ss

9 ธ.ค. 2554

การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 2 (จบ)

การกลับมาของ “จักรยาน” ในเมืองหลวง ตอนที่ 2 (จบ)

เมื่อหันมามองข้อมูลที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ระบุว่าในกรุงเทพฯ ความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ช่วงเวลาเร่งด่วนในตอนเช้าคือ 17.1 กม./ชม. ช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเย็นคือ 24.5 กม./ชม. การใช้จักรยานก็น่าสนใจยิ่งขึ้นอีก เพราะมันสามารถทำความเร็วเฉลี่ยที่ 20-30 กม./ชม. และสามารถมุดตรอกซอกซอยได้ไม่ต่างกับมอเตอร์ไซค์  แต่ในเมืองไทย ทุกอย่างยังดูห่างไกล เพราะคนขี่จักรยานแม้ว่าจะมีจำนวนมากขึ้นแต่พวกเขาก็ยังต้องเสี่ยงภัยอยู่เหมือนเดิม จากสภาพถนนที่ออกแบบไว้สำหรับรถยนต์เท่านั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดสำรวจจริงจัง ว่าในบ้านเรามีผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันกี่คน แต่หากใครมีโอกาสใช้เวลาบนท้องถนนก็จะสังเกตเห็นคนปั่นจักรยานบ่อยครั้งขึ้น จากการพูดคุยกับคนขี่จักรยานหลายคน สิ่งที่พวกเขายืนยันตรงกันคือการขี่จักรยานมีผลดีต่อสุขภาพชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น ควบคุมเวลาเดินทางได้แน่นอน และที่สำคัญคือประหยัดค่ารถและค่าน้ำมั


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความรู้สึกและประสบการณ์เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทราบดีว่าถ้าปั่นจักรยาน พลังงานกว่าร้อยละ 80 จะเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนไหว จักรยานยังเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานของร่ายกายได้ถึงร้อยละ 65.7 รูปธรรมคือเราต้องการพลังงาน 55.3 แคลอรีใน 1 ชม. เพื่อเดินให้ได้ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร แต่ถ้าหากปั่นจักรยานโดยใช้พลังงานและเวลาเท่ากัน ระยะทางที่ได้จะเป็น 49.3 กิโลเมตร  งานวิจัยอีกชิ้นในอังกฤษระบุว่า ถ้าใช้เวลาปั่นจักรยานจากบ้านไปทำงาน 20 นาทีขึ้นไป จะลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจถึงร้อยละ 50 ทำให้อารมณ์ดีและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
องค์การอนามัยโลกระบุว่า การขี่จักรยานเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ “มีความเหมาะสมระดับสูง” เหนืออื่นใด มากกว่าเรื่องสุขภาพยังหมายถึง ทางรอดของสังคมไทย และอารยธรรมมนุษยชาติ ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังแก้ไม่ตก  เพราะจักรยานเป็นพาหนะ ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย ขณะที่พาหนะประเภทอื่น ๆ ต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างละนิดละหน่อยทั้งสิ้น รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการวิจัยเรื่องเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนเว็บของไทย” โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2552 ให้ข้อมูลว่าพาหนะที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ เครื่องบิน รถยนต์ส่วนบุคคล รถไฟฟ้า ระประจำทาง รถแท็กซี่ และรถไฟตามลำดับ

ในประเทศพัฒนาแล้วต่างก็สร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการเดินทางด้วยจักยานอย่างจริงจังก่อนหน้าเมืองไทยหลายช่วงตัว หนึ่งในวิธีที่ผู้บริหารเมืองทั่วโลกทำคือ การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้จักรยาน อันหมายถึงการสร้าง “ทาง/เลนจักรยาน” และ “วัฒนธรรมจักรยาน” เพื่อให้การปรับสภาพแวดล้อมเมืองนั้นมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง