ss

23 ส.ค. 2553

เรื่องช็อค ๆ ! ของคนขี่เมาเท่นไบค์

ตะเกียบช็อคที่เด้งดึ่ง ๆ เวลาตกหลุมหรือเมื่อกระโจนลงจากที่สูง ลองอ่านบทความที่พวกนักทดสอบของนิตยสารเมาเท่นไบค์ชั้นนำของอเมริการเขาทดสอบไว้ คุณจะได้แง่คิดที่ไม่เคยคิดมาก่อนอีกมาก กับช็อคของคุณ จะได้รู้ว่ามันมีเรื่องน่า “ช็อค” มากว่าเป็นแค่ “ช็อค”เฉย ๆ


1.คุณไม่รู้สึกหรอกว่าเกิดความเปลี่ยนแปลง


ตะเกียบช็อคของคุณจะทำงานแน่ ๆ อยู่แล้วแม้จะทิ้งไว้นานก็ตาม ความคิดนึ้แหละที่หลอกพวกเรา เพราะประสิทธิภาพที่ด้อยลงเพราะขาดการดูแลรักษาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นไปอีกเรื่อย ๆ จนกว่าจะเกิดอันตรายคือคุณล้มคว่ำหน้าแหก ที่เราจะบอกคุณก็คือมันทำงานได้ก็จริง เวลาเอามาขี่อีกทีมันยังหนืดยังกระเด้งอยู่ แต่ความทนทานต่อแรงกระแทกตลอดเส้นทางหลังจากไม่ดูแลแล้วนี่แหละที่จะทำให้อายุมันสั้น ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าช็อคคู่โปรดของคุณจะรักษาชีวิตและความสะดวกสบายไว้ได้ตลอดเวลา คุณต้องใช้ปฏิทินซึ่งกำหนดเองว่าจะนำมันไปให้ช่างดูแลภายในกี่เดือนหรือกี่สัปดาห์ ไม่ใช่วัดเอาด้วยความรู้สึก


2. จงเปลี่ยนน้ำมันตามเวลา ถ้าคุณใช้ช็อคน้ำมัน


น้ำมันที่ไหลเวียนอยู่ในระบบดูดซับแรงกระแทกของตะเกียบช็อคมีสองหน้าที่หน้าที่หนึ่งคือดูดซับพลังงานจากการกระแทกและอีกหน้าที่คือเพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนเคลื่อนไหว เมื่อโมเลกุลของน้ำมันแตกตัวฟิล์มที่เคยเป็นโล่ป้องกันการสึกกร่อนก็จะหายไป มันแตกตัวได้ก็เพราะคุณใช้มันโดยไม่สนใจจะเปลี่ยนน้ำมันจนหมดสภาพ ถ้าอยากใช้ช็อคให้นาน ๆ ก็จงศึกษาคู่มือให้ชัดเจนก่อนใช้งาน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะเวลาที่กำหนด ช็อคดี ๆ คู่หนึ่งราคาเท่ากับจักรยานรุ่นต้น ๆ ทั้งคันคุณคงไม่อยากเสียเงินบ่อย ๆ ทั้งที่ป้องกันได้ แน่ ๆ

3. ถ้าอ่านหนังสือออก จงอ่านคู่มือ


ช็อคติดจักรยานทุกคันไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดเทลหรือฟูล-ซัสเพนชั่นมีคู่มือ ในนั้นจะอธิบายวิธีดูแลรักษาตะเกียบช็อคคู่เก่งอย่างละเอียด ถ้าคุณมีช็อคที่มาพร้อมCarteidge damping unit มันก็ไม่ยากที่จะดูแลรักษาด้วยตัวเองเพียงแค่อ่านคู่มือถ้าคุณใช้ช็อคระบบอาบน้ำมัน (0il bath)อาจต้องให้ร้านทำให้ เสียค่าบริการ เว้นแต่ว่าคุณจะเป็นช่างเสียเอง ช็อคต่างระบบต้องการการดูแลรักษาต่างกัน การอ่านคู่มือแล้วจะทำให้ทราบว่าตัวเองทำอะไรได้แค่ไหนไม่มั่วจนเสียของ


4. ต้องใส่ใจบำรุงรักษา


ตะเกียบช็อคและช็อคหลังคือส่วนที่ถูกทารุณกรรมมากที่สุดในชิ้นส่วนของเมาเทนไบค์ มันไม่ต่างกันกับรถยนต์ของคุณเลยที่ต้องให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 5,000 ก.ม. อย่างไรก็ตามตะเกียบช็อคของคุณต้องการให้คุณดูแลเหมือนกันไม่ ว่ามันจะราคาแพงหรือถูกแค่ไหนก็ตามเมื่อต้องยืด ๆ หด ๆ ถูกกระแทกกระทั้นตลอดเวลายิ่งต้องดูแลมันอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่อยากให้มันจากไปก่อนเวลาอันสมควร


5. วางแผนไกล


จงอย่าซื้อจักรยานเพียงเพราะจะได้มาอัพเกรดช็อคกันทีหลัง ขณะที่การอัพเกรดบางอย่างจะเข้าทีก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วเราบอกคุณได้เลยว่าการอัพเกรดนั้นไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าไร เพราะมันทำได้อย่างดีก็แค่เบาขึ้น ลื่นไหลขึ้น แล้วไง ? ทางที่ดีเพื่อความคุ้มค่าคุณควรเลือกซื้อจักรยานพร้อมช็อคดี ๆไปเสียเลยจะได้ไม่ต้องมาเสียเงินสองต่ออัพเกรดช็อคกันอีก


6. ถ้าเต็มที่กับตะเกียบช็อคเก่า ให้ซื้อใหม่ทั้งอันไปเลย


คุณเฟรมเจ๋ง ๆ อยู่แล้ว ระบบขับเคลื่อนก็ดีแต่ตะเกียบช็อคเองกลับไปกันไม่ค่อยได้กับเฟรม จะอัพเกรดช็อคเก่าด้วยชุดคิทที่มีขายหรือจะซื้อช็อคใหม่ทั้งอัน ? อยากให้คุณเชื่อเหลือเกินว่าช็อคใหม่นั้นราคาแทบไม่ต่างกันกับการอัพเกรดช็อคเก่าด้วยชุดคิทเลย อัพทำไมถ้าจ่ายเท่ากัน ? ซื้อใหม่ทั้งอันเลยดีกว่า ได้ทั้งความสบายใจและประสิทธิภาพที่สูงกว่าที่แน่ ๆ คือมันเป็นของใหม่ซิง ๆ (ถ้ามีเงินนะ)


7. ถ้าลดช่วงชักไม่ได้ ให้ลดสเปเซอร์แทน


ถ้าคุณตัวไม่สูงแต่เปลี่ยนช็อคใหม่ที่ช่วงชักยาวจนทำให้หน้ายก คุณไม่ชินเพราะไม่เคยขี่จักรยานหน้ายกสูงมาก่อนแต่จะลดช่วงชักของตะเกียบช็อคก็ไม่ได้ ยังเหลืออีกวิธีคือลดวงแหวนรองให้คอแฮนด์(stem) ลงมาตามใจชอบ ทำได้ตั้งแต่ดึงออก 1 -2 อันจนถึงเหลือแค่อันเดียว ช่วงชักที่ว่าสูงก็จะลดลงมาพอดีกับสรีระของคุณ


8. จำคำคมนี้ไว้


"ตะเกียบช็อคเจ๋ง ๆ ทำให้จักรยานห่วย ๆ ดูดีขึ้นมาได้” แค่นี้แหละ


9. ทดลองเองง่าย ๆ เมื่ออยากให้ตะเกียบช็อคใช้งานได้ดี


นักจักรยานหลายคนแทบไม่มีเวลาเลยที่จะทดสอบเพื่อปรับแต่งระบบกันสะเทือนของตะเกียบช็อค จริงๆ แล้วมันไม่ยากเลยแค่หาทางเป็นวงสั้น ๆให้ได้เข้าสักที่ที่มีพื้นที่สูง ๆต่ำ ๆให้ได้บริหารช็อค ขี่จักรยานในวงนั้นด้วยการตั้งค่าการใช้งานตามปกติจากโรงงาน เปลี่ยนการตั้งการใช้งานให้ยุบตัวได้เต็มที่แล้วขี่ในทางนั้นจะกี่รอบก็ตาม แล้วกลับมาปรับให้มันไม่ยุบตัวเลยในเส้นทางเดิมด้วยรอบที่เท่ากันด้วยความรู้สึกนี้เองที่คุณจะใช้ปรับแต่งการทำงานของตะเกียบช็อคให้ตรงกับความเป็นจริง ในสภาพใช้งานจริงมากที่สุด


10. ปรับสปริงตามน้ำหนัก


ตามปกติสปริงของตะเกียบช็อคจะถูกตั้งค่ารับน้ำหนักไว้ที่ 150- 170 ปอนด์ (65.5-77 ก.ก.) เป็นสามัญสำนึกอยู่แล้วว่าถ้าคุณตัวเบาก็ต้องปรับสปริงให้อ่อนลง แต่ถ้าหนักก็ต้องปรับสปริงให้แข็งขึ้นได้อีกเล็กน้อย การปรับสปริงไปในทิศทางตรงกันข้ามไม่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวจะทำให้อายุสปริงเสื่อม ลูกสูบ กระบอกสูบพังยับเยินหมดเพราะกระแทกกระทั้นเสียการทรงตัวจนอาจจะถึงกับหัวทิ่มตีลังกาข้ามแฮนด์ได้ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่


11. หาของฟรีใช้ให้เป็น


ในการแข่งเมาเท่นไบค์แต่ละแมทช์ นั้นบางครั้งจะมีบริษัทช็อคไปตั้งวงเซอร์วิส ให้ด้วย เขาไม่ได้บริการแค่นักแข่งแต่มักจะหาโอกาสโฆษณาสินค้าไปด้วย ด้วยการให้บริการต่อใครก็ตามที่ใช้สินค้าแบรนด์ของเขา อันนี้เราพูดถึงในสหรัฐฯ แต่ถ้าใครจะเห็นโอกาสทำตลาด ด้วยกิจกรรมแบบนี้ในเมืองไทยบ้างก็ไม่ขัดข้องถ้าคุณรู้ว่ามีแข่งที่ไหนและมีบริการดังกล่าวก็ลองจูงจักรยานเข้าไป เลียบ ๆ เคียง ๆ ดู อาจได้รับบริการดูแลช็อคของตัวเอง ฟรี ๆ


12. จงอย่าถูกช็อคมันหลอกเอา


ตะเกียบช็อคสมัยใหม่นี้เปี่ยมทั้งประสิทธิภาพและน้ำหนักเบากว่าช็อคหนักอึ้งสมัยก่อนมาก การเปลี่ยนค่าการใช้งานแค่หมุนแป้นอะไรไปนิดเดียวเท่านั้นความรู้สึกของคุณอาจผิดเพี้ยนไปเลย ไม่ว่าจะเป็นตะเกียบช็อคหน้าหรือช็อคหลังจำเป็นต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างช็อคหน้าและช็อคหลังแล้วคุณจะขี่ได้สนุกและปลอดภัย ปรับแต่งให้เกิดความสมดุลได้ด้วยการทดลองขย่มจักรยานระหว่างขี่บนทางเรียบ ดูเองหรือให้คนใกล้ชิดคอยดูให้ว่าช็อคหน้าและหลังยุบตัวหรือเปล่าถ้าอันใดอันหนึ่งแข็งตัวหรือแข็งทั้งคู่ต้องปรับแต่งให้ยุบได้ตามสมควร ปรับแต่งค่าความยุบตัวตามน้ำหนักดังที่อ้างไว้ในข้อ 10 ดูคู่มือแล้วทำตามคำแนะนำในนั้น อย่าให้ความรู้สึกมาหลอกเอาว่าทุกอย่างใช้ได้แล้ว คุณจะเจอของจริงตอนเข้าทางซิงเกิลแทรคเมื่อมันสะบัดสะบิ้งไม่ยอมทำตามใจคุณ เมาเท่นไบคไม่ได้สร้างไว้พื่อขี่ทางเรียบนะเพ่


13. คุณเพิ่มระยะช่วงชักได้อีกนิด


การปรับเพิ่มระยะช่วงชักอีกนิดไม่ได้ทำให้การบังคับทิศทางและการทรงตัวเสียไป บางทีคุณอาจต้องเพิ่มช่วงชักได้เล็กน้อยเมื่อปรับให้มันอ่อน เพื่อให้มีระยะยุบเพิ่มขึ้น การปรับช่วงชักเพิ่มจะทำให้หน้ารถเชิดขึ้นได้อีก 3/4 ซ.ม. อันหมายความว่าคุณอาจก้มตัวลงโดยอัตโนมัติประมาณ1 องศาต่อการปรับช่วงชักเพิ่มขึ้นเกือบนิ้วประโยชน์ของช่วงชักที่มากขึ้นคือทำให้คุณบังคับรถได้ง่ายขึ้นในเส้นทางช่วงยาก ๆ เช่นตอนสาดโค้งหรือตอนกระโดดลงมาจากเนินเพื่อมาเข้าเนินอีกลูก แต่คำเตือนของเกจิที่ต้องรับฟังไว้สักนิดคือเพิ่มช่วงชักให้ช็อค อาจทำให้เคลมประกันไม่ได้


14. เพิ่มเครื่องป้องกันให้ของแพง


เป็นที่ทราบกันอยู่นานแล้วว่าตะเกียบช็อคคู่งาม ๆ ระดับแข่งขันนั้นราคาโหด ถ้าคุณอยากอัดเมาเท่นไบค์คันโปรดท่ามกลางสภาพภูมิประเทศสุด ๆ ขั้วคงต้องไม่อยากให้มีอะไรมากระแทกสูบช็อคอันเก่งของตัวเองแน่ หรืออย่างน้อยก็ต้องการผ่อนหนักให้เป็นเบา เอ็มบีแอ็คชั่นแนะนำให้ไช้ Fork Boots ที่ตอนนี้มีขึ้นชื่ออยู่คือของแบรนด์ Lizard skins เป็นแผ่นยางนีโอปรีนอ่อนนุ่มหุ้มตะเกียบช็อคคู่โปรดราคาแพงของคุณไว้ให้พ้นจากแรงกระแทกและรอยขีดข่วน เรื่องนี้เป็นเรื่องออปชั่นของคนรักของเท่านั้น มีหรือไม่มีบูทส์ที่ว่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ตะเกียบช็อคของคุณดีขึ้นหรือเลวลงแต่อย่างใด


15. สังเกตช่วงชักด้วยเข็มขัดรัดสายไฟซิป


เข็มขัดรัดสายไฟแบบรูดเข้าแล้วถอดไม่ได้ ที่เรียกว่า ซิป ไท (zip tie) นั้นมีประโยชน์มากกว่าแค่รัดสายไฟ เอามาใช้สังเกตช่วงชักของตะเกียบช็อคก็ได้ด้วยการรัดมันไว้ตรงก้านช็อค รูดลงให้สุดถึงกระบอกสูบ แล้วขี่จักรยานในสภาพที่มั่นใจว่าทางแย่ที่สุดสะเทือนที่สุด ดูว่ากระบอกสูบดันเข็มขัดซิปขึ้นถึงแค่ไหน ถ้ายังไม่สุดถึงบ่าช็อคแสดงว่าคุณเติมลมช็อคมากเกินขันคอยล์สปริงแข็งเกิน หรือปรับระบบแดมปิ้งให้แข็งเกินเช่นกัน ควรปรับให้อ่อนลงเล็กน้อยเพื่อลดความเครียดของชิ้นส่วน ยืดอายุการใช้งานลองทำดูให้ครบทุกข้อ แล้วคุณจะทราบว่าประหยัดเงินค่าช็อคได้อีกหลายหมื่นบาทมีเงินไปซื้อหมวกกันกระแทกสวย ๆ หรือล้อดี ๆได้อีกเป็นคู่...เราบอกคุณแล้วว่าไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง