ss

23 ก.ค. 2554

การฝึกสปริ๊นท์ (Sprint) ตอนที่ 1

|1 ความคิดเห็น
การฝึกสปริ๊นท์ (Sprint)

สปริ๊นท์ (หัวใจของการแข่งขัน) เป็นการฝึกขี่จักรยานในระดับความเข้มสูงสุด โดยการใช้ความพยายามเร่งความเร็ว (Accelerate) ในการปั่นจักรยานอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 10-25 วินาที และเป็นช่วงเวลาที่หัวใจเต้นสูงสุด (MHR) เทคนิคของนักปั่นชั้นยอดจะฝึกซ้อมสปริ๊นท์ในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันพัก เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นตัวอย่างพอเพียงก่อนที่เราจะบังคับให้มันทำงานอย่างเต็มที่ 100 % ต่อไปการสปริ๊นท์เป็นสิ่งที่เราควรจะทำสองครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ตลอดปี เพราะถ้าเราหยุดฝึกซ้อมสปริ๊นท์เมื่อใดกล้ามเนื้อขาว (Fast-twitch,typ1) ก็จะลืมการทำงานที่รอบขาในการปั่นรอบขาสูง ๆ เมื่อนั้นคล้าย ๆ กับเล่นเวท ถ้าเราหยุดยกเวทกล้ามเนื้อก็จะลดความแข็งแรงลงไป

วิธีการฝึกซ้อมจักรยานโดยการ “สปริ๊นท์” ทำได้โดยสมมุติว่าเส้นชัยอยู่ข้างหน้า อาจจะเป็นหลักกิโลเมตร หรือป้ายจราจร แล้วสปริ๊นท์เข้าหาเส้นชัยที่สมมุติอันนั้น (ระยะทาง 80-250 เมตร) โดยเริ่มต้นด้วยการขี่ด้วยรอบขา 100 รอบต่อนาที (ปรับเกียร์) ไปเรื่อย ๆ ราว ๆ 10 นาที อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 65 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เพื่อกระตุ้นเตือนร่างกายให้เข้าสู่การอบอุ่นร่างกาย โดยการสปริ๊นท์ขึ้นเนินเตี้ย ๆ ที่มีระยะทางประมาณ 50-100 เมตร สามครั้งให้ใช้เกียรค่อนข้างหนัก ซึ่งจุดประสงค์ก็คือเพื่อสร้างกำลังในการออกตัว พยายามทำการสปริ๊นท์ด้วยระยะเวลาสั้น ๆ 6-7 วินาที เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ร่างกายและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น

หลังจากนั้นก็ลงมือฝึกการสปริ๊นท์โดยการสปริ๊นท์ในระยะทาง 150-250 เมตร 4-7 ครั้ง สามครั้งแรกออกตัวด้วยความเร็วต่ำ ๆ คล้าย ๆ กับการฝึกซ้อมในลู่ ที่เหลือก็ทำการปริ้นท์ด้วยเกียร์ที่เรารู้สึกว่าค่อนข้างสูง (หนัก) ในตอนเริ่มแต่ก็สามารถปั่นด้วยรอบขาสูงเต็มที่เมื่อเข้าเส้นชัยที่สมมุตินั้นได้ การสปริ้นท์แต่ละครั้งใช้เวลาประมาร 10-15 วินาที เสร็จแล้วก็เปิดโอกาสให้ร่างกายได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยการปั่นซอยขาเบา ๆ ให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงไปถึง 65% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยการขี่ไปเรื่อย ๆ ก่อนที่จะสปริ้นท์ครั้งต่อไป การฝึกสปริ๊นท์ครั้งแรก ๆ อาจใช้เวลาฟื้นตัวแค่ 5 นาที แต่พอสปริ้นท์มาก ๆ ขึ้นเวลาที่ร่างกายต้องใช้ในการฟื้นตัวก็จะมากตามขึ้นไปด้วยเป็นลำดับ

การพัฒนาการฝึกสปริ๊นท์จะทำได้ดีถ้าฝึกซ้อมกับคนอื่น เพราะสัญชาติญาณของการแข่งขันทำให้เราสปริ๊นท์ได้เร็วขึ้น ข้อสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้จากการสปริ๊นท์ก็คือเทคนิคการปั่นอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสปริ๊นท์จะสอนให้เรารู้จักใช้ความเร็วที่รอบขาสูงสุด อย่าลืมว่าเทคนิคของการปั่นที่ดีนั้น เป็นผลบวกของความเร็วกับกำลังของขาเราจะต้องรู้จักใช้กำลังขอขาตอนที่ปั่นด้วยรอบขา 85 รอบต่อนาทีให้ได้ดีพอ ๆ กับการใช้ความเร็วในการปั่นตอบขา 120 รอบต่อนาที หรือมากกว่าและนี่คือเหตุผลที่ว่าผู้เขียนไม่แนะนำให้ฝึกขี่รถที่ใช้เกียร์รถลู่ (Fixed gear) เพราะมันไม่เปิดโอกาสให้เราเรียนรู้ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน


บทความที่เกี่ยวข้อง:  
  

>> การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 2 “ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกสปริ๊นท์”

>> การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 3 “ผลดีของการฝึกสปริ๊นท์”

>> การฝึกสปริ๊นท์ ตอนที่ 4 “รูปแบบการฝึกสปริ๊นท์”

 

การวัดปริมาณการฝึกซ้อมการปั่นจักรยาน

|0 ความคิดเห็น
การวัดปริมาณการฝึกซ้อมการปั่นจักรยาน


ในการฝึกซ้อมจักรยาน วิธีวัดปริมาณของการฝึกซ้อมเป็นสิ่งสำคัญ นักจักรยานไทยส่วนมากจะพูดถึงระยะทางฝึกซ้อมเป็นหลัก บางคนอาจจะพูดว่าซ้อม 500 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ในขณะที่อีกคนหนึ่งอาจจะบอกว่าเขาฝึกขี่แค่ 250 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ ก็เพียงพอที่จะลงแข่งขันได้


เป็นที่น่าเสียดายว่าการวัดปริมาณการฝึกซ้อมที่เป็นระยะทางไม่ได้บอกอะไรเรามากนักเพราะ “มันไม่ได้บอกว่าเราขี่ในระยะดังกล่าวอย่างไร” เราอาจจะฝึกซ้อมระยะทางใกล้ๆ แต่ถ้าเราไม่ได้ขี่ด้วย “คุณภาพ” (ขี่ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ในตารางฝึก) เราก็เสียเวลาส่วนใหญ่ไปโดยเปล่าประโยชน์ ผู้เขียนจะเน้นการใช้ระยะเวลาในการฝึกซ้อมครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเกณฑ์กำหนดมากกว่าระยะทางทั้งนี้ต้องยึดวัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อมเป็นหลัก (ระยะเวลาของการฝึกซ้อมไม่เท่ากัน) เช่นต้องการฝึกความอดทน (Endurance) และเผาผลาญไขมัน (Burning Fat) จะใช้ระยะเวลา 3-4 ชั่วโมงต่อการฝึกหนึ่งครั้ง แต่ถ้าต้องการฝึกความเร็วใช้เวลา 30 – 90 นาที หรือฝึกกำลังจะใช้ระยะเวลา 60-120 นาที เป็นต้น เหตุผลก็คือ เพราะว่า “ร่างกายของคนเรานั้นทำงานตามระยะเวลาที่ถูกใช้ไม่ได้ทำงานตามระยะทางที่มันเดินทางไปได้นั่นเอง”

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือการฝึกซ้อมที่ระยะใกล้ ๆ ในฤดูแข่งขันเราอาจต้องฝึกซ้อมขี่ด้วยปริมาณที่เท่า ๆ กับที่เราจะเจอในสนามแข่งขันที่จะมาถึง สมมุติว่าเป็นระยะทาง 250 กิโลเมตร ถ้าเราพยายามฝึกซ้อมขี่ในระยะนี้เราอาจหมดแรงเสียก่อน เพราะการฝึกขี่ความอดทน (Endurance Ride) เราขี่ด้วยความเร็วที่ช้ากว่าการแข่งขันมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้ในการแข่งขันจริง ๆ ไปหลายชั่วโมง แต่ในทางตรงกันข้ามเราสามารถคำนวณเวลาคร่าว ๆ ได้ว่า เราจะใช้เวลาในการแข่งขันประมาณเท่าใด สมมุติว่าใช้เวลา 3.5 – 4 ชั่วโมงเราควรฝึกขี่ด้านความอดทนตามระยะเวลานั้นจะได้ผลที่ดีกว่าครับ

15 ก.ค. 2554

Training in the Post Season for Endurance Athletes

|0 ความคิดเห็น

Training in the Post Season for Endurance Athletes

This is the first article in a series, directed towards the changing seasons – off season through race season. They are meant to provide some general guidelines, thoughts, and tips to help you toe the start line in your best shape.

I like to think of the transition period between the end of the race season and the start of the next training season as the “postseason.” It’s an essential period that allows the athlete to fully recover mentally and physically and to allow time to reflect on the previous season.? Once all the racing over, it’s a good time to let the body and mind heal. By the end of the season, you’ve put your body through enough stress preparing for and traveling to races, while maintaining a balance of career and family, that I recommend taking an entire week or two off the bike completely.  Instead, you may want to try some other activities, such as some short hikes, gym workouts, or treadmill or elliptical trainer sessions. It’s important to stay active with short, easy sessions to keep your body moving, and keep your mind clear and ready to come back stronger, fresher, and enthusiastic to train your butt off.

After the postseason break, I use the good weather for a period of two weeks to two months to simply enjoy the time on the bike. It's important to emphasize enjoyment of riding and being outside. You may want to leave the power meter and heart rate monitor at home and don’t worry about getting in your intervals or sprints - only fun riding! You can even ride hard and chase your friends around if you’re feeling up to it. The rides are not about training because you'll have plenty of time to do that later.

Base training should start about six months before your first “A” race and generally lasts about twelve weeks. For some riders, it works to hang their bike up over the winter. Just keep in mind that if you are one of those that hangs up your bike, that you will likely lose a great deal of fitness and gain unwanted pounds.  If you do hang up the bike during the winter months, focus on cross training, including running, cross country skiing, weight training, or other cardio work, such as elliptical machines.  It's much easier to start the base period with some fitness and within 5-8 pounds of your race weight than having to work your way back and try to lose 10-15 pounds.? The following are some tips to help you get through the postseason and be ready for the base period:
  • Stick with a lower intensity riding and no racing mentality. After one or two weeks completely off your bike, your rides should be about fun, health and fitness, camaraderie, and the overall experience instead of preparing for the next race. It's still ok to hit it hard when you feel like it, but try not going hard more than once a week.
  • Reflect on aspects of the season that went well and note ones that didn't.  What did you do last season to help maximize your performance? Identify one or two areas that require improvement and focus on these in your training plan.  By keeping it simple and limiting the areas to improve, you will stay focused and achieve better results. Don’t forget, your training can be updated throughout the process, so if you can focus and improve quicker, you may be able to move on to new areas.
  • Take advantage of the extra time to cross off your list of to-dos around the house and enjoy non-bike activities with your family. Go for a hike, head to the museum, or even just have a movie night at home. It helps to reduce the stress on your spouse and kids. Remember, although they may not be training, the travel, races, and training is tiring for them too! You’ll all start the new season with a clean mental slate! 
  • Maintain some fitness by not hanging up your bike. The beginning stages of your base training will be easier because you won’t have to start over. Enjoy the fitness you built during the season by taking in the experience and having fun with your friends. 
  • Watch your diet.  Make it easier on yourself by not putting on weight you'll need to take off later.  You won't be burning as many calories, so cut back on your ?starchy carbohydrates (pasta, bread, rice, potatoes, etc.) and focus on simple, clean foods, such as fruits, vegetables, whole grains, lean protein, and fats, such as olive oil. Developing (or redeveloping!) a good diet in the postseason will help you to maintain a good weight, as well as build a base of good eating habits that you can rely on during periods of heavy training loads.
  • Focus on building muscular power and endurance. You’ve been maintaining your strength throughout the season, so it’s important to change gears in the postseason to ncorporate a different weight training routine.? 
Article Source: www.303cycling.com

หลักการฝึกซ้อมจักรยาน : ระดับความหนักของการฝึกซ้อมจักรยาน (Intensity Training)

|0 ความคิดเห็น

หลักการฝึกซ้อมจักรยาน : ระดับความหนักของการฝึกซ้อมจักรยาน (Intensity Training)

นักกีฬาจักรยานที่ฝึกซ้อมจักรยานจะต้องรู้เกี่ยวกับระดับความหนักของการฝึกซ้อมว่าเราควรจะฝึกอยู่ในระดับใดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางร่างกาย และสมรรถภาพของตนเอง ก่อนฝึกต้องอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ก่อนเสมอ และหลักฝึกต้องผ่อนคลาย (Cool Down) เพื่อปรับให้ร่างกายเย็นลง ในการฝึกซ้อมจักรยานจะแบ่งระดับการฝึกดังนี้

     1. การฝึกในระดับที่หนักมากที่สุด (Maximun Effort) เป็นระดับที่มีความเข้มข้นในการฝึกสูงที่สุด การฝึกในรูปแบบนี้ได้แก่การสปริ๊นท์ร่างกายจะทำงานที่ในระดับนี้ได้ระยะเวลา 10-25 วินาที หัวใจจะเต้นด้วยอัตราสูงสุด ร่างกายทำงานโดยไม่ใช้ออกซิเจน แหล่งพลังที่กล้ามเนื้อดึงมาใช้ได้แก่ ATP และ PC

     2. การฝึกในระดับที่หนักใกล้สูงสุด (Submaximum Effort) เป็นการฝึกที่ร่างกายสามารถใช้เวลาได้นานขึ้น 25 วินาทีถึง 2 นาที การฝึกขี่จักรยานในระดับนี้ เช่นการขี่จับเวลาไทม์ไทรอัล (TT) ระยะทาง 1,000 เมตรในลู่ หัวใจจะเต้นด้วยอัตราเกือบเท่า 100 % ของอัตราการเต้นสูงสุด การฝึกซ้อมในระดับนี้จะแตกต่างกับระดับแรกที่ว่าร่างกายใช้ “แอนแอโรบิกไกลโคเจน” (Anaerobic Glycogen) เป็นแหล่งพลังงาน
     
     3. การฝึกในระดับสูง (High Inensity) ร่างกายสามารถทำงานในระดับนี้ได้นาน 2-4 นาที การขี่จักรยานระดับนี้เช่นการขี่เปอร์ซูท 300-400 เมตร หัวใจจะเต้นถึงอัตราสูงสุดได้ในระดับความเข้มที่ร่างกายทำงานที่เขตติดต่อระหว่าง “แอโรบิก” (ใช้ออกซิเจน) และ “แอนแอโรบิก” (ไม่ใช้อากาศ) แต่ตอนปลาย ๆ ของการาทำงานร่างกายจะเข้าสู่สภาพการไม่ใช้ออกซิเจนพลังงานที่ใช้มาจากทั้ง แอโรบิกและแอนแอโรบิกไกลโคเจน บางคนเรียกวิธีการฝึกขี่นี้ระดับนี้ว่า “การฝึกอินเตอร์วอลแบบยาว” (Long Interval)

     4. การฝึกในระดับความเข้มปานกลาง (Average Intensity) หรือที่เรารู้จักกันดีในการฝึกที่เรียกว่า Anaerobic Threshold (AT) ร่างกายของเราจะสามารถทำงานในระดับนี้ อาจเป็นการขี่ไทม์ไทรอัลระยะทาง 5-20 กิโลเมตร อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 90-100% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ร่างกายจะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญทำให้เกิดพลังงานที่ระดับนี้ หมายเหตุนักจักรยานจะใช้เวลาส่วนมากฝึกซ้อมที่ระดับความเข้มในระดับนี้และที่ต่ำกว่านี้รวมทั้งการฝึก AT (Anaerobic Theershol Training)
    
     5. การฝึกในระดับเบา (Light Intensity) ร่างกายจะสามารถทำงานในระดับนี้ตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปการฝึกในระดับนี้คล้าย ๆ กับการขี่ไทม์ไทรอัลระยะทาง 40 กิโลเมตร หรือขี่หนักในระยะที่ใกล้กว่านั้น อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 80-90% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด การทำงานของร่างกายจะเป็นแบบแอโรบิก (ใช้ออกซิเจน)ตอนแรกจะใช้ไกลโคเจนและต่อมาจะใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน พอมาถึงจุดนี้ร่างกายก็จะหมดแรงหรือที่เรียกว่า “บ๊องส์” (Bonks) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาวะชนกำแพง” (Hitting the wall)

     6. การฝึกในระดับต่ำ (Low Intensity) ร่างกายสามารถทำงานในระดับนี้ได้นานเท่าที่ต้องการเช่นการขี่จักรยานข้ามประเทศสหรัฐอเมริกา (การแข่ง RAMM) ที่ขี่แข่งขันกันในระดับความเข้มระดับนี้สามารถขี่จักรยานได้เก็บตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 65 – 87% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด แหล่งพลังงานที่ร่างกายนำมาใช้คือไขมัน (Fatty Acid)

หมายเหตุ: โปรแกรมการฝึกซ้อมจักรยานที่สมบูรณ์ควรจะต้องรวมเอาการฝึกซ้อมที่ทุก ๆ ระดับเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

บทความโดย: อาจารย์ปราจิน  รุ่งโรจน์

12 ก.ค. 2554

เทคนิคการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยานเพื่อลดอาการบาดเจ็บ

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยานเพื่อลดอาการบาดเจ็บ

มีผู้ขี่จักรยานและนักกีฬาจักรยานหลายคนที่ขี่จักรยานแล้วไม่ประทับใจ  เช่น เกิดอาการปวดตามที่ต่าง ๆ เช่น ปวดก้น  ปวดขา  ปวดแขน เมื่อยหลัง เป็นตะคริว ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะเราขาดการเรียนรู้ในเทคนิคทักษะของการวางตำแหน่งของร่างกาย  กล่าวคือขณะที่เราปั่นจักรยานจะมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 3 ที่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สัมผัสกับจักรยานคือ

1.การนั่งอาน: ปกติจะนั่งเต็มก้นกันทุกๆ คนก็จริง  แต่ระดับของอานที่ถูกต้องจะต้องไม่เงยขึ้นหรือก้มลง  อานจะต้องปรับให้ขนานกับพื้นเสมอ ทำให้การจัดตำแหน่งในการขี่จักรยาน(ทั้งนั่งและยืนปั่น)ทำได้ง่าย  เช่น  เวลาขี่ขึ้นเขาชันให้ขยับก้นขึ้นไปด้านหน้าเพื่อเพิ่มแรงกดลูกบันได  หากขึ้นเขายาว ๆ แล้วละก็ให้เลื่อนก้นลงมาอยู่ข้างหลัง เพื่อเพิ่มแรงดันลูกบันได และถ้าเป็นทางราบยาว ๆ ซึ่งต้องขี่เร็วให้เลื่อนก้นมาข้างหน้า  ขี่เสมอให้นั่งเต็มอาน

2.การวางตำแหน่งของมือ: ถ้าเป็นรถจักรยานธรรมดาก็เพียงแต่จับแฮนด์สบายๆ  แต่ถ้าเป็นรถจักรยานเสือภูเขาควรจับที่ยางแฮนด์โดยใช้นิ้วชี้  และกลาง แตะมือเบรกเอาไว้ตลอดเวลาพร้อมที่จะเบรก หรือชะลอความเร็วเมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง หรือหลบหลีกเครื่องกีดขวางในเส้นทางที่ต้องขี่ผ่าน  ส่วนเสือหมอบเราสามารถจะวางมือบนแฮนด์ได้หลายตำแหน่ง เช่น จับแฮนด์ด้านในสุด (Drop In ) จับบนแฮนด์ใกล้ๆ คอแฮนด์ จับตรงยางมือเบรก  และจับส่วนโค้งของแฮนด์ด้านบน  เป็นต้น การวางตำแหน่งของมือบนแฮนด์ที่ถูกต้องเพื่อทำให้เกิดความสบายในการขี่ ลดอาการเมื่อยล้าของแขน และลำตัว

3. การวางตำแหน่งของเท้า: เป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าวางตำแหน่งได้ไม่สมดุลจะทำให้แรงที่ปั่นจักรยานสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย นักแข่งหลายคนติดกริ๊ปใต้รองเท้าไม่เท่ากัน  ทำให้การปั่นลูกบันไดไม่เป็นวงกลม  ถ้ามองดูโซ่จะเห็นว่ามันวิ่งไม่เรียบ  ในขณะที่บางคนติดกริ๊ปสั้นหรือยาวเกินไป  ถ้าติดสั้น จะทำให้ปวดข้อเท้าเวลาปั่นนานๆไกลๆเพราะข้อต่อข้อเท้าต้องทำงานหนักคือหมุนจำนวนรอบที่มากเกิน แต่ถ้าติดกริ๊ปยาวเกินไป จะทำให้เมื่อยข้อเท้าเช่นกันและรอบขาที่ปั่นได้จะไม่เร็วเหมือนคนอื่น สมมุติว่าทุกคนติดกริ๊ปพอดีกับขนาดของรองเท้าตนเอง การวางตำแหน่งของเท้าในการปั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือถ้าปั่นทางราบควรวางปลายเท้าและส้นเท้าเสมอกันขณะปั่นลูกบันได  แต่ถ้าขึ้นเขาให้เชิดปลายเท้าขึ้นส้นเท้าต่ำลงขณะปั่น  แต่สปริ้นท์ให้จิกปลายเท้าลงเสมอ  

ดังนั้นการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยาน เป็นเทคนิคที่เราชาวจักรยานจะต้องฝึก และทดลองทำดู ถึงจะค้นพบตำแหน่งที่เหมาะสมของตนเองครับ  โดยการปรับการนั่งอาน  การวางมือและเท้า  ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของการขี่นั้นๆ การวางตำแหน่งของร่างกายที่ถูกต้องช่วยประหยัดแรง และทำให้เกิดความสมดุลในการปั่นทำให้ง่ายต่อการบังคับรถจักรยานของคุณและจะทำให้การออกทริปปั่นจักรยานครั้งต่อไป สนุกสนานยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ

บทความโดย "เสือเฒ่าเทอร์โบ"

ทดสอบจักรยานเสือภูเขา FUJI Tahoe 1.0

|0 ความคิดเห็น
ทดสอบจักรยานเสือภูเขา FUJI Tahoe 1.0

รถจักรยานเสือภูเขาครอสคันทรีแบบฮาร์ดเทล จากค่าย Fuji รุ่น Tahoe 1.0 เป็นรถประกอบสำเร็จรุ่นสูงสุดของทาง Fujj ที่มีตัวถังเป็นอลูมิเนียมถือได้ว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจตัวหนึ่งในท้องตลาดบ้านเรา ณ เวลานี้ เมื่อมองที่ความครบเครื่องในเรื่องของอุปกรณ์ที่ติดมากับรถแล้วถ้าไม่ซีเรียสเรื่องน้ำหนักก็คงไม่ต้องมานั่งอัปเกรดอะไหล่กันให้บานปลาย เพราน้ำหนักที่ชั่งจริงแบบไม่ถอดของที่ติดมากับรถคันนี้ออกเลนในตัวถังขนาด XS หรือ 15 นิ้ว ซึ่งเป็นคันที่เราได้นำมาทดสอบ น้ำหนักอยู่ที่ 12.7 กิโลกรัม (รวมบันใดที่หนักมากกว่าครึ่งกิโลกรัม) ถือได้ว่ามีน้ำหนักไม่มากแต่ถ้ายังไม่พอใจก็ลดน้ำหนักลงมาได้อีกไม่ยาก สามารถเอาไปปั่นออกกำลัง ออกทริปได้แบบไม่น้อยหน้าใคร

ด้วยการออกแบบ Power Curve down tube ทำให้ท่อรัดหลักอานสูงแต่ได้ท่อบนที่ต่ำลง ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้ช่วงห่างระหว่างเป้า กับท่อบนเพิ่มขึ้น รูปทรงที่โค้งมนดูแล้วเนียนตา หางปลา CNC การให้สีเป็นขาว/ดำ/แดง ที่ดูอย่างไรก็ยังสวยไม่ตกเทรนด์ จุดเด่นที่สุดของตัวถังคือการมีท่อคอที่เป็นแบบ 2 ขนาด นับว่าเป็นก้าวล้ำนำแบรนด์อื่นไปได้ระดับหนึ่ง ช็อคหน้า ROCK SHOX Recon Silver TK ที่มาพร้อมรีโมตล็อคเอาท์ทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น แฮนด์แบบยกน้อย สเตมและหลักอานเยื้องหลังของ Oval เบาะ FUJI สีขาวรางเหล็ก ดุมล้อแบบดิสก์ 6 รูติดโลโก้ FUJI ขอบล้อ Alex CP17 ดิสก์เบรก Tektro Aurigo Pro Hydraulic หน้า 180 mm. หลัง 160 mm. ยาง Schwalbe Rocket Ron แบบบขอบลวดขนาด 26x2.25 นิ้ว ทั้งหน้าและหลังแล้วก็มาถึงหัวใจสำคัญของจักรยานคันนี้ นั่นคือชุดขับเคลื่อนแบบ 3x10 ไล่มาตั้งแต่มือเกียร์ SLX  สับจาน SLX แบบจับล่างดึงบน จานหน้า SLX Hollow Tech II 24/32/42 ฟัน เฟืองหลัง SLX 11-36 ฟัน ตีนผี XT Shadow และโซ่ HG-74 เรียกได้ว่า SLX เกือบยกชุดเลยทีเดียว แถมท้ายด้วยบันใดตะกร้อของ Wellgo ที่สามารถถอดตะกร้อออกได้ สายเกียร์และสายเบรก ถูกเดินอยู่ด้านตัวถังตามแบบฉบับของเสือภูเขาที่อาจต้องแบกต้องเข็น นับว่าเป็นการจัดชุดอะไหล่ได้อย่างลงตัวจริง ๆ

ดูตัวรถและอะไหล่จนครบถ้วนแล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาทดสอบ ก่อนที่จะทำการทดสอบต้องตรวจความเรียบร้อยของชุดขับเคลื่อน ระบบเบรก ลมยาง เช็ตระยะแซ็กและรีบาวน์ของช็อค ปรับระยะเบาะความสูงของหลักอาน มุมของมือเกียร์และมือเบรกให้เข้ากับตัวผู้ทดสอบ เพื่อให้การทดสอบเห็นผลอย่างสูงสุดเท่าที่จะทำได้

เริ่มทำการทดลองด้วยการปั่นไปมาตามเส้นทางแทร็กในพุทธมณฑล ปั่นขึ้นลงไปตามเนินเตี้ย ๆ หลักเลี้ยวซ้ายขวา เพื่อดูอาการตอบสนองในการควบคุมบังคับรถปั่นรูดรากไม้ที่ขวางทางอยู่ทั้งแบบเร็วและช้า เพื่อดูการตอบบสนองของช็อคหน้า และหางหลัง เนื่องจากในช่วงทดสอบมีใบไม้ร่วงเยอะ เลยได้ลองเลี้ยวแรง ๆ แบบให้รถเสียอาการบนใบไม้เพื่อดูว่าจะควบคุมรถได้ดีแค่ไหน ประเมินสถานการณ์แล้วว่าหากวัดพื้นก็คงไม่เจ็บมากและรถก็ไม่น่าจะเสียหาย ด้วยลองแบบเบรกแบบเต็มแรงให้ล้อล็อคเพื่อทดสอบแรงเบรก เสร็จจากทางนี้ออกไปทดสอบบนทางเรียบดูบ้างล็อคช็อคหน้าแล้วยืนโยกด้วยเกียร์หนัก เพื่อดูความพุ่งความไหลของรถ

ผลที่ได้จากการทดสอบรถ Fuji Tahoe 1.0 คันนี้ถือว่าเป็นที่น่าพอใจเกินคาดกับรถในระดับนี้ ตัวเฟรมค่อนข้างกระด้างเมื่อปั่นในทางวิบากต้องยกก้นขึ้นจากเบาะ งอเข่าช่วย ตรงนี้ถือเป็นเรื่องปกติของรถแบบฮาร์ดเทล ไต่ขึ้นทางชันได้แบบเนิบ ๆ ล้อหลังกดพื้นได้ดี ทางลงชันแบบหัวปักก็ยังไปได้สบายแบบไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมาก การควบคุมทำได้ดี ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแฮนด์ที่ค่อนข้างกว้างเมื่อต้องการเลี้ยงวงแคบต้องเอนตัวมาด้านหน้า เพื่อให้แขนขยับได้มากขึ้นทำให้น้ำหนักกดที่ล้อหลังน้อยแต่รถก็ยังไม่เป๋จนเอาไม่อยู่จุดนี้ถือว่าผ่าน แรง ๆ บนใบไม้ให้ล้อไถลก็ยังเอาอยู่ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ค่อยถนัดนักเนื่องจากผู้ทดสอบตัวเล็กช่วงไหล่ไม่กว้างถ้าตัดออกไปอีกสักนิดน่าจะคุมรถเลี้ยวได้ดีกว่านี้ ช็อคหน้าทำหน้าที่ได้ได้เป็นอย่างดี ในทางขรุขระซับแรงกระแทกต่อเนื่องได้ดีหน้าไม่กระดอนขึ้น ตรงนี้ต้องเซ็ตลมและรีบาวน์ให้ถูกด้วยนะครับ ยางรุ่นนี้มีหน้ายางค่อนข้างใหญ่ดอกยางตั้ง เป็นร่องห่างทำให้ไม่ค่อยเกาะในทางที่มีผิวแข็งแต่ถ้าเป็นทางที่นิ่มหรือร่วนจะไปได้ดีทีเดียว เรื่องระบบขับเคลื่อนแทบไม่ต้องพูดถึงเพราะเหมาะมากกับจักรยานแบบครอสคันทรี ระบบเบรกถือว่าทำงานได้ดีเกินคาดมือเบรกปรับระยะได้เลียเบรกได้ง่ายกำให้ล็อคจะไปเป็นแบบกำปุ๊บล็อคปั๊ม เบรกได้นิ่มมือดี ให้อารมณ์แบบ Shimano พอมาดูอีกทีถึงได้เข้าใจ เบรกตัวนี้ใช้น้ำมัน Mineral oil การออกตัวทำได้ดีจัดว่าพุ่ง ไม่รู้สึกถึงการให้ตัว ของหางหลัง เร่งความเร็วในช่วงสั้น ๆ ได้ดีไม่ว่าจะเป็นทางราบหรือทางขรุขระ ยืนโยกง่ายหน้าไม่สะบัด หน้า 3 หลัง 8 ระยะประมาณ 30-50 เมตรนี้อัดเห็นความเร็ว 40 แต่ต้องใช้รอบขาสูงหน่อย ได้เลย แต่ถ้าไปแบบยาว ๆ ต้องหมั่นเติม ก็ยางมีขนาด 2.25

โดยรวมแล้วรถคันนี้ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนครับ ตัวเฟรมออกแบบมาได้ดีทั้งคุณสมบัติและสีสัน อุปกรณ์เข้าชุดกันดี มี Stand Ovver ที่ต่ำทำให้ขี่ง่าย แม้เป็นคนที่ขาสั้น ได้ชุดขับเคลื่อน 3x10 ยังไงก็ยังไม่ตกรุ่นอีกนาน ระบบดิสก์เบรกน้ำมัน Tekro Aurigo Pro Hydraulic ตัวนี้ใช้งานได้ดีเกินคาดครับ น่าจะดีกว่ายี่ห้อคุ้ยเคยรุ่นกลางด้วยซ้ำ ช็อคหน้าเพียงพอแล้วกับการใช้งาน ข้อเสียอย่างเดียวน่าจะเป็นน้ำหนัก ชุดล้อให้ความลื่นไหลและแข็งแรงได้อีกนานถ้าไม่เอาไปอัดกับอะไรเข้า ถ้าอยากจะแต่งเบาก็ไม่น่าจะหมดเยอะ เพราะน้ำหนักตั้งต้นไม่มาก

ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ทดสอบเท่านั้นนะครับ ถ้าอยากได้ความเห็นของตัวเองก็ต้องลองไปถอยมาปั่นดูครับว่าจะเป็นอย่างไร... สวัสดีครับ

ทดสอบโดย : นิตยสาร RACE BICYCLE

11 ก.ค. 2554

จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) คุณรู้จักดีมันแค่ไหน ?

|1 ความคิดเห็น
จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) คุณรู้จักดีมันแค่ไหน ?

จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) นี้แต่เดิมคือจักรยานลู่ ใช้เฟรมเน้นแข็งแรงไว้ก่อน ส่วนเรื่องน้ำหนักไม่ซีเรียสกันมากนัก เพราะนักจักรยานลู่จะต้องโยก ดึง กระชากจักรยานทั้งคันเพื่อแข่งกันทำความเร็วในลู่วิ่งวนเป็นวง เรียกว่า “เวโลโดรม” เพราะมันทำความเร็วได้ดี คนที่ไม่ได้เป็นนักจักรยานแข่งจึงเอาจักรยานลู่มาขี่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะใช้งานกันเป็นปกติเช่นขี่ไปทำงานหรือทำธุระอะไรกันมันก็ทำได้ เพียงแต่ต้องระวังกันมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย เพราะสภาพดุมหลังที่ไม่มีล้อฟรี  (Free Wheel) นั่นจะทำให้ตัวบันไดปั่นหมุนอยู่ตลอดเวลา การหยุดจักรยานฟิกซ์เกียร์ (fixedgear) จะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของขาคนขี่เองและโซ่ ที่จักรยานลู่ไม่มีเบรกก็เพราะเมื่อจะหยุดก็ขืนบันไดส่งแรงต้านไปยังดุมหลังได้ หรือถ้าหยุดไม่ได้เพราะโซ่ขาดมันก็ยังไหลลื่นไปตามลู่ซึ่งปราศจากสิ่งกีดขวาง

เรื่องจะขี่จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) กันนั้นเรามีความเห็นว่า โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเรื่องดีที่จะได้ออกกำลังกายกัน แต่เพราะจักรยานประเภทนี้ขี่ยาก ต้องขี่โดยคนที่คุ้นเคยกับมันหรือพูดง่าย ๆ ว่า “เอามันอยู่” เท่านั้นจึงจะปลอดภัย คนที่อยากจะสนุกกับจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) จึงควรฝึกการหยุดอย่างปลอดภัยให้ได้เสียก่อน และเพื่อความปลอดภัยขึ้นไปอีกก็ควรเลือกที่ขี่ ไม่ประมาทเพราะโอกาสเกิดอันตรายสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วตัวคนขี่จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) เองนั่นแหละที่จะเจ็บหนักหรือเสียชีวิต

ข้อสังเกตเรื่องเบรกของจักรยานฟิกซ์เกียร์ (fixed gear) ก็คือมันไม่มีเบรก แต่ก็เช่นเดียวกับที่บอกไปแล้วว่าจักรยานลู่นั้นเขาสามารถปล่อยให้ไหลไหได้เรื่อย ๆ ค่อย ๆ ขืนล้อไปจนกว่าจะหยุด แต่ถ้านำมาใช้ในเมืองแล้วอาจไม่มีระยะหยุดยาวเท่ากับในลู่จึงอาจเกิดปัญหาได้เมื่อคุมจักรยานไม่อยู่ เพื่อความปลอดภัยจึงควรมีเบรคใช้การได้อย่างน้อยหนึ่งอันซึ่งแนะนำว่าควรเป็นเบรคหลัง ผู้ขี่จักรยานควรสวมหมวกกันกระแทกทุกครั้งที่ขี่

แต่อันตรายก็ไม่ได้อยู่เฉพาะที่การเบรกเท่านั้น เนื่องจากขาจานของจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) หมุนตลอดเวลาไม่อยู่นิ่ง ตอนเข้าโค้งจึงต้องเพิ่มความระมัดระวัง ขาจานหมุนลงมากระแทกพื้นเมื่อไรก็ล้มได้ทันที อีกเรื่องหนึ่งคือช่วงลงสะพานหรือลงเนินยาว ๆ ซึ่งความเร็วจักรยานจะเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่ลาดลง ความเร็วเพิ่มรอบขาก็เพิ่มขึ้น ถ้าไม่ขืนไว้อาจหมุนด้วยความเร็วจัดถึง 120-140 รอบต่อนาที คนไม่คุ้นเคยอาจตระหนกตกใจและกลายเป็นอุบัติเหตุได้ไม่คาดฝัน

ถึงตอนนี้จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก และแพร่หลายในหลายประเทศ ประเทศสวีเดนซึ่งคนนิยมขี่จักรยานกันมาก แต่ในหลายประเทศก็ยังมองว่ามันไม่ปลอดภัย กฎหมายอังกฤษบังคับว่าต้องมีเบรกทั้งหน้าและหลัง เยอรมันนีก็เช่นกัน กฎหมายออสเตรเลียระบุว่าต้องมีเบรกอย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งไม่จำกัดว่าหน้าหรือหลัง นิวซีแลนด์บังคับว่าต้องมีเบรกหลังใช้งานได้ดีเป็นอย่างน้อย แต่หลังจากวันที่ 1 มกราคม 1988 เป็นต้นมาก็เปลี่ยนเป็นเบรกหน้า กฎหมายฝรั่งเศสบังคับให้จักรยานมีเบรกทั้งหน้าและหลัง พร้อมไฟส่องทางและตัวสะท้อนแสงทั้งหน้าและหลังเช่นกัน ข้อบังคับนี้ปรากฏในกฎหมายของเดนมาร์กด้วย

นี่คือเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่แพร่หลายไปสู่เหล่าวัยรุ่น วัยโจ๋ เด็กแนวทั้งหลายก็นิยมไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องหาความรู้และฝึกฝนการใช้จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed gear) ให้คล่อง และระมัดระวังให้มากกว่าปกติหากจะนำไปขี่ตามท้องถนน

คำแนะนำการขี่จักรยานเมาเท่าไบค์จากนักปั่นมืออาชีพ มือโปรระดับเซียนเหยียบเมฆดีกรีระดับแชมป์โลก

|0 ความคิดเห็น
คำแนะนำการขี่จักรยานเมาเท่าไบค์จากนักปั่นมืออาชีพ มือโปรระดับเซียนเหยียบเมฆดีกรีระดับแชมป์โลก


จูลิอ็อง  อับซาล็อง : เหรียญทองโอลิมปิค 2 สมัย,แชมป์โลกครอสคันทรี 4 สมัย


คำแนะนำแรกคือคุณต้องสนุกกับการขี่จักรยานครับ ความสนุกและหลงใหลนี่แหละคือแรงขับเคลื่อนของผม ส่วนเรื่องอื่น  ๆ ก็คือ 
1. เมาเท่นไบค์ของคุณต้องมีสภาพดีและปรับแต่งได้ถูกต้องเพื่อคุณได้สนุกกับมันได้เต็มที่ 
2. การวางตำแหน่งท่าทางบนจักรยานต้องถูกต้องด้วย ทั้งความสูงของอาน ตำแหน่งเลื่อนไปข้างหน้าและหลังของอาน ความยาวของขาจาน และอื่น ๆ 
3. พยายามวัดความดันลมยางให้ได้ระหว่าง 27.5 psi ถึง 30.5 psi สำหรับยางแบบทิวป์เลส และ 29-32 psi สำหรับยางปกติ 
4. วัดความดันช็อคให้ดี ให้พอเหมาะก่อนออกไปปั่น 
5. ติดมือเบรกให้ใกล้ศูนย์กลางแฮนด์ เพื่อคุณจะได้วางนิ้วชี้พักไว้บนตัวมือเบรก และเบรกเบา ๆ ได้ด้วยนิ้วชี้ 
6. มองให้ไกลตลอดเวลาเพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวาง 
7. ขี่ให้สนุกครับ

มายา  วลอสโซสก้า : แชมป์โลกครอสคันทรี่ประเภทหญิงปี 2010

    1. คุณต้องเชื่อมั่นในตัวเอง พลังทั้งหมดมาจากใจคุณนั่นเอง ถึงจะรู้สึกอ่อนแรงตอนซ้อมแต่พอมาอยู่หลังเส้นสตาร์ทแล้วฉันเชื่อว่าตัวเองจะชนะทุกที มันอาจจะช่วยอะไรไม่ได้มากก็จริงนะแต่มันก็ทำให้ฉันใจสู้ขึ้นอีกเยอะเลย
    2. ต้องสู้ กัดไม่ปล่อยนะคะ การแข่งเมาเท่นไบค์หรือมาราธอนเป็นกีฬา
ที่ใช้เวลานานค่ะและทุกสิ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น คุณอาจจะฮึดสู้ขึ้นมาได้อีกระหว่างการแข่งขันนั่นหรือไม่คนอื่นอาจจะหมดใจไปแล้ว ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้จริง ๆ ก่อนจะจบสิ้นการแข่งขัน ถ้าคุณถอยครั้งนี้ ครั้งหน้าคุณก็จะถอยเหมือนกัน 
3. ต้องมีสมาธิอยู่เสมอ ตอนแข่งจักรยานนั่นฉันไม่สนใจอะไร ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเลย มุ่นแต่การแข่งในลู่อย่างเดียว พยายามจำโค้งให้ไดทุกโค้ง หินทุกก้อนและมุ่งสนใจอยู่แต่เส้นทางข้างหน้าเท่านั้น ไม่ว่ามันจะยากหรือง่ายก็ตาม ความผิดที่ร้ายแรงที่สุดนั่นมักจะอยู่ในจุดที่ง่ายที่สุด เมื่อเรารู้สึกผ่อนคลายหลังจากผ่านพ้นช่วงที่ยากที่สุดมาได้
4. รอบจัดอยู่เสมอ ให้พยายามใช้รอบขาจัด ๆ ไว้ให้บ่อยเพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้บ่อยเท่าที่จะเป็นไปได้
5. คุมจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ จุดสำคัญที่สุดในการใช้ทักษะก็คือต้องรักษาสมดุลเอาไว้ให้ได้ เช่นตอนขึ้นเขาก็ให้เลื่อนตัวมาหน้าอาน แต่ตอนลงเขาก็ให้เลื่อนตัวไปหลังอานให้มากขึ้นอีกนิด
6. จะยากหรือง่าย ให้ใช้ความเร็วแก้  ไม่ว่าอุปสรรคจะเป็นอย่างไร การพุ่งผ่านมันไปด้วยความเร็วสูงจะง่ายกว่าใช้ความเร็วต่ำเสมอ ถ้าคุรเจอรากไม้หรือดงหินช่วงขาขึ้นเขาก็ลองอัดเร็ว ๆ ผ่านมันไปเลยสิค่ะ
7. อย่าเบรกมากตอนลงเขา  อย่าใช้เบรกบ่อยก่อนเจอหินก้อนใหญ่ ๆ ให้พยายามยกล้อหน้าหรือถ้าเป็นไปได้ก็บันนี่ฮ็อปผ่านไปเลย และต้องพยายามควบคุมจักรยานไว้ให้ได้เสมอ
8. ใช้เกียร์ต่ำเมื่อเจอโคลนหรือทราย  ให้ใช้เกียร์ต่ำเมื่อเจออุปสรรคเหล่านี้แล้วจักรยานจะตะกุยผ่านไปได้

จอร์เจีย  กูลด์ : แชมป์แห่งชาติครอสคันทรี่สหรัฐฯ ปี 2010

     1. อย่าทำอะไรเกินความสามารถ  คนบางคนบอกว่า “ถ้าไม่เคยล้มก็จะไม่มีทางพัฒนาฝีมือ” ซึ่งฉันไม่เห็นด้วยหรอก ฉันคิดว่าถ้าจะให้เก่งขึ้นมันก็ต้องผลักดันตัวเองแต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำอะไรแบบหักโหมเสมอไป เพราะเมื่อใดที่คุณกลัวคุณก็จะเกร็งแล้วทักษะต่าง ๆ ก็จะไม่เกิด มีโอกาสจะทำผิดพลาดได้มากขึ้น ดังนั้น จึงต้องหัดทำอะไรที่มันท้าทายแต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำให้ได้อย่างที่ใจคิดเสมอไป เมื่อทำได้แล้วจะเกิดกำลังใจให้ทำในสิ่งที่ยากยิ่งขึ้นค่ะ
     2. ควบคุมความดันลมยางให้ได้เสมอ  มีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่าความดันลมยางแค่ไหนที่จะสร้างความแตกต่างได้ระหว่างการเกาะถนนและการรีดเอาสมรรถนะขีดสุดออกจากจักรยาน ซื้อเครื่องวัดลมแบบดิจิตอลไว้ใช้สักอัน เอามันใส่ไว้กระเป๋าหลังเสื้อจักรยานก็ได้ แล้วคราวต่อไปเมื่อจะปั่นก็ลองวัดความดันลมยางต่าง ๆ ดูแล้วเมื่อพบว่าความดันแค่ไหนที่ทำให้ขี่ได้ดีที่สุดก็ให้ใช้ตัวเลขความดันนั้นเป็นหลัก
3. มองไกลไว้ตลอด  ยิ่งคุณมองได้ไกลเท่าไรก็ยิ่งพุ่งไปได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ฟังดูเหมือนง่ายแต่คงต้องฝึกล่ะค่ะถึงจะทำได้พอฉันเหนื่อยล่ะก็ ฉันชอบก้มมองล้อหน้าเสมอแล้วก็เลยทำให้ช้าลง ต้องฝึกมองให้ไกลให้บ่อย ๆ เข้าไว้มันจะได้กลายเป็นธรรมชาติของคุณไปเลยค่ะ
ที่มา: นิตยสาร SPORTS STEET

7 ก.ค. 2554

DT-SWISS เผยโฉมโช๊คตัว TOP XRC 100 RACE และ XRC 100 Twin Shot

|1 ความคิดเห็น
DT-SWISS  เผยโฉมโช๊คตัว TOP XRC 100 RACE และ XRC 100 Twin Shot

DT-SWISS ผลิตภัณฑ์ชั้นนำผู้มีชื่อเสียงในด้านออกแบบ และคุณภาพระดับ Hi-END จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอดมรับในวงการแข่งขันจักรยานระดับโลกในปี 2010 DT-SWISS ได้ออกแบบโช๊คที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดจักรยานแข่งขันทั่วโลก จุดเด่นของโช๊ค  DT-SWISS ก็คงหนี้ไม่พ้นเรื่องการนำเอาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าใครมาใช้ในการออกแบบผลิต สำหรับปีนี้ DT-SWISS ได้เผยโฉมโช๊คตัว TOP XRC 100 RACE และ XRC 100 Twin Shot

รุ่น XRC 100 นั้น  DT-SWISS ได้ขนานนามว่าให้เป็น Ultimate Race Fork เลยทีเดียวด้วยน้ำหนักที่เบาจนเหลือเชื่อเพียง 1,250 กรัม เท่านั้น ทุกชิ้นส่วนถูกผลิตด้วย Carbon ตั้งแต่ตัวโช๊ค Crown ไปจนถึงซางโช๊ค Lower ดีไซน์แบบกลวงเพื่อลดน้ำหนัก พร้อมการนำระบบ Twin Shot Damping System ที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีสูงสุดสำหรับโช๊คในตอนนี้

ระบบ Twin Shot Damping นับว่าเป็นสุดยอดเทคโนโลยีในโช๊คที่ก้าวหน้าที่สุดในเวลานี้ กับระบบการสั่งงานโช๊คที่ตอบสนองต่อแรงกระแทก ถึง 2 ระดับ ตอบสนองได้ละเอียดขึ้นกว่าระบบ Single Shot ตอบสนองตามผิวสัมผัสได้ละเอียดให้การยุบตัวที่นุ่มนวลมากขึ้น

สำหรับโช๊ครุ่น Top นี้ภายในใช้ระบบ ABS Air ที่ให้การทำงานตอบสนองได้สูงกว่าระบบ Air ทั่วไป โดยรักษาการทำงานให้เกิดความ Balance อัตโนมัติ สามารถปรับระดับอากาศในช่องอากาศเพื่อสนองต่อความต้องการของนักปั่นที่แตกต่างกันได้ง่าย


DT-SWISS  TOP XRC 100 RACE 


XRC 100 Twin Shot 

CEEPO จักรยานในฝันของนักไตรกีฬา

|0 ความคิดเห็น
CEEPO  จักรยานในฝันของนักไตรกีฬา

CEEPO จักรยานแบรนด์นี้อาจจะไม่ได้เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาวงการจักรยานไทยเท่าไหร่นัก แต่ในระดับโลก CEEPO เป็นจักรยานที่เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของการแข่งขัน IRONMAN การที่จะขึ้นมาถึงระดับนี้ได้ ย่อมต้องไม่ธรรมดาแน่นอน ความเป็นมาของจักรยานแบรนด์ CEEPO จึงเป็นเรื่องที่นักจักรยานและนักไตรกีฬาไทยน่าติดตาม

CEEPO ไม่ใช่แค่เฟรมจักรยานที่ผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุหรือการควบคุมคุณภาพที่ดีที่สุดแต่ CEEPO เป็นจักรยานในฝันของ Nobuyuki “Joe” Tanaka  (โนบุยุกิ “โจ” ทานากะ) ซึ่งเป็นแชมป์ไตรกีฬาที่ผ่านบทพิสูจน์ความเป็นคนเหล็กในสนามแข่ง IRONMAN ระดับโลกมาแล้วถึง 56 ครั้ง ทานากะสะสมประสบการณ์ตรงในสนามแข่ง เก็บเป็นข้อมูลสำหรับสร้างจักรยานในฝันของเขา เพื่อนักไตรกีฬาที่ต้องการจักรยานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการแข่งไตรกีฬา ทานากะไม่ได้คิดเพียงแค่จักรยานที่ขี่สบาย ลู่ลมด้วยคุณลักษณะทางด้านอากาศพลศาสตร์ที่เหมาะสม แต่เขาคิดเผื่อไปถึงการเปลี่ยนผ่านสู่การวิ่งของนักไตรกีฬาหลังจากลงจากอาน

“ เราตระหนักดีว่า ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงมาก่อนในตลาดหลายเจ้า แต่ด้วยความมุ่งมั่นในจุดยืนของการเป็นผู้สร้างสรรค์จักรยานสำหรับไตรกีฬาโดยเฉพาะ ทำให้เราสามารถเข้ามาสู่ตลาดได้ และพัฒนาเติบโตจนมายืนอยู่แถวหน้าเป็นผู้นำของกลุ่มจักรยานสำหรับนักไตรกีฬา” ทานากะเคยพูดความเป็นมาของ CEEPO

CEEPO ใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น ด้านอากาศพลศาสตร์ ด้านชีวกลศาสตร์ ด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมการผลิตนอกจากนั้นยังได้ทำการเก็บข้อมูลจากนักไตรกีฬาตั้งระดับเริ่มต้นจนถึงระดับสูง เพื่อการวิจัยและพัฒนาให้ได้สุดยอดจักรยานสำหรับไตรกีฬาที่สมบูรณ์แบบ

CEEPO เป็นจักรยานที่เพรียวลม บาง แต่แข็งแรง ซึ่งเกิดจากความเข้มข้นในการใส่ใจด้วยวิศวกรรมขั้นสูง วัสดุที่ดีที่สุด และกระบวนการผลิต ซึ่งยึดถือคุณภาพเป็นหลักสำคัญ นักไตรกีฬาทุกคนต้องการจักรยานที่ออกแบบมาอย่างจริงจัง และ CEEP ก็สนองตอบด้วยการออกแบบจักรยานสำหรับใช้ในไตรกีฬาโดยเฉพาะ ด้วยความเข้าใจ CEEPO ออกแบบจักรยานให้มีท่อล่าง Down Tube ที่เพรียวบางที่สุดและมีรูปหน้าตัดใกล้เคียงปีกเครื่องบินสูงที่สุดในวงการ ทำให้ได้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง แน่นอนที่สุด CEEPO จึงเป็นจักรยานในฝันของนักไตรกีฬาทุกคน ด้วยรูปทรงที่ทำให้ขี่ได้สบาย ยาวนาน ส่งกำลังออกได้สูงอย่างสม่ำเสมอ และข้อสำคัญ ช่วยให้คุณวิ่งได้อย่างเต็มที่ หลังลงจากอาน

CEEPO จักรยานที่ออกแบบและสร้างโดยไตรกีฬา เพื่อตอบสนองความต้องการของนักไตรกีฬา

5 ก.ค. 2554

Marin Quad Link 2.0 สุดยอดระบบกันสะเทือน

|0 ความคิดเห็น
Marin Quad Link 2.0 สุดยอดระบบกันสะเทือน

Quad Link 2.0 คือระบบกันสะเทือนหลังของจักรยานมาริน ที่ออกแบบโดย Whyte Bikes แห่งประเทศอังกฤษ Quad แปลว่า 4 Quad Link จึงหมายถึงระบบกันสะเทือนที่มีการเชื่อมโยงกัน 4 จุด ทำให้เกิด จุดหมุนเสมือน สำหรับสวิงอาร์มที่ให้การควบคุมและแรงขับเคลื่อนขณะรถวิ่งบนภูมิประเทศแบบ Off Road  ได้ดีกว่าระบบจุดหมุนเดี่ยว (Single point หรือ Single Pivot) โดยเป็นผลที่เกิดจากการถ่ายทอดแรงสะเทือนจากล้อหลังสู่ช็อคได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าสภาพทางนั้นจะหนักหรือเบา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Quad Link 2.0 ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ได้รับการปรับปรุงแลพัฒนาให้สามารถถ่ายทอดพลังงานได้อย่างเรียบลื่น ดียิ่งขึ้นกว่า Quad Link เจเนอเรชั่นแรก

จุดหมุนเสมือน IPC-Instantaneous Pivot Center ของ Quad Link 2.0 เกิดจากแนวคิดในการออกแบบ ที่ใช้หลักฟิสิกส์ในการทำให้จุดหมุนของสวิงอาร์ม เสมือนกับลอยตัวอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่ากะโหลก (BB-Bottom Bracket) และอยู่เลยกะโหกไปข้างหน้ามากกว่า ทำให้ระยะสัมฤทธิ์ผลของท่อโซ่ หรือ Effective Chain Stay ยาวกว่าระบบจุดหมุนเดี่ยวที่ทำอย่างไรก็ไม่สามารถมีระยะ Effective Chain Stay ยาวไปกว่าระยะจากดุมหลังถึงจุดหมุนของท่อโซ่ที่อยู่บริเวณแถวกระโหลก จุดหมุนเสมือนของ Quad Link 2.0 จะเปลี่ยนตำแหน่งไปทันทีที่ล้อหลังเคลื่อนที่ขึ้นลง ตำแหน่งของจุดหมุนเสมือนที่เปลี่ยนไปผนวกกับระยะสัมฤทธิ์ผลของท่อโซ่ Effective Chain Stay ที่ยาวกว่า ทำให้การถ่ายทอดพลังงานจากความขรุขระของเส้นทาง สู่การทำงานของช็อคเป็นไปอย่างราบรื่น ต่อเนื่อง ไม่ว่าเจออุปสรรคขนาดไหนก็ตาม เมื่ออยู่บนอานก็จะมีความรู้สึกเหมือนระบบกันสะเทือนจะซึมซับเอาแรงกระแทกกระเทือนไว้เกือบหมด ทำให้ขี่ได้อย่างสนุกปลอดภัย และไม่ต้องเสียแรงไปกับการบังคับรถบนทางออฟโร๊ด ทำให้นักปั่นเอาใจใส่และสนุกสนานกับเส้นทางได้มากขึ้นโดยไม่ต้องพะวงกับการคอยยกก้นให้พ้นจากการกระแทกของอานตลอดเวลา เหมือนการขี่ฮาร์ดเทล หรือพวกฟูลซัสฯทั่ว ๆ ไป

ระบบกันสะเทือน Quad Link 2.0 นี้มีติดตั้งในรถจักรยานมารินรุ่น Rift Zone XC6, XC7,XC8 ครับ

MERIDA MATS TFS CHAMPION

|0 ความคิดเห็น
MERIDA MATS TFS CHAMPION

MERIDA คว้าชัยชนะระดับโลกต่าง ๆ มาแล้วมากมาย เช่น เหรียญทองโอลิมปิค, แชมป์เวิลด์คัพชายโดย Ralf Naf และหญิงโดย Gunn Rita Dahle, แชมป์ระดับทวีปยุโรป ล่าสุดกับความสำเร็จฉลองตำแหน่งเวิลด์แชมเปี้ยน ครอสคันทรี่ชายอีกครั้ง แห่งปี 2010 กับ Jose Antonio Hermida นักแข่งทีม Mutivan Merida ทีม MTB ที่แกร่งที่สุด นอกเหนือจากฮาร์ดเทล O.NINE ที่เป็นเฟรมคาร์บอน Merida ได้ออกรถจักรยานรุ่นพิเศษ ลายกราฟิคแชมเปี้ยน เช่นเดียวกับรถ O.NINE CHAMPION ที่ Jose Hermida จะใช้ควบลุยทุกสนามแข่งของปีนี้ ด้วยจักรยานภูเขาฮาร์ดเทลรุ่นพิเศษ MATTS TFS CHAMPION สมรรถนะเยี่ยม ในราคาไม่บานปลาย พร้อมอุปกรณ์แบรนด์เนมต่าง ๆ ที่พบได้ในสนามแข่งขัน LIMITED EDITION จำนวนจำกัด 

สเปค: MERIDA MATS TFS CHAMPION

เฟรม : MATTS TFS Pro 6061
ตะเกียบโช้ค: Rockshox Dart 3  100 mm.
ชุดเกียร์: Shimano Alivio ใหม่ 9 สปีด พิเศษด้วย ตีนผี Shimano XT
เบรค: ดิสค์เบรกน้ำมัน Shimano M445
ชุดล้อ: MATTS Pro ดิสค์ + ซี่ลวดสแตนเลสดำ+ดุมดิสค์ Shimano RM65
ยางนอก: Merida Race 2.10
แฮนด์และคอแฮนด์: แฮนด์ยก FSA XC 300+คอแฮนด์ FSA XC 190
ขนาดเฟรม: 14.5, 16, 18, 19 นิ้ว

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง