ss

21 ก.ย. 2554

มาทำความรู้จักกับระบบเกียร์กันดีกว่า ตอนที่ 4

4. ตีนผี (Rear derailleur)

ตีนผีจะทำหน้าที่เปลี่ยนตำแหน่งเกียร์หลัง โดยอาศัยการดึงของสายเกียร์ในการเปลี่ยนเกียร์จากเฟืองตัวเล็กขึ้น ไปสู่เฟืองตัวใหญ่และอาศัยแรงดีดกลับของสปริงในตีนผีในการเปลี่ยนเกียร์จากเฟืองตัวใหญ่ลงไปสู่เฟืองตัวเล็ก (ในตีนผีรุ่น Reverse หรือ RapidRise ของ Shimano XTR จะทำงานตรงกันข้ามกับตีนผีทั่วไป)
  
· เฟืองจ๊อกกี้ (guide pulley) จะทำหน้าที่ในการดันโซ่ให้เปลี่ยนตำแหน่ง
· เฟือง tension pulley จะเป็นตัวดึงให้แนวโซ่ด้านล่างตึงอยู่ตลอดเวลา
· สกรูว์ตัว L และ H จะทำหน้าทีจำกัดระยะของตีนผี
· B-tension screw จะเป็นตัวตั้งความแข็งของสปริงที่จะดันให้ชาของตีนผีขยับออกมาจากเฟรม
· Fine-adjusting knob เป็นตัวปรับเร่งความตึงของสายเกียร์ ซึ่งจะปรับได้ค่อนข้างละเอียดกว่าที่ shifter การจะเลือกตีนผีมาใช้งาน มีสิ่งที่ต้องคิดหลายอย่างเช่นกัน
· ขนาดเฟืองหลังที่ใหญ่ที่สุด และเล็กที่สุดที่ตีนผีรุ่นนั้นจะทำงานได้
· จำนวนเฟืองหลังที่เหมาะสมกับตีนผีนั้น ๆ เช่น ตีนผีสำหรับเฟืองหลัง 7 ชั้น จะใช้งานได้ไม่ดีหรือไม่ได้กับเฟืองหลัง 8 หรือ 9 ชั้น
· Shifter ที่ทำงานเข้ากัน (compatible) โดยทั่วไปมักจะใช้ด้วยกันได้หมด
· ยกเว้นตีนผี SRAM ตระกูล ESP ต้องใช้กับ grip shift  ตระกูล ESP เท่านั้น

5. ชุดใบจานหน้า (Chain rings)  ใบจนหน้าในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

     · ใบจานหน้าของระบบเฟืองหลัง 7 สปีด
     · ใบจานหน้าของระบบเฟืองหลัง 8 สปีด
     · ใบจานหน้าของระบบเฟืองหลัง 9 สปีด

ในแต่ละกลุ่มไม่ควรจะนำมาใช้แทนกัน เนื่องจากมีลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของโซ่ที่ใช้ หากใช้ผิดระบบจะมีผลต่อความราบรื่นของการทำงาน รวมไปถึงอายุการใช้งานของโซ่ โดยทั่วไปแล้วเสือภูเขาจะมีจำนวนจานหน้า 3 ใบ ซึ่งผู้ผลิตใบจานต่างพยายามพัฒนาให้ชุดจานหน้าสามารถทำงานได้ดีและราบรื่น โดยเฉพาะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จานหน้า โดยเพิ่มหมุดวิดโซ่ที่ขอบด้านในของใบจานกลางและใบจานใหญ่ ทาง Shimano เป็นผู้ผลิตที่พัฒนาหมุดวิดโซ่นี้เป็นรายแรก ๆ รวมไปถึงได้ปรับปรุงให้ทำงานได้ราบร่นที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ โดยตั้งชื่อว่าระบบ Hyperdrive  ใบจานหน้าจะถูกยึดกับขาจานด้วยสกรูว์และน๊อตพิเศษ รูยึดใบจานอาจจะมี 4 หรือ 5 รู ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต แต่จะแบ่งมาตรฐานเป็น 2 แบบเหมือนกันคือ

1. Compact 
- ชนิด 5 รู มีระยะจากจุดศูนย์กลางของรูใบจานใบใหญ่และใบกลางเป็นถึงจุดศูนย์กลางของกะโหลก 94 มม. และระยะจากจุดศูนย์กลางของรูใบจานเล็กกับจุดศูนย์กลายของกะโหลก 58 มม.ซึ่งเราจะเรียกว่า 94/58 มม.
- ชนิด 4 รู มีขนาด 104/64 มม.

            2. Standard
                - ชนิด 5 รู มีขนาด 110/74 มม.
                - ชนิด 4 รู มีขนาด 112/68 มม.

6. ชุดเฟืองหลัง (Cog set)

ชุดเฟืองหลังโดยทั่วไปจะมีอยู่ตั้งแต่ 7,8,9 ชั้น (สำหรับเฟืองหลัง 10 ชั้นนั้นได้ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในชุดแข่งขัน ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก) เฟืองแต่ละชุดจะมีความแตกต่างกันและไม่อาจนำมาใช้ทดแทนกันได้ (ยกเว้นจะเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด)

      ·   ชุดเฟือง 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันจะมีใช้ในระบบเกียร์รุ่นล่างสุด และกำลังเสื่อมความนิยมลง เพราะระบบเกียร์ที่ถูกผลิตออกสู่ตลาดในปัจจุบันเป็นชุด 8 และ 9 ชั้นเป็นส่วนใหญ่ ระยะห่างระหว่างเฟืองใบใหญ่สุดกับเฟืองใบเล็กสุดของระบบเฟือง 7 ชั้นจะมีระยะน้อยกว่าของระบบ 8,9 ชั้น ทำให้ต้องใช้กับดุมหลัง (Free wheel hub) เฉพาะรุ่นที่ทำมาเฉพาะเฟือง  7 ชั้นเท่านั้น
·    ชุดเฟือง 8 ชั้น เป็นระบบที่ยังได้รับความนิยมอยู่และยังถูกผลิตออกมาจำหน่ายในรุ่นล่างถึงรุ่นกลาง
·    ชุดเฟือง 9 ชั้น เป็นระบบที่ทาง Shimano เริ่มผลิตออกมาจำหน่ายในปี คศ.1999 หลังจากประสบความสำเร็จกับจักรยานถนนมาก่อน ชุดเฟือง 9 ชั้นจะมีระยะห่างระหว่างเฟืองใหญ่สุดกับเฟืองเล็กสุดเท่ากันกับชุดเฟือง 8 ชั้น จึงทำให้สามารถใช้ดุมหลังร่วมกันได้ แต่เนื่องจากระยะห่างดังกล่าวเท่ากันจึงทำให้เฟือง 9 ชั้นต้องมีระยะช่องไฟระหว่างเฟืองแคบกว่า และเฟืองมีความหนาน้อยกว่าระบบเฟือง 8 ชั้น จึงทำให้ต้องใช้โซ่ที่มีความบางกว่าด้วย

7. โซ่ (Chain)

โซ่รถจักรยานถูกออกแบบมาโดยขึ้นกับลักษณะของชุดเฟืองและใบจาน โดยทั่วไปแล้วโซ่ของระบบเฟือง 7 กับ 8 ชั้นนั้น พอจะใช้ทดแทนกันได้ แต่กรณีสำหรับโซ่ของเฟือง 9 ชั้นจะแปลกแยกออกไปเนื่องจากความแตกต่างของความหนาและระยะช่องไฟของเฟืองหลัง ทำให้โซ่ของระบบเฟือง 9 ชั้น มีความบางกว่าของระบบ 8 ชั้นประมาณ 0.6 มม.



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง