การฝึกสปริ๊นท์แต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที เป็นอย่างมาก หลังการสปริ๊นท์ทุก ๆ ครั้ง จะต้องเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยจะสังเกตได้จากอัตราการเต้นของหัวใจลดลงกลับเข้าสู่ในระดับ 65% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (หรือ 120 ครั้ง/นาที) โดยการขี่จักรยานด้วยเกียร์เบา ๆ ผ่อนกล้ามเนื้อขาไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าหายเหนื่อยก่อนที่จะเริ่มสปริ๊นท์ในครั้งต่อไป
การฝึกสปริ๊นท์ในครั้งแรก ๆ อาจจะใช้เวลาในการฟื้นตัวของร่างกายเพียง 5 นาที แต่เมื่อทำการฝึกสปริ๊นท์จำนวนครั้งเพิ่มมากขึ้น ระยะเวลาที่ร่างกายต้องการใช้ในการฟื้นตัวจะมากขึ้นตามไปด้วย เพราะกล้ามเนื้อที่ทำงานหนักจากการฝึกเริ่มมีของเสียที่เรียกว่า “กรดแล็กติก” ค้างคาอยู่ภายในกล้ามเนื้อ จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนและเวลามากขึ้นเพื่อขจัดของเสียเหล่านี้ออกไปจากกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาสดชื่นและสามารถทำงานได้อย่างเติมประสิทธิภาพอีกครั้ง นี่คือเหตุผลที่ต้องใช้เวลาฟื้นสภาพมากขึ้น
การฝึกสปริ๊นท์ให้ได้ดีจะต้องทำอย่างไร ?
การฝึกสปริ๊นท์กับเพื่อนนักปั่นคนอื่น ๆ จะทำได้ดีเพราะสัญชาติญาณของการแข่งขันจะเกิดขึ้น ในขณะสปริ๊นท์จะทำให้เราสปริ๊นท์ได้เร็วขึ้น ข้อสำคัญเราต้องพยายามเรียนรู้จากการฝึกเหล่านี้ เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการปั่นอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าการสปริ๊นท์สอนให้เรารู้จักการใช้ความเร็วสูงสุด อย่าลืมว่าเทคนิคของการปั่นที่ดีนั้น เป็นผลบวกของความเร็ว + กำลังขา ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีแทคติกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เราจะต้องรู้จักการใช้กล้ามเนื้อขา แขน และลำตัวผสมผสานกันให้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อน (Explosive Power) รถจักรยานให้สามารถขี่วิ่งได้เร็วที่สุด ตอนที่ปั่นด้วยรอบขา 85 รอบต่อนาทีให้ได้ดีพอ ๆ กับการใช้ความเร็วในการปั่นด้วยรอบขาที่ 140 รอบต่อนาที
ที่มา : นิตยสาร RACE BICYCLE บทความโดย อาจารย์ ปราจิน รุ่งโรจน์
บทความที่เกี่ยวข้อง:
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น