ss

30 เม.ย. 2554

BMX Racing, My first Pro Am! Rad Canyon 2011

|0 ความคิดเห็น
Info PR: n/a I: 29,400,000 L: wait... Cached: wait... I: 9,526,645 L: wait... LD: 214,856,973 I: 793,000 Rank: 5 Age: ตุลาคม 12, 2542IP: 72.14.203.191 whoissourceRobo: yesSitemap: no Rank: 1841 Price: 749670 C: 237 Density

BMX Racing, My first Pro Am! Rad Canyon 2011

 

Diamondback BMX 2011


ประแจ Torgue

|0 ความคิดเห็น
ประแจ Torgue

คุณเคยสังเกตไหมว่าเมื่อเราหยิบสเต็มขึ้นมาจะมีตัวเลขมากมาย เลขในนั้นทุกตัวเลขล้วนมีความหมายอยู่ในนั้น เช่นบอกความยาว องศา  มุมยก และแรงที่ขันเกลียวแต่จะรู้ได้ยังไงว่าได้ขันด้วยความแรงเท่าไหร่แล้ว เราจะไปรู้จักกับประแจ Torgue หรือประแจวัดแรงบิด ที่เราเรียกกันว่าประแจปอนด์ เป็นด้ามประแจกระบอกที่ออกแบบมาเพื่อวัดแรงบิดในการขันสลักเกลียว แป้นเกลียวและสกรูหัวเหลี่ยมชนิดต่าง ๆ ประแจวัดแรงบิดจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นติดตั้งอย่างถาวรที่สุดด้วยแรงบิดที่เรากำหนดไว้ในขณะที่สลักเกลียวหรือแป้นเกลียวก็รับแรงกด-แรงดึงได้เต็มที่ โดยไม่เป็นอันตราต่อตัวเกลียวเองอย่างเช่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจักรยาน หากขันสลักแรงมากเกินไปก็จะทำให้เกรียวเกิดความเสียหายได้ ยิ่งในชิ้นส่วนที่เป็นคาร์บอนที่จะมีความแข็งเป็นพิเศษไม่สามารถทนแรงกดที่เยอะ ๆ ได้อาจจะทำให้ชิ้นส่วนนั้นเสียหายได้ แต่หากว่าขันสลักตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดให้มา ชิ้นส่วนก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่

ขนาดและรูปร่างของประแจ วัดแรงบิดมีหลายแบบ บางแบบจะใช้เข็มชี้หรือเข็มบนหน้าปัดแสดงค่าของแรงบิดโดยตรง แต่บางแบบจะต้องตั้งแรงบิดตามที่ต้องการก่อนเมื่อออกแรกการะทำต่อเกลียวถึงขีดที่กำหนด จะมีสัญญาณเสียงหรืออื่น ๆ แสดงออกมาว่าถึงขีดที่ต้องการแล้ว หัวขับประแจกระบอกของประแจวัดแรงบิดจะเป็นหัวขับชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัส สำหรับติดกับตัวประแจกระบอกทั่วไป เนื่องจากประแจปอนด์เป็นเครื่องมือที่ต้องวัดแรงบิดที่กระทำต่อเกลียว ดังนั้นเกลียวของสลักเกลียวและแป้นเกลียวจะต้องสะอาด และไม่มีสิงแทรกซ้อนอื่นที่จะทำให้การวัดแรงบิดผิดปกติ เช่น การสั่นไหว เกลียวเป็นสนิม เกลียวตาย เกลียวเยิน ซึ่งเป็นผลให้ต้องใช้แรงเกินกว่าที่กำหนดซึ่งอาจทำให้เกลียวชำรุดได้

 ปัจจุบันความก้าวหน้าในวิชาโลหะวิทยาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การพัฒนาการผลิตสลักเกลียวและแป้นเกลียวอย่างมากมาย ดังนั้นการทำงานในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องใช้ประแจวัดแรงบิดมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแรงที่ใช้ในการขันเกลียว บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือ/เครื่องกล จะเป็นผู้กำหนดมาว่า เกลียวตัวใดหรือขนาดใดต้องใช้แรงบิดในการขันเท่าใด เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานจะต้องสังเกตว่า สลักเกลียวขนาดใดควรจะใช้แรงบิดต่ำที่สุดเท่าใด และแรงบิดสูงสุดเท่าใด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเกลียวตัวอื่น ๆ ให้เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาตารางกำหนดแรงขันเกลียว ซึ่งบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลได้กำหนดไว้เสมอ ๆ เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ประแจวัดแรงบิดนี้ประกอบการทำงานให้ได้ผลสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง:


> อุปกรณ์ถอดเฟืองหลัง
ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอล (Hexagon Wrench)
> สูบช็อค (SHOCK PUMP)

28 เม.ย. 2554

2011 Track Cycling World Cup - Mens Keirin Final

|0 ความคิดเห็น
2011 Track Cycling World Cup - Mens Keirin Final


Bauge vs Kenny sprint world championships 2011 final



เทคนิคการขี่จักรยาน BMX 2

|0 ความคิดเห็น

เทคนิคการขี่จักรยาน BMX 2

สำหรับเทคนิคการขี่จักรยาน BMX ในตอนที่แล้ว เราได้เสนอไป 4 หัวข้อได้แก่ 1. การออกตัวจากจุดสตาร์ท 2. การขับขี่ในทางโค้ง 3. การขี่บนเนินลูกระนาด 4. การกระโดดเนินระยะไกล มาในตอนนี้เรามาต่อกันให้จบในหัวข้อที่เหลือกันครับ
5. การฝึกกระโดดเนิน

ในการฝึกฝนนั้นผู้ขับขี่ต้องผ่านการฝึกบันนี่ฮ็อปหรือการหิ้วรถทั้งสองล้อจนเกิดความเชี่ยวชาญพอสมควรก่อนนะครับ จากนั้นก็จะมาถึงบทฝึกต่อไปได้

     - การสร้างเนินสำหรับฝึกกระโดด เนินอันนี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ สำหรับผู้เริ่มต้น หรือมือสมัครเล่นทั่ว ๆ ไป เราจะสร้างเนินที่มีความปลอดภัยก่อนนะครับ เนินที่ว่าจะมีลักษณะเป็นกองดิน รูปสี่เหลี่ยมด้านบนจะเรียบเสมอกันความยาวก็ไม่ต้องมากซักประมาณ 1-3 เมตร ความสูงก็พอสมควร ไม่มีหลุมลึก ด้านหน้าเนินมีความลาดชันพอสมควร ส่วนด้านหลังเนินทางลงควรจะมีความชันน้อยและมีทางลาดยาวเพื่อรองรับการร่อนลงของจักรยาน ฝรั่งเขาเรียกเนินแบบนี้ว่า เทเบิ้ลท็อป เมื่อได้เนินเรียบร้อยแล้วต่อไปก็จะเป็นการฝึกกระโดด

     -  การกระโดดจะเริ่มจากเมื่อล้อหน้ารถจักรยานวิ่งขึ้นด้านหน้าเนินจนล้อเกือบจะพันหน้าเนินก็ใช้จังหวะนี้ใช้เทคนิคบันนี่ฮ็อปช่วยหิ้วรถขึ้นโดยต้องให้ล้อหน้าอยู่สูงกว่าล้อหลังเล็กน้อย เราจะเริ่มกระโดดที่ความเร็วน้อย ๆ ก่อน โดยค่อย ๆ เพิ่มความเร็วให้ได้ระยะทางเพิ่มขึ้นไปอีกทีละนิด ๆ ไม่ต้องรีบร้อน โดยจำไว้ว่าล้อหน้าต้องเปิดสูงกว่าล้อหลังเพื่อป้องกันตอนที่เราร่อนลงหากล้อหน้าอยู่ต่ำกว่าอาจจะเกิดการกระแทกและทำให้ล้อหน้าเสียหลักจนล้มลงได้ และที่สำคัญเมื่อตอนรถเราจะตกลงสู่พื้นเราจะต้องช่วยลดการกระแทกด้วยการย่อแขนและขาของเราด้วย เมื่อเราทำการฝึกกระโดดเนินแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดความชำนาญเราก็จะสามารถกระโดดข้ามไปถึงยังด้านหลังเนินได้ในที่สุด

     - เมื่อเราได้ฝึกฝนการกระโดดเนินแบบง่าย ๆ ไปแล้วต่อไปการกระโดดที่เป็นเนินแยกจากกัน คือมีเนินส่งและเนินรับอยู่ห่างกัน ไม่ว่าจะเป็น 2 ลูก 3 ลูก ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าตัวเนินนั้นมันจะหลอกตาทำให้เราเกิดความกลัวเนื่องจากระหว่างเนินจะไม่เรียบแต่เป็นหลุมลึกแทน ดังนั้นผู้ที่จะกระโดดเนินแบบนี้ได้ต้องอาศัยประสบการณ์และผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ถึงอย่างไรก็ตามวิธีที่ปลอดภัยสำหรับการเริ่มต้นกับเนินประเภทนี้โดยเราจะต้องสร้างเนินที่มีความห่างกันไม่มากเพื่อฝึกให้สายตาเคยชินกับเนินแบบนี้ เมื่อฝึกได้ดีแล้วก็ค่อย ๆ สร้างเนินที่มีระยะห่างจากกันมากขึ้นทีละนิด หัวใจสำคัญก็คือความเร็งของรถจะต้องเพียงพอที่จะกระโดดข้ามด้วย วิธีการกระโดดก็คือ ให้กระโดดจนพ้นเนินลูกรับไปไกล ๆ ก่อนแล้วค่อยมากะระยะให้ใกล้เข้ามานิด จนสามารถร่อนลงที่เนินลูกรับได้พอดี ซึ่งนักขี่ที่มีประสบการณ์สูง  ๆ แค่มองเห็นระยะห่างของเนินก็สามารถจะรู้ได้ว่าควรจะใช้ความเร็วขนาดไหนดังนั้นการฝึกฝนทักษะนี้จึงต้องกระทำอยู่เสมอ ๆ โดยอาจะเริ่มจากการกระโดดแบบเปิดหน้าคือให้ล้อหน้าสูงกว่าล้อหลัง และที่สำคัญมาก ๆ คือใช้การย่อขากับแขนลงเพื่อช่วยรับแรงกระแทกในกรณีที่อาจจะโดดไม่ข้ามลูกรับหรือโดดข้ามเลยไปไกลกว่าลูกรับ และจำไว้ว่าล้อหน้าต้องสูงกว่าหลังอยู่เสมอ และตอนรถร่อนลงล้อหน้าจะต้องพ้นไปด้านหลังของเนินรับด้วยเพื่อห้องกันล้อหน้าไปกระแทกด้านหน้าของเนินรับ ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียหลักล้มลงได้
เทคนิคการปั่นจักรยาน 


6. การทำ Manual

คือการดึงหน้ารถให้ล้อหน้าลอยขึ้นเพื่อให้รถวิ่งผ่านลูกระนาดหรือเนินระยะใกล้โดยใช้แค่ล้อหลังเท่านั้นในการไต่ผ่านไป วิธีการฝึกก็ต้องเริ่มทำจากพื้นเรียบ ๆ ก่อนจะไปหัดทำบนเนินจริง ๆ โดยทำคล้าย ๆ การยกล้อหน้าข้ามสิ่งกีดขวาง แต่เราจะเพิ่มการถ่วงน้ำหนักไปที่ล้อหลักมากขึ้น และแขนเราต้องตึงเท่านั้น เมื่อเราดึงล้อหน้าลอยได้แล้ว จากนั้นเราจะควบคุมการยกหน้าด้วยการย่อเข่าเพื่อให้ล้อหน้าตกลง หรือการเหยียดเข่าออกจะทำให้ล้อหน้ายกสูงขึ้น และควรใช้นิ้วชี้แตะเบรกไว้ด้วยเพื่อป้องกันรถหงายท้อง เมื่อฝึกจนคิดว่าพอทำก็ลองมาทำกับเนินที่ไม่สูงและมีระยะไม่ห่างมากโดยเมื่อรถวิ่งมาถึงหน้าเนินลูกแรก ก็ดึงล้อหน้าขึ้นมา ย่อแขนเพื่อรักษาสมดุลล้อหน้า และถ่วงน้ำหนักมาด้านหลัง ย่อขาลงเล็กน้อยเมื่อล้อหน้าลอยข้ามมาถึงเนินรับลูกที่สองให้วางล้อหน้าลงที่ด้านหลังเนินให้ได้ ทุกครั้งจากนั้นเราก็ต้องฝึกฝนกับเนินที่มีระยะไกลมากขึ้นต่อไป เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทรงตัวถ้าฝึกได้จนชำนาญจะสามารถใช้ล้อหลังล้อเดียววิ่งไต่เนินได้เลย ลองเอาไปฝึกกันดูนะครับ นักขี่บางคนอาจจะกระโดดเนินไม่เก่ง แต่ถ้าสามารถทำ Manual ได้ดีจะสามารถทำความเร็วในการแข่งขันได้ดีขึ้นเหมือนกันครับ..

เทคนิคการปั่นจักรยาน

24 เม.ย. 2554

เทคนิคการขี่จักรยาน BMX ตอนที่ 1

|2 ความคิดเห็น

เทคนิคการขี่จักรยาน BMX

อันที่จริงการขี่จักรยาน BMX ก็ไม่ต่างจากกีฬาจักรยานประเภทอื่น ๆ มากนักคือต้องอาศัยแรงปั่นจากขาของเรา ๆ ท่าน ๆ ในการพารถให้วิ่งออกไป แต่อาจจะมีบางอย่างที่เป็นจุดต่างออกไปบ้าง ดังนั้นลองมาดูกันว่ามันมีเทคนิคอะไรที่เราต้องเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเพื่อการขับขี่อย่างสนุกสนานและเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขัน

     1. การออกตัวจากจุดสตาร์ท
จุดสตาร์ทซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นทางลาดชันลงเขา เพื่อให้จักรยาน BMX มีความเร็วพอที่จะกระโดนข้ามเนินต่าง ๆ ได้ ทันที่ที่ออกตัวมาได้ โดยจะมีเกทสตาร์ทเป็นตัวกั้นไว้ ซึ่งเทคนิคที่ควรฝึกฝนก็คือการทรงตัวบนจักรยานก่อนเกทสตาร์ทจะล้มลง วิธีการฝึกอยู่กับบ้านก็ไม่ยากให้เราเอาล้อหน้าชนกับกำแพงแล้วลองขึ้นไปยืนทรงตัวโดยใช้เท้าด้านที่เราถนัดกดลงบนบันไดจักรยานให้ล้อหน้ากดติดกับกำแพงโดยไม่ให้รถจักรยานล้ม เริ่มจากแค่ 4-5 วินาที แล้วจากนั้นก็เพิ่มเวลาเป็น 10-15 วินาที ค่อย ๆ ฝึกวันละนิดไม่นานก็จะชินกับการทรงตัวและทำได้ไม่ยาก การฝึกอาจดูยากแต่ถ้าคุณได้ไปลองทำที่สนามแข่งขันที่มีเกทสตาร์ทจริง ๆ มันจะทำงานกว่าพื้นราบมาก ๆ เพราะทางลาดชันจะช่วยกดรถให้อยู่นิ่ง และทำให้เราทรงตัวอยู่บนรถได้นานกว่า ก็ลองเอาไปฝึกกันดูนะครับ

     2. การขับขี่ในทางโค้ง
การขี่ BMX เรซซิ่งเป็นการขี่ที่ใช้ความเร็วค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างทางรับความเร็วตามทางโค้งต่าง ๆ ไว้หรือที่เรียกว่าแบงค์ เพื่อให้รถจักรยานสามารถที่จะทำความเร็วได้ต่อเนื่อง เพื่อรองรับการจั๊มป์เนินระยะไกล ดังนั้นการขับขี่ในทางโค้งที่มีแบงค์รองรับจึงมีความสำคัญมาก ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกฝนการเลี้ยวโค้งด้วยความเร็ว โดยจะมีหลักในการฝึกฝนดังนี้

-           ตำแหน่งการยืน ควรจะอยู่ประมาณกิ่งกลางรถไม่ทิ้งน้ำหนักไปด้านหน้าหรือหลังมากเกินไป ย่อเขาลงเล็กน้อยเพื่อช่วยลดแรงกระแทก และที่สำคัญต้องเตรียมพร้อม เมื่อเวลารถวิ่งตั้งตรงได้ต้องรีบใช้จังหวะนี้เริ่มปั่นทำความเร็วมากขึ้นเพื่อการจั๊มป์เนินระยะไกลหรือการลุยบนลูกระนาดจะเป็นไปได้อย่างราบรื่น
-           การเอียงรถเข้าโค้ง อันนี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วที่เราวิ่งเข้าหาแบงค์ ถ้ารถเราวิ่งมาเร็วมากก็ต้องเอียงรถเข้าหาโค้งด้านในมาก เพื่อป้องกันแรงเหวี่ยงจะพารถเราแหกโค้งออกไป ที่สำคัญตำแหน่งของบันไดรถจักรยานจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ขนานกับพื้นหรือบันไดด้านในโค้งจะต้องอยู่สูงกว่าด้านนอก เพื่อป้องกันบันไดครูดกับพื้นด้านในโค้งที่เราเลี้ยว จนอาจจะทำให้รถเราเสียหลังล้มลงได้
-           การเลือกไลน์ในทางโค้ง การเลือกทางที่จะวิ่งในโค้งแบงค์ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะในทางโค้งจะมีจังหวะที่ใช้ในการแซงผ่านกันอยู่บ่อยครั้งมาก ๆ และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการแซงผ่านคันอื่น ๆ แบบโดยจะมีไลน์ที่นิยมใช้เพื่อเลี้ยวโค้งอยู่ 2-3 แบบ
-           ไลน์แบบวิ่งตามโค้งด้านนอกตามแนวแบงค์ไลนนี้จะช่วยรักษาความเร็วให้รถจักรยานมีความเร็วสม่ำเสมอและเราจะสามารถปั่นรถออกไปเพื่อสร้างความเร็วได้ต่อเนื่อง ซึ่งปกติก็จะใช้ไลน์แบบนี้กันแทบจะทุกคน
-           ไลน์แบบวิ่งเข้าตัดเข้าโค้งด้นในไปบานออกด้านนอก ไลน์แบบนี้จะใช้เพื่อการแซงคันหน้าโดยคันที่อยู่ด้านหลังจะขี่เข้าไปบังไลน์คันที่นำอยู่ด้านหน้า เมื่อคันหน้าเสียจังหวะเราก็อาศัยจังหวะนี้แซงผ่านไปก่อนได้
-           ไลน์แบบวิ่งขึ้นไปด้านนอกของแบงค์แล้วตัดลงกลางแบงค์ วิธีนี้จะทำยากกว่าเพราะเราจะต้องฝืนกับแรงเหวี่ยงของรถเพื่อบังคับให้รถเลี้ยวลงมาทันทีเพื่อจะตั้งหลักให้รถตรงแล้วปั่นออกไปให้ได้ก่อนคันที่นำหน้าเราอยู่
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนว่าผู้ขับขี่จะใช้วิธีใด ไม่มีข้อจำกัดตายตัว และควรจะประเมินสถานการณ์ว่าถ้าจะทำการแซงผ่านแบบนี้จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกันล้มด้วยไหม ถ้าคิดว่าไม่คุ้มที่จะแซงก็ควรหาโอกาสในโค้งต่อไปจะดีกว่า เพราะถ้าเกิดล้มลงก็จะเสียโอกาสในการแข่งขันต่อไปอย่างแน่นอน

     3. การขี่บนเนินลูกระนาด
วิธีการคงไม่ต่างกับการขี่แบบอื่น ๆ มากนักคือหลัก ๆ ก็ยังคงเน้นการยืนเป็นหลักแต่จะเน้นไปที่การใช้แขนและขาของเราแทนช็อคอัพเนื่องจากรถ BMX ไม่มีช็อคหน้าหลัง จึงต้องใช้ร่างกายเราแทนช็อค โดยมีวิธีการดังนี้ ยืนขี่รถเข้าหาเนิน เมื่อล้อหน้าปีนขึ้นไปบนด้านหน้าของลูกระนาดให้งอแขนลง เมื่อล้อหน้าผ่านไปยังด้านหลังก็ให้เหยียดแขนนอกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนขาหลังก็ต้องย่อขึ้นลงตามจังหวะแบบเดียวกับแขนของเรา คือเมื่อล้อหลังปีนขึ้นด้านหน้าเนินก็ย่อขาลง เมื่อล้อหลังข้ามไปด้านหลังเนินก็เหยียดเขาออกไป ยิ่งเราออกแรงกดแรงผลักที่แขนและขามากและเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็จะทำให้รถจักรยานสามารถวิ่งผ่านลูกระนาดไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคนิคนี้นักกีฬาก็ต้องมีการฝึกฝนอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชินและมีความชำนาญ

     4. การกระโดดเนินระยะไกล
BMX ถ้าจะไม่พูดถึงการกระโดดข้ามเนินสูง ๆ ไกล ๆ ก็คงจะแปลกไปเพราะนี่คือความตื่นเต้นและท้าทายในเกมส์กีฬาชนิดนี้เลยก็ว่าได้ แต่ว่ากว่าแต่ละคนจะสามารถทำได้นั้นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะด้านนี้เป็นอย่างดีจนเกิดความชำนาญ โดยการกระโดดเนินระยะไกลสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มจากพื้นฐานแรกคือการหัดทำการหิ้วรถให้ลอยอยู่กับพื้นให้ได้ หรือฝรั่งเขาเรียกว่า “บันนี่ฮ็อป” โดยมีการฝึกดังนี้
-           อันดับแรกเราต้องยกล้อหน้าให้ได้ก่อน วิธีฝึกเราต้องยืนขี่รถด้วยความเร็วเล็กน้อย โดยให้บันไดอยู่ขนานกับพื้น จากนั้นก็ให้ออกแรกยกล้อหน้าให้ลอยขึ้นจากพื้นพอสมควร อาจจะทำโดยหาท่อนไม้หรือสิ่งของที่ไม่สูงมากมาวางไว้แล้วพอรถวิ่งมาใกล้ ๆ ก็ให้ดึงล้อหน้าข้ามไปให้ได้ ฝึกแบบนี้จนสามารถยกล้อข้ามสิ่งกีดขวางได้เป็นอันจบ
-           ต่อไปเราจะมาฝึกการยกล้อหลัง วิธีทำคือยืนขี่เหมือนวิธีแรก แต่คราวนี้ไม่ต้องเร็วมาก วิธีการเริ่มจากตั้งบันไดให้ขนานกับพื้นทั้งสองข้าง จากนั้นมือทั้งสองข้างกำแฮนด์ให้แน่น ๆ กว่าปกติ ส่วนปลายเท้างุ้มจิกลงไปด้านหน้ารถ บิดมือทั้งสองข้างขั้นพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน ฝ่าเท้าเราก็ต้องงัดบันไดขึ้นไปด้านหลัง จะทำให้ล้อหลังลอยขึ้นได้ ฝึกฝนบ่อย ๆ ก็จะสามารถยกได้ทุกครั้งโดยจะใช้วิธีการวางสิ่งกีดขวางเพื่อฝึกฝนแบบยกหน้าก็ได้ครับ คือเมื่อยกล้อหน้าข้ามไปได้ ทิ้งจังหวะนิดหนึ่งก็ยกล้อหลังข้ามตาม
-           รวมสองล้อให้เป็นหนึ่งเดียว จากบทฝึกที่ผ่านมา ต่อไปเราจะเอาสองวิธีนี้มารวมกันเพื่อจะได้ยกได้ทั้งสองล้อพร้อม ๆ กัน วิธีการคือยืนขี่รถมาด้วยความเร็วพอประมาณ แล้วลองสร้างเส้นหรือวางสิ่งกีดขวางเล็ก ๆ เอาไว้ เมื่อล้อหน้าวิ่งเข้ามาใกล้จุดที่เราสร้างไว้ก็ให้ดึงหน้ารถให้ลอยสูงขึ้นพร้อมกันนั้นก็ต้องยกล้อหลังตามขึ้นมาติด ๆ กัน รถก็จะลอยข้ามสิ่งกีดขวางได้ทั้งสองล้อ โดยในการฝึกขั้นตอนนี้อาจจะฝึกโดยทรงตัวอยู่บนรถแล้วหิ้วรถให้ล้อลอยทั้งสองก่อนก็ได้ เมื่อชำนาญแล้วค่อยฝึกทำแบบที่รถวิ่งมาด้วยความเร็วจะปลอดภัยกว่านะครับ เทคนิคนี้ถ้าเป็นบันไดแบบคลิปเลสจะทำได้ง่ายกว่าครับ เพราะว่าถ้าเราแค่ย่อขาและกระโดดขึ้น รถจะลอยติดเท้าเราขึ้นมาเอง

แต่ว่าทำไมเราต้องฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อนจะไปหัดกระโดดเนิน นั่นก็เพราะในการกระโดดเนินนั้นมีทั้งความเร็ง ความสูง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียหลักได้ง่ายเมื่อรถเราลอยอยู่กลางอากาศ ถ้าเราไม่ฝึกพื้นฐานให้ดีเสียก่อน อีกทั้งในการกระโดดเนินไม่ได้ใช้แค่ความเร็วอย่างเดียวแล้วจะกระโดดเนินได้ ในบางจังหวะเราอาจจะต้องใช้เทคนิคบันนี่ฮ็อปหรือการหิ้วรถเพื่อให้รถสามารถลอยได้สูงและไกลเพื่อการเคลียร์เนินจั๊มป์ระยะไกลได้ด้วยในบางกรณี

ต่อไปเราจะได้แนะนำการฝึกเทคนิคในการขี่จักรยาน BMX ขั้นสูงขึ้นไปอีกในโอกาสต่อไปครับ...

ที่มา: นิตยสาร RACE BICYCLE  บทความโดย : คุณจักรี  ศรีกสิกิจ




แนะนำรถใหม่ เปิดตัวแล้ว WHEELER EAGLE SERIES

|0 ความคิดเห็น

แนะนำรถใหม่ เปิดตัวแล้ว WHEELER EAGLE  SERIES

ในปี 2011 Wheeler ตัวท๊อปนับว่าขึ้นแท่นรถที่ได้รับการยอมรับว่าคุ้มค่าสุดเลยก็ว่าได้ จากการยะระดับดีไซน์ การออกแบบที่อัดแน่นด้วยคุณภาพ และความภาคภูมิใจของระบบ QC มาตรฐานสินค้ายุโรป (กลุ่มประเทศที่เน้นคุณภาพสุดยอดเท่านั้น) โดย Wheeler เล็งเห็นถึงความต้องการของผู้ที่ใช้ที่แตกต่าง จึงเลือกผลิตตัวถังที่เหมาะกับการใช้ง่านต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสมโดยมีรุ่นต่าง ๆ ดังนี้

รุ่น EAGLE   LTD  20 SPEED


ตัวถังคาร์บอน Monocoque High Modulus Fiber ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวตลอดตัวถังไร้รอยเชื่อมต่อ ซึ่งเป็น Mold ลิขสิทธิ์ของ Wheeler โดยตรงและการออกแบบมุมองศาชัน ที่มีท่อบนสั้น Wheel brake สั้นให้ประโยชน์กับทาง Single track และการขี่ขึ้นเขา เป็นแนวของมืออาชีพนิยมใช้ และในปีนี้ Wheeler ยังได้รับรางวัลการออกแบบจาก Shimano ผู้ผลิตกรุ๊ปเซ๊ตชั้นนำว่าออกแบบรถได้ยอดเยี่ยม จุดเด่นอีกอย่างของ Wheeler รุ่นนี้ คือการเลือกอะไหล่ อุปกรณ์ระดับ Top มาใช้ โดยมีน้ำหนักรวมทั้งคันเพียง 8.9 kg เท่านั้น

สเปค EAGLE  LTD 

FRAME: UD CARBON SUPERLIGHT/MONOCOQUE/ORGANIC DESIGN
FRAME SIAES: 16”, 18”, 20”
FORK: DT-SWISS XRC 100 UD-CARBON/REMOTE/ LOCK OUT/ 100MM
BRAKES: SHIMANO XTR/HYDAULIC DISC BRAKES/F: 180MM/ R: 160MM ROTORS
GEAR F/R: SHIMANO XTR/XTR SHADOW
WEIGHT: 8.9 KG

รุ่น EAGLE  10 30 SPEED

ใช้ตัวถังคาร์บอนเดียวกับ Eagle LTD แต่ขยับระบบขับเคลื่อนเป็น Shimano Deore XT 30 Speed โช้ค Rock Shox Reba Motion Control/Lock out with Pop Loc อุปกรณ์แฮนด์ คอแฮนด์ หลักอานยังคงเป็น Richey ล้อ DT-Swiss รุ่น X430 Disc ยาง Schwalbe พร้อมอาน Selle Italia และบันได Shimano น้ำหนักทั้งคันเพียง 10.2 Kg

สเปค EAGLE  10

FRAME: UD CARBON SUPERLIGHT/ MONOCOQUE/ ORGAIC DESIGN
FRME SIZES: 16”, 18”, 20”
FORK: ROCK SHOX REBA RL/ MOTION CONTROL / W/POP LOC/ 120MM
BRAKES: SHIANO XT/HYDRAULIC DISC BRAKE/F:180MM / R:160MM ROTORS
GEAR F/R: SHIMANO XT/XT SHADOW
WEIGHT: 10.2 KG

รุ่น EAGLE 30 30 SPEED

FRAME: ALLOY 6061 T.B.(T4/T6)/ MODERN WAVE/ HYDOTUBING
FRAME SIZES: 16”,18”,20”,22”
FORK: SR SUNTOUR EPICON LOD/ AIR/ LOCK OUT/ 120MM
BRAKES: SHIMANO SLX/HYDRAULIC DIXD BRAKE/F: 180MM/R: 160MM ROTORS
GEAR F/R: SHIMANO XT/XT SHADOW
WEIGHT: 11.3 KG

รุ่น EAGLE 40 30 SPEED

FRAME: ALLOY 6061 T.B.(T4/T6)/ MODERN WAVE/ HYDOTUBING
FRAME SIZES: 16”,18”,20”,22”
FORK: SR SUNTOUR EPICON LOD/ AIR/ LOCK OUT/ 120MM
BRAKES: SHIMANO DEORE/HYDRAULIC DIXD BRAKE/F: 180MM/R: 160MM ROTORS
GEAR F/R: SHIMANO SLX/XT SHADOW
WEIGHT: 11.4 KG


แฮนด์เสือหมอบเพื่อความสบายยามปั่นไกล

|0 ความคิดเห็น

แฮนด์เสือหมอบเพื่อความสบายยามปั่นไกล

Handlebar หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า แฮนด์ นั้น คือส่วนประกอบของจักรยานที่มีความสำคัญมาก มันช่วยให้บังคับทิศทางได้สะดวก ช่วยการทรงตัวก็ได้ หากตั้งหรือวัดแฮนด์ไม่ได้ขนาดแล้วมันก็อาจจะทำคุณปวดเมื่อยได้ทั้งตัวเหมือนกัน เคยคิดกันบ้างหรือไม่ก็ตามว่าแฮนด์ซึ่งทำจากอลูมินั่มหรือคาร์บอนไฟเบอร์เป็นแท่ง ๆ นี้คืออุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้คุณสบายตัว หรือเจ็บตัวก็ได้ในการขี่จักรยานทางไกลโดยเฉพาะที่ระยะมากกว่า 100 ไปจนถึง 200 ก.ม.

หากจะถามถึงความเหมาะสมแล้ว แฮนด์ที่เหมาะกับการขี่ไกลที่สุดคือแฮนด์ดร็อป หรือแฮนด์เสือหมอบที่เราเคยเห็นกันบ่อย ๆ เหมือนมันจะเป็นแค่ท่อซึ่งเอามาดัดเป็นรูปคดโค้งแล้วพันด้วยเทปให้จับได้ไม่ลื่น แต่จริง ๆ แล้วกระบวนการเพื่อความสบายเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนเลือกแฮนด์ คุณสมบัติข้อแรกที่ต้องการคือต้องเบาก่อนแล้วตามด้วยความกว้างของแฮนด์ซึ่งวัดได้ง่าย ๆ คือต้องกว้าวเท่าช่วงไหล่ของคนขี่ ส่วนจะสร้างจากวัสดุแปลกพิสดารอะไรก็คงขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของแต่ละคน
เมื่อพิจารณากันให้ดีจะพบว่าตำแหน่งต่าง ๆ ที่วางมือได้บนแฮนด์เสือหมอบนั้นมันมีความหมาย อย่างแรกคือเพื่อให้คุณได้เปลี่ยนอิริยาบเมื่อต้องวางตัวอยู่ในท่าเดิม ๆ ตลอดนานเป็นชั่วโมง ๆ ตลอดระยะทาง เมื่อเมื่อยระหว่างเดินทางคุณสามารถเลื่อนมือมาวางในตำแหน่งต่าง ๆ ของแฮนด์ได้ตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด

นอกจากตำแหน่งการจับแฮนด์แล้ว วิธีจับที่ถูกต้องก็มี

ตำแหน่งบนสุด: จับด้วยการวางฝ่ามือลงบนแฮนด์ทั้งฝ่ามือแล้วกำแฮนด์ให้รอบ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังท่อนแฮนด์เพื่อล็อคเอาไว้กันลื่น ถ้าคุณวางทั้งห้านิ้วบนแฮนด์มันจะลื่นไหลเสียหลักหัวคะมำได้หากปั่นไปเจอกับลูกระนาดหรือสันเหล็กสะท้องแสงบนถนน ตำแหน่งนี้คือท่าที่สบายที่สุด เหมาะกับการขี่ในย่านความเร็วไม่มากนัก และจะมั่นคงเมื่อปั่นขึ้นเนินโดยก้นยังติดเบาะ ถ้าเมื่อยแต่ยังไม่อยากจับเบรกก็เลื่อนมือมาตรงโค้งแฮนด์ใกล้เบรกได้เป็นการเปลี่ยนท่าทางเพื่อความสบาย

หัวมือเบรค: เมื่อเอื้อมมือมากำหัวมือเบรก ความรู้สึกหนึ่งที่คุณสัมผัสได้คือลำตัวจะโน้มมาข้างหน้าเล็กน้อย นิ้วเอื้อมมือถึงมือเบรคและก้านเปลี่ยนเกียร์ เมื่อใดที่ไม่มั่นใจว่าจะปลอดภัยเช่นการปั่นรวมกลุ่มซึ่งชิดกันมาก ๆ ระหว่างเข้าโค้ง การเอื้อมนิ้วถึงมือเบรคและมือเปลี่ยนเกียร์จะช่วยให้คุณปลอดภัยขึ้นหากมีเหตุหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ต้องหยุดจักรยานกะทันหัน ในตำแหน่งนี้ลำตัวยังตั้งต้านลมอยู่ จึงเหมาะสำหรับการปั่นช่วงเดินทางโดยไม่หวังจะเร่งเครื่องแซงหรือใช้ความเร็วสูง ๆ

ตำแหน่งดร็อป: หรือตำแหน่งที่ต่ำสุดเกือบถึงปลายแฮนด์ตามปกติแล้วนักจักรยานทางไกลจะไม่ค่อยได้จับแฮนด์ตรงจุดนี้กัน เพราะมั่นต่ำและชวนให้ปวดเมื่อยหลังกับก้านคอได้ง่าย ๆ เอื้อมมือจับมือเบรกก็ไม่ได้อีก  แต่ก็ต้องมีไว้เพราะเป็นตำแหน่งเดียวที่ทำให้ลำตัวนักจักรยานขนานกับพื้นที่สุด ผลที่ตามมาคือลู่ลมที่สุด เหมาะแก่การหลบลมพุ่งแหวกอากาศเพื่อการแซงจักรยานคันหน้าหรือเพื่อเร่งความเร็ว เมื่อเอื้อมมือจับแฮนด์ในตำแหน่งนี้แล้วตัวนักจักรยานจะกดลงต่ำสุด น้ำหนักจะถ่ายมาข้างหน้าแทนที่จะเป็นกดลงตรง ๆ ที่อานกลางจักรยาน

ตำแหน่งดร็อปจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อท่าทางและความรู้สึก รวมทั้งไม่ค่อยปลอดภัย นักจักรยานจึงแทบไม่ค่อยได้ก้มตัวลงมาจับแฮนด์ในตำแหน่งนี้บ่อยนัก เว้นแต่ช่วงที่จะเร่งแซงหรือเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบช่วงสั้น ๆ เพราะแฮนด์เสือหมอบเป็นเนื้อวัสดุล้วน ๆ และโค้ง การจะทำปลอกหุ้มเหมือนแฮนด์เมาเท่าไบค์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยจึงต้องใช้วิธีพัน เทปพันแฮนด์เสือหมอบดี ๆ จะเป็นฟองน้ำแผ่นบาง ๆ เพื่อคอยซับแรงกระแทกจากพื้นดินที่วิ่งตามล้อและตะเกียบหน้าขึ้นมาถึงมือ

แต่ทั้งนี้การจะขี่ให้สบายตลอดเส้นทางนั้นเป็นไปไม่ได้ เมื่อร่างกายต้องวางตำแหน่งอยู่ในท่าเดิม ๆ ทีละนาน ๆ และมีน้ำหนักกดทับกล้ามเนื้อกับเส้นประสาท คุณย่อมต้องเจ็บปวด เมื่อย ซึ่งทำอย่างดีก็คงได้แค่บรรเทาให้ทรมานน้อยที่สุด ซึ่งจะเกิดจากการปรับระยะห่างระหว่างอานกับแฮนด์ให้พอเหมาะ การเปลี่ยนตำแหน่งวางมือการเลือกขนาดของแฮนด์ให้พอดกับช่วงกว้างหน้าอกหรือไหล่ เมื่อรู้สึกว่าปวดเมื่อยก็ลุกจากเบาะขึ้นโขยกเสียบ้าง

เรื่องราวข้างต้นนั่นคือรายละเอียดของการใช้แฮนด์เสือหมอบเพื่อปั่นทางไกล 100 – 200 กิโลเมตร และวิธีวางมือซึ่งจะช่วยให้คุณสบายขึ้นในระยะทางไกล ๆ นอกจากตัวแฮนด์เองจะสำคัญแล้ว ความสำคัญรองลงไปก็น่าจะไม่พ้นความสูงของคอแฮนด์ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวางแหวนรอง (สเปเซอร์) ความยาวของคอตะเกียบแม้แต่การสร้างเฟรมให้เป็นแบบเพอร์ฟอร์แมนซ์ ฟิต (เน้นความสบายในการขี่ทางไกล) หรือ โปร ฟิต (เน้นท่าทางการแข่งเพื่อให้เกิดความเร็วมากกว่าความสบาย)

ถ้าคุณอยากให้จักรยานขี่สบาย (หรือที่ถูกต้องคือเพื่อทรมานน้อยที่สุด) ในระยะไกล ๆ ก็ต้องใส่ใจให้รายละเอียดเพราะมันคืออุปกรณ์หนึ่งในสามชิ้นที่รับน้ำหนัก นอกเหนือจากอานและลูกบันได ถ้าเลือกไม่ดีหรือได้ขนาดไม่พอเหมาะสิ่งที่จะตามมาคงไม่พ้นเรื่องการปวดไหล่และเอว ทั้งที่ทุกสิ่งพร้อมแล้วแต่ถ้าได้แฮนด์ไม่ดีปรับระยะไม่เหมาะสม คุณก็อาจไปไม่ถึงจุดหมายเอาง่าย ๆ เหมือนกัน

8 เม.ย. 2554

เทคนิคการปั่นจักรยาน: 10 แนวทางเพื่อเรียกความฟิตกลับคืนมา

|1 ความคิดเห็น

10 แนวทางเพื่อเรียกความฟิตกลับคืนมา

กลับมาแกร่งอีกครั้ง หลังห่างหายจากการปั่นไปนาน [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

สภาพอากาศแปรปรวนและหน้าที่การงานของผู้ที่ไม่ได้ปั่นจักรยานเป็นอาชีพเช่นพวกเรา ๆ ทำให้การสนุกกับจักรยานที่รักบางครั้งก็ต้องห่างหายไปทีละนาน ๆ แต่ก็ต้องมีสักครั้งล่ะที่เราฮึดสู้ด้วยความคิดว่าต่อไปนี้จะกลับมาขี่จักรยานใหม่ให้ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเพราะแพทย์เริ่มเตือนหรือเพิ่งจะถอยจักรยานคันใหม่ราคาแพงระยับมาก็ตาม แต่การจะกลับมาขี่อีกหลังจากหยุดไปนานนั้นใช่ว่าจะทำได้ง่าย ๆ การอยากจะเห็นผลทันทีทันใดนั้นคงทำไม่ได้ต้องมีขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเรากำลังจะแนะนำคุณในแบบที่คุณหรือใคร ๆ ก็ทำได้ กลับมาแข็งแกร่งได้ง่าย ๆ เพียงแต่ต้องใจเย็น ๆ สักนิดหนึ่งเท่านั้น ต้องมีแผน ในการปฏิบัตินี้เราไม่ได้กำหนดระยะเวลาหรือระยะทางไว้ว่าข้อไหนต้องทำนานหรือไกลแค่ไหน คุณต้องใช้ความรู้สึกตัวเองมาวัด เมื่อทำข้อหนึ่งได้อย่างสบายตัวจึงเลื่อนไปทำอีกข้อ แต่ถ้าทำไม่ไหวก็ถอยกลับลงมาทำข้อเดิมซ้ำจนกว่ากล้ามเนื้อจะปรับสภาพให้คุ้นเคยได้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

นี่คือ 10 แนวทางเพื่อเรียกความฟิตกลับคืนมา

1.       ขี่จักรยานไกล 24 – 25 กม.ให้ได้ในเส้นทางสูง ๆ ต่ำ ๆ โดยพยายามให้อยู่ในขีดความสามารถของตัวเองที่สุด ขี่แบบสบาย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เกียร์หนักหรือรอบจัด ไม่จำเป็นไม่ปั่นหนัก เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความคุ้นเคยหรือภาระหนักหลังจากได้พักผ่อนมานานจนคลายความแข็งแกร่งไปแล้ว
2.       ถ้าคุณจำได้ว่าครั้งล่าสุดขี่จักรยานได้ไกลแค่ไน จงขี่ในครั้งแรกหลังจากหยุดไปนานนี้ด้วยระยะทางเพียงครึ่งเดียว แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรจะเกิน 80 กม. ด้วยรอบขาที่ปั่นได้สบาย ๆ จะเพิ่มความเร็วรอบขึ้นนิดหน่อยก็ได้ในบางช่วงของระยะทางนั้น
3.       ต่อจากนั้นจึงเพิ่มระยะทางขึ้นอีกประมาณ 10 -15 เปอร์เซ็นต์ หลังจากมั่นใจว่าขี่ได้อย่างสบาย ๆ แล้วจากข้อ 1 และข้อ 2 เพื่อเพิ่มภาระให้กล้ามเนื้อพอประมาณ ควรจะปั่นให้เร็วขึ้นได้ 4 ถึง 5 ช่วงระหว่างนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นความเร็วของจักรยานหรือความเร็วรอบขา
4.       ให้ใช้ระยะทางเท่ากับคราวที่แล้วแต่ด้วยรอบขาประมาณ 70 ถึง 90 รอบต่อนาที ถ้ามีเนินก็พยายามขึ้นเนินด้วยเกียร์หนักกว่าเดิมหนึ่งหรือสองระดับเพื่อเพิ่มภาระให้กล้ามเนื้อ
5.       หลังจากทำตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 แล้ว ต่อไปคือการเพิ่มระยะทาง หรือจะเพิ่มเวลาก็ได้ให้ได้อีก 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์จากการขี่จักรยานครั้งก่อน รวมทั้งพยายามทำรอบให้ได้ 75 ถึง 90 รอบต่อนาที พร้อมทั้งการเร่งปั่นเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นช่วง ๆ คงความเร็วที่เพิ่มไว้ให้ได้ครึ่งถึงหนึ่งนาทีก่อนจะกลับมาใช้ความเร็วปกติ แล้วปั่นสบาย ๆ เพื่อฟื้นสภาพ
6.       ในข้อนี้ระยะทางการปั่นควรจะให้ได้เท่ากับ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของการปั่นครั้งสุดท้ายที่ไกลที่สุดก่อนจะหยุดยาว ความเร็วขึ้นจากปกติแล้วคงไว้ให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งนาที ทำเช่นนี้ให้ได้ 5 ครั้ง และถ้าหาเนินหรือสะพานชัน ๆ ได้ก็ต้องใช้เกียร์ให้หนักขึ้นให้ได้ 4 ถึง 6 ครั้ง
7.       ถ้าในบริเวณนั้นมีเนินลูกเตี้ย ๆ ประมาณ 5 ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ยาวครึ่งไมล์ก็ยิ่งดี ให้ใช้เนินเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ด้วยการวอร์มอัพก่อนประมาณ 2 ถึง 3 กม. ก่อนจะถึงเนินที่หมาย ฟื้นสภาพตัวเองด้วยการขี่ลงเนินย้อนกลับมา (หมายถึงหากคุณหาเนินที่ไหนไม่ได้) ก่อนจะขี่ย้อนกลับขึ้นไปอีกครั้ง
8.       หลังจากขี่ได้ไกล 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของระยะทางไกลที่สุดครั้งหลังสุดที่ขี่ก่อนหยุดยาวแล้ว คราวนี้ให้เพิ่มระยะทางให้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ลองสังเกตดูว่าตัวเองจะทำรอบขาระหว่าง 75 ถึง 90 รอบต่อนาทีได้หรือไม่ ระหว่างนี้ก็พยายามเพิ่มความเร็วแล้วคงไว้ให้ได้ครึ่งถึงหนึ่งนาทีด้วย กับการไต่เนินความชัน 7 ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ไปพร้อม ๆ กัน
9.       ทีนี้ก็ถึงตอนสำคัญซึ่งคุณต้องเพิ่มรอบขาเป็น 80 ถึง 100 รอบ ด้วยระยะทางยาวที่สุดก่อนจะหยุดยาว ตามด้วยการเพิ่มความเร็วขึ้นคงไว้ครึ่งถึง 1 นาที แล้วต่อจากนั้นคงความเร็วรอบขาไว้ให้ได้ 90 ถึง 100 รอบจนกว่าจะเห็นเนินข้างหน้าจึงค่อย ๆ ลดรอบขาและความเร็วลงมาอยู่เกณฑ์ปกติ
10.   เพิ่มเวลาหรือระยะทางขึ้นได้อีก 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์จากเดิม แล้วให้เพิ่มแบบนี้ขึ้นอีกในการขี่ครั้งต่อไปจนกระทั่งได้ระยะทางเท่ากับที่ต้องการจะปั่นให้ถึง ระหว่างนี้ให้ใช้ความเร็วสูงขึ้นแล้วคงความเร็วนั้นไว้ครึ่งถึงหนึ่งนาทีกับการขึ้นเนินด้วยเกียร์หนักไปพร้อม ๆ กัน [เทคนิคการปั่นจักรยาน]


ทั้งหมดนี้คือแนวทางในการเรียกความฟิตให้กลับคืนมาหลังจากที่เราห่างหายจากการปั่นมานาน  หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้นำไปเป็นแนวทางในการฝึกต่อไปนะครับ

[เทคนิคการปั่นจักรยาน]




บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง