ss

30 เม.ย. 2554

ประแจ Torgue

ประแจ Torgue

คุณเคยสังเกตไหมว่าเมื่อเราหยิบสเต็มขึ้นมาจะมีตัวเลขมากมาย เลขในนั้นทุกตัวเลขล้วนมีความหมายอยู่ในนั้น เช่นบอกความยาว องศา  มุมยก และแรงที่ขันเกลียวแต่จะรู้ได้ยังไงว่าได้ขันด้วยความแรงเท่าไหร่แล้ว เราจะไปรู้จักกับประแจ Torgue หรือประแจวัดแรงบิด ที่เราเรียกกันว่าประแจปอนด์ เป็นด้ามประแจกระบอกที่ออกแบบมาเพื่อวัดแรงบิดในการขันสลักเกลียว แป้นเกลียวและสกรูหัวเหลี่ยมชนิดต่าง ๆ ประแจวัดแรงบิดจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นติดตั้งอย่างถาวรที่สุดด้วยแรงบิดที่เรากำหนดไว้ในขณะที่สลักเกลียวหรือแป้นเกลียวก็รับแรงกด-แรงดึงได้เต็มที่ โดยไม่เป็นอันตราต่อตัวเกลียวเองอย่างเช่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจักรยาน หากขันสลักแรงมากเกินไปก็จะทำให้เกรียวเกิดความเสียหายได้ ยิ่งในชิ้นส่วนที่เป็นคาร์บอนที่จะมีความแข็งเป็นพิเศษไม่สามารถทนแรงกดที่เยอะ ๆ ได้อาจจะทำให้ชิ้นส่วนนั้นเสียหายได้ แต่หากว่าขันสลักตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดให้มา ชิ้นส่วนก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่

ขนาดและรูปร่างของประแจ วัดแรงบิดมีหลายแบบ บางแบบจะใช้เข็มชี้หรือเข็มบนหน้าปัดแสดงค่าของแรงบิดโดยตรง แต่บางแบบจะต้องตั้งแรงบิดตามที่ต้องการก่อนเมื่อออกแรกการะทำต่อเกลียวถึงขีดที่กำหนด จะมีสัญญาณเสียงหรืออื่น ๆ แสดงออกมาว่าถึงขีดที่ต้องการแล้ว หัวขับประแจกระบอกของประแจวัดแรงบิดจะเป็นหัวขับชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัส สำหรับติดกับตัวประแจกระบอกทั่วไป เนื่องจากประแจปอนด์เป็นเครื่องมือที่ต้องวัดแรงบิดที่กระทำต่อเกลียว ดังนั้นเกลียวของสลักเกลียวและแป้นเกลียวจะต้องสะอาด และไม่มีสิงแทรกซ้อนอื่นที่จะทำให้การวัดแรงบิดผิดปกติ เช่น การสั่นไหว เกลียวเป็นสนิม เกลียวตาย เกลียวเยิน ซึ่งเป็นผลให้ต้องใช้แรงเกินกว่าที่กำหนดซึ่งอาจทำให้เกลียวชำรุดได้

 ปัจจุบันความก้าวหน้าในวิชาโลหะวิทยาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การพัฒนาการผลิตสลักเกลียวและแป้นเกลียวอย่างมากมาย ดังนั้นการทำงานในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องใช้ประแจวัดแรงบิดมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแรงที่ใช้ในการขันเกลียว บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือ/เครื่องกล จะเป็นผู้กำหนดมาว่า เกลียวตัวใดหรือขนาดใดต้องใช้แรงบิดในการขันเท่าใด เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานจะต้องสังเกตว่า สลักเกลียวขนาดใดควรจะใช้แรงบิดต่ำที่สุดเท่าใด และแรงบิดสูงสุดเท่าใด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเกลียวตัวอื่น ๆ ให้เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาตารางกำหนดแรงขันเกลียว ซึ่งบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลได้กำหนดไว้เสมอ ๆ เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ประแจวัดแรงบิดนี้ประกอบการทำงานให้ได้ผลสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง:


> อุปกรณ์ถอดเฟืองหลัง
ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอล (Hexagon Wrench)
> สูบช็อค (SHOCK PUMP)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง