ss

22 ธ.ค. 2553

คุณควรมีเครื่องมือจักรยานอะไรติดบ้านเอาไว้บ้าง ?

คุณควรมีเครื่องมือจักรยานอะไรติดบ้านเอาไว้บ้าง ?
[จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                นั่นนะสิ นี่แหละคือเรื่องที่พวกมือใหม่ชอบถามกัน เพราะเมื่อจะซื้อจักรยานกันทั้งทีแล้วถึงตอนแรก ๆ จะหอบเอาไปให้ช่างซ่อมที่ร้านได้ ต่อ ๆ มาก็คนจะเบื่อหน่ายกันบ้างล่ะเมื่อเห็นว่าการซ่อมจักรยานนั้นไม่ได้ยากเย็นเข็ญใจอะไร แต่ควรจะมีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรติดบ้านไว้บ้างนี่แหละคือข้อข้องใจ ควรจะเลือกซื้ออะไร    เครื่องมือที่จะใช้ต้องใช้สำหรับจักรยานโดยเฉพาะหรือเปล่าหรือว่าเป็นเครื่องมืออะไรก็ได้ ? ลองมาดูกันไปทีละอย่างเป็นไร [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
1. เครื่องมือวัดโซ่
                เมื่อชุดเฟืองหลังเริ่มจากแปดชั้นมาเป็นเก้าและสิบ สิบเอ็ดลำดับ โซ่กับชุดเฟืองหลังก็ยิ่งแพงขึ้นตามเทคโนโลยีและวัสดุ หากไม่วัดโซ่ให้ดีแล้วมันจำให้ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องพากันพังตามไปด้วยผลสุดท้ายคือต้องเสียตังค์ซื้อของใหม่มาเปลี่ยนก่อนกำหนด เครื่องมือวัดความยึดของโซ่หลังจากใช้งานมาแล้วคือ CC-2 ของ Park Tool จะช่วยคุณได้ในการวัดการยืดของโซ่ โซ่ที่ยืดเกิดเกณฑ์พอดีจะทำให้ทั้งเฟืองและจานหน้าพัง ถ้าไม่อยาก ควักเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวรวมทั้งตัวโซ่ก็จงลงทุนมีไว้สักอันไม่เสียหาย โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนปั่นเร็ว แรง และใช้จักรยานบ่อยในหนึ่งสัปดาห์ มันจะมีประโยชน์มาก
2. ชุดประแจแฉก (Torx Keys) [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                ในอนาคตอันใกล้นี้สกรูทุกตัวอาจจะกลายเป็นสกรูหัวแฉกแทนที่จะเป็นหกเหลี่ยม เท่าที่สังเกตเห็นในตอนนี้คือจานดิสค์เบรกนั้นได้ใช้สกรูหัวแฉกเรียบร้อยแล้วแทนที่จะให้หกเหลี่ยม กรุ๊ปเซ็ตของคันปานโญโล่เองก็ใช้ชุดประแจหัวแฉกนี้ในหลายองค์ประกอบของตนเหมือนกัน แนวความคิดนี้ยังเผื่อแผ่มาถึงสแรมด้วยในกรุ๊ปเซ็ตซี่รี่ส์ดับเบิ้ลเอ็กซ์ และ FSA ที่ใช้ประแจหัวแฉกกับสกรูขันน็อตจานหน้า ถ้าไม่อยากจะซื้อทั้งชุดแค่สามขนาดก็น่าจะครอบคลุมความต้องการของคุณทั้งหมด
3. สูบยืน
                สองชิ้นก่อนนั้นคุณอาจจะไม่มีก็ได้ แต่ตราบใดที่มีจักรยานเป็นของตัวเองคุณก็ต้องมีสูบไว้สูบยางด้วย และสูบยืนนี้จะช่วยได้มากทั้งด้านการประหยัดเวลาและแรงงาน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเมื่อปะยางเองและเมื่อก่อนจะออกไปขี่จักรยาน ซึ่งต้องตรวจสอบความดันลมและสูบลมเข้าไปให้แข็งตามกำหนด
4. สูบเล็ก [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                มีให้เลือกหลายแบรนด์ตามการออกแบบ แต่ที่ใช้ได้เหมือนกันก็คือการสูบลมเข้ายางให้พอพยุงตัวกลับบ้านได้ จะให้สูบแข็งขนาด 100 กว่า PSI นั้นคงไม่ไหวเพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับงานหนักขนาดนั้น เหมาะไว้พกติดตัวไปพร้อมกับยางสำรองโดยเฉพาะเมาเท่นไบค์ ก่อนจะใช้สูบลมเพื่อให้แข็งพอประมาณแล้พยุงตัวกลับมาซ่อมยางรั่วที่บ้าน แต่ในปัจจุบันนี้สูบเล็ก เช่น Power Pump Alloy ของ Crank Brothers ที่ตัวกระบอกสูบผลิตจากโลหะผ่านกรรมวิธี CNC ทั้งที่กระบอกเล็กแต่ด้วยการออกแบบอันชาญฉลาด สูบเล็ก ๆ นี้จะสามารถทำแรงดันได้แน่นถึง 130 PSI ซึ่งนับว่าเกินพอที่เดียวสำหรับจักรยานที่ต้องการยางแข็งอย่างเสือหมอบ
5. เครื่องมือตัด/ต่อโซ่
                เครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น โซ่ขาด หรือเมื่อได้โซ่เส้นใหม่มาแล้วจะประกอบเข้ากับเฟรมหากไม่ใช้ข้อต่อถอดได้แล้วเครื่องมือนี้จะมีประโยชน์มาก
6. ประแจปากตายเบอร์ 8, เบอร์ 9 และ 10 [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
             ไม่นับจักรยานสมัยใหม่ระดับไฮ-เอนด์ที่แทบจะใช้ประแจหกเหลี่ยมประกอบกันทั้งคัน จักรยานแม่บ้านหรือแบบอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการความเบานักยังใช้น็อตหกเหลี่ยาที่ต้องใช้ปากตายขันอยู่ นอกจากจะใช้ซ่อมรถยนต์แล้วมีไว้ก็ไม่เสียหาย
7. ก้านงัดยาง
                มีประโยชน์มากเมื่อต้องการเปลี่ยนยาง ไม่ว่าจะยากแตกหรือต้องการเปลี่ยนยางนอกเส้นใหม่ มันทำจากพลาสติกเนื้อเหนียวและแข็งแต่ไม่มากพอจะทำอันตรายต่อยางในและขอบล้อคาร์บอนไฟเบอร์
8. กรรไกรตัดเคเบิ้ล
                เพราะเคเบิ้ลคือลวดเส้นเล็ก ๆ มัดรวมตัวกันเป็นเส้นใหญ่การจะตัดให้ขาดจึงต้องตัดครั้งเดียวให้ขาดเพื่อเคเบิ้ลจะได้รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนไม่แตกปลาย เครื่องมือหรือกรรไกตัดเคเบิ้ลโดยเฉพาะจึงเข้ามารับหน้าที่นี้ ด้วยลักษณะของปากกรรไกรโค้งเหมือนปกนกแก้ว มันจะตัดเคเบิ้ลขาดได้ในครั้งเดียว เป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ชนิดหนึ่งที่คุณไม่ต้องดูแลมันเลยตลอดอายุการใช้งาน แค่กำด้ามให้แน่น ๆ เท่านั้นเคเบิ้ลก็ขาดผึงก่อนจะสวมจุกอลูมิน่าให้แน่นกันเคเบิ้ลลุ่ย
9. กรรไกร  [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                พวกมือโปรหลายคนชอบใช้กรรไกรยี่ห้อ Fiskar ยาว 5 นิ้วแบบปลายแหลม เหมาะมากสำหรับเล็มปลายเทปพันแฮนด์หรือเมื่อจะตัดชิ้นส่วนอื่นที่อ่อนสำหรับใช้กับจักรยาน
10. ประแจหกเหลี่ยมมาตรฐาน
                มีให้เลือกใช้หลายขนาดตามขนาดของหัวสกรูที่ใช้ประกอบจักรยาน ไม่ว่าคุณจะใช้ประแจที่มีขายตามร้านฮาร์ดแวร์อย่างโฮมเวิร์คหรือโฮมโปร หรือที่ประกอบกันเป็นชุดแบบกะทัดรัดพกติดตัวชิ้นเดียวมีหลายเบอร์ก็ได้ แบบหลังนี้คล่องตัวที่สุดโดยเฉพาะเมื่อจะเอาใส่เป้ไปปั่นเมาเท่นไบค์ด้วย ช่วยแก้สถานการณ์ฉุกเฉินได้ดี
11. ไวส์กริปและเครื่องมือถอดตลับเฟือง
                ถ้าจะถอดเฟืองออกมาล้างหรือเปลี่ยนชุดเฟืองจากเฟืองถนนมาเป็นเฟืองขึ้นเขา หรือในทางกลับกัน นี่คือเครื่องมือที่คุณควรจะมีไว้ซึ่งจะช่วยให้การเปลี่ยนตลับเฟืองทำได้ง่ายขึ้น
12. ชุดเครื่องมือมัลติทูล [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                คือกลุ่มเครื่องมือแบบ All in one ที่มีทั้งเครื่องมือถอดโซ่ก้านงัดยางและประแจหกเหลี่ยมตัวสั้น ๆ ให้พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้เมื่อคุณประสบเหตุ ในที่ห่างไกลจากผู้คน ควรมีไว้เพื่อใช้งานนอกบ้านจะเหมาะที่สุด
13. ไขควงเปลี่ยนหัวได้
                ในที่นี้คือแบบที่เปลี่ยนหัวได้เป็นแบบปากแบนและสี่แฉก บางชิ้นส่วนของจักรยานอาจต้องใช้ไขควรปากแบบและสี่แฉก การใช้แบบเปลี่ยนปากได้จะช่วยให้คล่องตัวไม่ต้องก้มหยิบหรือเปลี่ยนเครื่องมือต่างชิ้นกัน
14. ตัวขันซี่ลวด
                แบบมาตรฐานจะช่วยคุณได้มากเมื่อล้อคด ด้วยการขันด้านหนึ่งและคลายอีกด้าน ก่อนจะนำไปให้ช่างที่ร้านจักรยานแก้ไขด้วยเครื่องมือที่พร้อมและละเอียดกว่า
15. ซี่ลวดฝนแหลม [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                มีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง เมื่อต้องใช้เขี่ยสิ่งสกปรกออกจากซอกตลับเฟืองท้าย หรือเมื่อจะใช้แยงเคเบิ้ลเฮาซิ่ง
                เราไม่ได้บอกว่าคุณต้องมีมันไว้ทั้งหมดทุกชิ้น แต่ของพื้นฐานที่ต้องมีคงไม่น่าจะหนีพ้นสูบยืนกับของอย่างประแจหกเหลี่ยมที่คุณใช้ถอดจักรยานได้ทั้งคัน ค่อย ๆ ซื้อค่อย ๆ ลองไปแล้วคุณจะรู้เองว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนควรจะมีหรือไม่ควรมีไว้
[จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง