จักรยานดาวน์ฮิลล์: เทคนิคการเตรียมตัวฝึกซ้อมเพื่อการเข้าร่วมแข่งขันดาวน์ฮิลล์ ตอนที่ 2
สวัสดีครับเพื่อน หลังจากในตอนที่ 1 นั้นเราได้นำเสนอแนวทาง และแนวคิดในการเริ่มต้นเรียนรู้การปั่นจักรยานดาวน์ฮิลล์ไปแล้ว และในตอนต่อไปนี้จะมาแนะนำถึงกระบวนการฝึกการรับรู้สร้างความชำนาญ ซึ่งจะแยกเป็นลำดับดังนี้
1.จัดทำแผนที่สนามตั้งแต่ต้นจนจบอย่างย่อจดจำจุดที่สำคัญ ๆ ที่จะทำให้เวลาเร็วหรือเวลาช้า แล้ววางแผนการใช้กำลังและการปั่นจนสามารถที่จะมีภาพเส้นทางอยู่ในสมองก่อนจะมีการแข่งขันจริง ต้องฝึกที่จะอ่านภูมิประเทศ แต่ละแบบ และดูเส้นทางที่จะใช้ขี่จักรยานดาวน์ฮิลล์ และ ครอสคันทรี่ ตั้งแต่เส้นทางที่ดีที่สุดถึงแย่ที่สุด ลองขี่สัก 3 ไลน์ เพื่อเวลาแข่งจริงถ้าเกิดข้อผิดพลาดเราก็จะสามารถผ่านพ้นเส้นทางไปได้ด้วยความปลอดภัยและไม่เสียเวลามาก
2.ฝึกมองไกลและใกล้สลับกันจนเป็นนิสัย แต่โดยปกติเราจะมองไกลไปข้างหน้าเสมอ
3.ฝึกการควบคุมระบบประสาทการสั่งการในจุดเริ่มต้นปล่อยตัว ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการแข่งขัน ถ้าเราออกตัวได้ดีอาจทำให้โค้งแรกของเราใช้เวลาน้อยลงไป 1-3 วินาที ต้องซ้อมออกตัวอย่างสม่ำเสมอให้ตำแหน่งขาจานอยู่ตำแหน่งที่ถูกการฝึกสภาพระบบร่างกาย
- การฝึกปั่นในเส้นทางที่หลากหลายรูปแบบ โดยใช้รถ Hard Trail หรือ Free Ried สลับกับรถจักรยานดาวน์ฮิลล์ จะดีที่สุดเพราะจะสามารถปั่นได้นานและได้พบเส้นทางที่หลากหลายอย่าซ้อมเส้นทางเดิม ๆ ให้ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดก่อนจะลง ดาวน์ฮิลล์
- ฝึกปั่นสนามดาวน์ฮิลล์ ที่มีระยะทางยาว ใช้เวลานาน ใช้ความอดทนสูง
- ฝึกปั่นสนามดาวน์ฮิลล์ ที่มีระยะทางสั้น ต้องมีการกระชากตื่นตัวอยู่เสมอ
4. การฝึกปั่นให้มีความลื่นไหลตื่นตัวและสนุก มีสมาธิ ขี่ให้ราบรื่นเสมอรักษาให้จักรยานอยู่บนพื้นมากที่สุด เพราะเป็นการแข่งขันทำเวลาไม่ใช่การแข่งขันกระโดดโชว์ท่า คุณจะสามารถทำความเร็วได้ตลอดเส้นทางแตกต่างจากการที่อยู่บนอากาศนาน ๆ อย่าล้ม ใช่แล้วครับคุณต้องฝึกความชำนาญให้มากพอ ไม่กลัว แต่ไม่ประมาท
5. การควบคุมรถเข้าโค้งการเลี้ยว
- เข้าโค้งที่มีความเร็วสูง ฝึกความเร็วต่ำ เส้นทางเลี้ยวที่คับแคบ ฝึกเรียนรู้ในการตัดโค้งเพื่อย่นระยะทาง ฝึกการตัดเนินหลังเต่าคือการไม่กระโดดสูง
- การออกจากโค้งให้เร็ว คือการเรียนรู้ที่จะเข้าเร็วออกเร็ว
6. ฝึกการผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ
- การฝึกโดดหน้าตัดแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ต่ำ จึงถึงสูง โดดแล้วเหลือพื้นที่มาก เหลือพื้นที่น้อย หลังจากโดนลงมาแล้วเลี้ยวซ้ายขวาหรือตรงไป
- เรียนรู้การปรับแต่งรถจักรยานให้เข้ากับเส้นทางที่แข่งขัน
- ฝึกกระโดดรูปแบบต่าง ๆ การกระโดดสูง ต่ำ การกระโดดไกล ใกล้หรือไม่กระโดด โดยใช้การ Bunny Hop ข้ามหรือแม้แต่การ Munual การเตรียมตัวก่อนกระโดด การรองรับแรงกระแทก การปั้มรถให้ลื่นไหลส่งต่อเพิ่มความเร็ว
- การปั่นเร่งขึ้นเนินสั้นและเนินยาว ซึ่งจะมีให้เห็นบ่อย ๆ ในรายการแข่งขันปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราได้นักปั่น XC เป็นแชมป์ดาวน์ฮิลล์
- การปั่นในเส้นทางที่เปียกลื่น มีแอ่งน้ำ เป็นโคลน ฝนตก
- การปั่นในเส้นทางที่เป็นพื้นแข็งลื่น หิน หรือกรวดลอย
- หลักการดูแลโดยทั่วไปเรียนรู้หลักโภชนาการที่ร่างกายต้องการ ในการชดเชย การวางโปรแกรมในการฝึกซ้อมและการเล่น เวทเทรนนิ่ง
- การฝึกความคล่องตัวของกล้ามเนื้อ เรียนรู้ว่าตัวเองสามารถที่จะออกแรงปั่นได้ดีที่สุดในระยะขนาดใด
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวการฝึกซ้อมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เรายังทำได้ไม่ดีพอ เมื่อถึงเวลาที่เราไปแข่งขันเราจะพร้อมกับเส้นทางทุก ๆ เส้นทางและเราจะต้องทำการฝึกด้วยความสุข อย่างลืมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้ครบ และควรฝึกซ้อมกับเพื่อนหรือผู้ดูแล กรณีเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง เมื่อเราฝึกมากพอเราจะมีทักษะ เทคนิค และคุณจะสามารถขี่ได้โดยอัตโนมัติ จะทำให้คุณมีการขี่ที่ดีขึ้น ถ้าทำการฝึกฝนบ่อย ๆ รับประกันว่าคุณจะรู้สึกประหลาดใจในการขี่ของคุณ ในตอนต่อ ๆ ไป เราจะได้นำวิธีการขั้นตอนแต่ละหัวข้อมาอธิบายแบบเจาะลึกกันต่อไปครับ
[จักรยานดาวน์ฮิลล์]
ที่มา:นิตยสาร Race Bicycle บทความโดยคุณ นิกร เกื้อปัญญา (อดีตนักกีฬาจักรยานดาวน์ฮิลล์ทีมชาติไทย)
บทความที่เกี่ยวข้อง:
>> จักรยานดาวน์ฮิลล์: เทคนิคการเตรียมตัวฝึกซ้อมเพื่อการเข้าร่วมแข่งขันดาวน์ฮิลล์ ตอนที่ 2
>> การฝึกพื้นฐานการขี่รถดาวน์ฮิลล์
>> เสือภูเขาดาวน์ฮิลล์จากอดีตสู่ปัจจุบัน
>> ดาวน์ฮิลล์คอนเนอร์ : การเลือกซื้อโช๊คหน้าสำหรับคนชอบเบา ..แต่งบประมาณจำกัด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น