ss

30 พ.ค. 2555

รีวิว Trek SuperFly 100 Elite

|0 ความคิดเห็น
รีวิว Trek SuperFly 100 Elite

Trek Super Fly 100 Elite
เราทราบดีว่าผู้ริเริ่มวงล้อจักรยานเสือภูเขาขนาด 29 นิ้ว หรือ 29er ที่มีเส้นรอบวง 622 mm. ซึ่งเป็นขนาดเดียวกันกับวงล้อ 700c ของจักรยานเสือหมอบ เขาเปรียบเสมือนบิดาแห่งวงการจักรยานเสือภูเขา ใช่แล้วครับเรากำลังหมายถึง Gary Fisher ผู้บุกเบิกวงการเสือภูเขาและยังเป็นผู้บุกเบิกขนาดล้อ 29 นิ้วอีกด้วย ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา Gary Fisher ได้ร่วมงานกับ Trek พัฒนารถ 29er มาถึงจุดที่เรียกว่าหมดข้อสงสัย

Super Fly 100 Elite

OCLV Mountain Carbon Main Frame & Swingarm, Carbon Armor, ABP Convert Flow Mold Carbon Swing link G2 Geometry E2 Tapered head tube สรรพคุณยาวจริง ๆ สรุปสั้น ๆ จับใจความได้ว่า ท่อหลัก ๆ รวมถึงหางหลังทำจากคาร์บอน OCLV เอกสิทธิ์ของ Trek เองที่พัฒนาในแบบฉบับสำหรับ Mountain โดยเฉพาะ ABP (Active Braking Pivot) ระบบจุดหมุนที่พัฒนาจาก Four Bar ไปอีกระดับ รอยต่อที่ฉีกกฎช่วยลดปัญหาในขณะได้รับแรงกระแทก และเพิ่มความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย กะโหลกแบบ BB 95 ก้าวหน้าขึ้นมาเต็มระดับ สามารถทดแรงบิและแรงกระชากได้ดียิ่งขึ้น

ระบบ G2 เป็นการออกแบบที่เรียกชื่อเฉพาะให้เหมาะสำหรับองศา Geometry ของรถ 29er ดังนั้น G2 สำหรับ 29er จึงได้ถูกพัฒนาให้มีระยะออฟเซทของช็อคอัพหน้าที่ 51 มม. เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงในมุมแคบทำได้ดีจนแทบจะให้ความรู้สึกเหมือนกับการขี่จักรยานขนาดล้อ 26 นิ้วเลยทีเดียว
E2 คือการพัฒนาอีกขึ้นจากท่อหน้าที่รองรับถ้วยคอขนาด 1-1/8” แบบดั้งเดิม ให้เป็นแบบ Tapered ซึ่งมีขนาดของชุดลูกปืนบนและล่างที่มีขนาดต่างกันรวมไปถึงซางช็อคอัพหน้าและชุดถ้วยคอด้วยชุดท่อคอแบบ E2 จะมีขนาดของลูกปืนคอชุดล่างขนาด 1.5” เพื่อให้มีความแข็งแรงรองรับแรงกระแทกและการบิดตัว ทำให้เลี้ยวและเข้าโค้งได้อย่างมั่นคง ในขณะที่ลูกปืนคอชุดบนยังคงขนาดเดิมไว้คือ 1-1.8”
Trek Super Fly 100 Elite
ช็อคอัพหน้า

ในเมื่อคอและระบบเป็น G2/E2 ช็อคที่ใช้ก็ต้องเป็นระบบเดียวกัน Fox 32 Float 29 FIT RLC ช่วงยุบ 100 mm แกนปลด 15 mm สีสันและกราฟฟิกถูกออกแบบมาให้เข้ากันได้ดี ช็อคอันหลัง Fox Float RP-23 ปรับได้ 3 ระดับ ชุดขับเคลื่อน Shimano XT 10 Speed จานหน้า 2 ใบ ขนาด 38/26 ระบบติดตั้งสับจานหน้ามากับเฟรมถูกพัฒนาเรียกว่า Direct-mount ช่วยให้การปรับตั้งเกียร์ได้ง่ายขึ้นและแม่นยำโดยเฉพาะรถ Full Suspention ที่มีการขยับตัวของสวิงอาร์มขึ้นลงตลอดเวลา

10 เกียร์ เคลียร์ตลอดเส้นทางด้วยอัตราทด 11-36 T ระบบเบรกจัดชุด Shimano XT เข้าคู่กับชุดล้อ Bontrager Race lite TLR Disc 29er Tubeless ระบบดุมล้อหน้า 15mm ระบบดุมล้อ Fcc แบริ่งขนาด Oversized ปีกดุมกว้าง เพิ่มความแข็งแรงและความมั่นคงให้กับคอลโทรล ส่วนดุมล้อหลังขนาด 12 mm. 142x12 mm ลูกปืนแบริ่ง ยาง Bontrager XL 31.8 mm. แฮนด์ Bontrager RXL Carbon Big Seep หลักอาน Bontrager RXL 31.9 5mm offset เบาะ Bontrager Evoke 3 Titanium

ขนาด Size 15.5 ของเจ้า Super Fly 100 Elite ออกแบบมาได้อย่างลงตัวสำหรับคนเอเชีย ถึงแม้จะเป็นวงล้อขนาด 29 นิ้ว แต่ก็ไม่เพิ่มระยะความสูงของรถไปมากมายเท่าไหร่นัก...

ที่มา นิตยสาร Race Bicycle

ในตอนต่อไปจะเป็นบทการทดสอบการใช้งานจริง ในสภาพเส้นทางจริงกันครับ โปรดติดตาม...

20 พ.ค. 2555

สุดยอดจักรยานไม้ไผ่

|0 ความคิดเห็น
วันนี้ผมนำเอาจักรยานที่ทำมาจากไม้ไผ่ หรือมีส่วนประกอบที่ทำมาจากไม้ไผ่ มาให้เพื่อน ๆ ได้ชมกันครับ ผมไม่รู้ว่าในบ้านเรามีใครริเริ่มทำบ้างไหม ดูแล้วก็สวยงามใช่ย่อยเลยนะครับ 





Eco Idea เด็ด ๆ ตัวนี้ เป็น 10 ตัวอย่างสุดยอดจักรยาน ซึ่งทั้งสวยงาม ทันสมัย เปี่ยมประสิทธิภาพ และแน่นอนว่ามันช่วยลดโลกร้อนได้ การเอาไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการผลิตจักรยานนั้น นอกจากช่วยลดการใชัวัสดุประเภทอื่นที่ต้องผ่านกรรมวิธีมากมาย ทั้งเชื่อม เจาะ ทำสี หรือการหลอม ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีขั้นตอนหนึ่งที่ส่งผลกระทบผลเสียต่อโลกใบนี้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงมาใช้วัสดุที่แข็งแรงและย่อยสลายง่ายเป็นส่วนประกอบ นั้น จึงช่วยคงความสวยงามของโลกใบนี้เอาไว้อีกทางหนึ่ง

อีกทั้งยังเป็นที่รู้กันว่า การใช้จักรยานเป็นพาหนะเวลาไปไหนมาไหน จะช่วยลดเจ้า CO2 ตัวร้าย ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกอีกด้วย อยากชวนกันหันปั่นจักรยานกันเยอะ ๆ เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพเราแล้ว ยังดีต่อสุขภาพโลกนี้ด้วย...ใครสนใจรายละเอียดการออกแบบ...




















เป็นไงบ้างครับ เพื่อน ๆ สนใจอยากถอยมาลองปั่นสักคันไหมครับ.... ขอบอกว่าทั้งสวย และน่าจะใช้งานได้ดีนะ ว่าไหมครับ ...

อัตราทดเกียร์สำหรับ จักรยาน

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับ วันนี้ผมไปเจอบทความดี ๆ เรื่องอัตราทดเกียร์สำหรับจักรยาน จึงขอนำบทความนี้มาเผยแพร่ในบล็อกแห่งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ สู่ชาวจักรยานมือใหม่ ที่ยังไม่เข้าใจในใช้เกียร์หรือการทดเกียร์ในสภาพเส้นทางต่าง ๆ  เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของบทความผมจะไม่ตัดทอนบทความออกนะครับ ...






ระบบเกียร์ของรถจักรยาน นั้นหากเราทำความคุ้นเคย และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และชำนาญแล้วนั้น จะทำไห้เรามีความได้เปรียบ ในการแข่งขันอย่างแน่นอน ครับ หากคุณใช้เกียร์ ให้เหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศ และความแข็งแรงของร่างกาย แล้วละก็ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จ ในการแข่งขัน ไม่ว่า จะแข่งขันจักรยานทางเรียบ หรือ ทางที่มีภูเขาเยอะๆ ดังนั้น คุณต้องเลือกใช้เกียร์ให้เป็นด้วยครับ (ไม่ใช่โชว์เทพ ใส่ใหญ่ 1 ขึ้นภูเขา อันนี้ผมเคยเจอมาแล้วครับ แต่แล้วสักพัก เขาก็ไปไม่รอดครับ โดนสวน แล้วค่อยๆ หายออกจากกลุ่มไป มันเป็นประสบการณ์ ตอนยังเด็กๆ ครับ!!) ปล. "ใหญ่ 1" ในที่นี้หมายถึง ใช้จานหน้า อันใหญ่สุด และใช้เฟืองหลังอันเล็กสุด นั่นแหละครับ มันเป็นภาษาของชาว จักรยาน ที่เรียกกันมานานแล้วครับ ไม่รู้เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าอะไร แต่เมื่อก่อนเขาเรียกกันแบบนี้จริงๆ ครับ

วันนี้ผมเลยนำ ตารางอัตราทดเกียร์สำหรับ จักรยาน มาฝากครับ

อัตราทดเกียร์ จักรยาน

จากรูปตารางข้างบน (Ring หมายถึง จำนวนฟันของจานหน้า) ส่วน (Cog หมายถึง จำนวนฟันของเฟืองหลัง) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จักรยานเสือหมอบ ใบจานหน้าจะมี 2 ใบ คือ 39 และ 53 หรือ หากเป็นรุ่น คอมแพค จะเป็น 39 กับ 50 ส่วนเฟืองหลังนั้น จะเริ่ม ตั้งแต่ 11 ไปจนถึง 25 ครับ โดยเฟืองหลังของจักรยาน เสือหมอบทั่วไป จะมีประมาณ 10 - 11 ใบ แล้วแต่ยี่ห้อครับ สมัยผมขี่นั้น แค่ 7 ใบก็หรูแล้วครับ เดี๋ยวนี้ มีเยอะจริงๆ จักรยานของผมมีแค่ 10 ใบ ผมยังใช้ไม่ทั่วถึงเลยครับ เข้าเรื่องดีกว่าครับ สังเกตุจากตัวเลขนะครับ ตัวเลขยิ่งเยอะ ยิ่งหนักครับ คือ เราต้องออกแรงปั่นเพิ่มขึ้นนั่นเองครับ

ผมขอยกตัวอย่าง การใช้เกียร์ ในการฝึกซ้อมจักรยานของผมเลยนะครับ คือ ผมจะปั่นเพื่ออบอุ่นร่างกาย ก่อน ประมาน 10 กิโลเมตร โดยเริ่มใช้ เกียร์ 39/17 ซึ่งอัตราทดเกียร์ จะอยู่ที่ 2.3 และ ผมจะค่อยๆ เปลี่ยนเกียร์ให้หนักขึ้นเลยเลื่อย โดยผมจะรักษาระดับรอบขาให้อยู่ระหว่าง 85 - 90 RPM จนกระทั่ง ผมเปลี่ยนเกียร์ไปจนถึง 39/12 อัตราทดเกียร์ คือ 3.3 โดยแต่ละช่วงของอัตราทดนั้น ผมจะใช้เวลาในการอยู่ในช่วงนั้นประมาณ 2 - 3 นาที เพื่อนให้กล้ามเนื้อได้มีการปรับตัว โดยหลังจากนี้ผมจะเปลี่ยนไปใช้ อัตราทด 53/15 คือ ผมเปลี่ยนไปใช้จานหน้าอันใหญ่นั่นเองครับ โดย อัตราทด จะหนักขึ้นมาเป็น 3.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 3.3 ซึ่งพอเราขึ้นจานใหญ่แล้ว พยายามรักษารอบขาไว้ อย่าให้ต่ำกว่า 70 RPM นะครับ ในช่วงแรกๆ สำหรับนักปั่นจักรยาน มือใหม่ ควรจะค่อยฝึกซ้อมโดย ค่อยๆ เพิ่มอัตราทดขึ้นเลื่อยๆ โดยรักษารอบขาไว้ อย่าให้ต่ำกว่า 70 RPM หากเราฝึกไปนาน เราจะสามารถใช้อัตราทด 53/11 ได้เองครับ ซึ่งมันเป็นอัตราที่หนักที่สุดแล้ว ยิ่งถ้าหากคุณใช้อัตราทด 53/11 และยังสามารถรักษารอบขาไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 70 RPM ได้ ตลอดระยะทางการฝึกซ้อม ผมถือว่าคุณนั้นหาตัวจับได้ยากแล้วครับ
อัตราทดเกียร์มีผลต่อความเร็วของ จักรยาน

ส่วนตารางที่ 2 เป็นตารางที่แสดงให้เห็นถึง ระดับความเร็วของจักรยาน ที่เราได้จากการใช้เกียร์ในแต่ละระดับ ที่รอบขา 90 RPM ยกตัวอย่างเช่น ผมใช้อัตราทด 53/11 ความเร็วที่ได้ คือ 54.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง ครับ หากเพื่อนๆ คนไหน อยากคำนวนเองก็ไม่ยากครับ เว็บที่ให้บริการนี้เป็นของฟรั่งครับชื่อเว็บ www.bikecalc.com ลองไปใช้บริการกันได้ครับ ไม่เสียเงินครับ
ซึ่งการเลือกใช้เกียร์จักรยานให้เหมาะสม นั้น มันมีปัจจัยหลายอย่าง เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ เช่น
  • ลักษณะภูมิประเทศ หรือเส้นทางที่เราจะไป ทำการฝึกซ้อม หรือ แข่งขันจักรยาน จะมีความลาดชันแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราควรเลือกใช้อัตราทดเกียร์ ให้เหมาะสมกับ สภาพความลาดชัน คือพยายามรักษารอบขา (RPM) ให้อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่เราขี่บนเส้นทางเรียบๆ ครับ
  • ความแข็งแรงของร่างกาย พละกำลังของนักปั่นจักรยาน แต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกัน อยู่แล้วครับ ซึ่งจะส่งผลให้ แต่ละคนใช้อัตราทดเกียร์จักรยาน ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น นักปั่นจักรยาน ระดับโปร หรือ ระดับอาชีพ พวกเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่ จะมีกำลังขาที่แข็งแรงมากๆ ซึ่งจะส่งผลให้เขาเหล่านั้นสามารถ ใช้อัตราทดเกียร์ ที่หนักๆ ในรอบขาที่สูงๆ ได้ ถ้าหากเราอยากจะทำได้แบบเขาเหล่านั้น การฝึกซ้อมเป็นสิ่งสำคัญครับ รวมไปถึงผู้ฝึกสอนหรือโค้ช กีฬาจักรยาน ต้องมีความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์การกีฬา และโภชนาการ สำหรับนักกีฬา ด้วยครับ จึงจะทำให้นักกีฬามีพัฒนาการที่ดีขึ้น ประกอบกับนักกีฬาเหล่านั้นต้องมีใจรักใน กีฬาจักรยาน ด้วยครับ จึงจะประสบความสำเร็จได้ครับ
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก thbike.blogspot.com

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง