ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อจักรยาน BMX เราควรทำความรู้จักส่วนต่าง ๆ ของจักรยาน BMX กันก่อน
อย่างแรกคือ เฟรม (Fram) ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเลือกใช้เฟรมที่ทำมากจา Aluminun ไม่ว่าจะเป็นเนื้อโลหะ 6061 และ 7005 หรือ Cro-Moly 100 %, Titanium และ Carbon Fiber
วัสดุแต่ละอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้
Aluminum
- ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบาและมีความรู้สึกแข็งแรง
- ข้อเสีย คือ Aluminum จะมีเนื้อที่แข็งกระด้างจะให้ความรู้สึกไม่นุ่มนวล
Cro-Moly
- ข้อดี คือ มีความแข็งแรงทำให้มีความนุ่มนวล
- ข้อเสีย คือ มีความนุ่มนวลมากเกินไปซึ่งจะทำให้สูญเสียการทำความเร็ว แต่สำหรับ ผู้ที่ชื่นชอบความนุ่มนวลก็สามารถเลือกใช้ได้
Titanium
- ข้อดี คือ มีความแข็งแรงมากและมีน้ำหนักเบา
- ข้อเสีย คือ เนื้อ Titanium จะให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างเกินไป ซึ่งใน BMX นั้นจะไม่นิยมใช้เฟรมชนิดนี้ เพราะเฟรมส่วนใหญ่เมื่อใช้แล้วจะมีรอยแตกร้าวบริเวณรอยเชื่อมต่าง ๆ
Carbon Fiber
- ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา
- ข้อเสีย คือ มีอายุการใช้งานไม่นานเปราะบาง สำหรับเฟรม Carbon ใน BMX Racing ยังไม่ค่อยนิยมใช้กันเท่าไรนัก
- การเลือกซื้อตัวถังนั้นเราจะดูจากจุด Top Tube โดยวัดจากเส้นผ่าจุดศูนย์กลาง ระหว่างท่อหลักอานและเส้นผ่าศูนย์กลางของถ้วยคอ
การเลือกซื้ออุปกรณ์จักรยานประเภท BMX Racing
1. ปลอกแฮนด์ (Grips)
อย่างแรกคือปลอดแฮนด์ ปัจจุบันปลอดแฮนด์มีหลายยี่ห้อให้คุณได้เลือกใช้แต่ที่นิยมกันมากคือปลอดแฮนด์ที่มีความนุ่มนวลเพื่อลดแรงกระแทกจากพื้นถนนที่ไม่เรียบ และขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบลักษณะแบบไหน แต่ปลอดแฮนด์หลัก ๆ มีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือแบบที่มีน็อตใช้ล็อคได้ กับแบบสวมเข้าไปโดยที่ไม่มีน๊อคล็อค
2. แฮนด์ (Handle Bar)
ในปัจจุบันเนื้อโลหะของแฮนด์จักรยานประเภท BMX Racing นั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน 1. Aluminum 2. Cro-Moly 100 % 3. Carbon Fiber
2.1 Aluminum มีน้ำหนักเบาราคาไม่แพง แต่บ้านเราของหายากไปหน่อย
2.2 Cro-Moly 100 % ซับแรงกระแทกเวลากระโดดเนินได้ดี แข็งแรงทนทานอายุการใช้งานยาว
2.3 Carbon Fiber มีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่จะเป็นแฮนด์สำหรับเด็กที่มมีอายุต่ำกว่า 12 ปี
สำหรับการเลือกขนาดของแฮนด์ให้เข้ากับตัวเองควรใช้แฮนด์ที่กว้างเพราะจะควบคุมจักรยานได้ง่ายขึ้น
3. สเต็ม (Stem) หรือคอจับแฮนด์
จะมีขนาดหน้าจับแฮนด์กว้างกว่าสเต็มของจักรยาน BMX ประเภท สตรีทปาร์ค แต่ส่วนใหญ่จะใช้สเต็มของรถสตรีทปาร์คเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงจึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้สเต็มของจักรยานประเภท BMX Racing โดยตรง แต่ส่วนใหญ่สเต็มของ BMX Racing นั้นจะมีขนาดให้เลือกอยู่มาก แต่ในการแข่งขันส่วนใหญ่จะใช้สเต็มที่มีขนาด 30-55 ม.ม.
4. จุกปิดปลายแฮนด์ (End Grip)
เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราลดอันตรายเวลาเกิดอุบัติเหตุไม่ให้ปลายแฮนด์เสียบไปในร่างกายของเราและเพื่อลดการบาดเจ็บ เอ็นกริ๊บมีให้เลือกหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก หรืออะลูมิเนียม
5. เบรก (Brakes) เบรคของจักรยานประเภท BMX Racing นั้นมี 2 แบบ
แบบที่ 1 วีเบรค (V-BRAKE) ส่วนมากจะนิยมใช้กันในประเภทรถครอสคันทรี่และ BMX Racing
แบบที่ 2 ยูเบรค (U-BRAKE) บ้านเราเรียกว่าเบรกก้ามปู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวถัง BMX ว่าออกแบบมาให้ใช้กับเบรกชนิดไหน แต่ส่วนมาก BMX Racing นิยมใช้แบบ V-BRAKE กันหมดแล้ว เพราะว่า V-BRAKE ใช้ Aluminum และ Tianium ในการผลิตทำให้มีน้ำหนักเบา
6. ขาจาน (Cranks)
สำหรับรถจักรยานประเภท BMX Racing นั้นจะต้องมีความแข็งแรงและทนต่อแรงกระแทกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลากระโดดลงสู่พื้น หรือเวลาเกิดอุบัติเหตุ ขาจานของ BMX Racing จะมีอยู่ 3 แบบคือ Aluminum, Cro-moly และ Carbon Fiber ถ้าต้องการจะเลือกซื้อขอแนะนำว่าควรเลือกขาจานที่ทำมาจาก Aluminun เพราะว่า ขาจาน Aluminum จะมีความแข็งแรงมาก และมีความทนทาน เห็นได้จากผู้เข้าแข่งขันในรายการชิงแชมปโลกสนามต่าง ๆ จะนิยมใช้ Shimano DXR เป็นจำนวนมาก และขาจานจะมีความยาวไม่เท่ากัน โดยจะมีความยาวตั้งแต่ 150-180 ซ.ม. ในการเลือกขนาดให้เข้ากับตัวเรานั้น จะวัดความยาวของขาเราเป็นหลัก
7. ตะเกียบ (Fork) BMX Racing มีอยู่ 3 ชนิด
7.1 Aluminum มีความแข็งแรงทนทาน แต่มีน้ำหนักมาก
7.2 Cro-Moly แข็งแรงมีอายุกานใช้งานที่ยาวนาน เบาพอประมาณ แต่มีความกระด้างสูง
7.3 Carbon Fiber ง่ายต่อการควบคุม แข็งแรง มีน้ำหนักเบากว่าตะเกียบทุกชนิด ทำให้มีคามรู้สึกนุ่มนวล ไม่กระด้าง และเป็นตะเกียบที่นักแข่งนิยมใช้มากที่สุด
8. กะโหลก (Bottom Bracket) ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ
8.1 กระโหลกแบบ Euro size BB ซึ่งกะโหลกแบบ BB จะมีความนิยมมากกว่าเพราะมีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบา
8.2 กะโหลก แบบ American หรือ U.S.size BB ปัจจุบันยังมีความนิยมน้อยกว่าแบบแรก เพราะขนาดที่ใหญ่มีน้ำหนักมาก
9. บันไดจักรยาน (Pedals) มีอยู่ 2 แบบ
9.1 แบบบันไดธรรมดา (Platform)
9.2 แบบบันไดที่มีคลิ๊บ (Clipless)
บันไดที่เหมาะสำหรับใช้แข่งขันจะเป็นบันไดคลิ๊บมากกว่าเพราะว่าเวลาปั่นสามารถทำความเร็วและเท้าจะได้ไม่หลุดจากบันได ส่วนบันไดธรรมดาจะไม่เหมาะ สำหรับใช้ในการแข่งขันเนื่องจากทำความเร็วได้ไม่เต็มที่
10. ใบจาน (Sprocket, Chain Wheel)
สำหรับ BMX Racing จะใช้ใบจานที่มี 43-44 ฟัน และโซ่เฟืองหลังตั้งแต่ 14-16 ฟัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงปั่นของเรา โดยสามารถทำการทดสอบในระยะทาง 60 เมตรโดยใช้ 44,16 ทำการจับเวลา และลองใช้ 44,15 จับเวลาดูอีกครั้งแล้วลองดูว่าแบบไหนดีกว่า
ในการคำนวณอัตราทดนั้น ให้เอาใบจานหน้าหารกับเฟืองหลัง เช่น 44 หาร 16= 2.75 และ 44 หาร 15 =2.93 การคำนวณเช่นนี้ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าการทด 44,15 จะหนักกว่าการใช้ใบจาน 44,16 เฟือง โดยส่วนมากจะเลือกใช้ใบจาน 44 ,16 เฟือง ครับ
11. ล้อ BMX Racing
ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่ทำจาก Aluminum ในการเลือกซื้อนั้นควรจะเลือกที่มีความแข็งแรงจะมีล้อ 2 ชั้นและ3 ชั้น ล้อจะมีซี่ลวด 36-48 ซี่ และในจักรยานประเภท BMX Racing ส่วนใหญ่จะมี 36 ซี่
12. ยาง สำหรับ BMX Racing
ยาง BMX Racing นั้นจะต้องเป็นยางที่มีดอกยางแบบวิบาก ยางจะมีขนาดหน้ากว้างตั้งแต่ 1.75-2.15 นิ้ว ในการแข่งขันนั้นจะใช้ยางหน้าใหญ่กว่ายางหลัง เพราะในเวลาปั่น น้ำหนักตัวจะกดลงไปที่ล้อหน้ามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเวลาเข้าโค้ง หรือตอนลงจากเนิน ฉะนั้นยางหน้าจึงต้องใหญ่เพื่อจะได้ยึดเกาะถนนได้ดี ส่วนล้อหลังที่ต้องมีขนาดเล็กกว่าเพราะช่วยลดแรงเสียดทางกับถนน จะได้ทำความเร็วขึ้น ส่วนดอกยางนั้นก็มีให้เลือกอยู่มากมาย แต่การเลือกใช้ยางนั้นต้องขึ้นอยู่กับสนามต่าง ๆ เช่น สนามที่เปียกก็ควรใช้ยางที่มีดอกสูง และสนามไหนที่มีความเรียบแห้งก็ควรใช้ยางที่มีดอกน้อย
สุดท้ายนี้ในการเลือกซื้อจักรยานประเภท BMX Racing ให้เหมาะสมกับร่างกายของคุณ ลองศึกษาดูว่าตัวคุณชอบแบบไหน สีอะไร พอใจกับราคาหรือเปล่า...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณมากๆเลยครับ แต่ว่า Aluminum Cro-Moly Carbon Fiber Titanium
อันไหนดีที่สุดอ่ะครับ
ผมเป็๋นคนที่ชอบเล่น BMX แต่ว่าไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดีหรือไม่ค่อยดี หรือว่าไม่เกี่ยวกันครับ
หนูเพิ่งซื้อbmxมาไม่กี่วันเอาไว้ขับไปโรงเรียนแต่ก็อยากเล่นท่าเป็นด้วย แต่ซื้อของราคาประมาณ 3 พันกว่าๆ เพราะว่าัมันสวยดีแล้วก็ราคาไม่แพงมากด้วย แล้วมันจะดีมั้ยค่ะ ?