ss

2 ธ.ค. 2553

เทคนิคการลงเขา สำหรับเสือหมอบ

เทคนิคการลงเขา สำหรับเสือหมอบ
ในตอนที่แล้วเราเคยแนะนำชี้ทางสู่การเป็นยอดนักไต่เขา ซึ่งถึงแม้ว่า คุณจะสอบผ่านและทำได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่นั่น อาจจะเป็นแค่บททดสอบแรกหากเปรียบการปั่นจักรยานได้เหมือนการเรียนหนังสือ เทคนิคการขึ้นเขาจะเปรียบได้ดั่งการสอบกลางภาค แล้วการสอบปลายภาคล่ะจะเปรียบได้กับอะไร
                ก็ต้องเปรียบได้กับการลงเขานั่นเอง เมื่อมีขึ้นก็ต้องมีลง ถามว่า หากคุณคือผู้ที่ว่องไว้ดุจกระต่ายที่กระโดดโลดเต้นเมื่ออยู่บนขุนเขา แต่กลับกลายเป็นเต่าน้อยที่เชื่องช้าเมื่อกำลังลงเขาความสมบูรณ์และความสมดุลคงไม่เกิดขึ้นกับการปั่นจักรยานของคุณแน่
                แต่ต่อไปนี้จะหยิบยกเทคนิคที่สำคัญ ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของท่าน เข้าได้ได้ง่ายไม่ซับซ้อน เทคนิคนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ด้านดังนี้ [เทคนิคการลงเขา]
                1. การพัฒนาด้านบุคคล
                2. จักรยานและอุปกรณ์
การพัฒนาด้านบุคคล
                ผู้ปั่นที่เริ่มฝึกการลงเขาความมุ่งมั่นย่อมมีสูงและคิดอยู่อย่างเดียวว่าทำยังไงถึงจะลงเขาได้เร็ว บางครั้งอาจขาดสติ
                ขอยกตัวอย่างในการแข่งขัน Tour De France ปี 2003 Stage 9 สเตจนี้มีทีเด็ดในเรื่องการลงเขาโดยเฉพาะ  Joseba Beloki นักแข่งทีม Once ระหว่างที่ลงเขาช่วงสุดท้ายโดยมี Lance Armstrong แชมป์ 4 สมัยซ้อนในสมัยนั้นลงตามมาติด ๆ ในใจของทั้งคู่คิดอยู่อย่างเดียวว่าวันนี้เขาต้องเป็นผู้ชนะ Joseba Beloki ไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง ถัดไปข้างหน้า Alexandre Vinokourov ที่ค่อย ๆ นำห่างทั้งคู่ออกไปทีละนิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดผันก็เกิดขึ้นเมื่อ Joseba Beloki บีบเบรกอย่างแรง ขณะที่ความเร็วในช่วงนั้นไม่ต่ำกว่า  70 ก..ม./ชั่วโมง แน่นอนว่าการเบรกในลักษณะนี้ทำให้ล้อหลังสไลด์เสียการทรงตัว ร่างของ Beloki กระแทกลงกับพื้นอย่างจัง Lance Armstrong ที่ตามมาติด ๆ แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม เขาเบี่ยงรถหลบการพุ่งชน Joseba Beloki และสวมวิญญาณเสือภูเขาเก่าทะยานลงทุ่งหญ้าที่คาดเดาไม่ได้เลยว่าจะมีหลุมหรือก้อนหินซุกซ่อนในยอดหญ้าหรือไม่ด้วยทักษะที่มีติดตัว บวกกับการคิดเร็วทำเร็ว Lance Armstrong ผ่านสถานการณ์คับขันนี้มาได้อย่างหวุดหวิด ต่างจาก Joseba Beloki ที่นอนเจ็บโอดครวญเนื่องจากไหปราร้าของเขาหัก
                สาเหตุที่ทำให้ Joseba Beloki  พลาดท่าเป็นเพราะใช้ความเร็วสูงเกินไป เมื่อรู้ว่าไม่น่าจะเข้าโค้งด้วยความเร็วที่มาได้ จึงตัดสินใจบีบเบรกอย่างแรงล้อล็อคท้ายสะบัดหมดโอกาสแก้ตัว
ความเร็วความสำคัญที่ไม่อาจละเลย [เทคนิคการลงเขา]
                ความเร็วที่ตัวแปรเป็นระดับความสามารถของผู้ปั่นโดยเส้นทางเป็นโจทย์ โจทย์ที่ยากก็คือทางลงที่ชันผสมกับโค้งที่สลับไปมา การฝึกฝนให้เริ่มจากการทำความคุ้นเคยระหว่างคนกับรถให้มากที่สุด ฝึกเลี้ยวเป็นวงกลม เมื่อชำนาญก็ลองเลี้ยวเป็นเลข 8 ในขณะที่ฝึกเลี้ยวให้ฝึกใช้เบรกหน้า/หลัง พร้อมกับฝึกถ่ายเทน้ำหนักตัวไปด้านหลัง เทคนิคนี้ทำให้ผู้ปั่นสร้างสมดุลให้กับตัวเองเมื่อเจอกับสถานการณ์จริง    หลายคนคาดฝันไว้ว่าการลงเขาคงไม่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาการฝึกที่ยาวนานเหมือนการขึ้นเขาแต่ต้องไม่ลืมนะว่าการลงเขาถ้าไม่ถูกต้องหรือไม่ประมาณตัวเอง อาจจะทำให้ชีวิตการปั่นจบลง
การฝึกภาคสนามจริง
                หาภูเขาที่ไม่ชันมากนัก เป็นสถานที่ฝึกซ้อมช่วงดันขึ้นเขาไม่จำเป็นต้องออกแรงเต็มกำลัง อย่าให้แขนขาอ่อนล้าโดยเด็ดขาด ก่อนลงให้เปลี่ยนใบจานหน้าเป็นใบใหญ่เสมอ จับบาร์ล่างเพื่อง่ายต่อการเบรกในมุดลาดชัน ปล่อยรถค่อย ๆ ไหล (ไม่ต้องปั่น) ขาทั้ง 2 ข้าง ทำมุในตำแหน่ง 9 และ 15 นาที
วิธีการใช้เบรค
                ให้คิดเสมอว่าหากวามเร็วรถสูงเกินไปวิธีที่จะชลอดวามรเร็วที่สุด ให้เริ่มจากการบีบเบรกหลังช้า ๆ แล้วตาด้วยเบรกหน้าในลักษณะเหนี่ยวรั้ง เบรคหลังให้กำลังเบรกประมาณ 60 % ส่วนเบรกหน้าให้ใช้แค่ประมาณ 40 % ไม่ควรแช่เบรกใดเบรกหนึ่งไว้นาน ให้ปล่อยเบรกทีละน้อย ๆ สอดคล้องกับมุดชัน-ความเร็วและโค้งที่ต้องเจออยู่ด้านหน้า
(เทคนิคเพิ่มเติม) [เทคนิคการลงเขา]
                มีวิธีที่เพื่อน ๆ นักปั่นที่เริ่มเกิดความคล่องตัวหรือพูดได้ว่ามีความมั่นใจในการลงเขาได้ระดับหนึ่งเป็นการควบคุมรถโดยมีร่างการเป็นส่วนช่วย
การควบคุมรถในขณะเข้าโค้งด้วยท่อนขา
                อวัยวะในร่างกายบริเวณท่อนขามีส่วนช่วยประคองให้รถนิ่ง และเลี้ยวได้ดีในขณะอยู่ในโค้งด้วยการใช้ขาหนีบหรือประกบตัวถังรถไว้
วิธีทำ
-          โค้งซ้าย ท่อนขาขวาหนีบตัวถังรถ ขาซ้ายอยู่ด้านบน ขาขวาอยู่ล่าง 11 นาฬิการ 25 นาที
-          โค้งขวา ท่อนขาซ้ายหนีบตัวถังรถ ขาขวาอยู่ด้านบน ขาซ้ายอยู่ด้านล่าง 13 นาฬิกา 35 นาที
จักรยานและอุปกรณ์
                สำหรับรถที่เหมาะกับภาวะลงเขาควรเลือกรถที่ Size เล็กว่าตัวผู้ปั่นเล็กน้อย เพื่อความคล่องตัว เลือกผ้าเบรค ที่คู่ควรกับขอบล้อ แฮนด์ ก็มีส่วนช่วยให้การลงเขาเป็นเรื่องง่ายขึ้น เลือกแฮนด์ที่มีความกว้างเท่ากับหัวไหล่หรือกว้างกว่าเล็กน้อย ระยะ Drop (ช่วงก้ม) ไม่เกิน 130 มม. ระยะ Reach (ช่วงเอื้อม) ไม่เกิน 135 มม.
ยาง
                สำคัญไม่แพ้เรื่องใด ๆ เพราะถ้าหากคุณละเลยเรื่องนี้แล้ว อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวแนะนำให้ใช้ยางที่มีสภาพดอกดี ไม่เก่าเก็บ เนื้อยางต้องนุ่มไม่แข็งกระด้าง
                เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยคุณได้ในระดับหนึ่งแต่หากขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ปั่นเองต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาพละกำลังทุก ๆ ด้านเพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อเทคนิคขึ้นและลงเขา หมั่นตรวจสอบและให้ความสำคัญของอุปกรณ์ในรถของคุณ รวมถึงจักรยานคันโปรด โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็น Carbon ว่ายังสามารถใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะไปออกรอบเพื่อความปลอดภัย สวมหมวก ถุงมือ และพกอุปกรณ์สื่อสารติดตัวไว้ทุกครั้ง หากมีเหตุฉุกเฉินมันสามารถช่วยเราได้..
[เทคนิคการลงเขา]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง