ss

8 เม.ย. 2555

ตัวอย่างคลิปหนังจักรยานฟิกเำีกียร์ Premium Rush - Trailer (2012)

|0 ความคิดเห็น

สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมมีคลิปตัวอย่างหนังที่ใช้การปั่นจักรยานเป็นตัวเอก เป็นตัวเดินเรื่่อง ซึ่งจักรยานที่ว่านั่นก็คือ จักรยานฟิกเกียร์ ครับ ผมดูตัวอย่างแล้วน่าสนใจมาก เพื่อน ๆ ก็หาเวอร์ชั่นเต็มมาดูกันได้นะครับ คงถูกใจคอจักรยานฟิกเกียร์กันเลยทีเีดียว

การแข่งจักรยานแบบ Keirin ต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น

|0 ความคิดเห็น
Keirin คือการแข่งจักรยานที่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง


พูดง่าย ๆ ก็เหมือนกับการแข่งม้าบ้านเรา รถแข่งทุกคันอะไหล่ทุกชิ้นจะต้องผ่านมาตรฐานจากสมาคมโดยจะมีเครื่องหมาย njs ตีลงไปบนเฟรมและอะไหล่ มีการแข่งเกือบทุกเดือน นักแข่งทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมการปั่นจักรยานแบบ Keirin ในโรงเรียนเป็นเวลา 1 ปี  ก็จะได้เป็นนักแข่งอาชีพ และก็มีรายได้จากการแข่ง

ในแต่ละปีจะมีการแข่งรอบสุดท้ายซึ่งจะรวบรวมนักแข่งที่มีคะแนนเก็บสูง ๆ ผู้ชนะบางปีทำเงินได้ถึง 100 ล้านเยน! และยังมีรายละเอียดกติกาอย่างอื่นอีกมากมายครับ ลองหาการ์ตูนเรื่อง ODDS ชื่อไทยฝันติดล้อแต้มต่อของชีวิต มาอ่านเพิ่มเติมกันได้ครับ 

ลองดูรูปและคลิบวิดิโอกันดีกว่า
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ


ข้อมูลจาก thaimtb.com

6 เม.ย. 2555

อาการปวดเข่า ปวดเอ็นร้อยหวาย จากการปั่นจักรยาน

|0 ความคิดเห็น
การขี่จักรยานทางไกลคือการเคลื่อนไหวอวัยวะซ้ำ ๆ แบบกันนับเป็นล้าน ๆ ครั้ง ย่อมต้องเกิดความอึดอัดไม่สบายเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นได้ และจะหายไปเองหลังจากหยุดขี่ แต่สำหรับหัวเข่าแล้วมันแตกต่างเพราะตรงนั้นคือข้อต่อที่มีองค์ประกอบหลายอย่างมาเกี่ยวข้องทั้งกระดูก เอ็น สะบ้า เพื่อมาประกอบกันเป็นข้อพับ ถึงปัญหาเข่าในจักรยานจะน้อยกว่าการวิ่ง แต่มันก็ถือว่าเป็นอาการบาดเจ็บและอยู่ในลำดับต้น ๆ ที่ผู้ขี่จักรยานเป็นกันบ่อยที่สุด

คำพูดว่า “หัวเข่านักจักรยาน” คือคำพูดรวมถึงการใช้หัวเข่าซ้ำซากมากเกินไปในทุกสภาพ ซึ่งเกี่ยวกันโยงใยไปถึงปัญหาด้านกายภาพของเท้าหรือน่อง การวางเท้าผิดตำแหน่งบนลูกบันไดหรือการใช้เกียร์ไม่เหมาะสม แต่ข่าวดีก็คือถึงแม้คุณจะมีปัญหาเข่าเรื้อรังก็ยังขี่จักรยานได้สบาย ๆ เมื่อเข้าใจปัญหาและปรับปรุงแก้ไข

ในฐานะที่เป็นเสมือนข้อพับ บทบาทของหัวเข่าคือการงอและเหยียดซ้ำ ๆ กันโดยหัวเข่าเคลื่อนไหวอยู่รอบ ๆ ลูกสะบ้าตรงปลายขาอ่อน จะเคลื่อนไหวได้สะดวก หัวเข่าต้องมีส่วนผสมที่ลงตัวคือกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังพืด กระดูกอ่อน ถุงน้ำ และลูกสะบ้า โดยเฉพาะกระดูกอ่อนนี้แหละที่เป็นทั้งตัวกันสะเทือนและตัวสร้างสมดุล ในขณะที่ถุงน้ำรอบเข่านั่นจะส่งของเหลวไปช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว

เกิดอะไรขึ้นเมื่อส่วนประกอบเหล่านี้เกิดผิดปกติ ตอบได้ว่าผลที่ตามมาซึ่งสังเกตได้ชัดที่สุดอย่างแรกคือ อาการข้อเข่าเสื่อม ที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัยไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะคนแก่ แม้แต่เด็ก ๆ ที่เคลื่อนไหวผิดปกติซ้ำซากติดต่อกันนาน ๆ ก็มีโอกาสเป็น อีกอาการหนึ่งคือ เอ็นอักเสบ คือเจ็บเส้นเอ็น ส่วนเชื่อมต่อระหว่างเข่ากับน่อง ทั้งสองอาการนี่แหละคือสิ่งที่พบได้มากที่สุดในพวกที่เริ่มขี่จักรยานและที่ขี่ไกล ๆ แบบทะลวงขีดจำกัดของร่างกาย

อีกอาการหนึ่งที่พบได้มากคือ อาการเจ็บหน้าขา ถ้าคุณขี่จักรยานมานานแล้วยังเป็นก็จงอย่าแปลกใจเพราะนักจักรยานระดับโลกเองก็ยังเป็น คนที่มีแนวโน้มจะมีอาการนี้มากกว่าใครคือพวกที่มีกระดูกหน้าขาโค้งซึ่งจะไปทำให้เอ็นหน้าขาเครียดถ้าต้องงอและเหยียดติดต่อกันนาน ๆ เช่น การปั่นจักรยาน ปัญหานี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงจำนวนหนึ่งเช่นกัน เพราะกระดูกเชิงกรานของผู้หญิงกว้างจึงมีมุมเอียงจากเชิงกรานมาที่หน้าขากับหัวเข่ามากกว่าผู้ชาย

โดยทั่วไปการพักขี่จักรยานจะช่วยให้อาการเจ็บหน้าขานี้ทุเลาลง มีอยู่น้อยมากที่ต้องถึงกับผ่าตัด การป้องกันไม่ให้บาดเจ็บด้วยอาการดังกล่าว คือการให้ความสนใจอย่างละเอียดต่อสัดส่วนทางเรขาคณิตของเฟรมและอุปกรณ์ประกอบ ต้องศึกษาถึงลักษณะการวางตัวของร่างกาย ใช้เฟรมที่ได้ขนาดเท่ากับร่างกาย ไม่คร่อมไซส์ เมื่อเฟรมเสียแล้วทุกสิ่งจะพลอยเสียไปด้วยหมด ทั้งท่าทางการขี่และสุขภาพ

เมื่อพูดถึงการวางตำแหน่งร่างกายแล้วก็ต้องพูดต่อถึงความสูงของอานและตำแหน่งวางเท้า แม้จะเคยเสนอเรื่องนี้ไปแล้วแต่เมื่อมันมาเกี่ยวพันกับปัญหาเข่าก็ต้องนำพูดอีกในแง่มุมที่แตกต่าง เอาง่าย ๆ เลยคือถ้าอานต่ำเกินไปจะทำให้หัวเข่างอมากเกินเมื่อเคลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของลูกบันได ผลคือเกิดความเครียดทีเอ็นหัวเข่า ใครที่วางอานไว้ต่ำจะเกิดอาการเจ็บเข่าทุกคนเมื่อขี่จักรยานไปไกล ๆ และจะยิ่งทรมานมากขึ้นมาระยะทางที่เพิ่มขึ้น ทางแก้นั้นมีอยู่แล้วด้วยการวัดขนาดตัวให้พอดีเฟรม ใช้เฟรมที่พอดีเท่านั้น ตามด้วยการวางตำแหน่งอานให้เหมาะสม  ถ้าเจ็บหน้าเข่าวิธีแก้ง่าย ๆ คือต้องยกอานขึ้น หรือถ้าเจ็บหลังเข่าก็ต้องเลื่อนอานลง วิธีปรับแต่งความสูงนั้น ต้องให้ระยะจากหลังอานถึงลูกบันไดเมื่ออยู่ต่ำสุดมีพอให้งอขาได้เล็กน้อย ทำมุมสัก 3-4 องศา การงอขาได้เล็กน้อยจะไม่ทำให้กล้ามเนื้อสะโพกเครียด ขณะเดียวกันก็จะไม่ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตรงหัวเข่ารับภารหนักจากการงอและยืดออกซ้ำ ๆ กันตลอดเวลา

ถ้าคุณเป็นนักจักรยานหน้าใหม่แล้วมีปัญหากับเข่า นั่นคือคุณอาจจะทำผิดพลาดไปสองประการคือการวางตำแหน่งเบาะสูงหรือต่ำไป และอีกประการคือใช้เกียร์ที่หนักเกินไปนั่นเอง ด้วยความเชื่อผิด ๆ ว่าเบาะสูง ๆ จะทำให้ได้เหยียดขาเต็มที่หรือเบาะเตี้ย ๆ จะช่วยยันขาได้ถึงพื้น ส่วนการใช้เกียร์หนักนั่นก็เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ตัวเองแข็งแรง คิดเอาง่าย ๆ ว่าเมื่อกล้ามเนื้อต้องสู้กับแรงต้านบ่อย ๆ แล้วมันจะแข็งแกร่งไปเอง แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะคุณกำลังบังคับให้กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินขีดความสามารถโดยไม่ได้เสริมสร้างมันอย่างถูกวิธี

อีกปัญหาเข่าที่พบได้บ่อยไม่แพ้กันคือการวางเท้าไม่เป็นธรรมชาติ หมายถึงเมื่อเอาเท้าวางบนบันไดแล้วมันบิดในมุมซึ่งไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น เมื่อเดินแล้วเท้าทำมุมแบบไหนเมื่อวางบนบันไดคลิปเลสก็ต้องทำมุมแบบเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลให้คลีตต้องถูกออกแบบให้เคลื่อนที่ไปมาซ้ายขายได้เล็กน้อย เพื่อเข่าจะได้ไม่ถูกบีบบังคับให้ล็อคตายตามมุมการวางเท้าจนเกิดความเครียดแล้วเจ็บเข่านั่นเอง นอกจากปัญหาเรื่องเฟรมจักรยาน การวางเท้าบนบันไดอีกปัญหาที่พบในหมู่นักจักรยานเมืองหนาวก็คืออากาศ วิธีป้องกันการเจ็บเข่าคือ สวมถุงขา เมื่ออากาศเย็นมาก ๆ สิ่งที่จะรับผลกระทบไปเต็ม ๆ ก็คือข้อกระดูก ทั้งขาและแขนจึงต้องมีเครื่องป้องกันไว้ 

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง