนั้นมีประโยชน์มากกว่าแค่ใช้ดึงให้ล้อหลุด เมื่อคุณบังเอิญลืมก้านงัดยางทำจากพลาสติกไว้ที่บ้าน หรือทำมันหายด้วยเหตุผลใดก็ตาม กระเดื่องปลดเร็วปลายง ๆ นี้แหละคือเพื่อนแท้ที่จะช่วยให้ถอดยางออกได้เมื่อต้องการปะ ถอดมันออกมาสอดเข้าใต้วงล้อแล้วงัดแทนก้านงัดล้อ หญ้าก็มีประโยชน์  คุณทำยางรั่วแล้วปะ แต่ก็ปะได้อยู่ทั้งยังใช้แผ่นปะกับกาวไปหมดแล้ว ยางในกับหลอดซีโอ 2 ก็ไม่ได้เอามา ทางเลือกเดียวคือต้องหาอะไรมายัดยางแทนลมล่ะเพื่อให้มันแข็งพอขี่จักรยานได้...[Readmore]

DIY ยามเจ็บตัวกลางป่าเขา ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
ปัจจุบันนี้ตัวอักษรย่อว่า DIY จากคำว่า Do It Yourself  หรือ ทำเองก็ได้ ง่ายจัง เป็นที่ได้ยินกันหนาหูมากขึ้นในบ้านเรา ต้นตอก็คงมาจากพวกฝรั่งตะวันตกนั่นแหละที่คิดคำนี้ขึ้น ร้านรวงที่ขายของให้คนซื้อมาใช้ซ่อมบ้านเองโดยไม่ต้องพึ่งช่างก็เป็นทำนอง DIY เช่นกัน ตัวอย่างเช่น HomePro , Homework , TureValue ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือช่างครบครัน คุณแค่เดินเข้าไปแล้วบอกพนักงานขายว่าอยากทำอะไร เขาก็จะเลือกเครื่องมือให้พร้อมกับให้คำปรึกษา ที่เป็นเช่นนี้เพราะค่าแรงเมืองนอกแพงพวกฝรั่งเขาเลย...[Readmore]

19 ธ.ค. 2554

ถ่ายทอดพันธุกรรมเพื่อนำ Di2 สู่ Ultegra 2012

|0 ความคิดเห็น
การถ่ายทอดพันธุกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการส่งผ่าน DNA ที่ทำให้คู่แข่งทางการตลาดตั้งตัวแทบไม่ติด Shimono เลือกที่จะพัฒนาระบบ Di2 จากรุ่นสู่รุ่น มากกว่าการที่จะพัฒนาระบบเกียร์ให้มี 11 Speed โดยเสนอทางเลือกให้กลับกลุ่มลูกค้าที่อยากใช้ระบบ Di2 แต่ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายมากเป็นการตลาดที่แยบยล เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังอยู่ในภาวะฝืดเคือง ทำให้ชุดขับเคลื่อน Shimano Ultegra Di2 ถือกำเนิดขึ้นมา พร้อมกับคำถามที่ว่า DNA1 ที่ถูกถ่ายทอดมาจาก Dura-ace...[Readmore]

โซ่ลดแรงกระแทกด้วยตีนผี XTR 2012

|0 ความคิดเห็น
แนวคิดที่ทันสมัย บวกกับปัจจัยความต้องการของตลาดทำให้วิศวกรไม่เคยหยุดที่จะออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ดีที่สุด Shimano ยักษ์ใหญ่จากแดนอาทิตย์อุทัย ใส่ใจทุกรายละเอียดได้รับฉายว่า เทคโนโลยีที่ไม่เคยหลับ จนเป็นที่ยอมรับและมั่นใจได้ว่า แม่นยำ เบา และแข็งแรง เสือภูเขาถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับ Shimano อีกทั้งบริษัทเอง ยังคงครองความเป็นผู้นำด้านชุดขับเคลื่อน ฉะนั้น กลไกการพัฒนาก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย แต่ต้องสอดคล้องกับเทคโนโลยีของผู้ผลิตเฟรมชั้นนำอีกด้วย...[Readmore]

จักรยานโครโมลี ความคลาสสิคที่ไม่มีวันตาย

|0 ความคิดเห็น
แม้ในปัจจุบันตลาดจักรยานจะเปลี่ยนแปลงวัสดุการผลิตไปเป็นคาร์บอนแล้วก็ตาม แต่จักรยานที่ผลิตจากโครโมลีกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราขอนำเสนอจักรยานโครโมลีที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ BLIZZARD แบรนด์ดังจากแคนาดา รุ่นที่สร้างชื่อให้ Rocky Mountain มากว่า 30 ปี ผลิตจากท่อโครโมลีสัญชาติอิตาลี Columbus Zona Butted Bizango อีกหนึ่งแบรนด์ดังจากอเมริกา ผลิตจากท่อโครโมลีชื่อดังของอังกฤษ Reynolds 853 เป็นรุ่นเดียวที่ยังใช้วีเบรกได้ Salsa แบรนด์ดังจากอเมริกาที่มีชื่อเสียงยาวนานมากว่า...[Readmore]

9 ธ.ค. 2554

ทางจักรยานในกรุงเทพฯ และพฤติกรรมแบบไทย ๆ ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
ทางจักรยานในกรุงเทพฯ และพฤติกรรมแบบไทย ๆ ตอนที่ 2 การทำงานเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานของ กทม. นั้นมีให้เห็นมากที่สุดในยุคผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โดยมีการบรรจุเรื่องการส่งเสริมการใช้จักรยานไว้ในนโยบาย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ “โครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยาน” โดยกรรมการส่วนมากเป็นตัวแทนชมรมจักรยานและผู้ขี่จักรยานในพื้นที่ต่าง ๆ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านนโยบายเกี่ยวกับจักรยาน และมีความพยายามในการสร้างทางจักรยานบนถนนหลายสาย จนเมื่อหมดวาระผู้ว่าฯ อภิรักษ์...[Readmore]

ทางจักรยานในกรุงเทพฯ และพฤติกรรมแบบไทย ๆ ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
ทางจักรยานในกรุงเทพฯ และพฤติกรรมแบบไทย ๆ ตอนที่ 1 ข้อมูลล่าสุดจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ถนนในกรุงเทพฯ มีความยาวรวมกัน 8,000 กิโลเมตร พื้นผิวถนนคิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (1,568 ตารางกิโลเมตร) มีระบบขนส่งแบบรางร้อยละ 3 จากสัดส่วนระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดและช่วง 4 ปีที่ผ่านมามีการขยายเส้นทางร้อยละ 4 ของพื้นที่ทั้งหมด นี่คือหนึ่งในเงื่อนไขที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพฯ เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้และก็เป็นที่ทราบกันดีว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน...[Readmore]

การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 2 (จบ)

|0 ความคิดเห็น
การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 2 (จบ) เมื่อหันมามองข้อมูลที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ระบุว่าในกรุงเทพฯ ความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ช่วงเวลาเร่งด่วนในตอนเช้าคือ 17.1 กม./ชม. ช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเย็นคือ 24.5 กม./ชม. การใช้จักรยานก็น่าสนใจยิ่งขึ้นอีก เพราะมันสามารถทำความเร็วเฉลี่ยที่ 20-30 กม./ชม. และสามารถมุดตรอกซอกซอยได้ไม่ต่างกับมอเตอร์ไซค์  แต่ในเมืองไทย ทุกอย่างยังดูห่างไกล เพราะคนขี่จักรยานแม้ว่าจะมีจำนวนมากขึ้นแต่พวกเขาก็ยังต้องเสี่ยงภัยอยู่เหมือนเดิม...[Readmore]

การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 1 ในเมืองไทย ยังไม่มีหน่วยงานใดสำรวจหรือทำสถิติเกี่ยวกับการใช้จักรยานของคนไทยอย่างจริงจัง แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเฉพาะบนถนนในกรุงเทพฯ จะพบเห็นผู้ใช้จักรยานเพิ่มขึ้น ยังไม่นับประชากรจักรยานในต่างจังหวัดซึ่งน่าจะมีอีกจำนวนมาก เริ่มมีการรวมตัวของคนขี่จักรยานในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในนามชมรมและกลุ่มต่าง ๆ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว รวมถึงการเลือกใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางในชีวิตประจำวันมากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ในกรุงเทพฯ...[Readmore]

2 ธ.ค. 2554

การมาถึงและการจากลาของ “รถจักรยาน”

|0 ความคิดเห็น
การมาถึงและการจากลาของ “รถจักรยาน” ครั้งแรกที่จักรยานหรือ รถถีบ มาถึงเมืองสยามเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้วนั้น สถานะของมันคือ “พาหนะ” ที่ทันสมัย ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าชาวสยามคนแรกที่ใช้รถถีบชื่ออะไร เท่าที่สืบค้นได้ คนกลุ่มแรก ๆ ที่มีโอกาสใช้จักรยานคือชนชั้นสูงในราชสำนักสยาม อเนก  นาวิกมูล นักสืบค้นเรื่องเก่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ให้ข้อมูลว่า หลักฐานที่มี “จักรยาน” ปรากฏในสยามเป็นครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 5 คือ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน จ.ศ.1241 (พ.ศ. 2423)...[Readmore]

จักรยาน ทางเลือกของการเดินทางในเมืองใหญ่

|0 ความคิดเห็น
จักรยาน ทางเลือกของการเดินทางในเมืองใหญ่ “จักรยานเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมาก สำหรับอนาคตของมนุษยชาติ คงมีบางอย่างในสังคมผิดปรกติ ถ้าคนขับรถยนต์ไปออกกำลังกายในโรงยิม” พุทธศักราช 2553 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ระบุว่าปัจจุบันมนุษย์ปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเฉลี่ยปีละ 24 ล้านล้านตัน เฉพาะภาคขนส่งมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 22 สถาบันเวิลด์วอรตซ์ (World Watch Institute) องค์การวิจัยอิสระด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา...[Readmore]
Pages (30)123456 »

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง