ss

5 ก.ค. 2555

น้ำหนักของจักรยาน เรื่องที่มืออาชีพควรใส่ใจ

สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมไปเจอบทความเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักของจักรยาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ที่คิดได้หลายแง่หลายมุม จะว่าซีเรียสก็ใช่ จะว่าไม่ซีเรียสก็ไม่เชิง ซึ่งสำหรับท่าน ที่ปั่นจักรยานเล่น ๆ ออกกำลังกาย ไม่ได้เจาะจงต้องใช้แข่งขันก็คงไม่ซีเรียสหรือคิดมากกับน้ำหนักของจักรยานที่ท่านใช้อยู่ แต่สำหรับมืออาชีพที่เป้าหมายแข่งขันเป็นหลัก ก็คงจะไม่สนใจกับน้ำหนักจักรยานคงไม่ได้แล้ว เพราะสิ่งนี้ก็เป็นตัววัดผลแพ้ชนะได้เช่นเดียวกัน หากฝีมือฝีเท้าใกล้เคียงกัน  ส่วนสำหรับท่านที่มีเงินถุงเงินถังจะอัพไปใช้จักรยานเบา ๆ แพง ๆ ใช้ก็ไม่ว่ากันนะครับ ...


กลับมาเข้าเรื่องน้ำหนักของจักรยานกันดีกว่า สำหรับบทความนี้ต้องยกเครดิตให้กับเวป thbike.blogspot.com ตามมารยาทผมลงลิ้งค์ให้ท้ายบทความแล้วนะครับ สำหรับบทความดี ๆ เชิญอ่านกันได้เลยครับ...

หากเราจะพูดเรื่องน้ำหนักของจักรยาน กันแล้วหลายคนคงนึกถึงจักรยานที่มีราคาแพง ๆ รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบประกันขึ้นมาเป็นจักรยาน 1 คัน วันนี้ผมจึงมาเล่าถึงประสบการณ์เล็กน้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวครับ



หลายครั้งที่เราออกไปปั่นจักรยาน กับกลุ่มเพื่อนๆ แล้ววันไหนหากเพื่อนในกลุ่มเรา คนใดคนหนึ่ง ซื้อจักรยานมาใหม่หลายคนคงสงสัยว่า จักรยานของเขาจะหนักสัก กี่กิโลกลัม แล้วเขาซื้อมาด้วยราคาเท่าไหล่ (นึกในใจ!! มันชั่งสวยงามอะไรเช่นนี้) หากเราไม่ใช่คนมีฐานะ ร่ำรวย เราคงคงต้องนึกอยู่แล้วครับว่า (หากเราได้จักรยานแบบเขามาขี่สักคัน เราคง ปั่นได้เร็วและแรง น่าดู!!) บางคนไปหาซื้อของมาตกแต่งจักรยานของตน หาอะไรต่อมิอะไร มาเปลี่ยน ทั้งที่ของเดิมที่ใช้อยู่ก็ยังสภาพ เกิน 80% หรือแทบจะไม่มีอะไรสึกหลอเลย แต่ก็อย่างว่าละครับ มันอยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละคน หากท่านไหนพอจะมีฐานะ หน่อยก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ เขาก็ใช้เงินสมกับฐานะทางสังคมของเขา แต่ก็มีอีกหลายคน เช่นกันครับ ที่ตามๆ เขาไปทั้งที่กำลังทางการเงินของตัวเอง ก็เดือนชนเดือน อยู่แล้ว ต่างคนก็ต่างจิต ต่างใจครับ

ผมมีเรื่องเรานิดหน่อยครับ ตอนที่ผมจะประกอบรถของผม คือคันที่ผมใช้ขี่อยู่ทุกวันนี้ สักหน่อยครับ ตอนแรกผมก็หาข้อมูลจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ต อยู่นานพอสมควรครับ โดยผมจะค่อยๆ ซื้อมาประกอบทีละชิ้นเลยละครับ คือตอนนั้นผมไม่มีเงินก้อน ที่จะซื้อมาประกอบที่เดียวทั้งคัน ผมเลยซื้อมาเดือนละชิ้น สองชิ้น ก็ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนกว่าๆ ครับ กว่าผมจะได้ขี่จักรยานคันนี้ หมดเงินไปประมาณ สี่หมื่นกว่าบาท แต่อะไหล่ทุกชิ้นที่ผมซื้อมา ล้วนแต่คุณภาพสมราคาครับ แถมไปซื้อของเขาบ่อยๆ เขาก็ลดราคาให้แบบผมไม่ต้องต่อลองราคาเลยครับ

เบาะจักรยานเบาๆ

ส่วนเรื่องน้ำหนักของอะไหล่แต่ละชิ้น ยิ่งเบาราคาก็ยิ่งสูงครับ โดยส่วนตัวผมจะเลือก อะไหล่จักรยาน ที่มีราคากลางๆ ไม่สูงเกินไป ผมขอยกตัวอย่างตอนที่ผมจะหาซื้อเบาะจักรยาน คันที่ผมใช้อยู่นะครับ ยี่ห้อ A ราคา 6,000 บาท น้ำหนัก 200 กรัม ยี่ห้อ B ราคา 1,200 บาท น้ำหนัก 250 กรัม เป็นคุณจะเลือกยี่ห้อไหนครับ แต่ตัวผมเลือก ยี่ห้อ B ครับ เพราะว่าผมคิดว่า น้ำหนักต่างกันแค่ 50 กรัม ราคามันไม่น่าจะต่างกันราวฟ้ากับเหว เช่นนี้ ส่วนเรื่องยี่ห้อ ไม่ได้กินผมหลอกครับ เพราะผมไม่สนเลยครับ ผมสนแต่คุณภาพเท่านั้น หลายอย่างของดีไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป ครับ ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของดีไม่แพงแล้วกันนะครับ นั่นคือกางเกงสำหรับปั่นจักรยาน ครับ ผมเคยใช้ของนอกยี่ห้อหนึ่ง ผมไม่บอกยี่ห้อแล้วกันครับเดี๋ยวเขาจะได้รับความเสียหาย ผมใช้ไม่กี่เดือนก็ยานแล้วครับ ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงภาพถุงเท้านักเรียน ที่มันหมดสภาพเอาครับ เหมือนกันไม่มีผิดเลยครับ ผมเลยกลับไปใช้ของประเทศเราผลิตเองยี่ห้อ "กุ้งทอง" หลายคนอาจจะงง ครับว่า กางเกงปั่นจักรยาน ยี่ห้อดังกล่าว มันมีอยู่ในโลกนี้ด้วยหรอ ผมขอตอบแบบไม่เขินเลยครับ ว่ามีครับ และหลายคนอาจจะสงสัยอีกว่าแล้ว จะหาซื้อได้ที่ไหนกันหละ!! ไม่ต้องกลัวครับผมบอกเลยแล้วกัน ผมไปซื้อที่ร้าน "โกเหลียง" ครับซึ่งร้านของพี่เขาอยู่แถวลาดพร้าว 101 ครับ ผมใส่ทั้งชุดครับ ยี่ห้อนี้หมด มันถูกใจผมตรงที่ กางเกง 300 บาท เสื้อ 120 บาท (ราคานี้ สมัย 2 - 3 ปีที่แล้วครับ) ความทนไม่ต้องพูดถึงครับใช้กันจมลืมเลยละครับว่าซื้อมาตอนไหน

ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับน้ำหนักของจักรยานนั้น ก็ไม่ใช้เรื่องใหญ่อะไรมากมายครับ เราแค่เลือกน้ำหนักแล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคา และคุณภาพครับ ว่ามันเหมาะสมกันหรือเปล่า สุดท้ายแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความพึงพอใจ แล้วก็เงินครับ สุดท้ายครับ จักรยานจะเทพขนาดไหน แต่เจ้าของขี้เกียจฝึกซ้อมเสียแล้ว ดังนั้นน้ำหนักรถเบาๆ จะมีประโยชน์เช่นไรครับ 



ที่มาบทความ thbike.blogspot.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง