ss

18 ธ.ค. 2553

จานคอมแพคทางเลือกที่ดี สำหรับเสือหมอบมือใหม่ [เสือหมอบ]

จานคอมแพคทางเลือกที่ดี สำหรับเสือหมอบมือใหม่” [เสือหมอบ]
-          ทำไมต้องจาน คอมแพค
จานหน้าขนาดปกติ (Standard) ที่เราคุ้นตามานานแสนนานคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันคือขนาด 53/39 ว่ากันว่าขนาดนี้แหละเป็นขนาดที่เหมาะสมกับนักปั่นทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า แต่ความจริงอีกข้อหนึ่งที่หลายท่านกำลังมองข้ามไปก็คือ พละกำลังและความแข็งแรงของผู้ปั่น ขนาดใบจาน 53/39 คงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของเสือหมอบมือใหม่อย่างแน่นอน
      จานคอมแพคไม่ได้เป็นของใหม่สำหรับวงการจักรยานเสือหมอบแต่อย่างใด  มันได้ถูกผลิตขึ้นในปี 1999 และใช้กันอย่างจิรง ๆ จัง ๆ มาหลายปีแล้ว เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมกับเส้นทางการปั่น รวมถึงลักษณะการใช้งานของผู้ปั่น
-          คุณลักษณะและความโดดเด่น
ขนาดใบจานที่เล็กว่า 2 ใบทำให้น้ำหนักของขาจานแบบคอมแพคเบากว่าขาจานในแบบ Standard พูดสั้น ๆ ว่า เบากว่าในทั้งเรื่องน้ำหนัก และเบาแรงกว่าอีกด้วย สำหรับเสือหมอบมือใหม่การใช้งานทั่ว ๆ ไปน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แน่นอนว่าผู้ที่ปั่นมานานอาจยังมีข้อสงสัยว่า 50/34  มันพิเศษกว่าใบจาน Standard จริงหรือเปล่าและคุ้มค่าน่าลงทุนหรือไม่
-          การใช้งานทั่ว ๆ ไปของจานคอมแพค
เนื่องจากปัจจุบันขนาดเฟืองหลังของจักรยานเสือหมอบ มีให้เลือกใช้งานอย่างกว้างขวาง 10 Speed ของค่าย Shimano/Sram และ 11 Speed ของ Campagnolo อัตราทดเกียร์ 11-28 กลายเป็นที่ฮอตฮิตเพราะมันสามารถครอบคลุมการใช้งานได้ดีเยี่ยมในทางราบและโดดเด่นอย่างเห็นได้ชันเมื่ออยู่บนภูเขาแล้วทำไมเหล่าบรรดาเสือหมอบมือใหม่และมือเก่าจะไม่ต้องการ
-          เมื่อ 50/34 จับคู่กับ 11-28 อะไรจะเกิดขึ้น
ตลาดอุปกรณ์เสือหมอบในขณะนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือน แต่ไม่มีผู้ผลิตค่ายไหนเลยที่ไม่ลงมามีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น Shimano,Sram,Campanolo,FSA ฯลฯ ต่างไม่ลดละที่จะพัฒนาเจ้าจานคอมแพค หากมันไม่ดีจริงป่านนี้คงเลิกผลิตกันไปแล้ว
-          ขนาดจานหน้า 50 ฟัน มันจะทำความเร็วได้เหรอ ?
ความเชื่อที่ว่าใช้จานหน้าขนาดใหญ่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงไม่จริงเสมอไปหากไม่ได้ฝึกระดับมาตรฐานอย่างเพียงพอ เป็นเวลานานเพราะฉะนั้นขนาดใบจาน 50 เพียงพอต่อการฝึกซ้อมและเพียงพอต่อความเร็ว ให้สังเกตรถเสือหมอบประเภทลู่เป็นตัวอย่าง ยังใช้ใบจานขนาด 50 เป็นส่วนใหญ่แถมทำความเร็วสูงสุดได้เร็วกว่ารถถนนด้วยซ้ำไป สรุปประเด็นนี้ต้องขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ปั่นเป็นหลัก
สิ่งที่เสือหมอบมือใหม่หรือมือเก่าให้ความสนใจชุดจานคอมแพคเป็นพิเศษ ก็คือจานกลางขนาด 34 นี่แหละครับ เนื่องด้วยขนาด Standard 39 สร้างความไม่มั่นใจทุก ๆ ครั้งเมื่อต้องการกระโจนขึ้นเขา ต่อให้เป็นนักแข่งระดับแนวหน้าก็เถอะ ถ้าเจอความชันที่ 20 % ขึ้นไปยาว ๆ หลาย ก.ม. ทำให้ต้องเดินลงมาจูงมานักต่อนักแล้ว ขนาด 34 ฟันจึงกลายมาเป็นตัวเลือกของผู้ที่รักการขึ้นเขาโดยตรง
      ด้วยแนวคิดที่ครอบคลุมการปั่นที่เบาแรง ขนาดใบจาน 34 ฟัน ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามันเบาแรงกว่าจริง ลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ขอยกตัวอย่าง Tour de France ปี 2003 ไทเลอร์ แฮลมิลตัน คว้าแชมป์ใน Stage ที่เขาไหปลาร้าหัก ด้วยจานคอมแพคเหมือนกัน ขนาดระดับโปรยังเลือกใช้จานคอมแพค นอกจากคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปจนถึงระดับแข่งขัน จานคอมแพคยังเป็นที่ต้องการของผู้ที่ชื่นชอบความเบาเพราะขนาดใบจานที่เล็กกว่าระยะโซ่ที่ต้องใช้ก็สั้นกว่าตามไปด้วย และใบจานขนาดคอมแพคก็หาซื้อได้ง่ายกว่าใบจานขนาด Standard ด้วยซ้ำไป ข้อดีอีกข้อหนึ่งของใบจานคอมแพคปัจจุบันขาจานคอมแพคที่มีขนาด BCD 110 สามารถเปลี่ยนใบจานขนาด 53/39 หรือ 52/36 ที่มีขนาด BCE 110 มาใส่กับขาจานคอมแพคได้เลย [เสือหมอบ]
     มาดูอัตราทดระหว่าเจ้า (50/43=11-28) VS (53/39=12.27)
-          ในทางราบ จาน Standard 53X12=4.42 จานคอมแพค 50X11=4.55
-          ขึ้นเขาจาน Standard 39x27 =1.44 จานคอมแพค 34x28=1.21
จะเห็นได้ว่า ในทางราบใบจานขนาด 50 ก็ไม่ได้เสียเปรียบจาน 53 เท่าไหร่นัก แต่ในทางกลับกันในทางขึ้นเขาใบจาน 34 จะได้เปรียบกว่าใบจาน 39 อย่างเห็นได้ชัน
บทสรุป
-          ได้น้ำหนักที่เบากว่า เมื่อเทียบกัน กรัมต่อกรัม (ใบจานเล็กกว่าโซ่สั้นลง)
-          อัตราทดไม่ได้ด้อยกว่าชุดจานปกติ
-          มีโอกาสใช้จานใหญ่ได้มากขึ้น และใช้เฟืองหลังได้หลายหลายกว่า
-          ทำให้การปั่นจักรยานทางไกลได้สนุกขึ้นและไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป
-          ขาจานคอมแพค BCD 110 สามารถเปลี่ยนใบจานเป็น 53/39 และ 52/36 ได้
สุดท้ายนี้ไม่ว่าการปั่นจักรยานของท่านจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ใช้ดุลพินิจในการเลือกใช้อุปกรณ์ เลือกก่อนตัดสินใจศึกษาหาข้อมูล เลือกที่เหมาะสมกับตัวเราเองมากที่สุดและการปั่นจักรยานของเราจะมีความสุข ครับ
[เสือหมอบ]


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง