ss

13 มี.ค. 2555

การเดินทางกว่า 30 ปี ของจักรยาน TREK ตอนที่ 3 (จบ)

ช่วงทศวรรษที่ 80 – 90 นับเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมในสหรัฐฯ มีการแข่งขันสูงในทุก ๆ ด้านการเข้าครอบครองกิจการหรือการควบกิจการเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงในแง่ของการลดบทบาทคู่แข่งหรือการทำลายคู่แข่งทางการค้าให้หมดไป โดยสิ้นเชิงแต่สำหรับ TREK การควบกิจการกลับเป็นการบ่งชี้ถึงการมีกระบวนทัศน์ที่ยาวไกลเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการดึง Gary Fisher ซึ่งถือเป็นบิดาของเมาเทนไบค์เข้าร่วมงานในปี 1993  หลังจากนั้นในปี 1995 ได้ถึง Gary Klein เจ้าของจักรยาน KLEIN ผู้ซึ่งมีความชำนาญเรื่องอลูมิเนียมมากที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ ในขณะนั้นทั้งยังเป็นผู้ที่รังสรรค์ผลงานของเฟรมเมาเทนไบค์ระดับคลาสสิคซึ่งมีรุ่น Attitude เป็นเรือธงสำคัญและเป็นรุ่นที่อยู่ในความใฝ่ฝันของนักจักรยานทุกคนที่หวัดจะได้เป็นเจ้าของ เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานในปีเดียวกัน ยังได้ดึง Greg Lemond ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้แชมป์ ตูร์ เดอ ฟร็องซ์ 3 สมัย เข้ามามีบทบาทในการสร้างจักรยานเสือหมอบภายใต้ชื่อ Lemond ถือว่าเป็นการควบรวมกิจการที่สร้างสรรค์วงการจักรยานครั้งสำคัญเพราะเป็นการรวมเอาหัวกะทิระดับตำนานของจักรยานทุกประเภทเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงาเดียวกันกับ TREK

นับว่าเป็นความคิดที่ชาญฉลาดอย่างยิ่งนอกจากการรวมเอาหัวกะทิของวงการเข้ามาอยู่ด้วยกันแล้ว TREK ยังได้เจรจาควบรวมผู้ผลิตอุปกรณ์อย่าง Bontrager Cycles ของ Keith Bontrager ตำนานเมาเท่นไบค์รุ่นแรก ๆ อีกคนหนึ่งเข้ามาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์คุณภาพสูง เช่นชุดล้อ และแฮนด์น้ำหนักเบา เพื่อป้อนให้กับสายการผลิตจักรยานของ TREK นอกจากจะทำอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ๆ ป้อนให้กับสายการผลิตของ TREK แล้ว Bontrager ยังเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ดี ๆ คุณภาพพสูงเช่น แฮนด์คาร์บอน Race X Lite หรือชุดล้อทั้งเมาเทนไบค์และเสือหมอบที่เป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรปและอเมริกา จนปัจจุบัน Bontrager ได้ขยายไลน์การผลิตอุปกรณ์ดี ๆ อีกหลายชนิด


นอกจากนี้ในปี 1995 TREK ยังได้เปิดตัวจักรยานแบบฟูลซัสเพนชั่น รุ่นที่มีเฟรมเป็นรูปตัว Y นับเป็นการฉีกตัวเองออกจากรูปแบบดั้งเดิม จนกลายเป็นจักรยานที่ขายดีและยังได้รับรางวัล Outstanding Design and Engineering Award จากนิตยสาร Popular Mechanics
ในปี 1997  TREK ได้เข้าให้การสนับสนุนทีมแข่ง United States Postal Service Pro Cycling Team ซึ่งในขณะนั้น Lance Armstrong ได้เข้ามาเป็นนักแข่งในสังกัดของทีมด้วย ต่อมาในปี 1998 Advanced Components Group (ACG) ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะ โดยทีมงานประกอบไปด้วย วิศวกรและช่างเทคนิคระดับหัวกะทิ สร้างจักรยานต้นแบบขึ้นมาโดยมี Lance Armstrong เป็นผู้นำไปใช้ในการแข่งขันรายการ Tour de France จนกระทั่งปี 1999 ความสำเร็จก็มาถึง Lance Armstrong สามารถคว้าแชมป์รายการ Tour de France ได้ด้วยจักรยาน TREK 5500 ซึ่งถือเป็นต้นตระกูลของ Madone ในการแข่งขันจักรยานที่ใช้หลายคันเป็นรถต้นแบบรวมถึง TTX จักรยาน Time trial ที่เข้าใช้ในปี 2005 สำหรับ United States Postal Service Pro Cycling Team กลายเป็นทีมจักรยานจากอเมริกาทีมแรกและเป็นจักรยานสัญชาติอเมริกันคันแรกที่คว้าแชมป์ในรายการนี้ อะไรก็หยุด Lance Armstrong ได้ เขาสร้างสถิติที่คงหาคนมาทำลายได้ยากด้วยการคว้าแชมป์ในรายการนี้ถึง 7 สมัยติดต่อกันด้วยจักรยานของ TREK

เมื่อความนิยมจักรยานขยายวงกว้างมากขึ้น ในปี 2000 TREK จึงได้เพิ่มสายการผลิตเข้าไปอีกหนึ่งสายคือ จักรยานที่ออกแบบมาเพื่อนักปั่นที่เป็นผู้หญิงโดยเฉพาะ  Womens Specific Design ซึ่งจะเห็นติดที่เฟรมของจักรยานว่า WSD เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่ารถคันนี้คือจักรยานของผู้หญิง ถัดมาอีกในปี 2001 Project One ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วยแนวคิดเพื่อความเป็นสุดยอดที่แตกต่าง นอกจากจะผลิตและจำหน่ายจักรยานแล้ว ในปี 2002 TREK ยังขยายธุรกิจออกไปแขนงอื่นบ้าง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งจักรยานนั่นคือ จักรยานทัวร์ริ่ง หลังจากที่เพิ่มฐานการผลิตไปยังหลายประเทศ ในปี 2005 จึงได้กลับมาขยายโรงงานเดิมที่ วอเทอร์ลู ซึ่งเป็นฐานหลักของตัวเอง สำหรับในปี 2010 TREK จับมือกับพันธมิตรผลิตจักรยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการใช้เหล็กมาผลิตเป็นจักรยานเนื่องจากเหล็กสามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ดีกว่าโลหะชนิดอื่น

ปัจจุบันนี้ TREK เป็นแบรนด์จักรยานที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการพัฒนาวัสดุและกรรมวิธีในการผลิต คุณภาพที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยผลงานจากสนามแข่ง คงเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงสมรรถนะและคุณภาพของจักรยานแบรนด์นี้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง