ss

29 ก.ย. 2553

100 กม.UP : การเตรียมตัวก่อนปั่น 1 วัน ก่อนปั่น 24 ชั่วโมง ตอนที่ 1

          ถ้าจะว่าไปแล้วการปั่น 100 ก.ม. หรือ 160 ไมล์แบบเซ็นทิวรี่จริง ๆ นั้นแทบไม่ต่างกันเลยในด้านการเตรียมตัว ไม่ว่าคุณจะปั่นจักรยานได้ใกล้หรือไกลแค่ไหนสิ่งที่ต้องเตรียมยังคงเหมือนเดิม คือต้องมีหมวก แว่นตา เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้าและอื่น ๆ ที่จะทำให้การขี่จักรยานครั้งนั้นปลอดภัยและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ แต่ถ้าจะเตรียมตัวปั่นกันอย่างมือโปรก็ต้องมีเวลา เวลาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อ่ให้รายละเอียดทุกอย่างถูกเก็บได้เรียบร้อยจงน่าจะเป็นช่วง 24 ชั่วโมงซึ่งน่าจะเป็นการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนก้าวขึ้นคร่อมอาน
          ถ้าจักรยานของคุณยังไม่ได้ถูกปรับแต่งให้เข้าที่ในเวลา 24 ชั่วโมงนี้ก็ต้องทำ สำหรับคาร์โบฯโหลดดิ้งที่จะสำคัญต่อการขี่จักรยานไกลก็ควรทำด้วยในเวลาก่อนนอนสามชั่วโมงเพื่อให้ไกลโคเจนเข้าไป สะสมในกล้ามเนื้อเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ทั้งยังต้องเริ่มดื่มน้ำมาก ๆ เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คงไม่ต้องพูดถึงรวมทั้งน้ำชากาแฟ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่เป็นผลดีต่อการขี่จักรยานหรือการออกกำลังกายใด ๆ เลยแม้แต่น้อย หลังรับประทานอาหารเย็นแล้วควรดื่มน้ำให้พอแต่ต้องเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนนอนเช่นกัน ก่อนปั่นไกล เป็นร้อย ๆ กิโลฯ ให้ครบคุณต้องได้นอนพักผ่อนให้เต็มที่โดยไม่ต้องมีอะไรมาขัดจังหวะระหว่างนั้น
          ก่อนจะล้มตัวลงนอนให้จัดการกับเช็คลิสต์ให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยการเอาเสื้อผ้า หมวกกันกระแทก เครื่องวัดชีพจร แว่นกันแดด รองเท้า อาหารบำรุงกำลังติดกระเป๋า และทุกสิ่งที่ต้องใช้ก่อน ระหว่างปั่น และหลังปั่นมาวางไว้ก่อนหยิบลงกระเป๋า จงอย่าได้คิดว่าจะมาจัดลงกระเป๋าในตอนเช้าวันปั่นเพราะความรีบร้อนจะทำให้พลาดจนลืมหยิบเอาของสำคัญใส่กระเป๋าได้ง่าย ๆ
          สำหรับเรื่องการจัดของนี้ ถ้าคุณเป็นคนปั่นจักรยานเป็นประจำอยู่แล้วก็อาจไม่ต้องถึงกับจดรายการแล้วจัดของตาม วิธีง่ายที่สุดคือจินตนาการถึงการแต่งกายของตัวเองว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง นึกถึงตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วจะพบว่ามันง่ายกว่าเมื่อจะจัดเรียงลำดับ ไปตั้งแต่หมวกกันกระแทก แว่นตา เสื้อ ถุงมือ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า แล้วค่อยมาคำนึงถึ่งสิ่งที่จะนำติดตัวใส่กระเป๋าหลังของเสื้อไป เช่น เพาเวอร์เจลและอื่น ๆ ที่จำเป็น นึงไปพลางหยิบของในตู้มาวางไว้ข้างกระเป๋าก่อนจัดของลง
          พอของพร้อมแล้วก็นั่งลงค่อย ๆ คิดถึงแผนการที่วางไว้ว่าจะทำอะไรบ้างในการขี่วันนั้น เมื่อถึงช่วงยากลำบากของเส้นทางแล้วจะทำอย่างไร เสร็จแล้วเมื่อก่อนนอนก็ตั้งเวลาไว้ อยากจะตื่นตอนไหนก็ตั้งเวลาไว้ เมื่อไม่ประมาทก็ต้องตั้งเวลาไว้เป็นครั้งที่สองด้วยหากครั้งแรกปลุกแล้วคุณไม่อยากตื่น

วันปั่นไกล
          การตั้งเวลาไว้จะทำให้ไม่ต้องรีบกระหืดกระหอบตื่นขึ้นหลังจากได้พักผ่อนมาเต็มที่แล้ว จงรับประทานอาหารเช้าแบบสบาย ๆ ไม่เร่งรีบ ถ้าได้ดื่มน้ำมาแล้วตอนก่อนนอนสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องไปห้องน้ำเสียก่อน อาหารเช้าในวันนี้ต้องมั่นในว่ามีพลังงาน 70 % มาจากคาร์โบฯ สำหรับคนไทยคงไม่ต้องห่วงเพราะเรารับประทานข้าวซึ่งประกอบด้วยคาร์โบฯเป็นหลักอยู่แล้ว ข้อสำคัญคือคุณต้องรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนออกสตาร์ทสองชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้ย่อยสลายไปส่วนหนึ่งก่อนออกกำลัง รับประทานมากไปจะจุกและอาจถึงกับอาเจียนจนรู้สึกแย่ ๆ ได้ระหว่างทาง

ชั่วโมงสุดท้ายก่อนออกตัว
          ถ้าคุณไม่ได้คาดหวังว่าจะไปขี่จักรยานกับกลุ่ม ขาแรง ชอบปั่นเร็ว หรือไม่ได้คาดคิดว่าตัวเองต้องทำลายสถิติไม่ว่าจะเป็นสถิติของเพื่อนหรือของตัวเองก็ตาม การปั่นแบบเซ็นทิวรี่ไม่จำเป็นต้องวอร์มอัพกันบนจักรยานเลย แค่ยืดเส้นยืดสายสักห้านาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังตอนล่าง หัวไหล่ ช่วงขาตอนหลัง และหลังของคุณได้ผ่อนคลายเท่านั้นก็พอแล้ว การได้ยืดเส้นยืดสายจะช่วยได้มากทั้งการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการลดควมตื่นเต้น ด้วยประสบการณ์ที่เพิ่มพูนขึ้นตามชั่วโมงของการปั่นที่ผ่านมา คุณจะวางแผนก่อนการปั่นได้อย่างเป็นธรรมชาติเองจนถึงนาทีสุดท้ายหน้าเส้นสตาร์ท ต่อไปนี้แหละที่เราจะเข้าสู่กระบวนการวางแผนระหว่างการปั่นไกลเกิน 100 ก.ม.
          ในตอนต่อไปจะมาแนะนำวิธีในการขี่จักรยานทางไกลเกินร้อย ก.ม. ว่ามีวิธีในการเริ่มปั่นอย่างไร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง