ss

27 มี.ค. 2555

Disc Brake เสือหมอบนวัตกรรมใหม่เพื่อการควบคุม

|0 ความคิดเห็น
Disc Brake เสือหมอบ นวัตกรรมใหม่เพื่อการควบคุมที่ดีกว่า

ดิสก์เบรกจักรยานเสือหมอบ
นับจากการคิดค้นจักรยานคันแรกขึ้นในโลก มันได้ถูกพัฒนามาอย่างยาวนานนับเป็นร้อยปี และจะยังมีพัฒนาการต่อไปไม่หยุดยั้ง เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นการผลิตจักรยานก็ยิ่งซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้วัสดุแปลก ๆมาสร้างเฟรมและอุปกรณ์ประกอบกันมากขึ้น สิ่งทื่อว่าเป็นนวัตกรรมขั้นพลิกผันของเทคโนโลยีเบรกก็คือ ดิสค์เบรกของจักรยานถนนหรือเสือหมอบ มีผู้คิดค้นเบรกรูปแบบนี้ใช้กับเมาเท่นไบค์มานานแล้วแต่ยังไม่มีใครจริงจังกับการนำมันมาติดตั้งกับจักรยานถนน ด้วยสาเหตุสำคัญคือเรื่องน้ำหนัก แต่เมื่อกระบวนการผลิตเจริญขึ้นถึงขนาดลดน้ำหนักได้ในขณะที่ความแข็งแกร่งยังคงเดิม ปัญหาก็คือใครจะเป็นเจ้าแรกที่ผลิตดิสด์เบรคสำหรับเสือหมอบออกจำหน่ายเป็นเจ้าแรก ไม่มีใครรู้เลยว่าผู้บริโภคจะรับได้หรือไม่กับสิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากของที่ใช้กันมานานหลายสิบปี ในขณะที่เราคุ้ยเคยกับดิสค์เบรกติดเมาเท่นไบค์ เบรกจับขอบแบบก้ามปูเดิม ๆ ของเสือหมอบ ก็น่าจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเช่นกัน คำตอบจึงอยู่ที่ดิสค์เบรกที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อการควบคุมที่ดีกว่าและการขี่จักรยานที่ปลอดภัยกว่า

นักจักรยานจำนวนมากคิดว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นดิสค์เบรกคือต้องการอำนาจหยุดยั้งที่ชะงัดกว่า ในขณะที่ไฮดรอลิค ดิสค์เบรกใช้กับเสือหมอบนั้นต้องมีพลังการกดมากกว่าเบรกก้ามธรรมดา ผลประโยชน์ที่ดีกว่านั้นคือนักจักรยานสามารถควบคุมอำนาจการหยุดยั้งได้ดีกว่า ตามปกติแล้วตัววงล้อเองต้องรับหลายหน้าที่ ไม่เพียงใช้ผิวหน้าของมันเพื่อเบรกเท่านั้น แต่ยังต้อยึดเหนี่ยวขอบยางและช่วยรับน้ำหนักของนักจักรยานด้วย และในฐานะที่เป็นวัตถุทรงกลมที่หมุนตลอดเวลาจึงต้องเบา การจะทำให้ได้เช่นนั้นผู้ผลิตวงล้อจึงใช้วัสดุที่แข็งแรงและเบาแต่กลับไม่ได้ประสิทธิภาพการเบรคที่ดีที่สุด

ดิสก์เบรกจักรยานเสือหมอบ
ในทางกลับกันตัวจานโรเตอร์ที่เล็ก ถึงจะผลิตจากวัสดุที่หนัก (ส่วนใหญ่ผลิตจากสแตนเลสสตีล) ก็ยังเบา น้ำหนักโดยประมาณของโรเตอร์เส้นผ่าศูนย์กลาง 160 มม. คือวงละ 115 กรัม ในขณะที่วงล้ออลูมินั่มมาตรฐานหน้าตัดเหลี่ยมจะหนัก 440 กรัม ความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมเป็นผลมาจากพลังอำนาจในการบีบ ตัวโรเตอร์ที่เล็กกว่าวงล้อจะต้องใช้พลังมากกว่าเพื่อบีบให้มันหยุดหมุน แต่เพราะมันต้องถูกบีบหนักหน่วงกว่านี้เองที่เราสามารถควบคุได้ดีกว่า ตัวอย่างคือผ้าเบรกของดิสค์เบรกต้องกดหน้าโรเตอร์ด้วยแรงหนักถึง 1,000 ปอนด์ ก่อนจะหยุดในขณะที่เบรกก้ามธรรมดาใช้แรงกดแค่ 200 ปอนด์เท่านั้น ความต่างกันถึง 800 นี่เองที่ช่วยให้เราควบคุมแรงบีบหยุดได้ละเอียดกว่า อันหมายความว่าเมื่อกดมือเบรกแล้วคุณสามารถประมาณแรงกดเพื่อหยุดได้ในช่วงที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับเบรคก้ามธรรมดา

จากการควบคุมพลังงานก็มาถึงความรู้สึกที่ดีกว่าเมื่อใช้ดิสค์เบรก เบรกก้ามปูในจักรยานเสือหมอบทั่วไปมักจะอ่อนตัวและติดตั้งกับเฟรมด้วยน็อตเพียงตัวเดียว หน้าที่ของมันคือกดแถบยางให้แนบสนิทกับขอบล้อที่ทำไว้รองรับแล้ว แต่กับดิสค์เบรคแล้วคนละเรื่องเพราะเมื่อคุณกดมือเบรคมันจะส่งแรงดันไปกดผ้าเบรคติดก้ามให้หนีบโรเตอร์ที่เส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า ด้วยระยะที่แทบจะสัมผัสกันระหว่างผ้าเบรกและดิสค์ ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นก็คือหนึบ นักจักรยานที่ทดลองเปลี่ยนจากเบรคก้ามมาใช้ดิสค์เบรคจะรู้สึกได้ในช่วงแรก ๆ ว่ามันหนึบ แต่เมื่อปรับตัวและปรับแรงบีบของตัวเองได้แล้วก็จะเข้าใจได้ดีถึงอำนาจในการควบคุมพลังงานที่มีมากขึ้น

นอกจากจะควบคุมได้ดีกว่าแล้ว ความดีอีกประการหนึ่งของดิสค์เบรกในจักรยานเสือหมอบก็คือมันปลอดภัยกว่าโดยเฉพาะเมื่อเทรนด์วงล้อคาร์บอนกำลังมาแรง หลังจากสเตจ 10 ที่ล้มกันกราวรูดในตูร์ เดอ ฟร็องซ์ปีที่แล้ว โยฮัน บรูเนล ผู้จัดกาทีมที่ครองชัยชนะมากที่สุดในรายการนี้ได้พูดชัด ๆ เอาไว้ว่า “ผมคิดว่ามันถึงเวลาต้องเริ่มคิดถึงอุปกรณ์ใหม่ ๆ แล้วนะ ถ้าดูที่ตัวจักรยานก็จะพบว่ามันยิ่งเบาขึ้นเรื่อย ๆ แล้วทำไมไม่คิดถึงดิสค์เบรกบ้างล่ะ เบรกแบบนี้หนักกว่าก็จริงแต่ผมคิดว่ามันใช้ได้นะมันเบรกได้ดีกว่าเห็น ๆ”

ดิสก์เบรกจักรยานเสือหมอบ
วงล้อคาร์บอนไฟเบอร์ที่เบาและลู่ลมนั้นล่อใจ แต่การเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นของวัสดุที่เบาและแกร่งชนิดนี้ก็ทำให้ได้เห็นข้อด้อยของเบรกธรรมดามากขึ้นด้วย ใช้วงล้อคาร์บอนไฟเบอร์แล้วจะใช้ยางเบรกธรรมดาก็ไม่ได้ มันไม่จับขอบทั้งยังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเบรกบ่อย ๆ ผลที่สุดคือประสิทธิภาพของการเบรกลดลง ซึ่งทางออกของบริษัทผู้ผลิตเบรกก้ามก็คือต้องใช้วัสดุชนิดพิเศษเพื่อทำแผ่นเบรกให้ใช้กับล้อคาร์บอนได้โดยเฉพาะ แต่ก็อีกนั่นแหละ มันทำงานได้ดีเฉพาะในสภาพแห้งพอเจอฝนหรือโคลนเข้าหน่อยก็เป็นง่อยไปทันที ผู้เชี่ยวชาญบางคันถึงกับเอ่ยปากเลยว่ามันเหมือนไม่มีเบรก

ผู้เชี่ยวชาญด้านเบรกกล่าวว่า “ผิวพื้นของวงล้อคาร์บอนไม่สม่ำเสมอเท่ากันตลอดทั้งวง และถ้าวงล้อนั้นถูกผลิตขึ้นด้วยหลาย ๆ ส่วนประกอบกันหรือมีการวางชั้นคาร์บอนซ้อนกันอย่างหลากหลาย ความแข็งแกร่งในส่วนที่สัมผัสก็เบรกก็จะแปรเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นถึงล้อคาร์บอนอาจจุดเหมือนว่าเป็นวงที่บางเท่ากันทั้งหมด มันอาจจะรับแรงได้ไม่เท่ากันตลอดทั้งวงและอาจจะสูญเสียประสิทธิภาพไปเมื่อสัมผัสกับก้ามเบรก นอกจากประสิทธิภาพการหยุที่ลดลงแล้วยังมีเรื่องน่าเป็นหนวงอีกอย่างในวงล้อคาร์บอน ในเมื่อมันไม่สามารถกระจายความร้อนไปทั่วพื้นผิวได้เหมือนวงล้ออลูมินั่ม จึงมีจุดร้อนที่สุดอยู่เป็นจุ ๆ ถ้าต้องเบรกย้ำซ้ำ ๆ กันนาน ๆ ก็จะเกิดผลเสียต่อแรงยึดเหนี่ยวของเนื้อคอมโพสิต ตามมาด้วยความตึงของซี่ลวดที่ขึงอยู่ก็จะดึงเนื้อคาร์บอนแยกออกจากกันได้ เนื้อคาร์บอนแยกก็หมายถึงวงล้ออาจพับหรือแตก ถ้าเป็นเช่นนั้นที่ความเร็วสูง ๆ คงไม่ต้องนึกละว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับนักจักรยาน”

สิ่งหนึ่งที่ต้องมีคือมาตรฐานการสร้างเบรก ชาร์ล  เบคเกอร์  ผู้จัดการ SRAM ฝ่ายจักรยานถนนและจักรยานไตรกีฬา เขางหวังว่าผู้ผลิตต้องหามาตรฐานให้ได้แต่สแรมนั้นไม่รอคอยแล้ว ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาดิสค์เบรกสำหรับจักรยานเสือหมอบอยู่ เขาให้ความเห็นว่า “จากมุมมองของสแรมและกลุ่มผู้ผลิต ผมอยากจะเห็นการใช้ดิสก์เบรกในเสือหมอบในอนาคตอันใกล้นี้”

เมื่อจักรยานถนนหรือเสือหมอบที่ใช้แข่งทางเรียบยังให้ความสนในในดิสก์เบรกน้อย สนมไซโคลครอสซึ่งใช้เฟรมเสือหมอบแต่แข่งกันในลู่แข่งวิบากจึงเป็นที่ทดสอบประสิทธิภาพของมันไปโดยปริยาย สนามดังกล่าวคือสนามแข่งไซโคลครอสซึ่งมีบางค่ายจักรยานที่สนใจ เช่นสเปเชียไลส์ที่เพิ่มจักรยานไซโคลครอสจากเป็นสองคันในปีนี้จากที่ไม่มีเลยในปีที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อไป และคาดว่ายูโรไบค์หรืองานแสดงจักรยานภาคพื้นยุโรปในปีนี้ก็จะมีเสือหมอบติดดิสก์เบรกมาตั้งแสดงด้วยจำนวนมาก

ทุกสิ่งย่อมมีพัฒนาการ เราได้เห็นแนวโน้มใหม่ของเมาเท่นไบค์ที่กำลังไปได้สวยแล้วคือ 29er ถึงคราวของเสือหมอบบางล่ะที่จะมีพัฒนาการไปในทางที่ดี และน่าจะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเสือหมอบทุกคันต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา: นิตยสาร Sports Street

20 มี.ค. 2555

วิวัฒนาการและเทคโนโลยีของจักรยาน

|0 ความคิดเห็น
หลายๆท่านคงยังไม่รู้ว่าจักรยานแบบไหนปั่นเร็วสุดแล้วจักรยานมีกี่แบบหละ แล้วมีต้นกำเนิดมายังไงอ่านบทความนี้จะหายสงสัยเลยครับ 


 
จักรยานมีจุดเริ่มต้นที่ไม่ชัดเจนนักครับ ว่าถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่จักรยาน ที่เป็นต้นแบบของจักรยานในยุคปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นในปี 1817 ณ เมือง Mannheim ประเทศเยอรมัน นี่เอง โดย Karl Drais

แน่นอนครับว่า จักรยานคันแรกย่อมมีเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สมัยนั้น จักรยานประกอบด้วย...
   
ล้อจำนวนสองล้อ แฮนด์สำหรับบังคับทิศทาง และที่นั่งสำหรับคนปั่น (หรือจะเรียกให้ถูกคือ "คนถีบ" ) ซึ่งอยู่ระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง การขับเคลื่อนจักรยานไม่มีเครื่องช่วยใด ๆ ทั้งสิ้นนอกจากขาทั้งสองข้างของ "คนถีบ" ซึ่งวิธีการขับเคลื่อนดังกล่าว ก็คล้าย ๆ กับสเกตบอร์ดในยุคปัจจุบันนั่นเอง แต่ทำเป็นเล่นไปครับ ด้วยวิธีการขับเคลื่อนแบบพื้น ๆ ดังกล่าว จักรยานรุ่นแรกสามารถวิ่งด้วยความเร็วถึง 15 km/h ซึ่งเร็วกว่าเดินถึงสามเท่า

จักรยานรูปแบบต่อมาได้พัฒนาวิธีการขับเคลื่อนจากรูปแบบแรก ที่ใช้เท้าถีบพื้นเอา เป็นการปั่นล้อหน้าผ่านคันถีบ โดย Philipp Moritz Fischer ในปี 1864 ช่วยเพิ่มความเร็วและอำนวยความสดวกในการขับเคลื่อนไปอีกระดับ แต่ปัญหาในตอนแรกที่สร้างจักรยานคือ ไม่มีใครกล้าปั่นจักรยานดังกล่าวเพราะกลัวล้ม (ลองนึกภาพตอนที่เราหัดปั่นจักรยานดูครับ คนปั่นจักรยานไม่เป็นต้องกลัวการล้มเป็นธรรมดา)

ต่อมาในปี 1867 ในงานมหกรรมแสดงสินค้าโลกที่ Paris วิศวกรยานยนต์ที่มีนามว่า Pierre Michaux ได้นำผลงานของตน ซึ่งเป็นจักรยานใช้คันถีบที่มีล้อหน้าใหญ่เป็นพิเศษ  มาแสดงในงานดังกล่าว เนื่องจากในสมัยนั้นการทดแรงและความเร็วด้วยเกียร์ยังไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น การเพิ่มขนาดของล้อหน้าจึงเป็นวิธีการเดียวที่สามารถช่วยเพิ่มความเร็วในการ ขับเคลื่อนรถจักรยานได้ (จักรยานหลายรุ่นมีความเร็วสูงสุดเกิน 40 km/h) จักรยานรูปแบบดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ก็ถูกห้ามใช้งานในหลาย ๆ เมืองของยุโรป เนื่องจากอันตรายที่เกิดขึ้นได้ง่ายจากการตกจากอานรถที่ค่อนข้างสูง (ประมาณ 1.5 เมตร) นอกจากนี้การเลี้ยว การลดความเร็ว (เบรก) และการขับขี่ในที่ขรุขระ ยังมีผลลดเสถียรภาพการขับขี่อีกด้วย หลายคนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการปั่นจักรยานรูปแบบดังกล่าว ดังนั้นหากมองด้านเทคนิค และการออกแบบแล้ว จักรยานรูปแบบดังกล่าวถือว่าค่อนข้างล้มเหลว

เทคโนโลยีที่ปฏิวัติการขับเคลื่อนจักรยานคือ โซ่จักรยาน ซึ่งถูกใช้งานครั้งแรกในปี 1878 ข้อดีของการนำโซ่จักรยานมาใช้คือ ทำให้จักยานสามารถขับเคลื่อนล้อหลังได้ ทำให้ส่วนของการขับเคลื่อนและส่วนบังคับทิศทางแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการขับขี่ อำนวยความสดวกในการบังคับทิศทาง และสามารถนำหลักการของการทดแรงและทดความเร็วมาใช้ได้อีกด้วย การนำโซ่จักรยานจึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของจักรยานสมัยใหม่

ปัจจุบันรูปแบบของจักรยานมีมากมายนับไม่ถ้วน เทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ในจักรยานสมัยใหม่นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เป็นรอง เทคโนโลยีใด ๆ ทั้งทางด้านเครื่องกลและวัศดุศาสตร์ (แม้ว่ามองเผิน ๆ แล้วจักรยานไม่มีอะไรก็ตาม) ยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างจักรยานและรถยนต์ หากไม่นับการเผาไหม้ในรถยนต์ และ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อของมนุษย์ รถยนต์ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการทำงาน (efficientcy) ประมาณ 40-70% แต่จักรยานมีประสิทธิภาพในการทำงานถึง 80-99%

เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้จักรยานในปัจจุบันคือ วัศดุที่เบาและทนทาน บวกกับระบบเกียร์ที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ ในหลาย ๆ ประเทศ (รวมถึงเยอรมันด้วย) มาตรฐานระบบเกียร์ของจักรยานที่ขายตามท้องตลาดจะอยู่ที่ 21 เกียร์ (เกียร์หน้า 3 x เกียร์หลัง 7) อีกทั้งสวิชต์ที่ใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ยังช่วยอำนวยความสดวกในการเปลี่ยน เกียร์อีกด้วย

ประเภทของจักรยานที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบันคือ Mountainbike หรือจักรยานเสือภูเขา ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1973 รัฐ California สหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เริ่มต้นในการสร้างครั้งแรกเพื่อการขับขี่แบบผ่อนคลาย แต่ด้วยโครงสร้างที่แข็งแกร่งจึงมีคนนำรูปแบบจักรยานไปใช้ในการขับขี่ จักรยานผาดโผน หรือขับลุยในพื้นที่ป่าหรือภูเขา Specialized เป็นบริษัทแรกที่ผลิตจักรยาเสือภูเขาในรูปแบบอุตสาหกรรม (รุ่น Stumpjumper ในปี 1981) หลังจากนั้นความนิยมในตัวจักรยาเสือภูเขาก็มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันแทบทุกบริษัทที่ผลิตจักรยาน จะผลิตจักรยานเสือภูเขาออกสู่ตลาดด้วยเสมอ

จักรยานเสือภูเขามีลักษณะเฉพาะคือ ตัวถังที่ค่อนข้างสั้นและเตี้ย วัศดุที่ใช้เป็น อลูมิเนียม หรือคาบอนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ล้อเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 26 นิ้ว) และยางหน้ากว้าง มีเกียร์ไม่ต่ำกว่า 21 เกียร์ (3x7) ส่วนมากจะมีโช้คอัพในส่วนของตะเกียบหน้า ส่วนโช้คอัพตรงตัวถังนั้นมีให้เห็นทั่วไป แต่ยังไม่ถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ด้วยลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้จักรยานเสือภูเขาเป็นจักรยานที่เสถียร แข็งแกร่ง แต่มีน้ำหนักเบา ความนิยมในตัวจักรยานเสือภูเขาจึงมากขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่ซื้อจักรยานเสือภูเขา ไม่ได้นำไปจักรยานเสือภูเขาไปขับขี่โลดโผน หรือลุยป่าลุยเขา ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ก็ตาม

จักรยานประเภทต่อมาถึงแม้จะไม่ค่อยมีคนนำมาขับขี่บนท้องถนนมากนักก็ตาม แต่ก็เป็นจักรยานที่มีความสำคัญไม่น้อย นั่นคือ จักรยานแข่งขัน หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าจักรยานเสือหมอบ จักรยานเสือหมอบเป็นจักรยานที่มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่ แต่บาง มีขนาดล้อที่ใหญ่ (28 นิ้ว) หน้ายางบาง เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ มีน้ำหนักอยู่ที่ 6-11 กิโลกรัม แต่จักรยานที่ใช้แข่งขันต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 6.8 กิโลกรัม (เบากว่ากระเป๋านักเรียนเด็กประถมบ้านเราอีก) อัตราการทดความเร็วด้วยเกียร์ในจักรยานเสือหมอบทั่วไปค่อนข้างสูง (4.4/1 ถึง 1.85/1) ดังจะเห็นได้จากเกียร์หน้ามีขนาดใหญ่และเกียร์หลังมีขนาดเล็ก

ประเภทจักรยานที่คนไทยเรารู้จักคุ้นเคยกันดีก็คงเป็นจักรยาน Citybike คือจักรยานที่ใช้ขับขี่โดยทั่วไปนั่นเอง จักรยานประเภทนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะที่พิเศษกว่าจักรยานประเภทอื่น ๆ แต่เป็นจักรยานที่มีความสำคัญมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะคนส่วนมากใช้จักรยานประเภทนี้ในการเดินทางในระยะใกล้ และระยะกลาง เป็นการช่วยลดมลภาวะ และประหยัด หลายเมืองในยุโรปที่มีปัญหาจราจร กำลังให้การสนับสนุนการใช้จักรยานเป็นยานพาหนะทดแทนรถยนต์ โดยการสร้างถนนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ (ขณะนี้แทบทุกเมืองในเยอรมันมีถนนสำหรับจักรยานให้ขับขี่แล้ว) การสร้างที่จอดรถจักรยานตามที่สาธารณะ การออกฏจราจรเพื่ออำนวยความสดวกผู้ขับขี่จักรยานเป็นต้น

นอกจากการเดินทางด้วยจักรยานเพียงอย่างเดียวแล้ว การใช้ระบบขนส่งมวลชนร่วมกับจักรยานก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยวิธีนี้มีชื่อเก๋ ๆ ว่า Bike and Ride วิธีการนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้บริการขนส่งมวลชนในระดับหนึ่ง เพราะการนำรถจักรยานขึ้นรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถเมล์เองก็ตาม หากยานพาหนะเหล่านี้ไม่ได้มีการเตรียมการ เตรียมพื่นที่สำหรับจักรยานไว้ Bike and Ride ก็เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้

ลองนึกดูครับว่า หากคนขับรถยนต์ในกรุงเทพฯ เพียง 10% หันมาปั่นจักรยาน เราจะลดภาระค่าน้ำมันของประเทศได้เพียงใด เราจะลดมลภาวะในกรุงเทพฯ ได้มากมายเพียงใด แต่ ใช่ว่าจู่ ๆ เราจะมารณรงค์ให้คนในกรุงเทพฯ หรือคนไทยหันมาใช้จักรยานได้โดยทันที เรื่องอย่างนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ เราต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อนโดยการรักความสบายให้น้อยลง หันมาปั่นจักรยานในระยะทางใกล้ ๆ จากนั้นจึงร้องขอให้รัฐสร้างทางจักรยานที่ดีพอ แล้วจึงรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมให้คนเห็นความสำคัญของจักรยาน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะนอกจากคนไทยจะรักสบายแล้ว รถยนต์ยังเป็นเครื่องชี้ฐานะทางสังคมของคนไทยอีกด้วย แต่เรื่องนี้ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ (เพียงแค่เป็นไปได้ยากเท่านั้น) ปัญหาคือ พวกเราทุกคนยังขาดการเอาจริงเอาจังเท่านั้นครับ (เหมือนกับหลาย ๆ ปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ที่เมืองไทย)

หลายท่านอ่านไปแล้วอาจคิดว่าผมออกนอกเรื่อง อันที่จริงกำลังอยู่ใจกลางเรื่องเลยครับ เพราะว่าหลาย ๆ ประเทศเห็นความสำคัญของจักรยานทั้งเรื่องการประหยัดน้ำมัน และการลดมลภาวะ จึงทำให้เขาเหล่านั้นหันมาสนใจพัฒนาเทคโนโลยีด้านจักรยานกัน จนทำให้เทคโนโลยีเหล่านั้นก้าวไปไกลอย่างที่เห็นทุกวันนี้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเทคโนโลยีจักรยานเท่านั้น ในทุกสาขาวิชาก็เหมือนกันครับ เราต้องเห็นความสำคัญของมันก่อน เราต้องมีใจรักมันก่อน เราถึงจะทำสิ่งนั้นได้ดี สิ่งเหล่านี้แหละครับที่เรายังขาดกันอยู่ เราจึงไปกันไม่ถึงไหนทั้งทางด้านการศึกษา เทคโนโลยี และ ฯลฯ เพราะส่วนมากแล้วเราจะทำกันเพื่อเงิน และความอยู่รอด (จะให้ดีทั้งสองอย่างต้องควบคู่กันครับ ส่งซิก ) ดังนั้น วันนี้ใครที่ยังตอบตัวเองไม่ได้ว่าเรียนสาขาที่ตัวเองเรียนเพราะอะไร (โดยเฉพาะเพื่อนนักศึกษา) ก็รีบหาคำตอบให้ตัวเองได้แล้วครับ เพราะไม่งั้นสิ่งที่คุณทำอยู่มันก็จะย่ำอยู่กับที่ไปเรื่อย ๆ ครับ

จักรยานที่พวกผมใช้ในการท่องเที่ยวปั่น (Biketour) คือจักรยานแบบ Trekkingbike ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างจักรยานเสือภูเขาและ Citybike จักรยานประเภทนี้จะมีอุปกรณ์เสริมค่อนข้างมาก รูปทรงจะคล้าย ๆ Citybike แต่จะนำเทคโนโลยีของจักรยานเสือภูเขามาใช้ เพื่อความแข็งแกร่งทนทานของตัวจักรยาน เพราะ Biketour ต้องใช้ความสามารถของจักรยานในระดับหนึ่ง ในการบันทุกสำภาระที่อาจมีน้ำหนักถึง 30-70 กิโลกรัม ต้องปั่นขึ้นเขาที่ค่อนข้างสูงชัน และในบางครั้งต้องปั่นผ่านทางจักรยานที่เข้าขั้นวิบาก ดังนั้นหากระบบเกียร์จักรยานไม่ดีพอ และตัวจักรยานไม่แข็งแกร่งพอ เจ้าของจักรยานอาจไปไม่ถึงจุดหมาย เพราะเหนื่อย หรือไม่ก็จักรยานพัง

หากใครที่อยากได้จักรยานที่มีความเร็วสูงเป็นพิเศษคงต้องนี่เลยครับ จักรยาน นอนปั่น เป็นจักรยานที่มีรูปแบบที่แปลกเป็นพิเศษ การนอนปั่นโดยยืดเท้าไปข้างหน้านั้น ได้รับการวิจัยมาแล้วว่าเป็นท่างทางที่ช่วยให้ปั่นจักรยานได้ความเร็วสูงสุด ดังนั้นจักรยานประเภทนี้อาจวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 130 km/h แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถครอบครองจักรยานแบบนี้ได้ครับ เพราะจักรยานประเภทนี้มีราคาที่สูงลิ่ว (ประมาณห้าหมื่นบาทขึ้นไป) บวกกับท่าปั่นที่คนทั่วไปไม่เคยชิน ทำให้เราไม่พบเห็นจักรยานประเภทนี้บ่อยนักตามท้องถนน

จักรยานประเภทสุดท้ายที่ผมนำเสนอ คือ BMX (Bicycle MotoCross) ซึ่งหลายคนอาจรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะเคยใช้ขับขี่ในสมัยเด็ก ๆ BMX เป็นจักรยานที่มีขนาดเล็กแต่แข็งแกร่ง เพราะต้องใช้ในการขับขี่ผาดโผน ล้อที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ และหน้ายางที่กว้างกว่าปกติ ทำให้จักรยาน BMX เป็นจักรยานที่มีการทรงตัวที่ดี แต่ไม่เหมาะสมกับการขับขี่โดยทั่วไป เพราะอัตราทดความเร็วที่ต่ำ และรูปทรงที่เตี้ย ทำให้คนปั่นเมื่อยหัวเข่า เวลาที่ต้องปั่นจักรยานในระยะทางไกล ๆ BMX เป็น X-Sport อย่างหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับ X-Sport อื่น ๆ อย่างเช่น Skateboard หรือ Inlineskate

สุดท้ายแม้เทคโนโลยีที่ใช้จะดีเพียงใด จักรยานจะสุดยอดแค่ไหน แต่หากขาดสองขาและใจรัก อย่างไรเสียก็ปั่นไปไม่ถึงจุดหมายครับ 

เทคนิคการฝึกรอบขาเพื่อพัฒนาการปั่นจักรยาน

|0 ความคิดเห็น
เป็นเรื่องของการฝึกรอบขาครับ (ซึ่งผมรู้สึกว่าเรื่องซ้อมจักรยานนี่ รอบขาสำคัญกว่าความเร็วครับ)

วิธีการฝึกรอบขา:
- ขั้นพื้นฐาน 60-90 รอบ/นาทีให้ปั่นสบายๆ การวางเท้าให้ส้นเท้าต่ำกว่าปลายเท้าเล็กน้อย ( การวางส้นเท้าต่ำเพื่อให้เกิดแรงดันลูกบันไดมากขึ้น ประโยชน์ใช้ในการปั่นขึ้นเขาหรือเส้นทางชันๆ )
- ขั้นกลาง :รอบขา 90 -120 รอบ/นาทีให้ปั่นลูกบันไดให้เร็วขึ้นเป็นขั้นที่ฝึกต่อจากขั้นพื้นฐาน การวางเท้าในการปั่นลูกบันไดให้วาง ปลายเท้าและส้นเท้าเสมอกับลูกบันได ประโยชน์ใช้ในการปั่น TTT( จับเวลา ) ปั่นเร็ว หรือปั่นหนีคู่แข่งขันฯ
- ขั้นสูง: รอบขา 120-160 รอบ/นาที ให้บันลูกบันไดให้เร็วที่สุด ประโยชน์ใช้ ปั่นหนีคู่แข่งขัน,สปริ้นท์เข้าเส้นชัย ,จี้มอเตอร์ไซค์ ,ขี่ลงเขา อย่างไรก็ตาม ขอให้ชาวเสือใจเย็นๆให้ฝึกจากง่ายไปหายากแล้วจะพบว่า " ความเร็วรอบขาที่คุณมีคืออาวุธคู่กายของนักปั่นชั้นยอดที่ฝึกรอบขามาดีแล้ว ถ้าใครดูโอลิมปิกที่เอเธนธ์ " ในการแข่งขัน xcเสือภูเขาชาย " บาส จากเนเธอร์แลนด์นั้นรอบขาสู้ที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ที่ชัดๆก็คือ แลนซ์ ใช้รอบขาที่เร็วกว่าคนอื่นๆเอาชนะในช่วงขี่ขึ้นเขา ฟาดแชมป์ตูเดอร์ ฟรอง ไปครอง 6 สมัยซ้อนๆครับ "

เราต้องรู้วิธีปั่นลูกบันไดว่าถ้าปั่นช้าจะวางเท้าในการปั่นอย่างไร เราจะใช้ข้อเท้าในการปั่นให้เป็นวงกลมได้อย่างไร นี่เป็นศาสตร์ที่ต้องศึกษา
องค์ประกอบของการฝึกรอบขาขึ้นอยู่กับ : ความยาวของก้านบันได, จำนวนฟันของใบจาน, การวางเท้าในการปั่นลูกบันได, ความสามารถในการใช้ข้อเท้าในการปั่น, ท่านั่งที่สมดุล เป็นต้น
" ถ้าต้องการพัฒนารอบขาในการปั่นให้เร็วๆให้ใช้ก้านบันไดสั้นๆและฝึกปั่นกับใบ จานเล็กๆความยาวก้านบันไดที่ใช้ตั้งแต่ 165-170 มิลลิเมตร รอบขาที่ได้จะประมาณ90 -120 รอบขึ้นไป ( ปั่นที่รอบขาเสมอนะครับ ) แต่ถ้ามีการเร่งความเร็วรอบขาจะเร็วขึ้นถึง120-160 รอบ ( นักจักรยานประเภทลู่จะเห็นเด่นชัดมากเวลาเขาสปริ้นท์เร่งความเร็วเข้าเส้น ชัย ) แต่ความเป็นจริงคุณต้องมีศิลปะในการปั่นและควบคุมรถของคุณให้ "สมูด "ด้วย ในการแข่งขันจักรยานเสือภูเขารอบขาที่ใช้ในการปั่นจริงอยู่ระหว่าง75 - 120 รอบ/นาทีเท่านั้น แต่ในการแข่งขันจักรยานประเภทถนนจะใช้รอบขาประมาร 100-140 รอบ/นาที และประเภทลู่ใช้รอบขาตั้งแต่ 120 รอบ/นาทีขึ้นไป 

หากเราจะผันตัวเองจากการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ /ท่องเที่ยวล่ะก็เราต้องเริ่มฝึกรอบขาหรือขี่ซอยขาดังนี้ครับ

1.ต้องมีไมล์รถจักรยานที่มีวัดรอบขาได้
2. เริ่มต้นการปั่นเพื่อสร้างรอบขาง่ายๆก่อน “ภาษาจักรยานเรียกว่า การขี่ซอย” คือคุณควรใช้จานกลาง ( 2 ) เป็นจานที่ฝึกปั่นซอยขา โดยเลือกเฟืองหลังที่ไม่หนักหรือเบาเกินไป ( แต่ละคนไม่เท่ากัน)
3.ระยะแรกๆทำรอบขาซอยเท้าให้ได้ 90- 100 รอบ( RPM ) /นาทีก่อน ดูที่ไมล์จักรยานและให้พยายามรักษารอบขานั้นไว้3 - 5 นาที
4.หลังจากทำได้ตามข้อที่ 3 แล้วให้ผ่อนคลายด้วยการปั่นสบายๆไปอีก 5 นาที แล้วเริ่มต้นจากข้อที่ 3 ใหม่ ทำอย่างนี้สลับกันไปเรื่อยวันละอย่างน้อย30-60 นาที
5. เมื่อร่างกาย+กล้ามเนื้อคุณรับได้แล้วค่อยๆเพิ่มระยะเวลาในการฝึกให้มากขึ้น คุณสามารถเพิ่มเวลาฝึกรอบขามากขึ้นจาก 1ชม.จนถึง3ชม.


ขั้นตอนในการฝึก;
1.ฝึกด้วยตนเองขี่คนเดียว
2.ฝึกกับเพื่อนผลัดกันขี่นำคนขี่ตามให้เปลี่ยนเกียร์ ให้เบากว่าคนนำ 1 - 2 เกียร์ (รอบขาจะเร็วกว่าคนนำ)
3 .ฝึกขี่ตามลม
4. ฝึกขี่ลงเขาหรือเนิน
5. ฝึกขี่อยู่บนลูกกลิ้ง
6.ฝึกจี้รถมอเตอร์ไซค์


หมายเหตุ; การฝึกรอบขาหรือการฝึกซอยขานั้นจะใช้ข้อเท้ามาก ข้อเท้าจะต้องไม่เกรง พยายามปั่นลูกบันไดให้เป็นวงกลม ปลายเท้าจะอยู่ต่ำกว่าส้นเท้าเสมอ อย่าพะวงกับเรื่องของความเร็วเพราะเราขี่เกียร์เบารถจะวิ่งไม่เร็ว เป้าหมายคือรอบขาต่างหาก ระยะเวลาที่เห็นผล6-8 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ปัญหาและอุปสรรค์ก็คือคุณต้องตั้งใจและอดทนต่อการเจ็บก้นและก้นชาให้ได้ เมื่อซอยเท้าได้ดีแล้ว( เป็นเรื่องของการฝึกความอดทนหรือแอโรบิกเป็นพื้นฐานก่อนจะไปฝึกความแข็งแรง และความเร็ว ในขั้นต่อไป) สำหรับเรื่องจานและเฟืองให้ใช้จานกลาง

ถ้าไม่อยากลงทุนซื้อเครื่องวัดรอบขามาก็ลองคำนวณ ผูกสูตรใน excel เองก็ได้ครับ
เราต้องรู้จำนวนฟันเฟืองของจานหน้า จานหลังเราก่อน
ในแต่ละเกียร์ก็จะมีอัตราทดไม่เท่ากันใช่ไหมครับ
แล้วเราก็ต้องรู้ความยาวเส้นรอบวงล้อของเรา
แล้วก็ผูกสูตรคำนวณในexcel ให้คำนวณว่า ณ เกียร์ไหน ความเร็วไหน จะต้องใช้รอบขาเท่าไหร่
ซึ่งพอรู้ ก็จำไว้ หรือปรินท์มาแปะบนท่อบนจักยานตัวเองเลย

การซอยเท้าเร็วๆนอกจากจะได้รอบขาแล้วคุณยังได้ความอดทนตามมาอีกมากมาย หมายถึงกล้ามเนื้อขาที่คุณมีทุกๆมัดกล้ามเนื้อมันจะอดทนมากขึ้นกับจังหวะการ ปั่นเร็ว การปั่นซอยรอบขาเร็วๆนอกจากเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นนักจักรยานแล้วมัน ช่วยในการลดน้ำหนักตัวได้ดีเพราะการเผาผลาญพลังงานที่นำมาใช้ในการปั่นมัก ใช้ FATหรือไขมัน เป็นแหล่งพลังงานซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกปั่นนานๆตั้งแต่90 นาทีขึ้นไปยิ่งนานยิ่งดีคือใช้ระดับความหนักของหัวใจ MHR 60-65 % ขึ้นไป ( คนทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดว่าถ้าใช้เกียร์หนักๆปั่นและออกแรงมากๆจะช่วยลด น้ำหนักได้ โดยเฉพาะนักกีฬาหน้าใหม่ประเภท " นิวบอย " มักชอบปั่นกันมาก ) ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อขาของคุณเรียวสวยดีครับ ( ฝากบอกสาวๆในเวปด้วย ) แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ที่กรรมพันธุ์ของคุณด้วยนะ ที่แน่ๆขาเล็กลงแน่นอน * จานใหญ่เอาไว้ฝึกความแข็งแรงและความเร็วที่หลัง* การซอยเท้าให้เร็วจะอยู่กับเราเสมอในการขี่จักรยาน ช่วงอบอุ่นร่างกาย ช่วงผ่อนคลายหรือแม้แต่ช่วงปั่นเพื่อฟื้นสภาพร่างกาย( หลังจากการแข่งขันหรือฝึกซ้อมหนัก ) นอกจากนี้การซอยเท้าเร็วๆยังช่วยไล่กรดเล็คติกออกจากกล้ามเนื้อได้เร็วยิ่ง ขึ้น ช่วยลดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้ดีครับ ใจเย็นๆค่อยๆฝึกไปที่ล่ะขั้นเดี๋ยวก็เก่งครับ  

10 วิธี ในการฝึกซ้อมจักรยานทีผิด ๆ

|0 ความคิดเห็น
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวจักรยานทั้งหลาย วันนี้ผมมีแนวทางการฝึกซ้อมจักรยานผิด ๆ ซึ่งผมคิดว่ายังมีนักจักรยานทั้งมือใหม่และมือเก่าหลายท่าน อาจจะยังมีความเข้าใจผิดอะไรบางอย่างในการฝึกซ้อม ซึ่งผมมีวิธีการซ้อมที่ผิด ๆ 10 วิธีมาให้เพื่อน ๆ ลองอ่านกันดูครับ และลองดูว่าที่เราซ้อมกันมานั้นเข้าข่ายใน 10 ข้อนี้หรือเปล่า...
1. ซ้อมมากเกินไป มีนักแข่งหลายคนที่จริงจังและมุ่งมันในการฦึกซ้อมเพื่อสู่หนทางเป็นแชมป์ให้กับตัวเอง เขาฝึกซ้อมอย่างหนักตั้งแต่เริ่มฤดูกาลแข่งขัน แต่พอถึงกลางฤดูเวลาที่เขาทำกลับแย่ลงทีละน้อย ๆ แล้วก็พลาดตำแหน่งตามที่ได้คาดหวังไว้

"สังสัยซ้อมน้อยไป" เขาคิดไปอย่างนั้น ก็เลยเพิ่มการฝึกซ้อมให้มากขึ้น ทั้งเพิ่มระยะทาง ปั่นขึ้นเขา ฯลฯ ผลที่ได้รับคือเวลาที่เขาเคยทำได้กลับแย่ลงไปกว่าเดิม เนินเขาที่เขาเคยปั่นขึ้นอย่า่งง่าย ๆ ก็กลับเป็นปัญหาสำหรับเขา เขาผิดหวังมาก เลยขายจักรยานทิ้งไปเลยหันไปคบหากิ๊กใหม่ ๆ แทนซะจะได้สะสมคอเลสเตอร์รอลได้ดียิ่งขึ้นไป 555 คิดผิดไปแล้วครับเพ่ ลองมาอ่านบทความนี้สักนิดหนึ่งก่อนที่คุณจะบอกลาจักรยานไปนะครับ

ความจริง จะบอกให้รู้ว่า ถ้าคุณโหมซ้อมมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น แล้วก็มีตำรามากมายหลายเล่มที่สอนเราว่าใ "ให้พักผ่อนให้พอ" ร่างกายของคนเราต้องการพักผ่อนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แล้วเวลาที่มันจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ คือ "เวลาที่เราพักผ่อนนั้นเอง" ดังนั้นเมื่อเราได้ทำการฦึกซ้อมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เราก็ต้องหยุดพักบ้างโดยการพักผ่อน (นอนหลับ) และรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอบ้าง

การเป็นนักจักรยานมือใหม่ ๆ ส่วนมากแล้วจะขยันฝึกซ้อมเป็นพิเศษ จะด้วยเหตุประการใดก็ตาม เช่นกำลังเห่อกับเจ้าเสือคันใหม่ที่แสนโปรด หรือได้เพื่อนใหม่ ๆ ในวงการจักรยาน และอื่น ๆ ทำให้ขยัยและอยากขี่จักรยานมากเป็นพิเศษ จึงมักจะเป็นความผิดในข้อที่ 1 ครับ 

2."ไม่เคยขาดซ้อม" นักแข่งหลาย ๆ คนจะใช้ตารางฝึกซ้อมซึ่งเหมาะสำหรับมืออาชีพที่แข่งอย่างเดียว แต่ชาวบ้านอย่างเรา ๆ จะหาเวลาฝึกได้ก็ช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงานอาชีพแล้ว จึงจัดเวลาซ้อมจักรยานต่อจากการทำงานอย่างอื่นซึ่งไม่ดีเลย เพราะวิธีรวบการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกันจะทำให้ร่างกายโทรมเร็วกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายไม่มีเวลาฟื้นตัว วิธีที่ถูกคือถ้ามีอะไรมาขัดจังหวะการซ้อมของคุณจงไปทำเรื่องนั้นให้เสร็จ แล้วถือว่าวันนั้นเป็นวันพักผ่อนพิเศษสำหรับคุณ แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยกลับเข้าตารางฝึกซ้อมใหม่ตามปกติ จำไว้ว่าการขาดซ้อมแค่เพียงวันเดียวไม่มีผลอะไรต่อร่างกายของคุณเลยถ้าคุณ ฟิตอยู่แล้ว หากคุณหยุดเฉย ๆ ถึง 2 สัปดาห์นั้นละครับที่จะทำให้ประสิทธิ์ภาพของกล้ามเนื้อคุณลดลงไป 
3.ดูดอย่างเดียว จนเพื่อน ๆ ตั้งฉายาว่า "ไอ้ตัวดูด"

ในการออกปั่นกับเพื่อน ๆ ในแต่ละวันคุณไม่เคยขี่นำเพื่อน ๆ เลย คุณจะคอยตามหลังหรือคอยดูดเพื่อนตลอดเส้นทาง ถึงแม้เพื่อนจะขี่ด้วยความเร็วเท่าไหร่ คุณก็ไม่เคยหลุดกลุ่ม จนบางครั้งคุณอาจจะเข้าใจผิดในตัวเองว่า "เราแกร่งแล้ว" แต่ความจริงคือ "ไม่" คุณยังแย่กว่าเพื่อนคุณที่เคยขี่นำหน้าด้วยความเร็วเพียง 25 กม./ชม.ด้วยซ้ำไป บ่อยครั้งเมื่อใกล้ถึงเส้นชัย หรือจุดสิ้นสุดการฝึกซ้อมประจำวันคุณจะเร่งความเร็วแซงเพื่อน ๆ ไปเข้าเส้นชัยก่อนก็นับว่าคุณยังไม่เกิดความสำเร็จในการฝึกซ้อมในครั้งนั้น ฉะนั้นการที่คุณขี่ตามเพื่อนโดยอาศัยแรงดูดจากเพื่อน ๆ นั้น นอกจากจะสร้างความเคยชินจนติดเป็นนิสัยแล้ว คุณก็ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ สถานการณ์ในสนามแข่งขันจริง ๆ คุณไม่สามารถจะใช้แรงดูดจากเพื่อนตลอดการแข่งขัน ฉะนั้นคุณต้องฝึกขี่นำหน้ากลุ่มบ้างในการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ยิ่งคุณขยันขี่นำหน้าบ่อย ๆ มากเพียงใดก็จะเกิดผลดีกับคุณมากเท่านั้น จนเพื่อน ๆ จะตั้งฉายาใหม่ให้คุณว่า "หัวลากประจำทีม" ก็ได้

หรือคุณอาจจะเป็นผู้ที่ลงเขาได้อย่างบ้าบิ่นเกินใคร ๆ แต่ขาขึ้นคุณเป็นคนเดียวในกลุ่มที่ต้องเข็น ฉะนั้นการที่เราจะเก่งอย่างใดอย่างเดียวไม่ได้หรอกครับ ลองทำในสิ่งที่คุณไม่ค่อยถนัดด้วย อย่างถ้าคุณปั่นขึ้นเขาไม่เก่งก็ต้องหัดปั่นขึ้นเขาบ่อย ๆ และสร้างความชำนาญให้ได้ในที่สุด ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะเบื่อหรือเกลียดกับการปั่นขึ้นเขาที่จะต้องใช้พละกำลังและระบบหายใจ มากเป็นพิเศษ แต่คุณจงฝืนฝึกฝนต่อไปเถอะครับ แล้วเมื่อทุกอย่างเริ่มดีขึ้น จากนั้นนอกจากคุณจะเปลี่ยนเป็นนักปั่นที่ชอบพิชิตยอดเขาแล้ว คุณก็จะกลายเป็นนักปั่นคนใหม่ที่เก่งกว่าเดิม จนเพื่อน ๆ ในทีมอดที่จะยอมรับในความสามารถของคุณได้ และฮีโร่ของทีมก็อาจจะเป็นตัวคุณเพิ่มมาอีกหนึ่งคนเป็นแน่แท้ 

4."ไม่ยอมขี่ร่วมกลุ่มกับคนอื่น"
มีนักจักรยานหลายคนที่ชอบขี่อย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมมา ร่วมขี่กับกลุ่ม ผมเคยสอบถามหลาย ๆ คนที่ขี่จักรยานอยู่ตามลำพัง มักจะได้คำตอบว่า ผมชอบอิสระ เพราะการขี่คนเดียวไม่มีใครบังคับเราให้ขี่ไปทางใดทางหนึ่ง เราสามารถไปทุกแห่งตามที่เราต้องการ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้องหากเรารักจะขี่เพื่อให้เวลาผ่านพ้นไปวัน ๆ เท่านั้น โดยไม่มีความมุ่งหวังว่าจะไปลงแข่งขันกับใคร แต่บางคนก็บอกว่า "ผมไม่กล้าเข้ากลุ่ม เพราะกลัวว่าจะตามเขาไม่ทัน" คำตอบข้อนี้น่าจะมาพิจารณาให้มากที่สุดครับ เพราะการขี่คนเดียวนั้นส่วนมากแล้วเราจะเข้าข้างตัวเองเสีัยมากกว่าที่จะ เป็นจริง เว้นแต่นักกีฬาระดับแนวหน้าแล้วที่เขาสามารถใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของ หัวใจมาเป็นตัวควบคุมในการฝึกซ้อมของเขา และเขามีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อมอย่างแท้จริง

การขี่เป็นกลุ่มอาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนักสำหรับนัก แข่งเสือหมอบ แต่ยังมีประโยชน์สำหรับนักจักรยานเสือภูเขาอย่างเรา ๆ มาก เพราะตลอดเวลาการขี่เป็นกลุ่มนั้น ความสามารถและความแข็งแกร่งของเพื่อน ๆ แต่ละคนมันจะต่างกันตามลำดับ ฉะนั้นเมื่อเพื่อนเราคนใดปั่นหนักขึ้น เราก็จำเป็นต้องปั่นหนักตามไปด้วยโดยเกาะกันเป็นกลุ่มภายใต้อุโมงลมที่ เพื่อน ๆ ช่วยบดบังไว้ก็พอที่จะลากสังขารไปกับเขาได้ ถึงแม้อาจจะทุลักทุเล หรือหอบแฮก ๆ ๆ บ้างในช่วงเข้ากลุ่มใหม่ ๆ ก็ตาม แต่สักวันหนึ่งคุณอาจจะเป็นผู้ที่ปั่นขึ้นไปลากเพื่อน ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หรือหากคุณยังถูกทอดทิ้งอยู่ท้าย ๆ เพื่อนอีก แสดงว่าคุณต้องไปปรับตัวในการฝึกซ้อมของคุณ ต้องย้อนกลับไปอ่านข้อที่ 1-4 ว่าคุณยังติดอยู่ข้อใดข้อหนึ่ง แล้วมาปรับปรุงการฝึกซ้อมต่อไป ไม่นานจนเกินไปคุณอาจจะขึ้นชื่อในกลุ่มเพื่อน ๆ ว่า"หัวลากนำเข้าคนใหม่"คือฉายาของคุณ




5.ปั่นอัดอย่างเดียว

จะมีนักจักรยานหลายคนที่มาขี่ร่วมกลุ่มกันแล้ว รับรองได้ว่าจะต้องมีพวกชอบอวดตัวเองอยู่เสมอ คนประเภทนี้จะชอบขี่นำกลุ่มหรือปั่นหนีกลุ่มตลอด หรือเรียกอีกภาษาว่า "พวกบ้าพลัง หรือพวกมีอัตตาสูง" ซึ่งถ้าเขาปั่นจี้อย่างนี้ทุกครั้งที่ขี่ ก็เท่ากับว่ากำลังทำร้ายตัวเองอยู่ ไม่ต้องไปสนใจอะไรหรอกครับ เพราะร่างกายของคนเราต้องการสภาพการทำงานที่แตกต่างกันหลาย ๆ อย่าง ทั้งหนักทั้งเบา ทั้งโหมหนักและการพักผ่อน ทั้งนี้เพื่อจะให้ทุกระบบของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขี่เล่นกินลมชมวิวไปเรื่อย ๆ บ้างปั่นแข่งขันกันบ้างจึงเป็นการช่วยให้ทุกระบบของร่างกายได้ทำงานร่วมกัน และยังสนุกกว่าการตั้งหน้าตั้งตาปั่นอย่างเดียว

ฉะนั้นการปั่นต้องมีการปั่นหนักและเบาสลับกันไป เป็นระยะ ๆ นอกจากจะไม่เป็นการทำร้ายร่างกายแล้วยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบต่าง ๆ ของหัวใจสลับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



6.กินเมื่อหิวเท่านั้น

การรับประทานอาหารสำหรับมนุษย์เราทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักกีฬาจะต้องเน้นในหลักโภชนาการให้มากกว่าคนทั่ว ๆ ไป นอกจากต้องกินให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว การกินอาหารต้องกินเป็นเวลา ไม่ใช่รอให้ท้องหิวซะก่อนแล้วค่อยหาอาหารเติมท้องทีหลัง จงกินอาหารก่อนที่คุณจะหิว แต่เชื่อเถอะครับขณะที่เรากำลังปั่นเพลิน ๆ อยู่นั้นไม่มีใครคิดถึงความหิวเลย แต่เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกหิวขึ้นมานั้นก็แสดงว่ามันสายไปเสียแล้วสำหรับ อาหารมื้อนี้ เพราะแปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำเกินไป ร่างกายจึงรู้สึกว่าหิว และนั้นก็หมายความว่าพลังงานสำรองในร่างกายของคุณที่ได้สร้างสมมาได้ลดลงต่ำ กว่าระดับอันควรจะเป็นเสียแล้ว คราวนี้คุณจะเอาแรงที่ไหนไปสู้กับคนอื่นได้ จนกว่าร่างกายของคุณจะได้สร้างสมพลังงานขึ้นมาใหม่ โดยต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน

กฎการกินของนักกีฬา โดยเฉพาะนักจักรยานคือเมื่อไรที่จะปั่นจักรยานกันนานเกิน 2 ชั่วโมง ก็จงกินทุก ๆ 45 นาทีหรือถ้าจะขี่กันนานเกินกว่า 4 ชั่วโมงก็ให้หยุดพักแล้วหาอะไรใส่ท้องทุก ๆ 2 ชั่วโมง ของที่จะกินก็ไม่ต้องมากนักหรอก เพียงแค่แซนวิชสักชุด กล้วยหอมสักลูกก็ใช้ได้แล้วครับ ยิ่งถ้าได้ประเภทกล้วยตากอบน้ำผึ้งที่เราเตรียมใส่กระเป๋าหลังก่อนออกเดิน ทางนั้นละครับสุดยอดของพลังงานที่เราจะได้รับ

สำหรับเวลาแข่งหรือช่วงเวลาที่รีบร้อนจริง ๆ ไม่มีเวลาจะแวะจอดกินอาหารแล้ว น้ำอัดลมซักกระป๋องหนึ่งจะให้พลังงานแก่คุณได้อีกครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อหมดพลังงานแล้วก็หมดเลยนะครับ คราวนี้ต้องหารถโบกกลับบ้านให้ได้ก็ละกัน 


7.ไม่ค่อยดื่มน้ำ

น้ำเป็นสิ่งที่ร่างกายคนเราจะขาดไม่ได้ เพราะในร่างกายคนเรานั้นประมาณ 75 % ประกอบด้วยน้ำ ซึ่งเป็นสื่อกลางในการล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในร่างกายของคนเรานั้นไม่เหมือนกับอูฐ หรือจะเรียกสั้่น ไ ว่า "คนนะไม่ใช่อูฐ" เพราะอะไรครับ เพราะว่าอูฐนั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์อื่น ๆ ในโลก เพราะอูฐมันจะมีกระเพาะไว้สำหรับเก็บน้ำไว้กินได้หลาย ๆ วัน โดยที่อูฐดื่มน้ำครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนรถยนต์ที่เติมน้ำมันเข้าไปในถังแล้วสามารถวิ่งไปได้เป็นร้อย ๆ กิโลโดยไม่ต้องเติมน้ำมันอีกจนกว่าน้ำมันจะหมดแล้วเติมเข้าไปใหม่ อูฐก็เช่นเดียวกับถังน้ำมันรถยนต์ แต่คนเราไม่สามารถทำเหมือนอูฐได้นะครับ

ดังนั้นจึงควรจิบน้ำหรือดื่มน้ำอยู่ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ร่างกายชุ่มช่ำอยู่ตลอดเวลา แต่คนทั่วไปมักจะดื่มน้ำไม่ค่อยพอในแต่ละวันอยู่แล้ว และที่แย่ที่สุดคือการออกขี่จักรยานในขณะที่ร่างกายขาดน้ำ นักจักรยานที่ดื่มน้ำจนร่างกายชุ่มฉ่ำเป็นประจำอยู่แล้วจะสามารถปั่นได้แบบ สบาย ๆ ถึงสองชั่วโมงโดยการดื่มน้ำระหว่างทางอีก 2 กระติก ดังนั้นถ้าคิดจะขี่จักรยานนานกว่านั้นก็จงหาวิธีแบกน้ำไปให้มากกว่า 2 กระติกจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนะครับ 
8.นอนไม่พอ

การพักผ่อนโดยการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด ฉะนั้นนักจักรยานอย่างเรา ๆ บางคนแล้วอาจจะไม่มีเวลานอนอย่างเพียงพอ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลต่าง ๆ เกี่ยวกับประกอบอาชีพในหน้าที่การงานและอื่น ๆ และไม่มีวิธีใดเลยที่จะชดเชยการนอนไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเราต้องนอนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง หมายถึงต้องนอนให้หลับ ไม่ใช่นอนราบอย่างเดียวแต่ใจลอยไปคิดถึงกิ๊กคนแล้วคนเล่าจนสว่างคาตา นั้นหมายถึงท่านยังไม่ได้นอนนะครับ เพราะการนอนหลับสนิทนั้นตับกับไตจะได้ทำงานได้ดีที่สุด จำไว้เลยว่าถ้าคุณหลับไม่พอเมื่อไหร่ทั้งกล้ามเนื้อและจิตใจของคุณจะไม่ สามารถซ่อมแซมความสึกหรอจากกิจกรรมที่คุณทำในระหว่างวันได้เลย และที่สำคัญหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพในการมองเห็นของคุณจะด้อยกว่าปกติ และประสิทธิภาพในการตัดสินใจก็จะลดลงตามไปอีกด้วย อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการขับขี่ได้ครับ

9.ไม่สบายแล้วยังซิ่ง

ความเจ็บป่วยนั้นไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเองครอบครัวและ เพื่อนฝูง การมีสุขภาพที่่ดีนั้นย่อมเป็นลาภอันประเสริฐสุด คำนี้ก็ยังเป็นอัมตะตลอดไป และเป็นที่ปรารถณาของมนุษยโลกทุกคน แต่สิ่งเหล่านี้็ก็ไม่มีใครหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อมเป็นสัจจะธรรมของทุกสิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ แต่เราก็สามารถป้องกันและบรรเทาสิ่งนั้นได้จากหนักให้เป็นเบา หรือยืดอายุไขออกไปได้ตามสมควร

สำหรับนักกีฬาอย่างเราแล้วก็ย่อมมีการเจ็บป่วยบ้างเล็กน้อย อาจจะเป็นเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุใดก็ตาม แต่ถ้าเป็นหวัดน้ำมูกไหลธรรมดาก็ยังพอขี่จักรยานได้นะครับ แต่ก็ไม่ควรขี่ให้หนัก เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานในการต่อสู้กับเชื้อโรค และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างหนัก ไหนจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับเชื่อโรคที่กำลังฟูมฟักตัวอยู่ในร่างกาย เรา แล้วไหนอีกจะต้องสร้างภูมิต้านทานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในระหว่างการฝึก ซ้อมอีก ฉะนั้นการออกกำลังกายเพียงเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท่านั้นเป็นดีที่สุด แต่หากคุณปั่นอัดเต็ม ๆ นั้นรับรองไม่ดีแน่ และคุณอาจจะต้องกลับมานอนเป็นไข้เข้าอู่ซ่อมระยะยาวเป็นแน่แท้ ดังนั้นคุณจะเหลือพลังงานไปทำอย่างอื่นได้ไม่มากนัก อดทนรอให้หายดีแล้วคุณค่อย ๆ ออกไปซ้อมกับเพื่อน ๆ แต่คุณจะต้องยอมรับตัวเองว่าวันแรกที่ออกไปปั่นขอเป็นเพียงตัวประกอบในทีมก็ เพียงพอ ขี่แบบสบาย ๆ ตามหลังเพื่อน ๆ ไปเพื่อเรียกกำลังและกล้ามเนื้อให้กลับสู่ภาวะปกติประมาณ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักเข้าไปตามกำลังที่เรามีอยู่ 

10.จมอยู่กับเรื่องไม่ดี
ทุก ๆ คนย่อมมีปัญหาในชีตทั้งนั้น โดยเฉพาะในสมัยที่โลกไร้พรมแดนนี้ยิ่งเพิ่มความวุ่นวายในชีวิตมากยิ่งขึ้น หลายเท่าตัว บางคนก็มีกิ๊กจนแทบต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์เดือนละหลาย ๆ เบอร์เพื่อหลบการสะกดรอยของ มท.1 ยิ่งนักกีฬาอย่างเรา ๆ เรื่องแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ เอาแต่งตัวหล่อ ๆ เท่ ๆ ไว้ก่อนเพื่อเรียกแรงเชียร์จากสาว ๆ ผู้ชมรอบสนาม ซึ่งสร้างความสำเร็จสู่นักแข่งล่าเหยื่ออย่างเรามามากต่อมากแล้วนะครับ หรือปัญหาจากที่ทำงานอีกหลาย ๆ อย่างมีสะสมอยู่เรื่อย ๆ ฉะนั้นเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นล้วนจะเป็นตัวนำมาซึ่งปัญหาทั้งสิ้น

เมื่อปัญหามาสุ่มอกเมื่อไหร่ก็ย่อมเกิดอารมณ์จะมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับปัญหานั้น ๆ และอารมณ์ของคนเรามีขึ้นมีลงอยู่ตลอดเวลา บางวันคุณอาจจะรู้สึกสบายใจปลอดโปร่งโล่งอก แต่บางวันคุณอาจจะรู้สึกตัวว่าไร้ค่าเสียเหลือเกิน ขอให้จงอย่าปล่อยตัวปล่อยอารมณ์ให้ติดอยู่กับเรื่องนั้น ๆ ตรงกันข้าม การที่คุณออกมาขี่จักรยานร่วมกับเพื่อน ๆ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายความเครียดได้ และจงคิดแต่สิ่งดี ๆ อย่าไปยึดติดกับอะไรมากนัก

สำหรับผู้ที่จริงจังกับการแข่งขัน แล้วไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็ต้องยอมรับไว้ล่วงหน้าเลยว่า เวลาของคุณต้องแย่ลงแน่นอนและจงทำใจยอมรับกับสถาพที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งนึก แต่สิ่งที่ดี ๆ อย่าลืมว่าเรื่องไม่ดีทั้งหลายจะอยู่แค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าเท่านั้น แล้วมันก็จะผ่านไปเอง ปรับจิตใจให้สบาย ๆ แล้วจงสนุกกับการขี่จักรยานเถอะครับ รับรองอายุยืยเป็นร้อยปีแน่ครั 




13 มี.ค. 2555

การเดินทางกว่า 30 ปี ของจักรยาน TREK ตอนที่ 3 (จบ)

|0 ความคิดเห็น
ช่วงทศวรรษที่ 80 – 90 นับเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมในสหรัฐฯ มีการแข่งขันสูงในทุก ๆ ด้านการเข้าครอบครองกิจการหรือการควบกิจการเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงในแง่ของการลดบทบาทคู่แข่งหรือการทำลายคู่แข่งทางการค้าให้หมดไป โดยสิ้นเชิงแต่สำหรับ TREK การควบกิจการกลับเป็นการบ่งชี้ถึงการมีกระบวนทัศน์ที่ยาวไกลเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการดึง Gary Fisher ซึ่งถือเป็นบิดาของเมาเทนไบค์เข้าร่วมงานในปี 1993  หลังจากนั้นในปี 1995 ได้ถึง Gary Klein เจ้าของจักรยาน KLEIN ผู้ซึ่งมีความชำนาญเรื่องอลูมิเนียมมากที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ ในขณะนั้นทั้งยังเป็นผู้ที่รังสรรค์ผลงานของเฟรมเมาเทนไบค์ระดับคลาสสิคซึ่งมีรุ่น Attitude เป็นเรือธงสำคัญและเป็นรุ่นที่อยู่ในความใฝ่ฝันของนักจักรยานทุกคนที่หวัดจะได้เป็นเจ้าของ เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานในปีเดียวกัน ยังได้ดึง Greg Lemond ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้แชมป์ ตูร์ เดอ ฟร็องซ์ 3 สมัย เข้ามามีบทบาทในการสร้างจักรยานเสือหมอบภายใต้ชื่อ Lemond ถือว่าเป็นการควบรวมกิจการที่สร้างสรรค์วงการจักรยานครั้งสำคัญเพราะเป็นการรวมเอาหัวกะทิระดับตำนานของจักรยานทุกประเภทเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงาเดียวกันกับ TREK

นับว่าเป็นความคิดที่ชาญฉลาดอย่างยิ่งนอกจากการรวมเอาหัวกะทิของวงการเข้ามาอยู่ด้วยกันแล้ว TREK ยังได้เจรจาควบรวมผู้ผลิตอุปกรณ์อย่าง Bontrager Cycles ของ Keith Bontrager ตำนานเมาเท่นไบค์รุ่นแรก ๆ อีกคนหนึ่งเข้ามาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์คุณภาพสูง เช่นชุดล้อ และแฮนด์น้ำหนักเบา เพื่อป้อนให้กับสายการผลิตจักรยานของ TREK นอกจากจะทำอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ๆ ป้อนให้กับสายการผลิตของ TREK แล้ว Bontrager ยังเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ดี ๆ คุณภาพพสูงเช่น แฮนด์คาร์บอน Race X Lite หรือชุดล้อทั้งเมาเทนไบค์และเสือหมอบที่เป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรปและอเมริกา จนปัจจุบัน Bontrager ได้ขยายไลน์การผลิตอุปกรณ์ดี ๆ อีกหลายชนิด


นอกจากนี้ในปี 1995 TREK ยังได้เปิดตัวจักรยานแบบฟูลซัสเพนชั่น รุ่นที่มีเฟรมเป็นรูปตัว Y นับเป็นการฉีกตัวเองออกจากรูปแบบดั้งเดิม จนกลายเป็นจักรยานที่ขายดีและยังได้รับรางวัล Outstanding Design and Engineering Award จากนิตยสาร Popular Mechanics
ในปี 1997  TREK ได้เข้าให้การสนับสนุนทีมแข่ง United States Postal Service Pro Cycling Team ซึ่งในขณะนั้น Lance Armstrong ได้เข้ามาเป็นนักแข่งในสังกัดของทีมด้วย ต่อมาในปี 1998 Advanced Components Group (ACG) ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะ โดยทีมงานประกอบไปด้วย วิศวกรและช่างเทคนิคระดับหัวกะทิ สร้างจักรยานต้นแบบขึ้นมาโดยมี Lance Armstrong เป็นผู้นำไปใช้ในการแข่งขันรายการ Tour de France จนกระทั่งปี 1999 ความสำเร็จก็มาถึง Lance Armstrong สามารถคว้าแชมป์รายการ Tour de France ได้ด้วยจักรยาน TREK 5500 ซึ่งถือเป็นต้นตระกูลของ Madone ในการแข่งขันจักรยานที่ใช้หลายคันเป็นรถต้นแบบรวมถึง TTX จักรยาน Time trial ที่เข้าใช้ในปี 2005 สำหรับ United States Postal Service Pro Cycling Team กลายเป็นทีมจักรยานจากอเมริกาทีมแรกและเป็นจักรยานสัญชาติอเมริกันคันแรกที่คว้าแชมป์ในรายการนี้ อะไรก็หยุด Lance Armstrong ได้ เขาสร้างสถิติที่คงหาคนมาทำลายได้ยากด้วยการคว้าแชมป์ในรายการนี้ถึง 7 สมัยติดต่อกันด้วยจักรยานของ TREK

เมื่อความนิยมจักรยานขยายวงกว้างมากขึ้น ในปี 2000 TREK จึงได้เพิ่มสายการผลิตเข้าไปอีกหนึ่งสายคือ จักรยานที่ออกแบบมาเพื่อนักปั่นที่เป็นผู้หญิงโดยเฉพาะ  Womens Specific Design ซึ่งจะเห็นติดที่เฟรมของจักรยานว่า WSD เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่ารถคันนี้คือจักรยานของผู้หญิง ถัดมาอีกในปี 2001 Project One ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วยแนวคิดเพื่อความเป็นสุดยอดที่แตกต่าง นอกจากจะผลิตและจำหน่ายจักรยานแล้ว ในปี 2002 TREK ยังขยายธุรกิจออกไปแขนงอื่นบ้าง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งจักรยานนั่นคือ จักรยานทัวร์ริ่ง หลังจากที่เพิ่มฐานการผลิตไปยังหลายประเทศ ในปี 2005 จึงได้กลับมาขยายโรงงานเดิมที่ วอเทอร์ลู ซึ่งเป็นฐานหลักของตัวเอง สำหรับในปี 2010 TREK จับมือกับพันธมิตรผลิตจักรยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการใช้เหล็กมาผลิตเป็นจักรยานเนื่องจากเหล็กสามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ดีกว่าโลหะชนิดอื่น

ปัจจุบันนี้ TREK เป็นแบรนด์จักรยานที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการพัฒนาวัสดุและกรรมวิธีในการผลิต คุณภาพที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยผลงานจากสนามแข่ง คงเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงสมรรถนะและคุณภาพของจักรยานแบรนด์นี้

การเดินทางกว่า 30 ปี ของจักรยาน TREK ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
TREK ได้เริ่มต้นหน้าสู่ความเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายจักรยานระดับโลกในปี 1989 ด้วยการเปิดบริษัทลูกแห่งแรกขึ้นในประเทศอังกฤษและตามด้วยประเทศเยอรมัน ด้วยก้าวกระโดดแต่ละขั้นที่มั่นคงส่งให้ TREK มีบริษัทลูกตั้งอยู่ทั่วโลก 10 แห่ง รวมทั้งที่ประเทศญี่ปุ่น และประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่มีคุณภาพทั่วโลกอีกไม่ต่ำกว่า 70 แห่ง ทำให้ TREK กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายจักรยานที่มีเครือข่ายทั่วโลกมากที่สุด

หลังจากส่ง TREK 2500 สู่ตลาดแล้ว TREK ไม่ได้หยุดการค้นคว้าด้านเทคโนโลยีของการผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ หลังจากความพยายามหลายครั้งที่จะผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์แบบโมโนค็อก แต่ก็ไม่ผ่านกระบวนการทดสอบตามมาตรฐานที่ตั้งไว้สูงได้ แทนที่ TREK จะท้อถอย กลับยิ่งทุ่มเทให้กับการค้นคว้าอย่างสุดกำลังจนกระทั่งปี 1992 ความมุ่งมั่นก็สำริดผลในที่สุด TREK ได้ส่งจักรยานเสือหมอบรุ่นใหม่ล่าสุด TREK 5200 และ TREK 5500 สู่ตลาด จักรยานทั้งสองรุ่นใช้เทคโนโลยีคาร์บอนที่ทันสมัย OCLV Carbon Technology (Optimum Compaction Low Void) ที่ทำให้น้ำหนักเบา กล่าวกันว่า เทคโนโลยีในการผลิตเฟรมรุ่นใหม่ของ TREK นี้มีมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐานในการผลิตอากาศยานเสียด้วยซ้ำ จึงเป็นการยกระดับจักรยานที่ออกสายการผลิตของ TREK แท้ ๆ ซึ่งในเวลาอีกไม่กี่ปีต่อมาจักรยานจากสายการผลิตเดียวกันก็ได้รับการพัฒนาเป็นพาหนะให้กับ Lance Armstrong คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟร็อง ได้เป็นผลสำเร็จ

นับจากปี 1992 ซึ่งเป็นปีแรกที่ TREK ได้นำ OCLV Carbon Technology เข้าสู่ตลาด TREK ก็ไม่ได้รั้งรอที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการผลิตเฟรมของเมาเทนไบค์ โดยนำเข้าสู่สายพานการผลิตในปี 1993 ด้วยความมั่นใจในเทคโนโลยี ซึ่งในสมัยนั้นเฟรมที่มีน้ำหนักเพียง 2.84 ปอนด์ หรือ 1.29 กิโลกรัม (เฟรมขนาด 18 นิ้ว) ถือว่าเป็นเฟรมเมาเทนไบค์ที่เบาที่สุดที่ออกจากสายการผลิตสำหรับขายในตลาดจักรยานทั่วไป

12 มี.ค. 2555

การเดินทางกว่า 30 ปี ของจักรยาน TREK ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
TREK กว่า 30 ปี กับการพัฒนาที่ไม่มีวันสิ้นสุด

TREK จักรยานแบรนด์นี้แบรนด์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ถึงแม้จะไม่ได้เป็นคนที่ปั่นจักรยานก็ตาม เพราะจากความโด่งดังของนักปั่นระดับตำนานอย่าง Lance Armstrong เจ้าของตำแหน่งแชมป์จักรยานทางไกลรายการ Tour de France 7 สมัย ผู้ทำให้สายรัดข้อมือหรือ Wristband ได้รับความนิยมไปทุกวงการ TREK ถือกำเนิดขึ้นในปี 1976 โดย Richard (Dick) Burke and Bevel Hogg เริ่มต้นจากโรงงานขนาดเล็กที่เดิมทีเป็นโรงนาในวอเทอร์ลู เมืองแม็ดดิชั่น รัฐวิสคอนซิน ด้วยคนทำงานเพียง 5 คน ร่วมกันผลิตจักรยานแบบทัวร์ริ่งซึ่งเป็นตัวเฟรมใช้เหล็กกล้าในการทำออกจำหน่ายให้กับผู้ที่สั่งซื้อเข้ามา ใครจะคิดจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จะทำให้ TREK กลายเป็นแบรนด์จักรยานที่มีผู้คนรู้จักมากที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก ปัจจุบัน TREK เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมจักรยานของโลกที่มีพนักงานรวมกันทั่วโลกมากกว่า 1,800 คน นอกจากนี้ยังมีบริษัทลูกและตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ อีกกว่า 100 แห่งทั่วโลก

จากโรงนาเล็ก ๆ แปลงเป็นโรงงาน ด้วยการมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลบวกกับกระบวนทัศน์ที่มองถึงผลระยะยาว TREK ได้ขยับขยายย้ายเข้าสู่โรงงานที่เป็นโรงงานจริง ๆ ไม่ไกลจากโรงงานแห่งแรกในปี 1980 จากนั้นได้ขยายสายการผลิตจักรยานให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น จนกระทั่งปี 1982 TREK ได้เปิดตัวจักรยานเสือหมอบรุ่น 750 และ 950 โดยใช้ท่อโครโมลีของเรโนลด์ และโคลัมบัส ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในสมัยนั้น มาสร้างเป็นเฟรม ด้วยความพร้อมทั้งในเรื่องทักษะ และเทคโนโลยีการผลิต จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินที่จะคาดการณ์กันได้เลยว่า TREK จะเป็นหนึ่งในผู้ที่กระโดดเข้าร่วมวงในการผลิตจักรยานเมาเทนไบค์ยุคต้น ๆ โดยมีดีไซน์เนอร์อย่าง Tom Isaac เป็นผู้ออกแบบเมาเท่นไบค์รุ่นท็อปในยุคนั้นคือรุ่น 850 ที่นักจักรยานในรุ่นต้น ๆ รู้จักกันเป็นอย่างดี


จนย่างเข้าปี 1985 ซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมอวกาศของสหรัฐฯ กำลังเฟื่องฟู TREK ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูง ของการยึดข้อต่อด้วยกาววิทยาศาสตร์มาพัฒนาและนำมาใช้กับเฟรมของจักรยานเสือหมอบที่ผลิตจากอลูมิเนียมรุ่นแรกคือ TREK 2000 ซึ่งมีน้ำหนักเบา หลังจากการเปิดตัวจักรยานเสือหมอบของ TREK รุ่นที่ผลิตเฟรมจากอลูมิเนียมซึ่งมีข้อต่อที่ยึดกันไว้ด้วยกาววิทยาศาสตร์ TREK เริ่มเข้าสู่ยุคคาร์บอนไฟเบอร์ โดยเพิ่มทางเลือกที่เบากว่าอลูมิเนียมและมีความนุ่มนวลในการขี่มากกว่าตัวเฟรม สร้างขึ้นด้วยการต่อเชื่อมชิ้นส่วนท่อคาร์บอนไฟเบอร์สามชิ้นหน้าคือท่อบน ท่อล่าง และท่อนั่งเข้าด้วยกับข้อต่ออลูมิเนียมน้ำหนักเบา

ในปี 1987 และปี 1988 TREK ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวจักรยานเสือหมอบรุ่น TREK 2500 ที่ใช้ชิ้นส่วนคาร์บอนไฟเบอร์เพิ่มขึ้นอีก 4 ชิ้น ที่ส่วนหลังของเฟรม นับเป็นการก้าวสู่ยุคจักรยานเสือหมอบคุณภาพสูงโดยแท้จริง

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง