ss

27 ธ.ค. 2553

# เทคนิคใช้เกียร์ในทางซิงเกิลแทรค [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

|0 ความคิดเห็น
# เทคนิคการปั่นจักรยานการใช้เกียร์
ในทางซิงเกิลแทรค

เทคนิคการปั่นการจักรยานในเส้นทางซิงเกิลแทรคนั้น เป็นการขี่ในทางที่แคบ ๆ ประมาณแค่ทางคนเดินได้เท่านั้น ประกอบกับความคดเคี้ยว ตามป่าเขา ทุ่งหญ้า หรือพื้นที่ทุรกันดารทั่ว ๆ ไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเส้นทางที่ขี่ได้อย่างสนุกสนานมากทีเดียว เพราะผู้ขี่จะต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัวในการควบคุมรถความต่อเนื่องและความเร็วค่อนข้างสูงพอสมควร แต่หากการใช้เกียร์ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้การขี่ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้ขาดรสชาดไป หรืออาจเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับคุณต่อไป ดังนั้นเทคนิคการใช้เกียร์ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้จะทำให้คุณได้รับความสนุกสนานและชื่นชอบการขับขี่กับเส้นทางประเภทนี้ ซึ่งมีเทคนิคบางประการต่อไปนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

เทคนิคการปั่นจักรยาน ในทางซิงเกิลแทรค

1.หากเส้นทางซิงเกิลแทรคเป็นทางขึ้นเขาไม่สูงชันมากนัก ให้ปรับเกียร์ปานกลาง หากใบหน้าเป็นจานใหญ่ (จานที่ 3) เกียร์หลังควรจะอยู่ประมาณ ไม่เกินเฟืองที่ 4 หรือเฟืองที่ 5
2. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ (เฟืองที่ 3) และหลังเล็ก ไม่ถึงขั้นเล็กสุด ประมาณเฟืองที่ 7 หรือ 6 เมื่อขี่ลงเขา และหากมีเนินเขาข้างหน้าอีกทอดหนึ่งก็ให้พยายามใช้เกียร์เดิมที่ขี่ลงจากเขา อาจจะเปลี่ยนเฟืองหลังขึ้นมา 1 เฟืองให้เบาลงเล็กน้อย แล้วลุกขึ้นโยกขึ้นเขาต่อไปตามแรงโน้มถ่วงตอนที่ลงจากเขา นอกจากคุณจะได้ความเร็วในการขึ้นเขาแล้วยังเพิ่มความมันส์ในการใช้กำลังขาในการขึ้นเขาอีกต่างหาก [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
3. เริ่มเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงหากเริ่มรู้สึกว่ารอบขาเริ่มช้าลง
4. ควรจะเริ่มเปลี่ยนจากเฟืองหลังก่อน เมื่อหลังอยู่ที่ประมาณเฟืองที่ 4 หรือ 5 ก็เริ่มเปลี่ยนจานหน้า จากใหญ่สุด เป็นจานกลาง ตามลำดับ
5. หากกำลังขาอ่อนล้ายังไม่มีแรงเพียงพอ ให้คุณใช้จานกลางในการปั่นเส้นทางซิงเกิลแทรค
6. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ เมื่อต้องขี่บนเส้นทางซิงเกิลแทรคที่ทุรกันดาร มีเครื่องกีดขวางมาก เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ หรืออื่น ๆ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
7. ให้หัดยืนโยกขี่ในทางซิงเกิลแทรค โดยเฉพาะทุกครั้งที่รถเข้าโค้ง เพราะในขณะที่เข้าโค้งเราจะสูญเสียความเร็วไป เนื่องจากต้องลดความเร็วรถลงเพื่อความปลอดภัย หรืออาจจะมีเครื่องกีดขวางอันไม่พึงประสงค์อยู่ข้างหน้า ฉะนั้นเมื่อเริ่มการปั่นใหม่เท่ากับเราต้องเพิ่มความเร็วและเพิ่มแรงใหม่อีกครั้ง การยืนโยกหลังจากพ้นทางโค้งแล้วนับว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเร่งความเร็วให้กลับมาให้ได้ความเร็วเท่าเดิมที่เราขี่มา และจะได้ความเร็วต่อ ๆ ไปโดยไม่ต้องออกแรงมากจนเกินไป [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

...การปั่นทางซิงเกิลแทรคหากว่าทางเป็นหินลอย หรือเป็นทางทราย ชันมากแถมลื่นอีกด้วย เราจะนั่งปั่นไม่ได้แล้ว ต้องยืนขึ้นปั่นแทนการนั่ง แต่อย่ายืนปั่นแล้วเลื่อนตัวไปด้านหน้ามากเกินไป เพราะจะทำให้ล้อหลังไม่สามารถยึดเกาะถนนได้ ล้อหลังจะลื่นฟรีไปเลย ให้ยกก้นขึ้นจากเบาะนั่งเฉยๆ พยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุลทั้งล้อหน้า และ หลัง พร้อมทั้งกำแฮนด์ให้เต็มกระชับมือแล้วออกแรงดึงแฮนด์เข้าหาตัว สลับกับใช้เท้าด้านตรงข้ามของมือที่ดึงเข้าหาตัว ถีบทิ้งน้ำหนักลงไป เพื่อช่วยจังหวะในการปั่นให้ได้แรงมากขึ้น ทำเช่นนี้สลับกันไป แต่ถ้าคุณมีแรงพอที่จะไม่ต้องยืนปั่นโยกขึ้นเนิน ก็ให้นั่งปั่นจะดีกว่าเพราะการยืนปั่นจะสูญเสียพลังงานมากกว่าการนั่งปั่น และอีกเทคนิคหนึ่งคือ เวลาเราจะขี่ในทางซิงเกิลแทรกต้องปล่อยลมออกให้ล้อนิ่มกว่าปกติเล็กน้อย และในช่วงการปั่นลงเขาในทางขรุขระนั้นต้องใช้จานหน้าเป็นใหญ่เสมอครับ เพื่อว่าหากเวลาเกิดอุบัติเหตุรถล้ม จะทำให้ป้องกันไม่ให้ใบจานหน้ามาโดนถูกน่อง อาจทำให้บาดเจ็บได้ครับ

นี่คือเทคนิคการปั่นจักรยานและเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ๆ ในการปั่นจักรยานในทางซิงเกิลแทรค เพื่อให้คุณผู้อ่านลองนำไปฝึกซ้อมดู เพื่อว่าในการออกทริปทางซิงเกิลแทรคครั้งหน้า เพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันอาจจะแปลกใจว่าเราไปทำอะไรมาจึงทำให้ปั่นได้ดีขึ้น คล่องขึ้นจนผิดหูผิดตา ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ออกทริปปั่นจักรยานกันให้สนุกนะครับ และอย่าลืมนำเทคนิคนี้ไปปฏิบัติด้วยครับ
[เทคนิคการปั่นจักรยาน]

22 ธ.ค. 2553

เทคนิคการปั่นจักรยาน : พื้นฐานการยืนปั่น

|0 ความคิดเห็น
 เทคนิคการปั่นจักรยาน : พื้นฐานการยืนปั่น
           
ในการขับรถยนต์ตัวแปรในการทำความเร็วก็คือรอบเครื่องยนต์และเกียร์ที่ใช้ ในการขี่จักรยานก็เช่นเดียวกัน ตัวแปรความเร็วของการขี่จักรยานคือรอบขาและเกียร์ที่ใช้ ซึ่งก็เหมือนกันกับตัวแปรความเร็วของรถยนต์ ปกติเวลาเรานั่งปั่นจักรยานบนเบาะ ร่างกายเราจะสัมผัสกับจักรยาน 5 จุด ได้แก่ ขาทั้งสองข้างที่เหยียบบันได มือทั้งสองข้างที่จับแฮนด์ และก้นที่นั่งบนเบาะนั่นคือสภาวะปกติ เมื่อเรานั่งปั่น แต่ก็ยังมีสภาวะพิเศษที่เราต้องการเร่งความเร็วแบบทันทีทันใด หรือต้องการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อนให้มีเพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด เราสามารถทำได้โดยการใช้น้ำหนักทั้งหมดของตัวกดบันไดด้วยการยืนปั่น [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
                เวลาที่เรานั่งปั่นบนเบาะ น้ำหนักตัวส่วนหนึ่งจะกดที่เบาะแล้วส่วนหนึ่งกดไปที่บันได แต่ถ้าเรายืนปั่นโดยยกก้นขึ้นจากการนั่งบนเบาะ น้ำหนักตัวเกือบทั้งหมดจะกดบันได ซึ่งการยืนปั่นแบบนี้จะให้แรงในการขี่สูง แต่ก็เป็นท่าขี่ที่เหนื่อยมากที่สุดเหมือนกัน เพราะกล้ามเนื้อขาต้องทำงานอย่างเต็มที่ ประโยชน์ของการยืนปั่นจะมีอยู่สองอย่างคือ อย่างแรกใข้ในการเร่งความเร็วเช่นกรณีแซงหรือแข่งกันขี่เข้าเส้นชัย อย่างที่สองเป็นการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อนให้มีสูงสุดเมื่อต้องการใช้งาน
                ส่วนในการฝึกซ้อมการยืนปั่นยังเป็นการวัดความอดทนของร่างกายว่าจะสามารถทนสภาวะทำงานหนัก ๆ ได้นานแค่ไหนอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าฝึกยืนปั่นอยู่บ่อย ๆ ก็จะเป็นหนทางในการฝึกฝนความแข็งแรงในกล้ามเนื้ออย่างหนึ่ง พื้นฐานของการยืนปั่นมีอยู่สองอย่างคือ การทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะและการรู้จักใช้เกียร์ จากที่เคยกล่าวไว้ว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานสูงสุด ช่วยให้การขี่มีอัตราเร่งดี ดังนั้นก่อนที่จะทำการขึ้นยืนปั่นผู้ขี่จะต้องเปลี่ยนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่หนักกว่า (มีอัตราการทดมากกว่า) เกียร์ปัจจุบันนิดหน่อย เพราะว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานสูงสุด หากไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เกียร์ที่มีอัตราการทดที่มากกว่า ก็จะทำให้การเร่งของรถไม่สูงเท่าที่ควร กล่าวคือรถพุ่งตัวเร็วขึ้นนิดเดียวแล้วความเร็วก็หยุด ทำให้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นไม่พอที่จะแซงให้พ้น หรือผู้ขี่อาจจะฟรีขาทิ้งเปล่า ซึ่งกรณีที่เปลี่ยนเกียร์หนักก่อนยืนปั่นนี้จะให้ในการเร่งความเร็ว ส่วนในกรณีที่ต้องการใช้พลังงานสุงสุดในการขับเคลื่อนแบบทันทีทันใด เช่นกรณีขี่ขึ้นจากท้องร่องนั้น สามารถยืนขี่ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ก่อนยืนปั่น [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
                ส่วนพื้นฐานการทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะ ท่านสามารถฝึกด้วยตัวเองได้โดยการขี่รถด้วยความเร็วระดับหนึ่งแล้วปล่อยให้รถไหลจากนั้นให้จัดตำแหน่งบันไดจักรยานให้ขนานพื้นให้เท้าด้านที่ถนัดอยู่ข้างหลัง จากนั้นจึงค่อย ๆ เหยียบบันไดทั้งสองข้าง ยกก้นขึ้นมาเหนือเบาจนขาทั้งสองข้างตึง แล้วทรงตัวบนรถปล่อยให้รถไหลไปเรื่อย ๆ จนแรงส่งใกล้จะหมดจึงนั่งลงปั่นต่อ ฝึกยืนยกก้นบนบันไดในตำแหน่งบันไดขนานพื้นจนคล่องก่อน
                จากนั้นก็มาฝึกขั้นต่อไปก็คือการยืนปั่นพร้อมกับโยกรถไปพร้อมกัน ซึ่งการฝึกขั้นนี้ก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกในขั้นที่แล้ว กล่าวคือต้องทำการขี่แล้วยืนบนบันไดให้รถไหลไปก่อน จากนั้นจึงทำการยืนปั่นโดยเวลาที่กดขาซ้ายลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านขวา ส่วนเวลาที่กดขาขวาลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านซ้าย ซึ่งขาที่ปั่นกับทิศทางการดึงตัวรถจะตรงกันข้ามอยู่เสมอ กล่าวคือใช้ขาซ้ายปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านขวา และเวลาใช้ขาขวาปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านซ้าย เหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อรักษาสมดุลการทรงตัวของรถไม่ให้รถล้ม [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
                เวลาทำการฝึกให้ทำการฝึกทั้งการยืนบนรถโดยให้บันไดขนานพื้นก่อนแล้วจึงฝึกยืนปั่นตามทีหลัง ฝึกบ่อย ๆ จนคล่อง แค่นี้คุณก็จะได้รู้วิธีขี่แบบเร่งแซงให้พ้น หรือการขี่ขึ้นจากท้องร่องได้ครับเทคนิคการยืนปั่นยังเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ถูกนำไปใช้ในการแข่งขันเสือหมอบอยู่บ่อย ๆ เวลาที่นักแข่งขี่เร่งเข้าเส้นชัย ซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกแบบนี้ก่อนที่จะไปฝึกเทคนิคขั้นสูงต่อไป [เทคนิคการปั่นจักรยาน]



คุณควรมีเครื่องมือจักรยานอะไรติดบ้านเอาไว้บ้าง ?

|0 ความคิดเห็น
คุณควรมีเครื่องมือจักรยานอะไรติดบ้านเอาไว้บ้าง ?
[จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                นั่นนะสิ นี่แหละคือเรื่องที่พวกมือใหม่ชอบถามกัน เพราะเมื่อจะซื้อจักรยานกันทั้งทีแล้วถึงตอนแรก ๆ จะหอบเอาไปให้ช่างซ่อมที่ร้านได้ ต่อ ๆ มาก็คนจะเบื่อหน่ายกันบ้างล่ะเมื่อเห็นว่าการซ่อมจักรยานนั้นไม่ได้ยากเย็นเข็ญใจอะไร แต่ควรจะมีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรติดบ้านไว้บ้างนี่แหละคือข้อข้องใจ ควรจะเลือกซื้ออะไร    เครื่องมือที่จะใช้ต้องใช้สำหรับจักรยานโดยเฉพาะหรือเปล่าหรือว่าเป็นเครื่องมืออะไรก็ได้ ? ลองมาดูกันไปทีละอย่างเป็นไร [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
1. เครื่องมือวัดโซ่
                เมื่อชุดเฟืองหลังเริ่มจากแปดชั้นมาเป็นเก้าและสิบ สิบเอ็ดลำดับ โซ่กับชุดเฟืองหลังก็ยิ่งแพงขึ้นตามเทคโนโลยีและวัสดุ หากไม่วัดโซ่ให้ดีแล้วมันจำให้ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องพากันพังตามไปด้วยผลสุดท้ายคือต้องเสียตังค์ซื้อของใหม่มาเปลี่ยนก่อนกำหนด เครื่องมือวัดความยึดของโซ่หลังจากใช้งานมาแล้วคือ CC-2 ของ Park Tool จะช่วยคุณได้ในการวัดการยืดของโซ่ โซ่ที่ยืดเกิดเกณฑ์พอดีจะทำให้ทั้งเฟืองและจานหน้าพัง ถ้าไม่อยาก ควักเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวรวมทั้งตัวโซ่ก็จงลงทุนมีไว้สักอันไม่เสียหาย โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนปั่นเร็ว แรง และใช้จักรยานบ่อยในหนึ่งสัปดาห์ มันจะมีประโยชน์มาก
2. ชุดประแจแฉก (Torx Keys) [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                ในอนาคตอันใกล้นี้สกรูทุกตัวอาจจะกลายเป็นสกรูหัวแฉกแทนที่จะเป็นหกเหลี่ยม เท่าที่สังเกตเห็นในตอนนี้คือจานดิสค์เบรกนั้นได้ใช้สกรูหัวแฉกเรียบร้อยแล้วแทนที่จะให้หกเหลี่ยม กรุ๊ปเซ็ตของคันปานโญโล่เองก็ใช้ชุดประแจหัวแฉกนี้ในหลายองค์ประกอบของตนเหมือนกัน แนวความคิดนี้ยังเผื่อแผ่มาถึงสแรมด้วยในกรุ๊ปเซ็ตซี่รี่ส์ดับเบิ้ลเอ็กซ์ และ FSA ที่ใช้ประแจหัวแฉกกับสกรูขันน็อตจานหน้า ถ้าไม่อยากจะซื้อทั้งชุดแค่สามขนาดก็น่าจะครอบคลุมความต้องการของคุณทั้งหมด
3. สูบยืน
                สองชิ้นก่อนนั้นคุณอาจจะไม่มีก็ได้ แต่ตราบใดที่มีจักรยานเป็นของตัวเองคุณก็ต้องมีสูบไว้สูบยางด้วย และสูบยืนนี้จะช่วยได้มากทั้งด้านการประหยัดเวลาและแรงงาน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเมื่อปะยางเองและเมื่อก่อนจะออกไปขี่จักรยาน ซึ่งต้องตรวจสอบความดันลมและสูบลมเข้าไปให้แข็งตามกำหนด
4. สูบเล็ก [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                มีให้เลือกหลายแบรนด์ตามการออกแบบ แต่ที่ใช้ได้เหมือนกันก็คือการสูบลมเข้ายางให้พอพยุงตัวกลับบ้านได้ จะให้สูบแข็งขนาด 100 กว่า PSI นั้นคงไม่ไหวเพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับงานหนักขนาดนั้น เหมาะไว้พกติดตัวไปพร้อมกับยางสำรองโดยเฉพาะเมาเท่นไบค์ ก่อนจะใช้สูบลมเพื่อให้แข็งพอประมาณแล้พยุงตัวกลับมาซ่อมยางรั่วที่บ้าน แต่ในปัจจุบันนี้สูบเล็ก เช่น Power Pump Alloy ของ Crank Brothers ที่ตัวกระบอกสูบผลิตจากโลหะผ่านกรรมวิธี CNC ทั้งที่กระบอกเล็กแต่ด้วยการออกแบบอันชาญฉลาด สูบเล็ก ๆ นี้จะสามารถทำแรงดันได้แน่นถึง 130 PSI ซึ่งนับว่าเกินพอที่เดียวสำหรับจักรยานที่ต้องการยางแข็งอย่างเสือหมอบ
5. เครื่องมือตัด/ต่อโซ่
                เครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น โซ่ขาด หรือเมื่อได้โซ่เส้นใหม่มาแล้วจะประกอบเข้ากับเฟรมหากไม่ใช้ข้อต่อถอดได้แล้วเครื่องมือนี้จะมีประโยชน์มาก
6. ประแจปากตายเบอร์ 8, เบอร์ 9 และ 10 [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
             ไม่นับจักรยานสมัยใหม่ระดับไฮ-เอนด์ที่แทบจะใช้ประแจหกเหลี่ยมประกอบกันทั้งคัน จักรยานแม่บ้านหรือแบบอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการความเบานักยังใช้น็อตหกเหลี่ยาที่ต้องใช้ปากตายขันอยู่ นอกจากจะใช้ซ่อมรถยนต์แล้วมีไว้ก็ไม่เสียหาย
7. ก้านงัดยาง
                มีประโยชน์มากเมื่อต้องการเปลี่ยนยาง ไม่ว่าจะยากแตกหรือต้องการเปลี่ยนยางนอกเส้นใหม่ มันทำจากพลาสติกเนื้อเหนียวและแข็งแต่ไม่มากพอจะทำอันตรายต่อยางในและขอบล้อคาร์บอนไฟเบอร์
8. กรรไกรตัดเคเบิ้ล
                เพราะเคเบิ้ลคือลวดเส้นเล็ก ๆ มัดรวมตัวกันเป็นเส้นใหญ่การจะตัดให้ขาดจึงต้องตัดครั้งเดียวให้ขาดเพื่อเคเบิ้ลจะได้รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนไม่แตกปลาย เครื่องมือหรือกรรไกตัดเคเบิ้ลโดยเฉพาะจึงเข้ามารับหน้าที่นี้ ด้วยลักษณะของปากกรรไกรโค้งเหมือนปกนกแก้ว มันจะตัดเคเบิ้ลขาดได้ในครั้งเดียว เป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ชนิดหนึ่งที่คุณไม่ต้องดูแลมันเลยตลอดอายุการใช้งาน แค่กำด้ามให้แน่น ๆ เท่านั้นเคเบิ้ลก็ขาดผึงก่อนจะสวมจุกอลูมิน่าให้แน่นกันเคเบิ้ลลุ่ย
9. กรรไกร  [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                พวกมือโปรหลายคนชอบใช้กรรไกรยี่ห้อ Fiskar ยาว 5 นิ้วแบบปลายแหลม เหมาะมากสำหรับเล็มปลายเทปพันแฮนด์หรือเมื่อจะตัดชิ้นส่วนอื่นที่อ่อนสำหรับใช้กับจักรยาน
10. ประแจหกเหลี่ยมมาตรฐาน
                มีให้เลือกใช้หลายขนาดตามขนาดของหัวสกรูที่ใช้ประกอบจักรยาน ไม่ว่าคุณจะใช้ประแจที่มีขายตามร้านฮาร์ดแวร์อย่างโฮมเวิร์คหรือโฮมโปร หรือที่ประกอบกันเป็นชุดแบบกะทัดรัดพกติดตัวชิ้นเดียวมีหลายเบอร์ก็ได้ แบบหลังนี้คล่องตัวที่สุดโดยเฉพาะเมื่อจะเอาใส่เป้ไปปั่นเมาเท่นไบค์ด้วย ช่วยแก้สถานการณ์ฉุกเฉินได้ดี
11. ไวส์กริปและเครื่องมือถอดตลับเฟือง
                ถ้าจะถอดเฟืองออกมาล้างหรือเปลี่ยนชุดเฟืองจากเฟืองถนนมาเป็นเฟืองขึ้นเขา หรือในทางกลับกัน นี่คือเครื่องมือที่คุณควรจะมีไว้ซึ่งจะช่วยให้การเปลี่ยนตลับเฟืองทำได้ง่ายขึ้น
12. ชุดเครื่องมือมัลติทูล [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                คือกลุ่มเครื่องมือแบบ All in one ที่มีทั้งเครื่องมือถอดโซ่ก้านงัดยางและประแจหกเหลี่ยมตัวสั้น ๆ ให้พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้เมื่อคุณประสบเหตุ ในที่ห่างไกลจากผู้คน ควรมีไว้เพื่อใช้งานนอกบ้านจะเหมาะที่สุด
13. ไขควงเปลี่ยนหัวได้
                ในที่นี้คือแบบที่เปลี่ยนหัวได้เป็นแบบปากแบนและสี่แฉก บางชิ้นส่วนของจักรยานอาจต้องใช้ไขควรปากแบบและสี่แฉก การใช้แบบเปลี่ยนปากได้จะช่วยให้คล่องตัวไม่ต้องก้มหยิบหรือเปลี่ยนเครื่องมือต่างชิ้นกัน
14. ตัวขันซี่ลวด
                แบบมาตรฐานจะช่วยคุณได้มากเมื่อล้อคด ด้วยการขันด้านหนึ่งและคลายอีกด้าน ก่อนจะนำไปให้ช่างที่ร้านจักรยานแก้ไขด้วยเครื่องมือที่พร้อมและละเอียดกว่า
15. ซี่ลวดฝนแหลม [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                มีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง เมื่อต้องใช้เขี่ยสิ่งสกปรกออกจากซอกตลับเฟืองท้าย หรือเมื่อจะใช้แยงเคเบิ้ลเฮาซิ่ง
                เราไม่ได้บอกว่าคุณต้องมีมันไว้ทั้งหมดทุกชิ้น แต่ของพื้นฐานที่ต้องมีคงไม่น่าจะหนีพ้นสูบยืนกับของอย่างประแจหกเหลี่ยมที่คุณใช้ถอดจักรยานได้ทั้งคัน ค่อย ๆ ซื้อค่อย ๆ ลองไปแล้วคุณจะรู้เองว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนควรจะมีหรือไม่ควรมีไว้
[จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]

18 ธ.ค. 2553

จานคอมแพคทางเลือกที่ดี สำหรับเสือหมอบมือใหม่ [เสือหมอบ]

|0 ความคิดเห็น
จานคอมแพคทางเลือกที่ดี สำหรับเสือหมอบมือใหม่” [เสือหมอบ]
-          ทำไมต้องจาน คอมแพค
จานหน้าขนาดปกติ (Standard) ที่เราคุ้นตามานานแสนนานคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันคือขนาด 53/39 ว่ากันว่าขนาดนี้แหละเป็นขนาดที่เหมาะสมกับนักปั่นทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า แต่ความจริงอีกข้อหนึ่งที่หลายท่านกำลังมองข้ามไปก็คือ พละกำลังและความแข็งแรงของผู้ปั่น ขนาดใบจาน 53/39 คงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของเสือหมอบมือใหม่อย่างแน่นอน
      จานคอมแพคไม่ได้เป็นของใหม่สำหรับวงการจักรยานเสือหมอบแต่อย่างใด  มันได้ถูกผลิตขึ้นในปี 1999 และใช้กันอย่างจิรง ๆ จัง ๆ มาหลายปีแล้ว เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมกับเส้นทางการปั่น รวมถึงลักษณะการใช้งานของผู้ปั่น
-          คุณลักษณะและความโดดเด่น
ขนาดใบจานที่เล็กว่า 2 ใบทำให้น้ำหนักของขาจานแบบคอมแพคเบากว่าขาจานในแบบ Standard พูดสั้น ๆ ว่า เบากว่าในทั้งเรื่องน้ำหนัก และเบาแรงกว่าอีกด้วย สำหรับเสือหมอบมือใหม่การใช้งานทั่ว ๆ ไปน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แน่นอนว่าผู้ที่ปั่นมานานอาจยังมีข้อสงสัยว่า 50/34  มันพิเศษกว่าใบจาน Standard จริงหรือเปล่าและคุ้มค่าน่าลงทุนหรือไม่
-          การใช้งานทั่ว ๆ ไปของจานคอมแพค
เนื่องจากปัจจุบันขนาดเฟืองหลังของจักรยานเสือหมอบ มีให้เลือกใช้งานอย่างกว้างขวาง 10 Speed ของค่าย Shimano/Sram และ 11 Speed ของ Campagnolo อัตราทดเกียร์ 11-28 กลายเป็นที่ฮอตฮิตเพราะมันสามารถครอบคลุมการใช้งานได้ดีเยี่ยมในทางราบและโดดเด่นอย่างเห็นได้ชันเมื่ออยู่บนภูเขาแล้วทำไมเหล่าบรรดาเสือหมอบมือใหม่และมือเก่าจะไม่ต้องการ
-          เมื่อ 50/34 จับคู่กับ 11-28 อะไรจะเกิดขึ้น
ตลาดอุปกรณ์เสือหมอบในขณะนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือน แต่ไม่มีผู้ผลิตค่ายไหนเลยที่ไม่ลงมามีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น Shimano,Sram,Campanolo,FSA ฯลฯ ต่างไม่ลดละที่จะพัฒนาเจ้าจานคอมแพค หากมันไม่ดีจริงป่านนี้คงเลิกผลิตกันไปแล้ว
-          ขนาดจานหน้า 50 ฟัน มันจะทำความเร็วได้เหรอ ?
ความเชื่อที่ว่าใช้จานหน้าขนาดใหญ่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงไม่จริงเสมอไปหากไม่ได้ฝึกระดับมาตรฐานอย่างเพียงพอ เป็นเวลานานเพราะฉะนั้นขนาดใบจาน 50 เพียงพอต่อการฝึกซ้อมและเพียงพอต่อความเร็ว ให้สังเกตรถเสือหมอบประเภทลู่เป็นตัวอย่าง ยังใช้ใบจานขนาด 50 เป็นส่วนใหญ่แถมทำความเร็วสูงสุดได้เร็วกว่ารถถนนด้วยซ้ำไป สรุปประเด็นนี้ต้องขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ปั่นเป็นหลัก
สิ่งที่เสือหมอบมือใหม่หรือมือเก่าให้ความสนใจชุดจานคอมแพคเป็นพิเศษ ก็คือจานกลางขนาด 34 นี่แหละครับ เนื่องด้วยขนาด Standard 39 สร้างความไม่มั่นใจทุก ๆ ครั้งเมื่อต้องการกระโจนขึ้นเขา ต่อให้เป็นนักแข่งระดับแนวหน้าก็เถอะ ถ้าเจอความชันที่ 20 % ขึ้นไปยาว ๆ หลาย ก.ม. ทำให้ต้องเดินลงมาจูงมานักต่อนักแล้ว ขนาด 34 ฟันจึงกลายมาเป็นตัวเลือกของผู้ที่รักการขึ้นเขาโดยตรง
      ด้วยแนวคิดที่ครอบคลุมการปั่นที่เบาแรง ขนาดใบจาน 34 ฟัน ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามันเบาแรงกว่าจริง ลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ขอยกตัวอย่าง Tour de France ปี 2003 ไทเลอร์ แฮลมิลตัน คว้าแชมป์ใน Stage ที่เขาไหปลาร้าหัก ด้วยจานคอมแพคเหมือนกัน ขนาดระดับโปรยังเลือกใช้จานคอมแพค นอกจากคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปจนถึงระดับแข่งขัน จานคอมแพคยังเป็นที่ต้องการของผู้ที่ชื่นชอบความเบาเพราะขนาดใบจานที่เล็กกว่าระยะโซ่ที่ต้องใช้ก็สั้นกว่าตามไปด้วย และใบจานขนาดคอมแพคก็หาซื้อได้ง่ายกว่าใบจานขนาด Standard ด้วยซ้ำไป ข้อดีอีกข้อหนึ่งของใบจานคอมแพคปัจจุบันขาจานคอมแพคที่มีขนาด BCD 110 สามารถเปลี่ยนใบจานขนาด 53/39 หรือ 52/36 ที่มีขนาด BCE 110 มาใส่กับขาจานคอมแพคได้เลย [เสือหมอบ]
     มาดูอัตราทดระหว่าเจ้า (50/43=11-28) VS (53/39=12.27)
-          ในทางราบ จาน Standard 53X12=4.42 จานคอมแพค 50X11=4.55
-          ขึ้นเขาจาน Standard 39x27 =1.44 จานคอมแพค 34x28=1.21
จะเห็นได้ว่า ในทางราบใบจานขนาด 50 ก็ไม่ได้เสียเปรียบจาน 53 เท่าไหร่นัก แต่ในทางกลับกันในทางขึ้นเขาใบจาน 34 จะได้เปรียบกว่าใบจาน 39 อย่างเห็นได้ชัน
บทสรุป
-          ได้น้ำหนักที่เบากว่า เมื่อเทียบกัน กรัมต่อกรัม (ใบจานเล็กกว่าโซ่สั้นลง)
-          อัตราทดไม่ได้ด้อยกว่าชุดจานปกติ
-          มีโอกาสใช้จานใหญ่ได้มากขึ้น และใช้เฟืองหลังได้หลายหลายกว่า
-          ทำให้การปั่นจักรยานทางไกลได้สนุกขึ้นและไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป
-          ขาจานคอมแพค BCD 110 สามารถเปลี่ยนใบจานเป็น 53/39 และ 52/36 ได้
สุดท้ายนี้ไม่ว่าการปั่นจักรยานของท่านจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ใช้ดุลพินิจในการเลือกใช้อุปกรณ์ เลือกก่อนตัดสินใจศึกษาหาข้อมูล เลือกที่เหมาะสมกับตัวเราเองมากที่สุดและการปั่นจักรยานของเราจะมีความสุข ครับ
[เสือหมอบ]


รู้จักกับคาร์บอนไฟเบอร์กันสักนิด

|0 ความคิดเห็น
รู้จักกับคาร์บอนไฟเบอร์กันสักนิด
       
วัสดุใช้สร้างเฟรมจักรยานเริ่มจากไม้ แล้วต่อมาก็พัฒนาเป็นเหล็ก อลูมินั่ม ไทเทเนียม และล่าสุดจนถึงปัจจุบันคือคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเมื่อมาประกอบเป็นเฟรมหรือส่วนประกอบของยานพาหนะอื่นใดในรูปของคอมโพสิต (Composite) คือลำพังแต่ตัวคาร์บอนเองไม่พอต้องมีสารอื่นมาช่วยยึดเหนี่ยวโมเลกุลของมัน เพื่อให้ได้ทั้งความแข็งแกร่งและเบา เพราะคุณสมบัติคือความแข็งแกร่งและเบานี้รวมทั้งนุ่มนวลเมื่อควบขี่เหนือวัตถุอื่นนี้เองที่ทำให้คาร์บอนคอมโพสิตยังคงเป็นวัสดุสุดยอดปรารถนาของนักจักรยานผู้ปรารถนาความเป็นที่สุด ทั้งความเบาและแข็งแกร่ง
            คาร์บอนไฟเบอร์ มีชื่อเรียกต่างกันแต่ในความหมายเหมือนกันได้ทั้งกราไฟต์,คาร์บอน กราไฟต์ หรือ CF เกิดจากธาตุคาร์บอนหรือถ่าน หากจะว่าไปก็คือรูปหนึ่งของสารซึ่งหากถูกบดอัดด้วยแรงดันสูงและความร้อนนานเข้าก็จะกลายเป็นเพชร คาร์บอนไฟเบอร์จริง ๆ แล้วคือเส้นใยวัสดุเกิดจากการใช้กรรมวิธีรีดอะตอมของคาร์บอน ออกเป็นเส้นสุดเหนียวและเส้นผ่าศูนย์กลางบางเพียง 0.005 ถึง 0.010 มม. จากเส้นผ่าศูนย์กลางที่บางมาก ๆ แต่เหนียวนี้เองที่ทำให้มันคงความเหนียวไว้ได้โดยยังบางเฉียบ ไม่ต้องพอกเนื้อให้หนาเพื่อทนแรงดึงและแรงเฉือนได้เหมือนวัสดุอื่นหรือแม้แต่โลหะ
            ลำพังเส้นใยคาร์บอนเดี่ยว ๆ คงทำอะไรไม่ได้ มันจึงถูกนำมาพันกันเป็นวัสดุเสมือนเส้นด้าย ก่อนจะนำด้ายคาร์บอนนั้นมาถักทอเป็นแผ่น ถ้าจะว่าเฟรมจักรยานของเราทำจากแผ่นผ้าก็ได้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นคือการถักทอเส้นสายคาร์บอนให้เป็นแผ่นนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีกรรมวิธีถักทอแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละเจ้าก็บอกว่ากรรมวิธีของตนจะทำให้ได้เนื้อคาร์บอนที่เหนียวกว่าพร้อมทั้งจดสิทธิบัตรไว้เพื่อป้องกันคนลอกเลียนแบบ
            พอได้เส้นใบคาร์บอนเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วยังใช่ว่าจะนำมาประกอบเป็นเฟรมได้ เพราะมันยังอ่อนตัวอยู่มาก เปรียบเสมือนผ้าชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีกรรมวิธีทำให้ผ้าแข็งตัวตั้งเป็นรูปทรงอยู่ได้ หากจะพูดแบบชาวบ้านก็คือต้องเอาผ้าไปชุบแป้งเปียก ซึ่งเปรียบกรรมวิธีชุบกาวหรือแป้งเปียกของผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ไว้ได้ในทำนองเดียวกัน คือต้องน้ำเอาแผ่นบาง ๆ ของคาร์บอนมาเรียงทับกันตามรูปแบบที่วิศวกรรคำนวณมาว่าจะรับแรงกระทำได้มากที่สุด แล้วเทวัสดุเรซิ่นซึ่งก็คือพลาสติกเนื้อเหนียวที่ยังอยู่ในรูปของของเหลวลงในพิมพ์ทับแต่ละชั้นของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ก่อนจะรีดฟองอากาศออกแล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อช่วยให้เนื้อเรซิ่นซึมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของคาร์บอนไฟเบอร์
            เพราะความเบาแต่แข็งของมันนี่เองที่ทำให้ถูกนำไปสร้างอากาศยานในปัจจุบัน แต่การจะทำให้เบาและแข็งได้ขนาดนี้ต้องมีกรรมวิธีละเอียดอ่อนมากซึ่งมีไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นทำได้ สหรัฐอเมริกาคืออันดับ 1 ในการสร้าคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้ในยวดยานหลายชนิดตั้งแต่ยานอวกาศ รถยนต์ รถแข่งจนถึงจักรยาน นอกจากข้อดีคือแข็งแกร่งและเบาแล้ว จุดอ่อนของมันก็มีคือมันอ่อนไหวต่อแรงกระเทือน พูดง่าย ๆ คือคุณไม่สามารถหักเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ได้ด้วยการเอามือถึง แต่ถ้าเอาค้อนทุบเปรี้ยงเดียวกันจะกะเทาะแตกออกเป็นชิ้น ๆ ไม่ว่าจะมาจากค่ายไหนก็จะลงเอยด้วยจุดจบแบบเดียวกันหมด
            ที่ว่าสหรัฐฯ เก่งเรื่องคาร์บอนไฟเบอร์ก็เพราะมันเกิดขึ้นที่นี่เมื่อปี 1958 จากการคิดค้นของด็อกเตอร์โรเจอร์ เบคอนให้กับบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เริ่มจากแผ่นเรย็อง ก่อนเมื่อยังไม่มีอะไรดีกว่า กระทั่งค้นพบว่าสามารถรีดเส้นใยจากคาร์บอนมาถักเป็นเชือกแล้วสานเป็นแผ่นได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ด็อกเตอร์อาคิโอะ ชินโดะ ชาวญี่ปุ่นแห่งสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น ได้คิดค้นวิธีสร้างวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตให้ดีขึ้น ก่อนจะมีผู้นำกรรมวิธีอื่นมาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและรีดเนื้อให้เบาลงที่สุดจนถึงปัจจุบัน
            ข้างต้นนั่นคือความเป็นมาพอสังเขปของคาร์บอนไฟเบอร์ วัสดุยอดนิยมใช้เพื่อสร้างอากาศยานราคาแพงที่ตัววัสดุต้องการความเบาเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแข็งแกร่งด้วยเพื่อทดรับภาระหนัก ๆ จากแรงบิด แรงกด แรงดึงและกระแทกกระทั้นทั้งระหว่างอยู่ในอากาศและเมื่อร่อนลงจอด เทคโนโลยีคาร์บอนไฟเบอร์แพร่เข้ามาสู่วงการจักรยานเมื่อไม่ถึง 20 ปีนี้เอง หลังจากเฟรมจักรยานถูกสร้างด้วยเหล็กกล้า ตามด้วยอลูมินั่ม ไทเทเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเบาพอ ๆ กับไทเทเนียมแต่ความกระด้างน้อยกว่าเมื่อมาเป็นเฟรมจักรยาน มันคือเทคโนโลยีล่าสุดที่ต้องใช้ทั้งความละเอียดอ่อนในการผลิตและการออกแบบ และบริษัทที่ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ต้องถูกผลิตในประเทศเท่านั้น หรือหากจะยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ก็ต้องอยู่ในรุ่นดีน้อยกว่าผลิตในอเมริกา
            เราจึงเห็นตัวอักษรว่า Made in USA หรือ Made in Italy หรือประเทศอื่น ๆ ประทับไว้ที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ของจักรยานระดับ ไฮ-เอนด์ราคาแพงลิบ เมื่อการผลิตเฟรมคาร์บอนด้วยละเอียดอ่อนการจะสร้างให้ดีจริง ๆ จึงทำได้ยาก บางบริษัทสร้างเฟรมคาร์บอนไว้จำหน่ายได้ในเกรดเดียวกับใช้แข่ง ในขณะที่บางบริษัททำดีได้แค่เฟรมใช้แข่งเท่านั้นแต่เฟรมที่จำหน่ายในตลาดแม้จะดูเหมือนกันแต่ก็ด้อยกว่าในด้านคุณสมบัติลึก ๆ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเป็นเจ้าของเฟรมจักรยานจากคาร์บอนไฟเบอร์ เรามีข้อเสนอให้คุณพิจารณาดังนี้
            ต้องมีเงิน : เพราะมันเป็นของแพง คุณจึงต้องมีเงินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปถ้าอยากจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ก็ใช่ว่าราคาประมาณเท่านี้แล้วจะได้ของดีพร้อม ของดีจริงต้องแพงกว่านั้น ในราคาดังกล่าวคุณอาจจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์เพียงระดับต้นหรือระดับกลางเท่านั้น หมายความว่าน้ำหนักของมันยังมากอยู่เมื่อเทียบกับระดับสูงหรือแพงกว่า ตัวเฟรมยังบิดตัวได้มากเมื่อถูกแรงกระทำเช่นขณะนักจักรยานลุกขึ้นโยกตอนขึ้นภูเขา
            หาข้อมูล : แหล่งข้อมูลที่ดี คือรีวิวในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารจักรยานต่าง ๆ เช่น Velonews, Procycling, Cyclingnews, Mountainbike Action ซึ่งนิตยสารที่ยกตัวอย่างมานี้จะมีเว็บไซต์ของตัวเองลงท้ายด้วย .COM ทั้งหมด ให้คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลของจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ที่หมายตาไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันได้จากการทดสอบของนักปั่นมือโปร ซึ่งจะเขียนความเห็นเกี่ยวกับเฟรมแต่ละตัวหลังการทดสอบไว้ชัดเจน อีกแหล่งหนึ่งคือในกลุ่มนักจักรยานที่ปั่นด้วยกันซึ่งจะบอกคุณได้ถึงคุณสมบัติที่เขาชอบในแบรนด์ต่าง ๆ ข้อดีคืออาจจะได้ขี่ทดสอบเฟรมคาร์บอนด้วยครั้งละหลาย ๆ แบรน์เพื่อเปรียบเทียบ
            อีกแหล่งที่อาจจะหายากหน่อยคือร้านรับทำสีจักรยาน ตามปกติแล้วร้านเหล่านี้คือร้านทำสีรถ แต่ในกลุ่มจักรยานระดับฮาร์ดคอร์แล้วพวกเขาจะรู้ดีว่าจะเอาเฟรมจักรยานไปทำสีหรือเปลี่ยนสีได้ที่ไหน ร้านทำสีจักรยานนี่แหละคือแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดและบิดเบือนได้ยากในด้านคุณภาพของเนื้อวัสดุ เพราะก่อนจะลงสีใหม่เขาต้องขัดหรือลอกสีเก่าออกให้หมดก่อน ตามด้วยการขัดกระดาษทรายก่อนจะลงสีใหม่ ตอนลอกสีเก่าออกนี่แหละที่จะเห็นว่าเฟรมไหนมีฟองอากาศซึ่งเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแกร่งของเฟรมได้ชัดเจน เฟรมตัวไหนมีฟองอากาศมากที่สุดหรือไม่มีเลยร้านเขาจะบอกได้ ที่แน่ ๆ คือฟองอากาศน้อยหรือไม่มีเลยย่อมดีกว่ามีฟองอากาศมาก
            ร้านจักรยานมีบริการหลังการขาย : เพราะเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทนแรงกระทำบางรูปแบบได้ แต่อาจจะเหราะบางต่อแรงกระทำอีกรูปแบบหนึ่ง บางครั้งมันจึงเปราะและแตกได้ ถ้าคุณขี่อย่างถูกวิธีแต่เฟรมแตกหรือหักก็ยังเคลมได้ หรือหากไปขี่ผิดวิธีมาแล้วเฟรมแตกหักทางร้านก็ยังเสนอเงื่อนไขดี ๆ ให้ได้อีก เช่น ซื้อเฟรมใหม่ได้ส่วนลด 30-40 % หากซื้อจากร้านโนเนมหรือหิ้วมาจากต่างประเทศแล้วเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เงินเกือบแสนสำหรับค่าเฟรมของคุณจะกลายเป็นศูนย์ไปทันทีที่มันชำรุด
            ดูจากประวัติการแข่งขัน : เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์แบรนด์หนึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้นักแข่งผู้ครองแชมป์ตูร์เดอฟร็องซ์มาหลายสมัย มันก็ถูกล่ะที่เขาเก่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การที่เขาเลือกใช้เฟรมแบรนด์นั้นก็เพราะมันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เขาชอบ ถูกใจ หากมองตามที่เห็นก็คือเฟรมแบรนด์นี้เข้าไปสนับสนุนนักจักรยานคนนั้นพร้อมทั้งทีม แต่มองในอีกแง่หนึ่งคือเมื่อนักจักรยานนั้นมีชื่อเสียงก้องโลกขึ้นมาแล้วย่อมมีสิทธิ์จะเปลี่ยนแบรนด์ที่สนับสนุนทีมอยู่ได้แต่ทำไม่ไม่เปลี่ยน ถ้ามันดีสำหรับนักจักรยานคนนั้นได้มันก็ต้องดีสำหรับคุณเช่นกัน เคยคิดเช่นนี้หรือเปล่า นี่น่าจะเป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุดแล้วในการเลือกแบรนด์เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์
            สำหรับนักจักรยานผู้ต้องการเป็นเจ้าของเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งสี่ข้อข้างต้นนี้ก็น่าจะพอเพียงแล้วสำหรับใช้เป็นแนวทางตัดสินใจ

           

Fixed Gear แหกกฎเซ็ตรถเล่นทริก [Fixed Gear]

|0 ความคิดเห็น
Fixed Gear แหกกฎเซ็ตรถเล่นทริก [Fixed Gear ฟิกเกียร์]
[ฟิกซ์เกียร์ Fixed gear]
         การเซ็ทรถเล่นทริกด้วยวงล้อ 26 นิ้ว หรือวงล้อจักรยานเสือภูเขา มันจึงเป็นที่มาของการแหกกฎว่า รถ Fixed Gear (ฟิกเกียร์) ไม่จำเป็นต้องใช้ล้อ 700 C เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรียกได้ว่างานนี้ฉีกกฎเกณฑ์เดิม ๆ กันเลย
            ต้องยอมรับกันว่าการประกอบขึ้นล้อ 700 C ในบ้านเรานั้นค่อนข้างมีน้อยกว่าล้อ 26 นิ้ว แม้ช่วงหลัง ๆ จะมีร้าน Fixed Gear (ฟิกเกียร์) เฉพาะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม ดังนั้นจึงทำให้อะไหล่ล้อ และสินค้าประกอบล้อ 26 นิ้ว จะมีให้เลือกมากมายหลายอย่างกว่าล้อ 700C ทั้งวงล้อ ซี่ลวด ยางนอก ยางใน การนำล้อ 26 นิ้ว มาเปลี่ยนใส่ในรถ Fixed ที่ใช้ล้อ 700 C จึงสามารถทำได้โดยทันที เพราะว่ารถ Fixed ไม่จำเป็นต้องใช้เบรกแตกต่างกันที่มีล้อขนาดเล็กกว่านิดหน่อย [Fixed Gear ฟิกเกียร์]
            ในการนำล้อ 26 นิ้ว มาใส่กับรถที่ใช้ล้อ 700 C นั้น จะมีข้อดีอยู่สองประการคือ ความสูงของท่อบนรถกับพื้นจะต่ำลงจากการใช้ขนาดล้อที่เล็กลง และช่องว่างระหว่างล้อหน้ากับปลายขาจานมีมากขึ้นจากการใช้ล้อที่มีขนาดเล็กลงทำให้โอกาสที่เท้าจะติดกับล้อหน้ามีน้อยลง แต่เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเหมือนกัน ซึ่งข้อเสียของการนำล้อ 26  นิ้วมาใช้ในรถ 700 C ก็คือโอกาสที่ ๆ ปลายขาจานจะชนกับพื้นมีโอกาสเป็นไปได้สูงดังนั้นการแก้ปัญหาตรงนี้สามารถทำได้โดยการไปใช้ขาจานที่มีขนาดความยาวขาจานสั้นกว่าปกติ [Fixed Gear ฟิกเกียร์]
            รถจักรยานล้อ 700 C โดยทั่วไปจะนิยมใช้ขาจานที่มีความยาวของขา 170/172.5/175 มม. ซึ่งเป็นความขาวขาจานที่เราพบเห็นกันทั่ว ๆ ไป แต่ในท้องตลาดก็ยังมีขาจานที่มีขนาดความยาวของขาจานสั้นกว่านั้น เช่นที่นิยมใช้ในวงการ BMX Flatland ของบ้านเราคือขาจานขนาดความยาว 165 มม. ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาปลายขาจานชนกับพื้นลงไปได้ นอกจากนั้นการใช้ขาจาน BMX ก็ยังมีใบจานให้เลือกใช้งานมากมายหลายขนาดฟัน
            การดัดแปลงรถให้เล่นทริก ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย และการดัดแปลงนี้ก็ไม่ได้ทำให้มิติและสัดส่วนของรถผิดเพี้ยนไปจากเดิมยกเว้นแต่ตัวถังจะอยู่ต่ำกว่าปกติซึ่งทำให้จุดศูนย์ถ่วงของรถอยู่ต่ำไปในตัว ซึ่งช่วยให้การเล่นทริกทำได้ง่าย อีกทั้งความห่างระหว่างปลายขาจานที่มีความยาวสั้นกว่าปกติ ไม่งั้นอาจจะเกิดปัญญาปลายขาจานกระแทกพื้นเอาได้ง่าย ๆ ครับ [Fixed Gear ฟิกเกียร์]

บทความที่เกี่ยวข้อง :

>> ทิศทางรถฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear) ปี 2011
>> แนะนำอุปกรณ์ตกแต่งจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)
>> การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
>> VDO เทคนิคการปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)

>> Fixed Gear Corner : Fixed Gear Development
>> จักรยาน Fixed Gear MASI ต้นตำรับแห่งความคลาสสิค
>> Fixgear Corner : ประเภทของจักรยาน Fixgear
>> แนวทางการเลือกตกแต่ง รถ FIXED GEAR อย่างมีสไตล์


12 ธ.ค. 2553

อย่าให้ความร้อนมาทำให้คุณหมดสนุก [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

|0 ความคิดเห็น
อย่าให้ความร้อนมาทำให้คุณหมดสนุก [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
                ความร้อนคือสิ่งที่พวกเราคุ้นเคยกันดีสำหรับประเทศเขตร้อนชื้น เรามีแค่ฤดูร้อนกับร้อนมาก ๆ เท่านั้น ฤดูหนาวคงไม่ต้องพูดถึง แทนที่จะหนาวนานเป็นเดือน ๆ กลับมีแค่ลมเย็นโชยมาอ่อน ๆ เท่านั้น ต่างจากประเทศเขตไกลจากเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีฤดูแถมมาอีกสองคือฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ แต่ในฐานะเป็นนักจักรยานเราต้องปั่นกันตลอดไปว่าจะร้อนหรือหนาวเมื่อมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ลองมาดูกันหน่อยว่าถ้าต้องเจอกับความร้อนตอนเที่ยง ๆ หรือใกล้เคียงกันแล้วจะทำยังไงให้บรรเทาความร้อนได้ ปั่นกันได้อย่างสบายตัวพอสมควรโดยไม่หมดสนุกเสียก่อน
-          จงใช้ขวดน้ำให้คุ้ม : เพราะคุณใช้เป้ถุงน้ำก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้ขวดน้ำแบบมาตรฐานติดจักรยาน ไม่ว่าคุณจะขี่เสือหมอบหรือเมาเท่นไบค์ เฟรมจักรยานจะมีตำแหน่งติดขวดไว้ให้เสมอ เมื่อมันมีไว้ให้ใช้ก็ต้องใช้มัน ไม่ใช่เพื่อดื่มน้ำ แต่เพื่อใช้ราดตัวลดความร้อยต่างหาก ส่วนน้ำในถุงที่หลังนั่นก็เอาไว้ดื่มได้ตามปกติ ถ้าเฟรมจักรยานไม่มีที่ติดขวดน้ำขึ้นมาล่ะ ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างบอนเทรเกอร์และสเปเชียไลส์ก็มีขาติดขวดน้ำสำหรับติดข้างเฟรมไว้ให้เลือกใช้ ดังนั้นถ้าคุณจะปั่นเมาเท่นไบค์ครั้งละนาน ๆ ขวดน้ำติดเฟรมยังคงจำเป็นอยู่ มันเป็นเสมือนฝักบัวส่วนตัวจริง ๆ ถึงคุณจะเอาห้องอาบน้ำติดตัวไปด้วยไม่ได้ก็ตาม
-          จงป้องกันแสงอาทิตย์ : แสงแดดกล้าจะพบได้หลังจากเวลา  7 โมงเช้ากว่า ๆ เป็นต้นไปจนถึงเกือบหกโมงเย็นในบ้านเรา หมวกกันกระแทกของเมาเท่นไบค์มีข้อดีอยู่ตรงที่มันมีกระบังหมวก (visor) คล้ายกับบานพับกันแดดของรถยนต์ แสงอาทิตย์ที่แผดกล้านี่แหละที่จะส่องลอดช่องว่างของหมวกกันกระแทก กระบังหมวกและแว่นกันแดดเข้ามาแผดเผาหน้าผาก ลำคอ และแขน ถึงจะไม่ไหม้ก็ทำให้แสบร้อนได้ในแบบที่เรียกว่า ซันเบิร์น ถ้าไม่อยากเป็นซันเบิร์น ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต คุณควรหาครีมกันแดดทา เดี๋ยวนี้ยิ่งมีค่ากันแดด SPF สูง ๆ ค่ามาตรฐานสำหรับบ้านเราก็คือ SPF 30 ซึ่งจะช่วยป้องกันแดดเผาได้ดีพอ หาซื้อได้ตามร้านขายยาและซูปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
-          ถ้าชอบปั่นตอนกลางคืนก็ลุยได้เลย : ถ้ากลางวันมันร้อนนัก นักจักรยานหลาคนจึงเลือกปั่นกันตอนกลางคืนเป็นกลุ่ม ๆ เอาแว่นตาเลนส์ใสมาเช็ดให้เคลียร์ ติดไฟส่องทางเข้ากับจักรยานรวมถึงไฟท้ายด้วยแล้วออกไปปั่นให้สนุกได้เลยกับเพื่อน ๆ บางครั้งการได้ลงซิงเกิลแทรคที่คุ้นเคยดีอยู่แล้วในตอนกลางคืนก็ทำให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างออกไป ที่ดีกว่าตอนกลางวันคือมันเย็นกว่าในตอนกลางคืน แต่ทั้งนี้ต้องระวังตัวมากขึ้นด้วย ไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรออกถนนใหญ่รถราจอแจ ต้องไปขี่กันเป็นกลุ่มและไม่ทิ้งกัน เพื่อจะได้ดูแลกันได้หากใครในกลุ่มต้องล้มหรือประสบอุบัติเหตุอื่น ๆ การติดอยู่ในป่าตอนกลางวันว่าแย่แล้วกลางคืนยิ่งกว่าถ้าคุณประสาทไม่แข็งพอ
-          น้ำคือเครื่องช่วยระบายความร้อน : นอกจากจะใช้ดื่มบรรเทากระหายแล้ว น้ำยังใช้ได้อีกหน้าที่หนึ่งคือระบายความร้อน คุณต้องดื่มน้ำให้ต่อเนื่องระหว่างการขี่จักรยานกลางอากาศร้อน และวิธีที่ธรรมชาติที่สุดคือการดูดเอาจากถุงน้ำสะพายหลังในเป้ซึ่งมีให้เลือกหลายรูปร่างและหลายขนาดรวมทั้งราคาซึ่งหลากหลายเช่นกัน คุณเลือกใช้ได้เท่าที่มีเงินจ่าย ทำให้อึดอัด นั่นก็มีส่วน แต่การมีแถมรัดมากมายทั้งที่หน้าอกและหน้าท้องไม่ได้หมายความว่าคุณต้องใช้มันทุกเส้น นอกจากเพื่อให้มีน้ำดื่มระหว่างการขี่จักรยานแล้วถุงน้ำพวกนี้ยังใช้ในกรณีอื่น ได้ด้วย เช่น เดินป่าหรือวิ่ง เขาจึงมีสายรัดมาให้ แต่นักจักรยานส่วนใหญ่เลือกใช้แค่สายสะพายหลังเท่านั้นก็เอาอยู่แล้ว ผู้ผลิตอาจจะไม่ได้บอกเรื่องนี้กับคุณ แต่ประสบการณ์น่าจะเป็นเครื่องชี้บอกได้ดีกว่าคำพูด เมื่อคุณขี่จักรยานบ่อย ๆ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำแล้ว คุณประโยชน์ของมันอีกข้อคือช่วยลดแรงกระแทกเมื่อคุณพลาดท่าต้องลอยข้ามแฮนด์แล้วเอาหลังลง อย่าบอกนะว่าไม่เคยถ้าคุณขี่เมาเท่นไบค์มานานกว่าหนึ่งปีขึ้นไปและใช้เวลา 90 % กับซิงเกิลแทรค
-          เลือกเสื้อปั่นจักรยานให้เป็น : เรารู้กันอยู่แล้วว่าเสื้อจักรยานมีประโยชน์คือมันลดความร้อนได้ จากเนื้อผ้ามีรูพรุนและซ้อนกันสองชั้น ชั้นในสุดคือส่วนดูดซับความชื้นไว้จากเหงื่อและน้ำ ส่วนชั้นนอกสุดจะทำหน้าที่ระบายน้ำเมื่อถูกลมพันเพื่อให้นักจักรยานตัวแห้งสบายตลอดเวลา เนื้อผ้าเสื้อจักรยานจึงต้องแตกต่างจากผ้ายึดธรรมดาที่เราเห็นใช้ตัดเสื้อยึดทั่ว ๆ ไป นอกจากต้องมีสีสันฉูดฉาดเพื่อให้สะดุดตาต่อยวดยานบนท้องถนน สีสันของมันต้องไม่ทึบ โดยเฉพาะสีดำนั้นไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรสวมเพราะจะดูดความร้องจากแสงแดดมาก และจะอันตรายมากขึ้นอีกเมื่อใช้ตอนกลางคืนบนท้องถนน รถยนต์ที่สวนหรือตามหลังมาอาจจะไม่เห็น ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ
-          เลือกหมวกกันกระแทกที่ช่องระบายอากาศมาก ๆ เข้าไว้ : เราต้องสวมหมวกกันกระแทกอยู่แล้วแน่ ๆ ตอนขี่จักรยาน มันช่วยให้ปลอดภัยได้จริง ๆ โดยเฉพาะตอนคุณล้ม อากาศร้อน ๆ อย่างนี้ประโยชน์ของมันอีกอย่างคือช่วยให้เย็นสบายหัวได้จากช่องระบายอากาศ หมวกกันกระแทกยิ่งปีหลัง ๆ นี้ยิ่งเบาลงเรื่อย ๆ ตามสไตล์การออกแบบ แต่ก็ต้องคอยระวังการเสื่อมสภาพของโฟมไว้เหมือนกันเพราะเหงื่อและความร้อนนี่แหละคือตัวบั่นทอนคุณภาพ ถ้าหมวกกันกระแทกของคุณมีอายุเกิน 3 ปีแล้วไม่ว่าจะเคยล้มมาก่อนหรือไม่ก็ตามควรเปลี่ยนใหม่ แล้วคุณจะรู้สึกได้ชัดเจนถึงความแตกต่าง [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
-          เท้าที่เย็นสบายช่วยให้ปั่นสนุก : ถ้าคุณไม่ได้ใช้รองเท้าสารคลิปเลสสำหรับปั่นจักรยานแบบที่ชิมาโนทำขาย รองเท้าปั่นเท่นไบค์ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนก็ตามควรจะมีรูระบายอากาศเยอะ หมายความว่ามันต้องไม่ทึบ ไม่ตัดเย็บด้วยหนังหุ้มทั้งหมดจนแทบไม่มีรูระบายอากาศเจาะไว้เป็นจุด ๆ บนหนังรองเท้า นั่นก็เป็นรองเท้าสำหรับเมืองหนาว รองเท้าขี่จักรยานเมืองร้อนอย่างบ้านเราควรมีบางส่วนโดยเฉพาะปลายหลังเท้านั่นต้องมีส่วนประกอบเป็นผ้าตาข่าย นอกจากเนื้อผ้าจะระบายความร้อนได้ดีแล้วยังระบายน้ำได้ดีเช่นกัน สวมมันขี่ลุยฝนได้ ในขณะเดียวกันก็แห้งเร็วเมื่อถูกลมเป่าหลังจากถูกน้ำมาไม่นาน
-          ถ้าร้อนมากก็ปั่นลงน้ำ : ถ้าคุณชอบขี่จักรยานในซิงเกิลแทรคหรือทางลุยป่า คงหลีกเลี่ยงพวกทางน้ำลำธารได้ยาก การตัดสินมาเล่นเมาเท่นไบค์คือคุณคงไม่กลัวเปื้อนกลัวเปียกอยู่แล้ว ขี่ลุยลงไปเลยอย่าได้ชักช้าให้น้ำกระเซ็นขึ้นมาระบายความร้อนในตัว ข้อควรระวังคือต้องหุบปากให้สนิท มิฉะนั้นน้ำที่มีแบคทีเรียจะเข้าปาก
-          อย่าลืมผ้าซับเหงื่อ : แถบฟองน้ำบุในหมวกกันกระแทกมีประโยชน์ คือลดแรงกระแทกและกระทบกระเทือนกับกะโหลก ประโยชน์อีกอย่างของมันคือซับเหงื่อได้  ถ้าคุณเป็นคนเหงื่อมากทางเลือกอีกอย่างคือใช้แถบรัดศีรษะแบบเดียวกับที่พวกนักเทนนิสใช้เพื่อซับเหงื่อ ช่วยได้มากเมื่อเหงื่อไหลจากศีรษะลงมาเข้าตา ถ้าได้แถบนี้มาหลังจากซ้อนหมวกกันกระแทกแล้วคุณอาจพบว่ามันทำให้ศีรษะใหญ่ขึ้นจนคับหมวก วิธีแก้ปัญหาไม่ใช้เอามีไปปาดเนื้อหมวกทิ้ง ทำแค่ถึงแถบฟองน้ำรองในออกในส่วนที่สัมผัสกับแถบรัดศีรษะโดยตรงก็พอ ตรงกระหม่อมยังเหลือไว้ได้ เพื่อจะได้มีเนื้อที่หมวกมากขึ้นสำหรับการสวมครอบแบบซับเหงื่อรัดศีรษะนอกจากการเตรียมตัวให้พร้อมรับแดดแผดจ้าแล้ว บางครั้งอาจมีเพื่อนเราบางคนทนไม่ไหว คุณดูคำแนะนำในการปฐมพยาบาลได้ตรงนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
1. นำนักจักรยานที่มีท่าทางว่าจะเป็นลมหรือเป็นลมไปแล้วเข้าร่ม
2. ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกบางส่วน เพื่อให้ระบายอากาศ
3. ให้ดื่มน้ำถ้ายังพอมีสติอยู่บ้าง พยายามให้จิบ อย่าซด
4. ถ้ามีน้ำมากพอจงใช้มันพรมให้ทั่วใบหน้าและลำตัว
5. หาอะไรมาพัดหน้าให้ระบายอากาศ จะได้ลดอุณหภูมิร่างกายได้บางส่วน
6. ถ้าหมดสติไปแล้วไม่ต้องกรอกน้ำ เพราะจะสำลัก ให้รอให้ฟื้นก่อน
7. พอเขาฟื้นแล้วขี่จักรยานได้ หากไม่จำเป็นต้องขี่ต่อให้นำขึ้นรถยนต์ไปพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยอาการลึก ๆ ของคนไข้เอง
[เทคนิคการปั่นจักรยาน]

เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก [เทคนิคการปั่นจักรยาน ]

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก [เทคนิคการปั่นจักรยาน ]
                การถ่ายน้ำหนักคือการย้ายจุดศูนย์ถ่วงของตัวเราไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของตัวรถจักรยานหากเราได้ฝึกฝนการถ่ายน้ำหนักจนมีความชำนาญจะช่วยให้เราขี่จักรยานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรงตัว การควบคุมรถแม้กระทั่งการเพิ่มความเร็ว และปลอดภัยขึ้น เพราะเมื่อเราทรงตัวได้ดีเราก็คงไม่ล้มง่าย ๆ นั่นเอง
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะเลี้ยวพื้นราบ
สิ่งแรกที่ต้องพึงระวังไว้เสมอคือขณะที่เลี้ยวลูกบันไดด้านที่เลี้ยวจะต้องอยู่ในทิศทางประมาณ 12 นาฬิกา เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบันใดไปเกี่ยวกับพื้น โน้มตัวไปด้านหน้าให้น้ำหนักไปกดอยู่ที่ล้อหน้าเพื่อให้ล้อหน้าเกาะกับพื้นยิ่งขึ้นช่วยไม่ให้ล้อหน้าไถลออกจากทาง ถ่ายน้ำหนักตัวท่อนล่างให้ไปทางเดียวกันกับที่เลี้ยว ส่วนท่อนบนให้ไปในทิศทางตรงกันข้าม เปิดเข่าด้านที่เลี้ยวออกเพื่อช่วยถ่วงน้ำหนัก การเปิดเข่าออกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับมุมที่เราจะเลี้ยวหากมุมแคบก็เปิดเข่ากว้างหน่อย แต่หากมุมกว้างเปิดเข่าแคบหรืออาจไม่ต้องเปิดเข่าแต่ให้เอียงตัวช่วยก็พอในการเลี้ยวนั้นน้ำหนักส่วนมากจะค่อนไปอยู่ที่ส่วนหน้าของจักรยาน แต่หากทางที่ต้องเลี้ยวเป็นทางลง ให้ถ่ายน้ำหนักตัวค่อนมากลางรถคุมความเร็วอย่าให้สูงเกินด้วยการควบคุมเบรก ต้องระวังอย่าเบรกแรงจนล้อล็อคเพราะจะทำให้เสียการควบคุม
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะที่ปั่นขึ้นเนิน [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
ถ่ายน้ำหนักในขณะขึ้นเนินปรับเกียร์ให้เหมาะกับความชันและกำลังของเรา งอแขนและกางแขนออกโน้มตัวไปข้างหน้าพร้อมถ่ายน้ำหนักลำตัวช่วงบนกดไปแฮนด์เพื่อให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนมากขึ้น ส่วนลำตัวช่วงล่างให้ทิ้งน้ำหนักลงไปที่กะโหลกเพื่อให้มีน้ำหนักไปกดที่ล้อหลังไม่ให้เกิดการฟรีซึ่งจุดนี้จะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชันของทางต้องขยับการนั่งค่อนมาทางด้านหน้าเบาะ หากทางไม่ดีนั่งปั่นไม่ได้ให้ยกก้นขึ้นลอยจากเบาะแต่ให้อยู่ในแนวเดิม แต่ถ้าสภาพทางเปียกควรนั่งปั่นเพราะการนั่งจะรักษาการถ่ายน้ำหนักและควบคุมรถได้ดีกว่าการยืน หากถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังมากเกินไปหน้ารถจะเบาทำให้ควบคุมทิศทางลำบาก ดีไม่ดีอาจหงายท้องอีกด้วย แต่ถ้าหากเราถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้ามากเกินไปล้อหลังจะไม่มีแรงกดเมื่อเราออกแรกปั่นล้อจะฟรีทำให้เสียจังหวะและอาจเสียการควบคุมรถอีกด้วย
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นลงเนินสำหรับทางวิบาก หรือทางขรุขระ
หากสภาพทางมีความลาดชันมากให้ปล่อยไหลลงมาจะปลอดภัยกว่าโดยพยายามให้ขาจานอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นงอเข่าทั้งสองข้าเพื่อช่วยในการควบคุมรถและช่วยซับแรงกระแทกยกก้นลอยขึ้นจากเบาะ ให้ถอยตัวค่อนไปตอนท้ายหรือเลยออกจากเบาะ เพื่อให้น้ำหนักไปตกอยู่ที่ล้อหลัง (สำหรับระยะของการถอยตัวจะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความชันของทาง)  พยายามกดล้อหลังให้ติดพื้นตลอด เพราะหากล้อหลังลอยจากพื้นจะทำให้เสียการควบคุมได้หากทางเรียบปั่นเติมเพื่อเพิ่มความเร็วก้มตัวให้ต่ำเพื่อลดแรงต้านให้นั่งอยู่ส่วนท้ายเบาะเพื่อให้มีน้ำหนักกดที่ล้อหลังนิ้วต้องอยู่ที่เบรกตลอดเพื่อชะลอความเร็วไม่ให้เร็วเกิน หลีกเลี่ยงการใช้เบรกหน้าถ้าไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียหลักได้ง่าย มองให้ไกลเข้าไว้เผื่อมีหลุมหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าจะได้หลบทันไม่ต้องกลิ้งลงมาแทน
-          การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นทางเรียบ ที่ความเร็วและรอบขาสูง
ลักษณะของการถ่ายน้ำหนักจะคล้ายกับการปั่นขึ้นทางชัน คือเลื่อนตัวมาอยู่ที่ปลายเบาะด้านหน้างอแขนเข้าหาตัวโน้มตัวไปข้างหน้า (เรียกง่าย ๆ ว่าหมอบ) น้ำหนักจะตกอยู่ที่ส่วนหน้าเพื่อลดแรงเสียดทางของล้อหลังกับพื้นถนนทั้งยังช่วยให้เราสามารถรักษารอบขาได้นานขึ้นด้วย
-          การถ่ายน้ำหนักเมื่อเจอทราย [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
ให้ถ่ายน้ำหนักไปที่กะโหลกค่อนไปที่ล้อหลังเพื่อให้ล้อมีแรกตะกุยพยายามรักษารอบขาให้สม่ำเสมออย่าถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้าต้องให้หน้ารถเบาไว้เพื่อที่ล้อหน้าจะได้ไม่จมทราบ การควบคุมและบังคับทิศทางจะได้ง่ายขึ้น
-          การถ่ายน้ำหนักเพื่อเบรก
หากต้องการเบรกให้รถหยุดจัดตำแหน่งขาจานอยู่ในแนวขนานกับพื้นถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังโดยการถอยตัวไปท้ายหรือเลยเบาะใช้เบรกทั้งหน้าและหลังแต่ให้เริ่มเบรกหลังก่อนจากนั้นตามด้วยเบรกหน้า ใช้แขนดันแฮนด์ไว้เพื่อไม่ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้า แต่หากต้องการเบรกเพื่อให้ไถลไปในทิศทางที่ต้องการให้ถ่ายน้ำหนักมาที่ล้อหน้าโดยการโน้มตัวมาด้านหน้าบังคับแฮนด์ไปในทิศทางที่ต้องการ การทรงตัวจะใช้ล้อหน้าเป็นหลักน้ำหนักที่กดล้อหน้าจะช่วยให้เราอยู่ในเส้นทาง เบรกเต็มกำลังเพื่อให้ล้อหลังล็อคล้อหลังจะไถลไปในทิศทางตรงกันข้ามกับล้อหน้า ปล่อยเบรกหลังเมื่อล้อหลังอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการปั่นควรหมั่นฝึกซ้อม เพราะนอกจากคุณจะเร็วขึ้นสนุกขึ้นที่สำคัญปลอดภัยขึ้นขึ้นด้วย สำหรับการถ่ายน้ำหนักในทุก ๆ กรณีหากไม่มั่นใจแนะนำว่าเข็นหรือแบกก่อนดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและรถอันเป็นที่รักของคุณ

 [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

2 ธ.ค. 2553

PRODUCT REVIEW : NECK GUARD

|0 ความคิดเห็น
PRODUCT REVIEW : NECK GUARD [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                อุปกรณ์ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้พิสมัยในความเร็วซึ่งขณะนี้ไม่ว่าจะล้อใหญ่หรือล้อเล็ก มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อน หรือใช้แรงกายผลักดันในกีฬาผาดโผนโจนทยานอย่างพวกเราชาว Extreme ที่ไม่ทราบว่าแจ็คพ็อตจะมาเมื่อไร ในที่นี้หมายถึงการพลาดพลั้งจากการขับขี่ ควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ กับ Neck Guard หรือที่เรียกว่า การ์ดคอ เป็นของแปลกใหม่ รูปทรงประหลาด ๆ ถูกสวมใส่โดยโปรชั้นนำชาว Motocross, Downhill และ Bmx Racing  ใส่กันเยอะขึ้นด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หรือแฟชั่นกันแน่ เรามาเจาะกระแสของเจ้า Neck Guard กันครับ [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                Neck Guard  เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่พัฒนามาจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ช่วยลดโอกาสบาดเจ็บจากไหปลาร้าหักหรือกระดูกคอเคลื่อน (หักจนเป็นอัมพาต) เนื่องจากการพับคอผิดลักษณะอย่างรุนแรงจนกระดูกไปกดทับบริเวณไหปลาร้าและเส้นประสาทต่าง ๆ ซึ่ง Neck Guard มีให้เลือกหลายแบบตามราคา ถูกแพงขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ผลิต  หากผลิตจากคาร์บอน จะมีน้ำหนักเบาแต่ราคาจะค่อนข้างสูง แบบถูก ๆ ก็มีนะครับ เป็น Bio Foam คล้าย ๆ หมอนเอาไว้รองคอตอนนอนนั่นแหละครับ [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                ทางการแพทย์ถือว่าในร่างกายของคนเรากระดูกที่มีส่วนสำคัญที่สุดต่อชีวิตคือกระดูกต้นคอ  และหลัง ภายในกระดูกต้นคอจะเป็นสารพัดเส้นประสาท เมื่อกระดูกที่ต้นคอหักจะมีความแหลมคม เช่นถ้ากระดูกแขนหักแล้วเกิดอาการเจ็บปวดเนื่องจากว่ากระดูกที่หักมันแหลมคมไปโดนเส้นเลือดก็ทำให้เกิดอาการปวด แต่ถ้าเป็นกระดูกคอหักไม่ทำให้คนตายนะครับ แต่ทำให้ส่วนที่แหลมคมไปตัดเส้นประสาทที่อยู่ในกระดูกต้นคอหากกระดูกหักตรงไหนแล้วไปตัดเส้นประสาทก็ทำให้ตั้งแต่ส่วนนั้นใช้การไม่ได้ หรือเป็นอัมพาตครับ เช่นเวลาขี่จักรยานดาวน์ฮิลล์ลอยเนินแล้วลงมาผิดท่าเอาหัวลงแล้วเกิดหักที่ต้นคอ แล้วทำการเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธีจะทำให้กระดูกที่หักไปเสียดสีเส้นประสาททำให้ส่วนที่อยู่ล่างจากต้นคอลงมาทำงานไม่ได้คืออาการอัมพาตนั่นเอง
                หากนักแข่งล้ม แล้วทีมกู้ชีพกู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือสังเกตว่าจะมีการใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า คอล่า นะครับ เพื่อป้องกันการก้ม และเงยของคอ แล้วจะมีมือประคองเพื่อไม่ให้คอขยับเพื่อให้อยู่นิ่ง ในแนวตรง เพราะนักกู้ภัยทุกคนจะคิดว่ากระดูกหักไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกที่หักไปตัดเส้นประสาท แต่หากไม่หักแล้วใส่อุปกรณ์ก็ไม่เสียหายอะไร (คิดให้แย่ที่สุดไว้ก่อน เป็นดีที่สุด) และเนื่องจากพวกฝรั่งให้ความสำคัญกับกระดูกต้นคอ และหลังมากจึงได้ออกแบบตัวอุปกรณ์ขับขี่โมโตครอสและจักรยานดาวน์ฮิลล์นี้มาเพื่อลดความเสี่ยงของความเจ็บปวดจากอุบัติเหตุ การแข่งขันให้น้อยลงที่สุดเพราะจักรยานดาวน์ฮิลล์เวลาลงเขามาในความเร็วสูงนั้นก็คือโมโตครอสหรือ เอ็นดูโร่ย่อม ๆ นั่นเอง [จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]
                การ์ดคอมีหน้าที่ป้องกันการก้มและเงยที่เกินองศาด้วยความรุนแรงในกรณีที่รถฟาดพื้นหรือล้มลง หมวกกันน๊อคจะไปชนกับการ์ดคอนี้ ทำให้คอและหลังเวลาสะบัดไม่ก้มและเงยมากเกินไป ทำให้ลดความเสี่ยงได้เยอะจะเห็นได้ว่าหากไม่ใส่อุปกรณ์ตัวนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้เราเป็นอัมพาตได้หากเกิดเหตุการณ์ที่เราล้มแล้วเอาหัวลงพื้นก่อนเป็นต้น
                และแล้วแฟชั่นก็เริ่มเข้ามาร่วมกับความปลอดภัย เริ่มมีการออกแบบชุด Kit  ไว้ตกแต่ง Neck Guard ให้สวยงามไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สีสันของโฟมรองคอ หรือดีไซน์ที่ดูทันสมัยขึ้นก็เกิดเป็นเหตุผลที่ทำให้เงินไหลออกมาจากกระเป๋าตังค์กันอีกแล้วซิครับท่าน อย่างไรก็ตาม กีฬาจักรยาน Downhill หรือ Bmx Racing นั้นมีความเสี่ยงสูง นอกจากตัวการ์ดคอที่ว่านี้แล้ว กะโหลกของเราก็สำคัญควรจะใช้หมวกกันน๊อคที่มีคุณภาพ รวมทั้งการ์ดเข่า เกราะอ่อนต่าง ๆ อุปกรณ์ป้องกันทั้งหลายเหล่านี้หากมีงบประมาณ ก็สมควรที่จะหามาใช้ครับ เพียงเลือกให้เหมาะกับการใช้งานตามความจำเป็น แล้วพอดีกับงบประมาณของเราครับ...
[จักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา]


บทความที่เกี่ยวข้อง :

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง