สถานการณ์จักรยานทั่วโลก
ประเทศ แคนาดา
Ø เมืองมอนทรีอัล : เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศทุ่มงบประมาณ 134 ล้านดอลลาร์สร้างทางจักรยาน ราวจอดและระบบคมนาคมที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน มีการคิดค้นระบบ BIXI (มาจาก Bicycle+Taxi) ซึ่งเป็นระบบบริการให้เช่าจักรยานกว่า 2,400 คัน ตามจุดสำคัญใจกลางเมือง
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
Ø ประชาชนเลือกใช้จักรยานในการสัญจรคิดเป็นร้อยละ 1 จากสัดส่วนการเดินทางโดยพาหนะประเภทต่าง ๆ
Ø รัฐบาลกลางจัดสรรงบประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ลงทุนในโครงการพัฒนาทางจักรยานและทางเท้า ระหว่างปี 1998-2003
Ø มีการเปลี่ยนถนน 4 เลน ในนครนิวยอร์กเป็น 3 เลน เพื่อเพิ่มทางจักรยานเข้าไป 1 เลน และเพิ่มทางเดินเท้า
Ø เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน มีทางจักรยานกว่า 418 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย มีการจำหน่ายจักรยานสงเคราะห์ราคาถูก
ประเทศ โคลอมเบีย
Ø เมืองโบโกตา ใช้เวลา 5 ปีในการสร้างทางจักรยาน 300 กิโลเมตร
Ø ประชาชนใช้จักรยานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี 2000 เป็นร้อยละ 4 ในปี 2007
Ø ทุกสัปดาห์จะมีการปิดถนนสายต่าง ๆ รวมระยะทาง 113 กิโลเมตรเพื่อให้ผู้คนได้เดิน ขี่จักรยาน และพักผ่อน
Ø ประชาชนมีมติไม่ให้รถยนต์ส่วนบุคคลวิ่งในชั่วโมงเร่งด่วน
ประเทศบราซิล
Ø เมืองกูรีตีบา รัฐปารานา พยายามส่งเสริมให้ชาวเมืองหันมาใช้จักรยานเป็นเวลา 40 ปีแล้ว โดยสร้างทางจักรยานรวม 150 กิโลเมตร และผู้ว่าราชการเมืองมีนโยบายแจกจ่ายจักรยานแก่คนยากจน
ประเทศ เดนมาร์ก
Ø มีจักรยานโดยเฉลี่ย 8 คันต่อ 10 ครอบครัว (ร้อยละ 0.83)
Ø ประชาชนเลือกใช้จักรยานคิดเป็นร้อยละ 18 จากสัดส่วนการเดินทางประเภทต่าง ๆ
Ø กรุงโคเปนเฮเกน สัดส่วนการเดินทางโดยจักรยานสูงถึงร้อยละ 36 รัฐบาลพยายามผลักดันให้เมืองหลวงแห่งนี้เป็นเมืองจักรยานอันดับ 1 ของโลก ด้วยการสร้างกระแสที่เรียกว่า “Copenhagenize” อันหมายถึงการทำให้เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมจักรยานแบบโคเปนเฮเกน
Ø มีการกำหนดมาตรฐานทางจักรยาน มีทางหลวงจักรยาน เชื่อมกันเป็นเครือข่ายทั่วประเทศ
ประเทศ เยอรมนี
Ø มีจักรยานโดยเฉลี่ย 7 คันต่อ 10 ครอบครัว (ร้อยละ 0.77)
Ø ประชาชนเลือกใช้จักรยานคิดเป็นร้อยละ 10 จากสัดส่วนการเดินทางประเภทต่าง ๆ
Ø นักเรียนเกรด 3-4 (ป.3-ป.4) เรียนวิชาขี่จักรยานและต้องสอบให้ผ่าน
Ø ทุกวันอาทิตย์ของเดือนสิงหาคมเป็น “วันปลอดรถยนต์” บนเส้นทาง Car-free German Wine Route ระยะทาง 80 กิโลเมตรทอดยาวผ่านหมู่บ้านท้องถิ่นหลายแห่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการผลิตไวน์
ประเทศ เนเธอร์แลนด์
Ø มีจักรยานโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 1 คัน (ร้อยละ 1.1)
Ø กรุงอัมสเตอร์ดัม มีจักรยานราว 7 แสนคัน
Ø ประชาชนใช้จักรยานคิดเป็นร้อยละ 27 จากสัดส่วนการเดินทางประเภทต่าง ๆ นับเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก
กรุงลอนดอน
Ø การเดินทางในเขตใจกลางเมืองประชาชนใช้จักรยานและเดินถึงร้อยละ 75 ใช้ระบบขนส่งมวลชนร้อยละ 20 และรถยนต์ร้อยละ 5
Ø มีการเก็บค่าจราจรติดขัด (London Congestion Charge:LCC) โดยเก็บเป็นรายวันต่อรถยนต์ 1 คันที่เดินทางในโซนกลางเมือง ในช่วงกลางวันวันทำงาน
ประเทศจีน
Ø วางแผนสร้างทางจักรยานในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบเมืองโดยมีเป้าหมายว่าในปี 2015 จะมีศูนย์เช่าจักรยาน 1,000 แห่ง และมีจักรยานให้เช่ากว่า 5 หมื่นคัน
กรุงปารีส
Ø มีบริการจักรยานสาธารณะภายใต้ชื่อ Verlib โดยผู้เช่าจักรยานสามารถเช่าจักรยานจากสถานีหนึ่งแล้วขี่ไปคืนในอีกสถานีหนึ่งโดยจะมีระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการระบบการ ยืม – คืน หรือถ้าใครต้องการจักรยานที่มีศักยภาพสูงกว่านั้นก็สามารถหาเช่าได้ตามร้านทั่วเมือง โดยมีทางจักรยานที่มีคุณภาพเป็นเครือข่ายเกือบทั่วเมือง
ประเทศเกาหลีใต้
Ø ส่งเสริมการใช้จักรยานตั้งแต่ปี 1990 มีแผนระดับชาติแล้ว 2 ฉบับ
Ø ประชาชนใช้จักรยานคิดเป็นร้อยละ 1.2 จากสัดส่วนการเดินทางประเภทต่าง ๆ
Ø มีทางจักรยาน 1,970 กิโลเมตร แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ เส้นทางระดับชาติที่วิ่งรอบประเทศ เส้นทางเลียบแม่น้ำสายหลัก 4 สาย เส้นทางระดับตำบล และเส้นทางระดับภูมิภาค
Ø ตั้งเป้าให้คนใช้จักรยานในการเดินทางถึงร้อยละ 5 ในปี 2011
Ø ทุ่มงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านวอน สร้างทางจักรยาน 17,600 กิโลเมตร
Ø สนับสนุนอุตสาหกรรมจักรยานและงานรณรงค์และเตรียมงบประมาณ 5 แสนล้านวอนเพื่อการนี้
ประเทศญี่ปุ่น
Ø กำหนดต้นทุนในการมีรถยนต์สูง อาทิ ภาษีน้ำมันสูงกว่าสหรัฐฯ 2 เท่า ค่าตรวจสภาพรถยนต์สูงถึง 2,000 ดอลลาร์ต่อปี
Ø นายจ้างมีมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่เดินทางโดยจักรยาน ลดเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้รถยนต์
Ø มีระบบบริการจักรยานสาธารณะ มีฟุตบาทกว้างขวาง และมีจุดจอดจักรยานไฮเทคหลายจุดในเมือง
ประเทศออสเตรเลีย
Ø ปี 2001 – 2006 ประชาชนขี่จักรยานไปทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 28
Ø ประชาชน 1.7 ล้านคนขี่จักรยานออกกำลังกายเป็นประจำ
ประเทศไทย
Ø จังหวัดตาก มีการสร้างทางจักรยานบนถนนพหลโยธินในช่วงที่ผ่านตัวจังหวัด พร้อมแนวอิฐป้องกันรถยนต์
Ø จังหวัดเลย ที่อำเภอด่านซ้าย ไม่มีทางจักรยาน แต่เกิด “วัฒนธรรมจักรยาน” ขึ้นจากความพยายามของชาวเมือง ทำให้วันนี้มีผู้ใช้จักรยานในด่านซ้ายไม่ต่ำกว่า 400 คน และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
Ø กรุงเทพฯ ได้ชื่อว่ามีทางจักรยานในทางนิตินัยกว่า 25 เส้นทาง แต่ใช้งานได้จริงไม่ถึงครึ่งและมีโครงการจะสร้างทางจักรยานอีก 200.05 กิโลเมตรภายใน 2 ปีข้างหน้า
ปล.ฝากไว้ให้คิด:
Ø การเดินทางโดยจักรยานแทนรถยนต์ มีผลเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 170 ต้น Ø รถยนต์มีค่าบำรุงรักษาและจิปาถะราว 3.29 แสนบาทต่อระยะทาง 17,703 กิโลเมตร ขณะที่จักรยานมีค่าบำรุงรักษาเพียง 3,596 บาทในระยะทางที่เท่ากัน
(ขอบคุณบทความดี ๆ จาก นิตยสารสารคดี ครับ)