ss

8 ส.ค. 2554

การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 3 “ผลดีของการฝึกสปริ๊นท์”

  1.  การฝึกสปริ๊นท์ช่วยพัฒนาระบบกล้ามเนื้อให้สามารถทำงานหนักในการปั่นจักรยานที่รอบขาสูงกว่าปกติ จนเกิดความเคยชินทำให้ประสิทธิภาพในการปั่นจักรยานดีขึ้น ในการพัฒนาความเร็วซึ่งเป็นหัวใจของการแข่งขันจักรยาน ตามปกติกล้ามเนื้อมนุษย์จะมีเส้นใยอยู่ในร่างกาย 2 ชนิดคือ เส้นใยกล้ามเนื้อแดง  ถ้านักปั่นจักรยานท่านใดมีปริมาณเส้นใยดังกล่าวในร่างกายมาก จะมีความอดทนมากแต่ปั่นได้ไม่เร็วมากนัก เหมาะสำหรับการเป็นนักจักรยานประเภทถนน หรือเสือภูเขาประเภท “ครอสคันทรี่”  ส่วนเส้นใยกล้ามเนื้อขาว  ถ้านักปั่นท่านใดมีปริมาณเส้นใยดังกล่าวมากในร่างกาย จะมีความเร็วในการปั่นสูงแต่ปั่นได้ไม่ค่อยทน เหมาะกับการเป็นนักจักรยานประเภทลู่และดาวฮิลล์
2.  การฝึกช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิต ให้สามารถนำสารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารไปกับกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้มากขึ้น โดยการเพิ่มจำนวนเส้นเลือดฝอยให้มีมากขึ้น สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงได้ทั่วร่างกาย โดยที่การเต้นของหัวใจช้าลง (แสดงว่าหัวใจแข็งแรงขึ้น)
3.  การพัฒนาระบบหายใจ ให้สามารถทำงานสอดคล้องไปกับการปั่นจักรยานที่รวดเร็ว หรือการออกแรงในการปั่นที่ต้องใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ จะถูกพัฒนาให้สามารถบรรจุออกซิเจนได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความจุปอดสามรถบรรจุอากาศได้มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการนำไปใช้ประโยชน์จึงได้มากขึ้นตามมา
4.  พัฒนาความเร็วในการตัดสินใจ เช่น การรับรู้และการตอบสนองหรือการตัดสินใจระหว่างเกมส์การแข่งขัน ได้รวดเร็วในช่วงเวลาอันคับขัน ทันต่อเหตุการณ์การแข่งขันนั้น ๆ การตอบสนองต่อการสปริ๊นท์ของคู่แข่ง
5.  พัฒนาทักษะด้านเทคนิคและกลไกการใช้จักรยาน เช่น การเลือกใช้เกียร์สปริ๊นท์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเส้นทางและพื้นที่แข่งขัน มีจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ที่แม่นยำ ทำได้ทั้งเกียร์หนักและเกียร์เบา
6.  พัฒนาการประสานงานระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ช่วงที่ต้องยกสปริ๊นท์สุดกำลังเพื่อแซงคู่แข่งในช่วงสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย
7.  พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวที่จำเป็นต่อการสปริ๊นท์ ซึ่งนักกีฬาจักรยานต้องทำการฝึกซ้ำ ๆ ให้เกิดความชำนาญและถูกต้อง เพื่อให้ร่างการเกิดการเรียนรู้และจดจำทักษะการเคลื่อนไหว ขณะสปริ๊นท์แบบนั้นไว เพื่อนไปสู่การพัฒนาเทคนิความเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.  พัฒนาระบบการใช้พลังงานของร่างกายโดยเฉพาะพลังงาน ATP-PC ซึ่งเป็นระบบพลังงานที่ใช้ได้เลยเกี่ยวกับการออกแรงฝึกความเร็วแบบไม่ใช้อากาศ ในระยะเวลาสั้น  ๆ  6-10 วินาที และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางอย่างมาก ซึ่งทั้งสองระบบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฝึกสปริ๊นท์ เพื่อการพัฒนาความเร็วในการปั่นจักรยานแข่งขัน


ที่มา: นิตยสาร RACE BICYCLE  บทความโดย อาจารย์ ปราจิน  รุ่งโรจน์


บทความที่เกี่ยวข้อง:  

>> การฝึกสปริ๊นท์ (Sprint) ตอนที่ 1

>> การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 2 “ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกสปริ๊นท์”

>> การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 4 “รูปแบบการฝึกสปริ๊นท์”

 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง