ss

4 ส.ค. 2553

ขี่ให้สนุกและดูดี


ขี่ให้สนุกและดูดี

การขี่จักรยานของพวกเราเป็นเรื่องง่าย จึงไม่แปลกที่จะเห็นใคร ๆ ขี่จักรยานกันทั้งบ้านทั้งเมือง แม้แต่เด็กฟ้าขวบก็ยังขี่ แต่ถ้าจะขี่กันให้ดูดี ขี่แบบจริงจังและสนุกสุด ๆ มันก็มีอะไรให้ทำกันมากกว่าแค่พาตัวเองขึ้นไปนั่งบนอาน เพราะมีรายละเอียดเล็กน้อยอีกมากที่คุณต้องใส่ใจตั้งแต่การเลือกเสื้อผ้าและการวางท่าทาง ตลอดไปจนถึงความดันของลมยาง อันจะช่วยให้ปั่นกันได้นุ่มนวลกว่า ปลอดภัยกว่า สะดวกสยายกว่า และที่แน่ ๆ ก็คือดูดีกว่า
แต่ปัญหาก็คือพวกมือใหม่หรือมือเก่าบางคนที่ไม่ค่อยได้เอ่ยปากถามใคร มักจะไม่ค่อยทราบว่าต้องเลือกใช้อุปกรณ์หรือเสื้อผ้าแบบไหน กว่าจะทำอะไรให้ถูกและดูดีได้ก็ต้องเรียนรู้กันเอาเองจากความผิดพลาด ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การแต่งตัวที่เห่ยจนคนเห็นอยากจะหัวเราะให้ฟันหัก ไปจนถึงผิดพลาดร้ายแรงขนาดหัวร้างข้างแตก
1. เสื้อ ถุงเท้า และกางเกง(ที่ปราศจากกางเกงใน) นี่คือปัญหาที่พบบ่อย ๆ ในเว็บจักรยานทั้งหลาย เมื่อมีผู้โพสต์กระทู้เข้ามาถามเพื่อน ๆ ผู้นิยมกิจกรรมอย่างเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีปัญหากับกางเกงจักรยานรัดรูปตัดจากผ้ายึดผสมใยไลครา เมื่อตัดสินใจไม่ถูกว่าจะสวมกางเกงในด้วยดีหรือไม่เมื่อนุ่งกางเกงประเภทนี้
สำหรับกางเกงขี่จักรยานดี ๆ และราคาค่อนข้างสูงจากต่างประเทศ บางแบรนด์จะมีข้อความกำกับเอาไว้ที่ป้ายติดกางเกงเลยว่า “Do not wear with underpants” ซึ่งแปลว่า “ไม่สวมใส่กับกางเกงชั้นใน” ป้ายนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเซ็กซี่หรือเหตุผลอื่น แต่เหตุผลที่แท้จริงของการห้ามนุ่งกางเกงในซ้อนในกางเกงจักรยาน ก็คือมันจะเป็นตัวเก็บความชื้นเวลาเหงื่อออก เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจนอาจก่อให้เกิดเชื้อราในร่มผ้าจนพัฒนาตัวเองเป็นสังคัง นั่นเรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือเนื้อผ้าจะเสียดสีระหว่างขากับอานเมื่อเคลื่อนไหวจนเจ็บแสบระบบ บางครั้งถึงกับพองเป็นตุ่นน้ำใส ๆ คนคุณจะขยาดกับการขี่ไปอีกนาน
พวกเราซึ่งนิยมสวมกางเกงในในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว อาจจะรู้สึกวาบหวิวในช่วงแรก ๆ ของการสวมใส่เพราะไม่เคย แต่ก็ต้องทำใจ เมื่อผ่านไปแล้วครั้งสองครั้ง คุณก็จะชินและสบายตัวไปเอง และเพื่อให้สบายตัวตั้งแต่ระดับเอวขึ้นไปเสื้อที่สวมก็ไม่ควรจะเป็นผ้าคอตตอน เพราะมัจจะซึมซับเหงื่อและระบายออกยาก ที่ดีที่สุด ควรใช้เสื้อตัดจากผ้าสำหรับขี่จักรยานโดยเฉพาะ มีสองชั้นติดกัน ชั้นในซึมซับเหงือไว้และชั้นนอกเป็รูพรุนเพื่อระบายความชื้น ต้องมีกระเป๋าข้างหลังเพื่อเอาไว้ใส่ของกระจุกกระจิกอย่าง เช่นกระเป๋าเงิน เครื่องมือปะยาง และอาหารเพิ่มพลังงานอย่างเพาเวอร์บาร์ หรือกล้วยน้ำว้า
ส่วนในระดับต่ำกว่าหน้าแข็งลงมาเพื่อความสะดวกสบายก็ควรเลือกใช้ถุงเท้าให้เหมาะ (เรื่องรองเท้านั้นถึงอย่างไรก็ต้องเป็นรองเท้าสำหรับจักรยานอยู่แล้ว) ถุงเท้าหนา ๆ อย่างของพวกนักวิ่งจะทำให้รองเท้าบีบรัดเท้าจนขยับยากและเมื่อยเร็วกว่า ถุงเท้าที่ดีจึงต้องเป็นถุงเท้าสำหรับขี่จักรยานโดยเฉพา มันจะบางแต่ก็มีช่องว่างให้ขยับเท้าในรองเท้าได้บาง และดูดีกว่าเมื่อหุ้มขึ้นมาแค่เลยข้อเท้าเล็กน้อย


เรามีคำแนะนำเล็ก ๆ น้อยๆ มาฝาก ในกรณีที่คุณเป็นนักปั่นมือใหม่ไม่สันทัดต่อรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรใส่ใจ ทั้ง 6 ข้อแนะนำข้างล่างนี่แหละที่จะช่วยให้มือใหม่อย่างคุณขี่จักรยานได้สบายขึ้น ดีขึ้น และดูดีขึ้นด้วยในสายตาของผู้ที่พบเห็น


2. ความสูงของอานต้องถูกต้อง ถ้าคุณนึกถึงอานจักรยานแม่บ้านใช้จ่ายกับข้าว ก็เป็นเรื่องปกติที่อานวกนั้นจะอยู่ต่ำจนเมื่อนั่งคร่อมแล้วสามารถเหยียดเท้าถึงพื้นถนนได้ แต่ถ้าจะขี่กับแบบซีเรียส ขี่กันไกล ๆ สักหน่อย ความสูงของอานที่ถูกต้องจะต้องสูงมากจนคุณยันเท้าไม่ถึง พากจะจอดนิ่ง ๆ ตอนติดไฟแดงหรือพัก ก็ต้องเลื่อนก้นลงจากอานเสียก่อน เพราะด้วยความสูงขนาดนั้นจะช่วยให้เท้าเหยียดมาเหยียบลูกบันไดได้อย่างสบายถูกหลัก โดยขาจะงอเล็กน้อยเมื่อเหยียบลูกบันได ด้วยอานที่ต่ำ ขาของคุณจะงอและเมื่อยล้าอย่างรวดเร็วเมื่อขี่ไประยะหนึ่งหัวเข่านี่แหละที่จะเจอปัญหาก่อน แล้วก็จะตามมาด้วยน่องเป็นตะคริว


3. รัดหมวกกันน็อกให้กระชับ หมวกกันน็อกรุ่นใหม่ ๆ มักจะสร้างระบบล็อกหมวกกับท้ายทอยเอาไว้ดีพอสมควร ขนาดเมื่อล็อกแล้วมัจะกระชับกับศีรษะได้โดยแทบจะไม่ต้องใช้สายรัดคาง มือใหม่บางคนอาจไม่เข้าใจจนปล่อยให้สายรัดคางหย่อนจนห้อยอยู่ใต้คาง ตอนสวมหมวกอยู่นิ่ง ๆ ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อขี่ไปสักพักมันจะสั่นคลอนจนเลื่อนไหลไปทางซ้ายทีขวาทีได้ วิธีสวมหมวกกันน็อกให้ถูกก็คือการสวมแล้วปรับสายรัดท้ายทอนให้แน่นพอประมาณในเบื้องแรกแล้วปรับสายรัดคางให้แนบกับใต้คางพอประมาณก่อนจะลองขยับหมวกดู ถ้ามันเคลื่อนที่ได้มากกว่าหนึ่งนิ้วก็ต้องปรับสายรัดให้แน่นขึ้นอีก หมวกจะกระชับพอดีแต่ไม่อึดอัด หมวกหลวม ๆ จะเป็นอันตรายได้ในกรณีที่ล้มแล้วมันหลุดกระเด็นออกจากหัวทางด้านหน้า ไม่ต้องบอกก็คงทราบดีว่ามันอันตราขนาดไหน หรือถ้าไม่ล้มแต่มันเลื่อนไปอยู่ที่ท้ายทอยก็คงดูไม่ดีเลย ไม่ค่อยโปรฯน่ะขอบอก

4. ขี่ด้วยท่าทางเป็นธรรมชาติ ยอมให้ลำตัวได้เคลื่อนไหวบ้าง ถ้าคุณขี่จักรยานด้วยส่วนบนของร่างกายไม่ขยับเขยื้อนเลย นั่นคือกาการเกร็งของมือใหม่ แต่พวกมือเก่ามากประสบการณ์จะบอกว่านั่นไม่ถูกเพราะการเกร็งทั้งตัวกลัวจักรยานล้มจะทำให้เมื่อย วิธีที่ถูกคืองอข้อศอกเล็กน้อย โยกตัวได้บ้างเมื่อต้องการแรงส่ง (แต่ไม่ใช่โยกไปทางซ้ายและขวาเมื่ออกแรงกดลูกบันได จะทำให้เสียพลังงานไปโดยไม่จำเป็น) จุดมุ่งหมายก็คือควรขี่อย่างเป็นธรรมชาติ ถ้วยท่าทางที่ผ่อนคลานผลลัพธ์ก็คือคุณจะปั่นได้นานเมื่อ มือ แขน และหัวไหล่ไม่ปวดเมื่อย

5. อย่าให้ล้อหลังล็อกเมื่อเบรก ความเชื่อผิด ๆ ประการหนึ่งของมือใหม่ คือคิดว่าล้อหลังให้อำนาจการหยุดได้ชะงัด เวลาเบรกจึงเน้นกดแต่ที่ล้อหลังให้หยุดแต่กลับไม่ค่อยให้ความสนใจกับล้อหน้า ทั้งที่ล้อหลังทำได้แค่ชะลอรถ แต่อำนาจการหยุดยั้งจริง ๆ อยู่ที่ล้อหน้ามากกว่า วิธีการที่ถูกต้องก็คือเมื่อคุณปั่นจักรยานมาด้วยความเร็วสูงพอสมควร ควรกดเบรกล้อหลังด้วยน้ำหนักพอประมาณแต่ก็ให้แรงกับมือเบรกล้อหน้าด้วย เมื่อรถชะลอตัวลงนั่นแหละจึงเพิ่มแรงที่เบรกหน้าเข้าไปอีกพร้อม ๆกับพยายามถ่ายน้ำหนักตัวเองไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้คะมำไปข้างหน้าหรือตัวลอยข้ามแฮนด์ ถ้าเบรกหลังเพียงอย่างเดียวท้ายรถจะปัดและล้มได้ ลำพังตัวเองก็เจ็บจะแย่อยู่แล้ว ถ้ามีเพื่อนตามหลังมาคุณอาจจะพาเขาเจ็บตัวไปด้วย ยิ่งถ้ามีรถสี่ล้อหรือที่มีล้อมากกว่านั้นตามหลังมาแล้วเบรกไม่ทัน ภาพที่ปรากฏต่อสายตายของคนอื่นคงชวนให้ขนหัวลุกเกรียวเป็นแน่

6. ตามเพื่อนไม่ทันเป็นเรื่องปกติ เมื่อคุณเป็นมือใหม่แต่อยากไปปั่นรวมกลุ่มกับเพื่อน เพราะมือยังใหม่เลยปั่นไม่ทัน ในที่สุดก็เลยอยู่ท้ายขบวนและหลุดกลุ่มพอเร่งฝีเท้าปั่นตามจนทันแล้วก็ยังมาหลุดอีกตอนที่จะขึ้นเนิน มิหนำซ้ำตอนที่เข้าซิงเกิลแทรคก็ชนก้อนหินล้มเป็นแผลเต็มตัว คุณหงุดหงิดจนอยากจะเลิกปั่นมันรู้แล้วรู้รอด
ถ้าใครเป็นอย่างนี้เราขอบอกว่านี่คือเรื่องธรรมดา ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิดในเมื่อจักรยานเป็นของนอกกายเราจึงต้องฝึกฝนสร้างเสริมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ แม้จะท้อถอยในตอนแรก ๆ แต่ก็ต้องทำใจและขี่มันให้มากเข้าไว้ การทำอะไรซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะช่วยให้คุณเก่งขึ้นเองประกอบกับการรู้จักค้นคว้าหาความรู้ที่จะช่วยให้รู้จักวิธีการที่ถูกต้องได้มากขึ้นการขี่เป็นกล่าทั้งเสือหมอบและเสือภูเขาไม่ใช่การแข่งขัน ทุกคนต่างก็เป็นเพื่อนฝูงกันทั้งนั้น ควรเน้นความสนุกสนานเอาไว้จะเป็นประโยชน์กับตัวเองและหมู่คณะมากกว่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง