ss

29 ก.ย. 2553

100 กม.UP : การเตรียมตัวก่อนปั่น 1 วัน ก่อนปั่น 24 ชั่วโมง ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
          มีหลายวิธีที่ถูกต้องเพื่อขี่จักรยานทางไกลเกินร้อย กิโลเมตร วิธีที่ผิดก็มีเหมือนกันแต่เราคงไม่แนะนำวิธีผิด ๆ ให้คุณ เพราะฉะนั้นจึงขอให้มั่นใจว่าสิ่งที่จะได้อ่านต่อไปนี้คือเรื่องดี ๆ และถูกต้องเท่านั้น
          เริ่มปั่นช้า ๆ : ทำไมเราจึงแนะนำเช่นนั้น ก็เพราะคุณยังมีวันอันแสนยาวนานรอคอยอยู่จึงไม่จำเป็นต้องเร่งร้อนอะไร ออกตัวง่าย ๆ ขี่ไปสบาย ๆ ด้วยรอบขาไม่ต้องจัดนัก ใช้เกียร์เบา ๆ แต่ไม่ต้องเบามากเพื่ออุ่นเครื่องให้กล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเลยเว้นแต่จะเตรียมตัวมาดีและอยากทำลายสถิติหรืออยากจะได้ถ้วยกันจริง ๆ ถ้าตราบใดที่มันไม่ใช่การแข่งขันตราบนั้นก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน
          คุมรอบขาให้ได้ : เพียงไม่กี่นาทีหลังจากออกตัวมาแล้วคุณจะเริ่มรู้รอบขาปั่นของตัวเอง รอบเท่าใดที่เหมาะสม ปั่นแล้วสบายไม่หนักแรงหรือเร่งชีพจรเกินไปก็ควรคงรอบนั้น ๆ ไว้ให้ได้ ตรวจสอบไซโคลคอมพิวเตอร์และเครื่องวัดชีพจรอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องปกติหากจะรู้สึกตื่นเต้นบ้างแต่คุณจะรู้สึกแข็งแกร่งขึ้นเมื่อรอบขาคงที่แล้ว พอรอบขาหมุนได้คงที่คุณจะพบว่าความเร็วเพิ่มขึ้นเอง หากไปกันเป็นกลุ่มความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะมากกว่าที่ตั้งใจไว้เสมอจนคุณเองก็ต้องแปลกใจ
          จงขี่จักรยานเป็นกลุ่ม : ถ้าคุณมีเพื่อนซ้อมจักรยานเป็นประจำหรือรู้จักใครที่วางเป้าหมายในการขี่ไกลไว้เหมือนกัน การขี่ทางไกลจะยิ่งสนุกถ้าคุณและเพื่อนจับกลุ่มกันขี่แล้วผลัดกันขึ้นมาลาก ด้วยวิธีนี้จะสนุกและช่วยให้เบาแรงได้อย่างมหัศจรรย์ การได้คุยกันไปด้วยระหว่างปั่นจะทำให้ระยะทางร่นเข้าเร็วขึ้น การได้หมกอยู่กลางกลุ่มบ้างจะช่วยให้เบาแรงและความเร็วจะสูงขึ้นด้วยการปั่นไปด้วยกันมีเพื่อน ๆ คอยช่วงบังลมไว้ให้
         ระวังกลุ่มขี่เร็วไว้ก็ดี : จากข้อที่แล้วที่เราบอกว่าการขี่จักรยานเป็นกลุ่มจะทำให้ความเร็วสูงขึ้น แต่ระหว่าทางนั้นถนนไม่ได้เรียบไร้หลุมบ่อหรือสิ่งกีดขวางจนถึงปลายทาง ระหว่างนั้นอาจมีการสร้างถนน หลุมบ่อ รถยนต์น้อยใหญ่จอดข้างทาง วิธีจะขี่เป็นกลุ่มแบบความเร็วสูงได้อย่างปลอดภัยคือต้องมีระบบการแจ้งเตือนที่เด่นชัดแน่นอน ทุกครั้งที่จักรยานแถวหน้าสุดเห็นสิ่งกีดขวางหรือจะเป็นอันตรายนักจักรยานต้องตะโกนบอกมาข้างหลังแล้วชี้ไปที่สิ่งนั้น ถ้าแถวยาวเป็นร้อย ๆ คันการชี้บอกจะกระทำเป็นทอด ๆ มาจนถึงคนสุดท้าย ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้นักจักรยานรอดจากการตกหลุมหรือชนเข้ากับรถหรือสิ่งกีดขวางอื่นริมทางได้ ในการปั่นความเร็วสูง ๆ ที่ล้อหน้าของคุณแทบจะสัมผัสกับล้อหลังของเพื่อนนั้น
มันยากจริง ๆ ที่จะหลบหลีกอะไรข้างหน้าได้ในระยะเพียงสามถึงห้าเมตร มองเห็นอย่างเดียวคงไม่พอต้องให้เพื่อนชี้บอกด้วย แต่การหลบหลีกต้องเป็นไปอย่างปลอดภัยคือต้องมีระยะห่างทางข้างให้เคลื่อนที่ได้ด้วยโดยไม่ไปเกี่ยวจักรยานข้างเคียงซ้ายขวาเข้า ถ้าเป็นหลุมไม่ลึกนักคุณก็ขี่ลุยได้โดยไม่ต้องหลบ เพราะการหลบจะทำอันตรายให้ตัวเองและเพื่อนพ้องได้มากกว่า ในกรณีที่เป็นสิ่งของวางพ้นพื้นขึ้นมารเราคิดว่าคงไม่ต้องหลบ เพราะหากชนเพื่อนคันข้างหน้าของคุณคงรับเคราะห์ไปก่อนแล้ว คุณนั่นแหละที่จะชนกับล้อหลังของเขาเองหากหลบไม่พ้น
         ออมมามากแล้ว ใช้มันเสียบ้างตอนใกล้จบ : เมื่อคุณได้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง ถูกต้องมาตลอดตั้งแต่เริ่ม และรู้สึกดีมาก ๆ ในช่วงกิโลเมตรสุดท้าย ถ้ายังคิดว่าตัวเองมีเรี่ยวแรงก็จงเร่งฝีเท้าขึ้นอีกนิดโดยไม่จำเป็นต้องโหมปั่นสุดแรงเพราะมันคงไม่ช่วยอะไร อัตราชีพจรที่ถูกเร่งมาตลอดทางจะพุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่เป็นผลดีอะไรเลย การรู้ว่าอีกไม่นานก็จะถึงเส้นชัยจะทำให้ตื่นเต้น อะดรีนาลีนหลั่งมากระตุ้นให้เกิดเรี่ยวแรงฮึดสู้ขึ้นอีกครั้ง ถ้าคุณทำตามหลักการอย่างถูกต้องและปั่นมาได้ตลอดระยะโดยยังรู้สึกดี ความเร็วคงที่ ช่วงก.ม.สุดท้าย ๆ นี่แหละที่เรี่ยวแรงมันจะมาเอง
        หลังจากเข้าเส้นชัยแล้วใช่ว่าจะหยุดอยู่แค่นั้น จอดจักรยานไว้ก่อนแล้วยืดเส้นยืดสายอีกครั้งเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนักมาทุกวันจนเมื่อยล้า ถอดเสื้อผ้าเปื้อนเหงื่อและเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ออกซักทันที่ก่อนจะตรงเข้าห้องน้ำเพื่ออาบน้ำให้สาบตัว ดื่มน้ำให้อิ่มหลังปั่น แล้วจึงบันทักสถิติเอาไว้ด้วยว่าระหว่างปั่นคุณเผชิญกับอะไรมาบ้าง ให้ลงรายละเอียดถึงสภาพอากาศ อุณหภูมิ เครื่องดื่ม และอาหารระหว่างการปั่น สถิติเหล่านี้แหละที่จะช่วยให้คุณใช้ตั้งต้นได้เมื่อจะปั่นครั้งต่อไปด้วยระยะมากกว่า 10 ก.ม.
         ปั่นครบ 100 ก.ม.เป็นครั้งแรกแล้วสิ่งที่ต้องทำคือพักผ่อน หลังจากนอนให้เต็มที่แล้วการขี่จักรยานในวันรุ่งขึ้นควรเป็นไปอย่างไม่หักโหม คุณควรปั่นด้วยเกียร์เบา ๆ รอบขาสบาย ๆ โดยต้องไม่ลืมยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ที่ฝรั่งมีคำคมอยู่ว่า “สิ่งใดก็ตามที่มันฆ่าเราไม่ได้ มันย่อมทำให้เราแข็งแรงขึ้น” นั้นเป็นจริง คุณปั่นครบร้อยแล้วยังไม่ตายก็ย่อมหมายความว่าคุณพร้อมจะปั่นในระยะไกลขึ้นแน่นอนใช่แล้วครับ เรากำลังจะเปิดประตูนำคุณเข้าสู่ระยะทางที่ไกลขึ้น โลกใหม่ที่ท้าทายในระยะทางไกลกว่า 100 ก.ม. จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ถ้าเอาจริงคุณเองก็ขี่จักรยานไกลได้ถึง 200 ก.ม.โดยไม่ต้องเป็น แลนซ์ อาร์มสตรอง หรืออัลแบร์โต คอนทาดอร์


          ขอให้โชคดีมีความสุขในการปั่นจักรยานทุกคนนะครับ..

100 กม.UP : การเตรียมตัวก่อนปั่น 1 วัน ก่อนปั่น 24 ชั่วโมง ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
          ถ้าจะว่าไปแล้วการปั่น 100 ก.ม. หรือ 160 ไมล์แบบเซ็นทิวรี่จริง ๆ นั้นแทบไม่ต่างกันเลยในด้านการเตรียมตัว ไม่ว่าคุณจะปั่นจักรยานได้ใกล้หรือไกลแค่ไหนสิ่งที่ต้องเตรียมยังคงเหมือนเดิม คือต้องมีหมวก แว่นตา เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้าและอื่น ๆ ที่จะทำให้การขี่จักรยานครั้งนั้นปลอดภัยและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ แต่ถ้าจะเตรียมตัวปั่นกันอย่างมือโปรก็ต้องมีเวลา เวลาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อ่ให้รายละเอียดทุกอย่างถูกเก็บได้เรียบร้อยจงน่าจะเป็นช่วง 24 ชั่วโมงซึ่งน่าจะเป็นการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนก้าวขึ้นคร่อมอาน
          ถ้าจักรยานของคุณยังไม่ได้ถูกปรับแต่งให้เข้าที่ในเวลา 24 ชั่วโมงนี้ก็ต้องทำ สำหรับคาร์โบฯโหลดดิ้งที่จะสำคัญต่อการขี่จักรยานไกลก็ควรทำด้วยในเวลาก่อนนอนสามชั่วโมงเพื่อให้ไกลโคเจนเข้าไป สะสมในกล้ามเนื้อเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ทั้งยังต้องเริ่มดื่มน้ำมาก ๆ เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คงไม่ต้องพูดถึงรวมทั้งน้ำชากาแฟ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่เป็นผลดีต่อการขี่จักรยานหรือการออกกำลังกายใด ๆ เลยแม้แต่น้อย หลังรับประทานอาหารเย็นแล้วควรดื่มน้ำให้พอแต่ต้องเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนนอนเช่นกัน ก่อนปั่นไกล เป็นร้อย ๆ กิโลฯ ให้ครบคุณต้องได้นอนพักผ่อนให้เต็มที่โดยไม่ต้องมีอะไรมาขัดจังหวะระหว่างนั้น
          ก่อนจะล้มตัวลงนอนให้จัดการกับเช็คลิสต์ให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยการเอาเสื้อผ้า หมวกกันกระแทก เครื่องวัดชีพจร แว่นกันแดด รองเท้า อาหารบำรุงกำลังติดกระเป๋า และทุกสิ่งที่ต้องใช้ก่อน ระหว่างปั่น และหลังปั่นมาวางไว้ก่อนหยิบลงกระเป๋า จงอย่าได้คิดว่าจะมาจัดลงกระเป๋าในตอนเช้าวันปั่นเพราะความรีบร้อนจะทำให้พลาดจนลืมหยิบเอาของสำคัญใส่กระเป๋าได้ง่าย ๆ
          สำหรับเรื่องการจัดของนี้ ถ้าคุณเป็นคนปั่นจักรยานเป็นประจำอยู่แล้วก็อาจไม่ต้องถึงกับจดรายการแล้วจัดของตาม วิธีง่ายที่สุดคือจินตนาการถึงการแต่งกายของตัวเองว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง นึกถึงตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วจะพบว่ามันง่ายกว่าเมื่อจะจัดเรียงลำดับ ไปตั้งแต่หมวกกันกระแทก แว่นตา เสื้อ ถุงมือ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า แล้วค่อยมาคำนึงถึ่งสิ่งที่จะนำติดตัวใส่กระเป๋าหลังของเสื้อไป เช่น เพาเวอร์เจลและอื่น ๆ ที่จำเป็น นึงไปพลางหยิบของในตู้มาวางไว้ข้างกระเป๋าก่อนจัดของลง
          พอของพร้อมแล้วก็นั่งลงค่อย ๆ คิดถึงแผนการที่วางไว้ว่าจะทำอะไรบ้างในการขี่วันนั้น เมื่อถึงช่วงยากลำบากของเส้นทางแล้วจะทำอย่างไร เสร็จแล้วเมื่อก่อนนอนก็ตั้งเวลาไว้ อยากจะตื่นตอนไหนก็ตั้งเวลาไว้ เมื่อไม่ประมาทก็ต้องตั้งเวลาไว้เป็นครั้งที่สองด้วยหากครั้งแรกปลุกแล้วคุณไม่อยากตื่น

วันปั่นไกล
          การตั้งเวลาไว้จะทำให้ไม่ต้องรีบกระหืดกระหอบตื่นขึ้นหลังจากได้พักผ่อนมาเต็มที่แล้ว จงรับประทานอาหารเช้าแบบสบาย ๆ ไม่เร่งรีบ ถ้าได้ดื่มน้ำมาแล้วตอนก่อนนอนสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องไปห้องน้ำเสียก่อน อาหารเช้าในวันนี้ต้องมั่นในว่ามีพลังงาน 70 % มาจากคาร์โบฯ สำหรับคนไทยคงไม่ต้องห่วงเพราะเรารับประทานข้าวซึ่งประกอบด้วยคาร์โบฯเป็นหลักอยู่แล้ว ข้อสำคัญคือคุณต้องรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนออกสตาร์ทสองชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้ย่อยสลายไปส่วนหนึ่งก่อนออกกำลัง รับประทานมากไปจะจุกและอาจถึงกับอาเจียนจนรู้สึกแย่ ๆ ได้ระหว่างทาง

ชั่วโมงสุดท้ายก่อนออกตัว
          ถ้าคุณไม่ได้คาดหวังว่าจะไปขี่จักรยานกับกลุ่ม ขาแรง ชอบปั่นเร็ว หรือไม่ได้คาดคิดว่าตัวเองต้องทำลายสถิติไม่ว่าจะเป็นสถิติของเพื่อนหรือของตัวเองก็ตาม การปั่นแบบเซ็นทิวรี่ไม่จำเป็นต้องวอร์มอัพกันบนจักรยานเลย แค่ยืดเส้นยืดสายสักห้านาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังตอนล่าง หัวไหล่ ช่วงขาตอนหลัง และหลังของคุณได้ผ่อนคลายเท่านั้นก็พอแล้ว การได้ยืดเส้นยืดสายจะช่วยได้มากทั้งการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการลดควมตื่นเต้น ด้วยประสบการณ์ที่เพิ่มพูนขึ้นตามชั่วโมงของการปั่นที่ผ่านมา คุณจะวางแผนก่อนการปั่นได้อย่างเป็นธรรมชาติเองจนถึงนาทีสุดท้ายหน้าเส้นสตาร์ท ต่อไปนี้แหละที่เราจะเข้าสู่กระบวนการวางแผนระหว่างการปั่นไกลเกิน 100 ก.ม.
          ในตอนต่อไปจะมาแนะนำวิธีในการขี่จักรยานทางไกลเกินร้อย ก.ม. ว่ามีวิธีในการเริ่มปั่นอย่างไร

27 ก.ย. 2553

ประเภทและการเลือกใช้ยางเสือภูเขา

|1 ความคิดเห็น
สำหรับยางที่ใช้ในจักรยานเสือภูเขานั้นจะแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
   1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน
   2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง


       1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ ทางขรุขระ ทางโคลน ทางเรียน นักปั่นจักรยานที่ชอบขี่ไปในแทรกทางขรุขระ ทางลูกรังที่เป็นทางที่แห้ง ก็ควรใช้ยางที่มีดอกยางบั้งถี่ ๆ ซึ่งจะช่วยในการยึดเกาะได้ดี ถ้าหากวันไหนจะต้องไปลุยกับโคลนพื้นเฉอะแฉะเป็นดินเหนียว ยางที่ใช้ก็ควรจะมีดอกยางที่ห่างซึ่งจะช่วยในการสะบัดโคลนไม่ให้ติดยางมากเกินไป และส่วนใหญ่ขี่บนถนนทางเรียบเป็นส่วนใหญ่ ก็ให้เลือกใช้ยางที่ไม่มีดอกยาง (ยาง Slick) และถ้าผิวถนนมีน้ำหรือฝนตกก็ให้เลือกใช้ยางที่มีดอกยางละเอียด (Semi Slick) ซึ่งดอกยางที่ละเอียดจะช่วยรีดน้ำและช่วยในการยึดเกาะกนนที่เปียกน้ำได้ดีครับ และยางอีกประเภทคือยางที่ใช้กับยางเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์ ซึ่งจะมีดอกยางที่ใหญ่มากเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการกระแทกและช่วยในการยึดเกาะในการลงมาจากที่สูง
2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง ซึ่งแบ่งได้อีก 4 ประเภทดังนี้
     2.1 ยางขอบแข็งหรือที่เราชอบเรียกกันว่ายางงัด เป็นยางยุคบุกเบิกเริ่มแรกที่ใช้ในจักรยานจนถึงปัจจุบัน โดยขอบของยางจะมีความแข็งซึ่งขอบของยางชนิดนี้จะทำด้วยเส้นลวด ข้อเสียของยางงัดคือมันมีน้ำหนักมากถอดเปลี่ยนลำบาก ต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยงัดยางออกมา เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ พกพาไม่สะดวก มีโอกาสที่จะทำให้ยางในขาดได้ง่าย ตอนที่งัดยางกลับเข้าวงล้อ ข้อดีของยางงัด มีราคาถูก มีอายุการใช้งานทนทานกว่า
        2.2 ยางขอบอ่อนหรือยางพับ ซึ่งเป็นยางที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากยางยุคแรก ขอบของยางจะทำมาจากวัสดุที่มีความยึดหยุ่นสูง สามารถพับเก็บได้สะดวก มีน้ำหนักเบา ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ พกพาสะดวก ข้อเสียคือราคาแพงอายุการใช้งาน ความทนทานน้อยกว่าแบบแรก
        2.3 ยางนอกประเภทที่ใช้ยางใน ซึ่งก็เป็นแบบที่ใช้กันมานาน โดยจะมียางชั้นในทำหน้าที่กักเก็บลมเอาไว้ และมีจุกเติมลมโผล่ทะลุออกมาจากขอบล้อยาง ยางในจะทำหน้าที่คอยพยุงยางนอกให้ทรงตัวอยู่ได้ ข้อดีคือมีน้ำหนักพอประมาณ ราคาไม่แพง อัตราการซึมของลมมีน้อย
       2.4 ยางนอกประเภทที่ไม่ใช้ยางใน ทู๊ปเลส (Tube less) เป็นยางที่ไม่ใช้ยางในในการกักเก็บลม แต่ใช้ตัวมันเองและวงล้อในการกักเก็บลม ซึ่งจะใช้หลักการเดียวกันกับยางรถยนต์แต่เมื่อนำมาใช้ในรถจักรยานประสิทธิภาพในการกักเก็บลมจะด้อยกว่า เวลาใช้จะต้องเติมน้ำยากันรั่วซึมเข้าไปด้วย ข้อดีคือไม่ต้องเสียเวลามานั่งปะยาง เมื่อมีของแข็งแทงทะละยาง ก็ยังสามารถขี่ต่อไปได้ ข้อเสียคือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก มีการรั่วซึมของลมยางค่อนข้างสูง และมีราคาแพง
           หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเลือกใช้ยางได้ถูกตามสถานการณ์ และกำลังทรัพย์ของแต่ละคนนะครับ

ว่าด้วยเรื่อง “Bike Touring”

|0 ความคิดเห็น
          ถ้าคุณคิดจะหอบผ้าผ่อนและของอีกมากมายนอกจากขวดติดจักรยานสองใบ ไปไหน ๆ พร้อมจักรยาน นั่นความความว่าคุณต้องขี่มันไกลเกินกว่า 100 ก.ม. แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้ากับแนวความคิดของการขี่จักรยานท่องเที่ยวทางไกลหรือ “ไบค์ ทัวร์ริ่ง” นักจักรยานทั่วไปมองการขี่แบบทัวร์ริ่งว่ามันให้อะไร ๆ กับตัวเองได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการได้ผจญภัย ได้สัมผัสความตื่นเต้น ได้ค้นพบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ได้ผลักดันตันเองให้ออกนอกกรอบความสามารถเดิม ได้เพื่อนใหม่ ๆ ความคิดทำนองนี้สามารถเป็นจริงได้ถ้าคุณหลีกเลี่ยงให้ห่างจากความผิดพลาดต่าง ๆ อันจะทำให้การขี่จักรยานท่องเที่ยวหมดรสชาติ
           ถ้าคุณเกิดความคิดว่าอยากจะปั่นแบบทัวร์ริ่งแบบค่ำไหนนอนนั่น กลเม็ดที่จะได้อ่านเหล่านี้จะช่วยเป็นแนวทางให้คุณได้ คุณจะรู้วิธีการแพ็คของและการขี่ที่ถูกต้องเพื่อการท่องโลกกว้างไม่แน่ว่าหลังจากพิชิตเส้นทางข้ามจังหวัดหลังจากอ่านบทความชิ้นนี้ไปแล้ว คุณอาจเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เดินทางรอบโลกด้วยจักรยานคันเดียว
           ฝึกร่างกายให้แกร่งก่อนออกทัวร์ : นักจักรยานบางคนคิดว่าตัวเองจะขี่จักรยานให้เข้าที่ได้ในสัปดาห์แรกของการออกทัวร์ ประมาณว่าขี่ไปเรื่อย ๆ ไม่เร่งร้อนมันก็จะแกร่งของมันเอง ทำเช่นนั้นมันก็ได้แต่คงไม่สนุกเพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่าจะทนทานได้แค่ไหนตลอดระยะทาง วิธีที่ฉลาดกว่าคือให้เริ่มฝึกขี่ทางไกลก่อนเดินทางจริง 3 เดือน เป็นอย่างน้อย ถ้าคุณเริ่มจากไม่ทราบวิธีการอะไรเลยสักอย่างก็ให้ขี่จักรยานให้ได้วันละ 24 ก.ม. ขี่ให้ได้อาทิตย์ละสามครั้งแล้วเพิ่มเป็น 32 ก.ม. หลังจากขี่ไปแล้วห้าครั้ง ค่อย ๆ เพิ่มระยะทางขึ้นทีละน้อย
          เมื่อเริ่มคุ้นเคยจนรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทีนี้ก็เริ่มตรวจสอบเส้นทางที่จะใช้แล้วหาวันที่มีเวลาว่างมากที่สุด ถ้าเส้นทางที่จะใช้คือ 144 ก.ม. คุณก็ต้องขี่ตอนซ้อมให้ได้ 112 ก.ม. ไม่จำเป็นต้องขี่ให้เต็มระยะทางที่วางไว้ ที่สำคัญคือขี่ด้วยความเร็วและรอบขาที่ตัวเองสบายที่สุด เมื่อยหรือเหนื่อยเมื่อไรก็พักเพราะคุณไม่ได้แข่งกับใครนอกจากตัวเอง ในวันขี่จริงคุณอาจทำระยะทางได้มากเป็นสองเท่าจากระยะทางที่เคยทำได้ตอนซ้อมเสียอีก
          เตรียมใจให้พร้อม : นักจักรยานบางคนถอดใจก่อนหมดระยะทางเพราะท้อเสียก่อน ไม่ใช่ปัญหาด้านความแข็งแกร่งทางกายหรอกแต่เป็นเรื่องของใจมากกว่า คุณต้องทำใจให้ได้ ต้องพร้อมรับสถานการณ์อันยากลำบากและผ่านมันไปให้ได้ ต้องเชื่อมั่นในตนเองว่าทุกสิ่งจะดีขึ้นแน่ ๆ เมื่อคุณยังสู้ต่อ ทำนองว่าต้องสะกดใจตัวเองให้ได้แล้วมุ่งมั่น ทุกสิ่งจะประสบความสำเร็จเมื่อคุณไม่ถอย คำพูดว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น “ ยังใช้ได้เสมอ
          ฝึกขี่จักรยานพร้อมน้ำหนักบรรทุก : กลวิธีการขึ้น ลง และเดินเข็นจักรยานที่ได้ผลคือไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตามจักรยานต้องตั้งตรง ตั้งฉากกับพื้นดินอยู่เสมอเพื่อให้น้ำหนักสัมภาระกดลงตรง ๆ บนล้อทั้งคู่ หลักการนี้เป็นแนวคิดเดียวกับการยืนคร่อมหรือจูงมอเตอร์ไซค์หนัก ๆ คุณจะพบว่ายกมันตั้งตรงได้ยกหรือยกไม่ขึ้นเลยเมื่อล้มตะแคง แต่ถ้ายังคร่อมอานหรือลงมายืนโดยที่ตัวมอเตอร์ไซด์ยังตั้งอยู่ จะเข็นหรือเลี้ยวยังไงก็ไม่ยาก ไม่ค่อยต้องใช้เรี่ยวแรงเท่าไรก็พามอเตอร์ไซด์คันนั้นเคลื่อนที่ไปได้
          จักรยานพร้อมสัมภาระก็เช่นกัน ไม่ว่าจะขี่อยู่หรือลงมาจูงต้องทำให้มันตั้งฉากอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าคุณไม่เคยใช้ตะแกรงขนของ เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำให้การขี่จักรยานของคุณต่างไปจากเดิมแบบตัวเปล่า ๆ ราวฟ้ากับเหวเมื่อน้ำหนักที่กดทับมันจะทำให้สมดุลของจักรยานเปลี่ยนไป ทำให้บังคับทิศทางได้ยากขึ้น ทรงตัวก็ยาก อันหมายคามว่าเทคนิคการขี่ของคุณหลาย ๆ อย่างก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
           เมื่อมีน้ำหนักบรรทุกคุณต้องเผื่อระยะเบรกไว้เพราะแรงส่งจะทำให้มันไถลไกลขึ้น ต้องเพิ่มระยะเบรกให้ยาวกว่าเดิม การหักเลี้ยวเปลี่ยนทิศทางก็ยากและต้องระวังเมื่อเจอเส้นทางขรุขระ ให้มากกว่าเดิม เพื่อลดแรงกระแทกกับล้อ คุณอาจจะขี่ไต่ที่สุดได้ไม่ดีนักเมื่อลุกยืนจากอาน ดังนั้นจึงควรนั่งและพยายามปั่นเกียร์เบาที่สุดไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ตอนที่ขึ้นที่สูงเท่านั้น ที่จะก่อปัญหาให้ ขาลงก็ยิ่งอันตรายเพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้จักรยานพุ่งลงเนินมาเร็วกว่าตัวเปล่า ๆ ยิ่งต้องเผื่อในเรื่องต่าง ๆ ไว้มากทั้งระยะเบรกและระยะเลี้ยว ต้องมองให้ไกลขึ้นเพื่อตัดสินใจหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางก่อนเป็นอันตราย อาการที่เกิดบ่อยเพราะน้ำหนักบรรทุกคือจักรยานจะเป๋ไปมาแฮนด์ส่ายควบคุมไม่ได้ คุณลดอาการนี้ได้ทั้งด้วยการเร่งความเร็ว ชะลอความเร็วและโน้มตัวไปข้างหน้าให้น้ำหนักกดแฮนด์ไว้ จะช่วยลดอาการส่ายได้ มีอยู่บ่อย ๆ ทีพวกมือโปรแนะว่าให้หนีบท่อบนของเฟรมไว้ให้แน่นระหว่างขาทั้งคู่ เพราะเมื่อแฮนด์ส่วนเฟรมก็จะส่ายตาม ถ้าหนีบเฟรมไว้ให้นิ่งได้อาการส่ายและสั่นก็จะลดจนทำให้คุณกลับมาควบคุมทิศทางได้อย่างเดิม
          เพิ่มความสบายให้มากที่สุดในจุดสัมผัส : จุดสัมผัสในที่นี้คือจุดที่ร่างกายสัมผัสกับจักรยาน มีทั้งหมด 3 จุดคือ อาน บันได และปลายแฮนด์ทั้งซ้ายขวา เริ่มที่อาน ต้องให้อานนั่งได้สบายที่สุด ไม่ได้หมายความว่าอานนั้นต้องบุเจลหรือฟองน้ำเสียนุ่มนิ่ม ความนุ่มไม่ใช่คำตอบของความสบายเสมอไป เพราะระหว่างขี่น้ำหนักตัวคุณจะกดลงบนอานตลอดเวลา ไม่ว่าจะนุ่มแค่ไหนถ้าขี่ไกลก็ก่อความรำคาญได้ไม่แพ้อานเล็ก ๆ อานที่ดีสำหรับขี่ทางไกลคืออานที่คุณใช้แล้วสบายก้นมากกว่าอานเน้นที่นิ่มอย่างเดียว และไม่ควรจะประกอบอานใหม่กับจักรยานช่วยก่อนออกทัวร์ ถ้าอยากใช้อานใหม่ที่เข้าใจว่าสบายควรประกอบมันก่อนออกทัวร์สัก 2-3 สัปดาห์ ขี่ซ้อมกับมันเพิ่มความคุ้ยเคยก่อน
           นอกจากอานนั่งสบายแล้ว ส่วนประกอบอื่น ๆ คือการสวมกางเกงสะอาดทุกวัน และใช้สารหล่อลื่นหนังชามัวร์รองก้นเพื่อป้องกันการเสียดสี สำหรับมือคุณนั้นการใช้ถุงมือเสริมฟองน้ำช่วยลดอาการนิ้วชาและฝ่ามือด้านได้มาก แต่ก็ยังจำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งการวางมือบ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้รถทัวริ่งแท้ ๆ จึงทำแฮนด์เหมือนเสือหมอบเพราะมีตำแหน่งการวางมือมาก ทั้งบน ข้าง และด้านล่างสุดของโค้ง จะใช้แอโร่บาร์ติดแฮดน์ด้วยก็ไม่ผิดกติกาเผื่อพักข้อศอกเมื่อเมื่อย
           สำหรับเท้าซึ่งเป็นจุดสัมผัสสัมคัญเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนบันได เมื่อจะขี่แบบทัวริ่งคุณควรเลือกใช้รองเท้าคลิปเลสของเมาเท่าไบค์ หรือจะใช้รองเท้าคลิปเลสแบบทัวร์ริ่งโดยเฉพาะก็ได้ ข้อสำคัญคือพื้นต้องไม่แข็งเกินจนเดินไม่ไหว เพราะการขี่แบบทัวร์ริ่งนี้บางครั้งต้องลงจากรถมาเข็นเมื่อพบสิ่งกีดขวาง ถ้าใช้รองเท้าคลิปเลสแบบเสือหมอบแท้ ๆ จะเดินยากมากเพราะมันไม่ได้ออกแบบมาให้คนขี่ลงจากจักรยานมาเข็น
ขนไปแต่ของที่จำเป็น : น้ำหนักสัมภาะไม่ควรเกิน 18 ก.ก.
รับประทานอาหารให้พอ เฉลี่ยน้ำหนักตัวให้ดี
หลีกเลี่ยงการบดเฟืองเมื่อเปลี่ยนเกียร์ และใช้เบรกหน้า วิธีการเบรกหน้าที่ถูกต้องคือต้องเบรกหลังก่อนค่อย ๆ เพิ่มแรงบีบที่เบรกหน้าทีละนิด จะช่วยให้หยุดจักรยานได้ดีกว่าใช้เบรกหลังอย่างเดียว
          ทั้งหมดนี้น่าจะช่วยให้คุณมีแนวทางตัดสินใจก่อนออกปั่นทางไกล เมื่อคุณเดินทางไกลด้วยจักรยานจริง ๆ นั่นแหละคุณอาจจะพบอะไรที่เป็นประโยชน์มากกว่าที่แนะนำไปก็ได้

25 ก.ย. 2553

Rode Bike Corner :เทคนิคการปั่นขึ้นภูเขา

|0 ความคิดเห็น
          ความกังวลใจของเหล่านักปั่นจักรยานส่วนใหญ่กลัวและไม่มั่นใจทุกที่ที่ถูกเพื่อน ๆ ชักชวนไปออกทริป ซึ่งทริปนั้นเส้นทางดันเป็นภูเขาที่เราไม่ถนัด เสมือนว่านี่เรากำลังจะถูกพาไปเชือดใช่ไหมเนี่ย ทำให้มีคำถามถามตัวเองอยู่เสมอว่า เราจะทำยังไงดีล่ะ ถึงจะขึ้นเขาได้ดีและไม่น้อยหน้าเพื่อน ๆ ซึ่งต่อไปนี้รับรองว่าเพื่อน ๆ จะคลายความกังวล กล้าที่จะทะยานผ่านขุนเขาต่อไปในภายหน้า เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว
          ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไม่ใช่ทุกท่านที่นำวิธีนี้ไปใช้แล้วสามารถพิชิตได้ทุกยอดเขา โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นได้จริง แชมป์ Tour De France ปี 2011 อาจะเป็นคุณ เหนือสิ่งอื่นใดความมีวินัยในการฝึกซ้อมและรู้จักขีดความสามารถของร่างกาย ไม่รีบร้อนที่จะพัฒนา แต่รู้จักรอเวลาที่ร่างกายมีความสมดุลระหว่างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและระบบการหายใจ
           คุณจะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของตัวเราเองเสียก่อน ว่ามีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะไปหาภูเขาเพื่อทดสอบพละกำลัง นักวิทยาศาสตร์การกีฬามีความเห็นตรงกันว่า คนทั่ว ๆ ไปที่ยังไม่ได้ฝึกฝนกล้ามเนื้อและสมรรถนะของการปั่นอย่างจริงจัง รอบขาที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 60-70 รอบต่อนาที แต่สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกฝนมาพอสมควรหรือแม้กระทั่งนักแข็ง มักจะใช้รอบขาอยู่ราว ๆ 80-90 รอบต่อนาที ซึ่งบางครั้งหรือแม้แต่บางคนอาจมีถึง 100 รอบต่อนาที เพราะฉะนั้นผู้ที่เริ่มต้นที่จะพิชิตขุนเขา ต้องทำความเข้าใจกับรอบขาที่เหมาะสมกับตัวเราเองให้มากที่สุด
           แล้วจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าเราควรใช้เกียร์ไหนมีอะไรเป็นตัวกำหนด มีหลายเคล็ดลับที่บรรดาเกจิจากสำนักต่าง ๆ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันไป บ้างก็ว่ากำลังเป็นตัวกำหนด หรือไม่ก็หัวใจเป็นตัวชี้ชัด แต่สำหรับแชมป์ Tour de France คนล่าสุดอย่าง Alberto Contador กล่าวไว้ว่า ผมเลือกใช้เกียร์ตามสภาพความชันของเส้นทาง โดยให้สอดคล้องกับรอบขาที่ผมถนัด ไม่มีข้อกำหนดตายตัว แล้วแต่สถานการณ์จะพาไป แต่ส่วนใหญ่รอบขาก็อยู่ประมาณ 85-100 รอบต่อนาที แล้วถ้าเป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ล่ะ นักวิชาการให้ความเห็นเพิ่มเต็มเกี่ยวกับเรื่องอีกว่า ถ้าไม่อยากทนกับอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงเนื่องจากเลือกใช้รอบขาจัด ให้หันมาเลือกการเปลี่ยนเกียร์หนักลงชักนิด ลดรอบขาลงมา เพื่อให้หัวใจได้ผ่อนคลาย แต่ผลที่ได้อาจเป็นอาการล้าของกล้ามเนื้อแทน
          ถ้าดูจากการแข่งขัน Tour de France เรามักจะเห็นบรรดาโปรทั้งหมายยืนโยกโชว์บั้นท้ายเมื่อเจอเนินหรือเจอภูเขา ความจริงแล้วการยืนปั่นด้วยการออกแรงเหยียบลูกบันได้พร้อมกับดึงแฮนด์สลับกับการกดลูกบันไดซ้ายทีขวาที จะได้ประสิทธิภาพดีกว่าการนั่งปั่นแต่ใช้พลังงาน มากกว่า เหนื่อยกว่าและรักษารอบขาได้ยากกว่าอีกด้วย เพราะฉะนั้นการยืนปั่นจึงเหมาะกับการเร่งความเร็วเพื่อการโจมตีหรือหนีคู่แข่ง สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ การนั่งปั่นดูจะเหมาะสมและยังเป็นวิธีที่ค่อย ๆ พาเราไปพิชิตยอดเขาก่อนที่จะต้องเดินลงมาเข็นเพราะเสียแรงไปโดยใช่เหตุ แต่สำหรับเพื่อน ๆ นักกีฬาที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างพอสมควรการยืนนอกจากจะช่วยเร่งความเร็วได้ แล้วยังเป็นการช่วยแก้อาการเมื่อยโดยเฉพาะหัวไหล่และต้นคอ และที่สำคัญที่สุดก็คือบั้นท้ายของเรานั่นเอง
          อยากจะขึ้นเขาให้เก่งแต่ไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเห็นทีจะเป็นได้ยาก ทราบกันไหมครับว่าน้ำหนักตัวมีผลต่อการปั่นขึ้นเขามากแค่ไหน หากเป็นพื้นราบน้ำหนักตัวคงไม่มีผลมากมายต่อการสูญเสียแรงปั่น แต่กับการขึ้นเขาแล้วเป็นการได้เปรียบเสียเปรียบกันเลยทีเดียว เอาเป็นว่าต่อให้รถที่คุณใช้เบาแค่ไหน หากเราแบกน้ำหนักตัวที่เกินพิกัดไปด้วย รถที่เบาก็แทบไม่ช่วยอะไรเลย แล้วสูตรการคำนวณน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูงล่ะ พอจะนำมาเป็นเกณฑ์ได้หรือเปล่า (ส่วนสูงลบด้วย 100 สำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงลบด้วย 110) ใช้ได้กับคนปกติครับ แต่สำหรับนักปั่นท่านใดที่อยากจะเป็นเจ้าภูเขา สูตรนี้ยังไม่เพียงพอเพราะแชมป์ Tour de Frace 3 สมัยอย่าง Albrato Contador มีส่วนสูง 177 ซม. แต่มีน้ำหนักเพียง 62 ก.ก. หรือแม้แต่รองแชมป์อย่าง Andy Schleck ก็มีส่วนสูงถึง 186 ซม. กลับมีน้ำหนักแค่ 67 ก.ม. จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 หนุ่มมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมากหากนำน้ำหนักมาลบด้วย 100 สรุปแล้วหากคุณอยากที่จะปราดเปรียวดุจพญาอินทรีย์และพร้อมทะยานขึ้นภูเขา ก็ต้องหันมาดูเรื่องโภชนาการกันหน่อยแล้ว
          การปั่นจักรยานไม่ได้ใช้แค่กล้ามเนื้อขาเท่านั้น ที่ออกแรงกดลูกบันได้ให้จักรยานพุ่งไปข้างหน้า แรงดึงจากข้อเท้า แขนและหัวไหล่ล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคชั้นสูง แต่หัวใจก็สำคัญไม่แพ้ 2 ขา 2 สิ่งนี้ทำงานร่วมกันคือการหายใจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อขา เผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงานแก่กล้ามเนื้อ แต่นักจักรยานส่วนใหญ่ยังหายใจกันไม่ถูกต้อง ทำให้ต้องสูญเสียพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องอยู่บนภูเขาสูง ๆ จะทำให้เหนื่อยหอบมากกว่าปกติ การหายใจที่ถูกต้องจะเห็นผลอย่างชัดเจนเมื่อปั่นอยู่บนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล โค้ชทีมชาติสหรัฐอเมริกาและนักปั่นมืออาชีพอย่าง Skip Hanilton มีเทคนิคการหายใจที่เรียกว่า การหายใจสลับข้าง (Switch-side-breathing) อธิบายง่าย ๆ ก็คือ พยายามหายใจข้างที่เราไม่ถนัด ซึ่งปกตินักปั่นส่วนมากจะหายใจโดยหันหน้าไปด้านขวา วิธีนี้แค่ลองฝึกหันไปด้านซ้ายแล้วฝึกหายใจเข้าออกยาว ๆ กับการปั่น 5 -10 รอบและพยายามใช้วิธีนี้บนภูเขาด้วย ยังมีอีก 2 วิธีที่สามารถนำไปฝึกเมื่ออยู่บนภูเขา


- วิธีแรก จะใช้การปั่นแบบ 4 สะโตก คือ เมื่อหายใจออกให้ถีบลูกบันได้ให้ได้ 2 ครั้ง และเมื่อหายใจเข้าให้ดึงหัวเข่าขึ้นให้ได้ 2 ครั้งเช่นกัน จังหวะหายใจ (1 2 – 3 4)
- วิธีที่สอง เหมาะกับระดับความชันที่เพิ่มมากขึ้น ใช้การปั่นแบบ 2 สะโตก คือเมื่อหายใจออกเร็วขึ้น ให้ถีบลูกบันได้ลง 1 ครั้งและถึงหัวเข่าขึ้น 1 ครั้ง เมื่อหายใจเข้าเร็วขึ้น จังหวะการหายใจ (1 – 2)


          เมื่อคุณได้รู้เคล็ดลับต่าง ๆ มาเป็นอาวุธไว้พอที่จะต่อกรกับความชันที่รอคุณอยู่ตรงหน้า แต่ถ้าหากไม่รู้จักวิธีใช้มันหรือไม่มั่นใจว่ามันควรจะใช้ในเวลาใด อาวุธนั้นก็ไม่มีความหมาย ไม้ตายสุดท้ายที่ว่านี่ก็คือ สติปัญญาในการจดจำ การจะเป็นนักปั่นจักรยานที่ปั่นขึ้นเขาได้ดี คุณต้องเป็นคนช่างสังเกตและใส่ใจในข้อมูลต่าง ๆ เช่นความชันประมาณนี้เราเหมาะกับรอบขาที่เท่าไหร่ หัวใจทนได้ไหม จังหวะไหนควรจะจิบน้ำ หรือแม้แต่ตรงไหนควรยืนปั่น ตรงไหนควรนั่งปั่น บางครั้งการได้อยู่ในสถานการณ์จริง คุณไม่สามารถคว้าตำราใด ๆ หรือสูตรต่าง ๆ ขึ้นมาดูได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่สติและสมาธิทุกครั้งที่คุณคว้าจักรานออกไปปั่น สุดท้ายนี้การจะเป็นผู้ที่พิชิตขุนเขา คุณต้องทำการบ้านเยอะขึ้นอีกนิด ใส่ใจทุกรายละเอียด แล้วคุณจะมั่นใจทุกครั้งที่ถูกเพื่อน ๆ ชวนไปออกทริปที่ต้องขึ้นภูเขา โชคดีมีความสุขในการปั่นจักรยานครับ...

ขี่จักรยานคนเดียวให้เวิร์ค

|0 ความคิดเห็น
          สำหรับนักจักรยานผู้ไม่ได้มุ่งหวังการพิชิตชัยจากสนามแข่ง ต้องการเพียงแค่ความแข็งแรงของระบบหลอดเลือด ไม่ชอบเข้ากลุ่มเพราะไม่อยากรีบไปให้ทันเวลานัด หรืออยากจะทำอะไรเร็ว ๆ โดยไม่ต้องรอให้กลุ่มครบจนออกตัวช้า แดดร้อนเผาผิวเกรียม ถ้าคุณมีวินัยพอและควบคุมตัวเองได้ การขี่คนเดียวก็สร้างประโยชน์ได้ไม่แพ้การขี่เป็นกลุ่ม
           อย่างแรกเลยคือคุณได้วัดความสามารถของตัวเองกับลมปะทะ ไม่สามารถซุกกลุ่มได้ เปรียบเสมือนกับการปั่นแบบหนีเดี่ยวในเปโลต็องเสือหมอบแข่งขัน ยิ่งคงความเร็วในช่วงนั้นได้นานก็ยิ่งแกร่ง เมื่อเข้ากลุ่มจริง ๆ ก็สามารถออกแรงไว้ได้มากกว่าพวกที่ไม่เคยขี่เดี่ยว เอาแต่ซุกกลุ่มอยู่ร่ำไป ข้อดีอย่างที่สองคือคุณสามารถซ้อมแบบอินเตอร์วัล คือขี่ด้วยความเร็ว, รอบขาสูงสุด สลับกับการขี่แบบผ่อนคลายเพื่อฟื้นสภาพเป็นระยะ คุณทำอินเตอร์วัลได้อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องรอหรือต้องปั่นหนีใคร เมื่อเหนื่อยก็หยุดได้โดยไม่ต้องให้ใครมารออีก
          แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย นั่นคือแม้ว่าจะไม่เสี่ยงต่อการเกี่ยวกันล้มเพราะขี่กลุ่มใหญ่ แต่ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและโรคประจำตัวสูงเท่ากัน เท่าที่เคยพบเรื่องราวที่เล่ากันในเว็บไซต์จักรยาน พอบ่อย ๆ คือพอขี่มานาน ๆ แล้วจอดก็เกิดอาการวูบ รู้สึกตัวอีกทีก็มีแต่คนมุงดู หน้าตาถลอกปอกเปิก เนื่องจากหยุดขี่กะทันหันแล้วเลือดไหลคืนไปเลี้ยงสมองมันทัน การขี่คนเดียวจึงไม่มีใครช่วยนอกจากชาวบ้านหรือคนเดินถนนในแถบนั้น โชคดีก็ได้รับความช่วยเหลือ โชคร้ายก็ถูกลอกคราบชิงจักรยาน ยังไม่นับที่ถูกรถยนต์เฉี่ยวชน
            สถานการณ์อันเลวร้านอีกอย่างสำหรับนักจักรยานเดี่ยว คือการถูกชิงจักรยาน มีหลายรายที่ถูกตีศีรษะแล้วชิงจักรยานราคาเหยียบแสนไป อีกหลายรายเช่นกันที่ถูกทำร้านร่างกายโดยแก็งมอเตอร์ไซค์ป่วนเมือง ไม่ชิงแต่หมั่นไส้ ขอถีบคนให้สะใจหน่อยเถอะ ไม่สนเรื่องถีบจักรยานล่ะ ดังนั้นจึงอย่าได้นิ่งนอนใจ โจรสมัยนี้รู้จักหาข้อมูลกันมากว่า มองปราดเดียวรู้ด้วยว่าจักรยานของคุณราคาแค่หกพันหรือแสนเจ็ด
          ดังนั้น ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบขี่จักรยานคนเดียว สิ่งที่คุณต้องระวังให้จงหนัก ก็คือโรคภัยไข้เจ็บ ต้องรู้ขีดจำกัดของตัวเอง ยิ่งถ้าเพิ่งเริ่มขี่แล้วมีโรคประจำตัวเช่นหอบหืด ควรจะวนอยู่ในระแวกบ้านใกล้ ๆ พกบัตรเครดิต เอทีเอ็มหรือบัตรประชาชนเอาไว้พร้อมกับเงินติดตัวจำนวนหนึ่ง และพกโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้โทรขอความช่วยเหลือจากคนรู้จักในกรณีมีอุบัติเหตุหรือล้มป่วยกลางทาง
          แต่ก็ใช่ว่าท่านที่เรี่ยวแรงดีไม่มีโรคภัยจะปลอดภัย แม้จะแข็งแรง แต่หากขาดความระวังก็อาจมีอาการวูบตรงสี่แยกไฟแดงได้ พวกที่วูบหลังจากปั่นหนัก ๆ มาแล้วนั้นต่างไม่มีใครเป็นโรคอะไรเลยสักคน เพียงแต่การหยุดขี่กะทันหันจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดสู่สมองเท่านั้น การเลือกเส้นทางที่ดีจะยิ่งสำคัญมากเมื่อคุณขี่คนเดียว เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน เส้นทางเปลี่ยวไร้ผู้คนอาจอันตรายหากไม่ตะเวนดูด้วยรถยนต์เสียก่อน อันเป็นสิ่งควรกระทำเมื่อเอาจักรยานติดไปขี่ด้วยในการท่องเที่ยวต่างเมือง และพักที่รีสอร์ท
         ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา การขี่คนเดียวจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการแปรงฟัน อย่างน้อย ๆ คุณต้องคำนึงถึงความสามารถของตัวเอง และอุปกรณ์ช่วยเหลือได้ในยามขับคันเช่นบัตรประชาชน เอทีเอ็ม โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเลือกเส้นทาง ผู้ไม่ประมาทและเตรียมพร้อมจะมีโอกาสประสบกับอุบัติน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เตรียมตัว


24 ก.ย. 2553

100 กม. UP : ซ้อมอย่างฉลาด ไม่ได้เน้นแค่ปริมาณ ตอนที่ 2

|0 ความคิดเห็น
          ตอนที่ 2 นี้เราจะมาวางเป้าหมายใน 6 ขั้นตอนที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นไม่ยาก ก็แต่ตั้งธงหรือเป้าหมายขึ้นมาอันหนึ่งแล้วพยายามฝ่าฟันไปให้ถึง ฟังดูแล้วไม่ยากเลยแต่ก็ยังมีหลายคนที่ทำไม่เป็นจนในที่สุดก็หงุดหงิดเพราะทำไม่ได้ตามเป้า ลงท้ายก็ผิดหวังแล้วพาลเลิกซ้อมหันไปเล่นหมากเก็บแทน ขั้นตอนที่เราจะแนะนำท่านทั้ง 6 ข้อนี้คือหลักคิดง่าย ๆ เพื่อความสำเร็จในการซ้อม


          1. ต้องเจาจง : ต้องมีเป้าหมายที่แน่นอนมากกว่าจะคิดแบบกว้าง ๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเป้าของคุณคือ “ต้องขี่ไกลให้ได้ดีกว่าเดิม” มันก็กว้างไปเพราะอะไรล่ะคือความหมายของคำว่าดีกว่าเดิม จะวัดผลได้ยังไงหรือว่าแค่การขี่จนครบระยะทางแล้วไม่หมดรงคือความสำเร็จ งั้นหรือเปล่า ถ้ามีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ต้องการขี่ไกล 100 ก.ม. ให้ได้ภายในสี่ชั่วโมงล่ะ เห็นไหมว่าเงื่อนเวลาคือตัวกำหนด คุณอาจจะเคยขี่ได้นาน 4 ชั่วโมงครึ่งแต่พอลดลงมาอีกครึ่งชั่วโมงนั่นหมายความว่าเร็วขึ้นอีกและวัดเป็นตัวเลขได้คือ 30 นาที
           ที่เราว่าต้องเจาะจงก็คือเป้าหมายนั้นต้องวัดปริมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขระยะทางหรือน้ำหนักที่ลดลงภายในเงื่อนเวลาที่กำหนด หรืออะไรก็ตามคุณต้องวัดได้ชัด ๆ เพื่อประมาณความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม แล้วจะเกิดแรงบันดาลใจ แรงจูงใจให้ซ้อมหนักขึ้นอีกเพื่อขยายขีดจำกัด
          2. ขยายขีดจำกัดไปทีละขั้น : ง่าย ๆ คือต้องวางเป้าไว้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อค่อย ๆ เพิ่มขีดความสามารถไปเรื่อย ๆ มากกว่าแค่วางเป้าหมายระยะยาวอย่างเดียว คือถ้าคุณหมายใจไว้ว่าจะขี่ให้ได้ 150 ก.ม. ก็ต้องวางแผนเอาไว้ก่อนว่าสามเดือนแรกหลังจากเริ่มซ้อมจะขี่ให้ได้ 70 ก.ม. แล้วเดือนถัดมาก็เพิ่มเป็น 120 ก.ม. กับอีกสองเดือนหลังสุดจึงขี่ให้ได้ 150 ก.ม. สบาย ๆ การค่อย ๆ เพิ่มจะช่วยได้ทั้งความคุ้นเคยของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยได้ทั้งด้านจิตใจคือเมื่อคุณทำได้ก็จะมีแรงกระตุ้นให้ขยายขีดจำกัดของตัวเองออกไปเรื่อย ๆ เช่นกัน
          ต้องวางเป้าให้ยาก แต่อย่าให้สาหัสความหมายก็คือยิ่งยากขึ้นไปคุณก็ยิ่งเก่ง พอผ่านจุดนั้นไปได้แล้วก็จะสบายพร้อมวางเป้าให้ยากขึ้นไปอีก พอผ่านของยากไปได้ก็ควรจะตั้งเป้าให้ยากกว่าเดิมอีกนิดแล้วจะท้อ เช่น การวางเป้าว่าจะขี่ให้ไกล 100 ก.ม. ถ้าไม่เคยขี่ไกลกว่า 30 ก.ม.มาก่อนควรเขยิบขึ้นมาให้ได้สัปดาห์ละ 10 ก.ม. และควรมีเวลาขี่อย่างน้อยสัปดาห์ละสามวัน ไม่ใช่เคยขี่จักรยานได้ไกล 30 ก.ม. แล้วเพิ่มขึ้นฮวบฮาบเป็น 100 ก.ม. เลยรวดเดียว ระบบของคุณจะเสียหมด จะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาจถึงกับฉีก ปวดหลัง ปวดไหล่
           3. ต้องติดตามผลได้ : เป้าหมายที่ตั้งไว้ถ้าไม่มีการติดตามผล ไร้ซึ่งการจดบันทึกมันก็เป็นแค่เป้าหมายที่วางไว้เฉย ๆ แต่เมื่อใดที่มันถูกติดตามผล ถูกจดบันทึกแล้ว เมื่อนั้นแหละคือเครื่องบ่งบอกว่าคุณก้าวไปถึงไหน เช่น คุณวางเป้าไว้อยากจะขี่ไกล 100 ก.ม. ให้เร็วที่สุด เมื่อยึดเวลาเป็นที่ตั้งแล้วคุณก็ต้องจดเวลาเปรียบเทียบกันระหว่างการขี่จักรยานครั้งก่อนกับครั้งนี้เพื่อให้เห็นตัวเลขชัด ๆ ว่าทำเวลาได้เร็วขึ้นกว่าครั้งก่อนกี่นาที ถ้าไม่มีตัวเลขมันก็ไม่มีแรงจูงใจง่าย ๆ แค่นี้เอง
          4. ต้องใจเย็นให้มากพอกับดื้อด้าน : ใครที่ชอบกีฬาจักรยานทางเรียบและเคยติดตามเรื่องราวของตูร์เดอฟร็องซ์ จะรู้จัก เกรก เลอ ม็องค์ ที่เคยเกิดอุบัติเหตุจากการล่าสัตว์เมื่อปี 1987 เขาวางเป้าหมายไว้ว่าต้องกลับมาชนะตูร์เดอฟร็องซ์อีกครั้ง แล้วก็ทำได้ในปี 1989 ในกรณีของ แลนซ์ อาร์สตรอง ก็เช่นกันที่เพิ่งหายจากมะเร็งในปี 1997 เขากลับมาแข่งใหม่แล้วชนะในปี 1999 แล้วต่อจากนั้นก็เป็นแชมป์ต่อมาอีก 6 สมัย
           จะเห็นได้ชัดเลยว่าทั้งคู่ต้องใช้เวลาถึงคนละเป็นปีทั้งนั้นกว่าจะกลับมายิ่งใหญ่ ดังนั้นต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าต้องใจเย็นแต่ไมใช่เฉื่อยชาแต่ขณะเดียวกันต้องดื้อ ต้องมุ่งมั่นซ้อมด้วยเป้าหมายเดียวแล้วทำให้สำเร็จ เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์นั้นการกระทำการทุกสิ่งต้องมีอุปสรรคเสมอ และอุปสรรคที่ผ่านเข้ามานั้นก็มีหลายสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ข้อดีของมนุษย์อยู่อย่างหนึ่งก็คือเรารู้จักเรียนรู้
          ดังนั้นจงใช้อุปสรรคให้เป็นประโยชน์ด้วยการเรียนรู้มันแล้วต้องฉลาดพอจะไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก เพื่อคุณจะได้เสียเวลาและพลังงานเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จน้อยลง
         5. ปรับตัวให้เข้ากับเป้าหมาย : ต้องสร้างนิสัยการวางแผนไว้ให้คุ้นเคย หมายความว่าต้องวางแผนก่อนจะทำการใด ๆ การวางแผนจะช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ หรือแม้แต่เงิน ต้องใส่ใจรายละเอียดระหว่างเส้นทางว่านอกจากความเร็วในการปั่นแล้วยังมีอะไรอีกที่ต้องปรับเปลี่ยน เช่นใช้เวลาหยุดเพื่อดื่มน้ำในจุดให้น้ำนานเกินไปหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วควรจะลดเวลาการดื่มน้ำให้น้อยลง หรือหยุดดื่มน้ำให้น้อยจุดลง หรือเรื่องอื่น ๆ
          ถ้าทำได้เช่นนี้คุณก็จะบรรลุเป้าหมายคือถึงที่หมายได้เร็วขึ้น ถึงจะไม่เร็วกว่าเพื่อนก็ยังเร็วกว่าที่ตัวเองเคยทำไว้ เป้าหมายของคุณต้องเป็นไปในทางเดียวกันกับความสามารถทางกายคือไม่หนักเกินไปจนทำไม่ได้ เพราะคนอย่าง แลนซ์ อาร์มสตรองมีเพียงคนเดียวในโลก เป้าหมายที่คุณวางไว้จึงต้องอยู่ในขอบเขตความสามารถของตนเองซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้ไปถึงจุดหมายในที่สุด
           6. คิดถึงแต่ความสำเร็จ : ตรงนี้ต้องแยกให้ออกจากคำว่า ฟุ้งซ่าน พวกนักกีฬาเก่ง ๆ จะเข้าใจถึงการสร้างจินตนาการได้ดี พวกเขาจะคิดถึงแต่ความสำเร็จจากการแข่งขันบ่อย ๆ จนเมื่อถึงเวลาได้รับชัยชนะจริง ๆ แล้วมันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย ไม่ตื่นเต้น
           แต่การใช้จินตนาการนี้ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ก็คิดว่าตัวเองจะลุกขึ้นมากปั่นได้เร็วและไกลทั้งที่ไม่เคยซ้อม มันต้องเป็นจินตนาการที่ออกมาจากความสามารถ หมายความว่าเมื่อคุณซ้อมมาดีแล้วและมากพอจนเกิดความมั่นใจ นั่นแหละคือจุดที่ใช้จินตนาการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมันจะช่วยสร้างกำลังใจเพื่อกระตุ้น การสร้างจินตนาการคือกระบวนการจิตสำนึกที่จะทำให้จิตใจผ่อนคลาย เมื่อคุณได้เห็นภาพที่ตัวเองกำลังปั่นจักรยานอยู่นั้นจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางผ่อนคลายและตอบสนองต่อความคิดนั้นเหมือนมันเป็นจริง
         จะว่าไปแล้วการจินตนาการก็เหมือนการซ้อมใหญ่ ที่ช่วยให้คุณคุ้นเคยกับสภาพจริง ๆ ที่ต้องเจอข้างหน้า ซึ่งถ้าทำได้จริงก็จะได้ผลคือลดความตื่นเต้น ผ่อนคลายและคุ้นเคยกับสิ่งที่ต้องเจอและเราเชื่อว่า แลนซ์ อาร์มสตรอง เองก็ใช้วิธีนี้มาแล้วเวลาลงแข่ง เขามักจะสำรวจเส้นทางยาก ๆ ก่อนวันแข่งด้วยการขี่จักรยานไปตามเส้นทางนั้น เมื่อจำได้แล้วก็ไม่ยากที่จะคิดถึงสภาพตัวเองตอนที่ใช้เส้นทางนั้นจริง ความคิดที่ว่า “ได้ไปมาแล้ว ทำได้แล้ว “ จะเกิดขึ้นในหัว ขจัดความหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ทิ้งไปได้หมดก่อนการแข่งจริงจะเริ่มขึ้น จะมีอะไรวิเศษไปกว่าการแข่งกีฬาโดยไร้ความกดดันล่ะ
         วิธีการสร้างจินตนาการนั้นไม่ยาก เพียงแค่คุณมีที่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ ให้นั่งได้สักที่ แล้วใช้ตรงนั้นนั่งหรือนอนคิดถึงสภาพเส้นทางที่จะขี่ คิดถึงสายลมเย็นที่พัดปะทะกาย คิดถึงความสนุกสนานที่ตัวเองและจักรยานพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วเมื่อขี่จริงคุณก็พยายามทำให้ได้เช่นที่เคยนึกภาพไว้ ดูเหมือนจะโม้แต่ถ้าทำได้จริง ๆ นี่แหละจะเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพให้การขี่จักรยานคุณได้เหนือจินตนาการไหน ๆ


          เราพูดเรื่องการเตรียมตัวมาพอสมควรแล้ว ในโอกาสต่อไปจะได้นำเทคนิคการขี่จักรยานทางไกลอื่นมาแนะนำให้กับเพื่อน ๆ กันอีก โปรดติดตามต่อไปครับ...

100 กม. UP : ซ้อมอย่างฉลาด ไม่ได้เน้นแค่ปริมาณ ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น
          เมื่อครั้งที่ เฟาส์โต ค็อปปี อดีตแชมป์ตูร์เดอฟร็องชาวอิตาเลียนเมื่อหลายสิบปีก่อน ถูกถามว่าทำไมคุณถึงแข่งจักรยานได้อย่างไร้เทียมทานเช่นนี้ คำตอบของค็อบปี้สั้น ๆ และง่าย ๆ คือ “ก็ขี่จักรยานให้มากเข้าไว้” ซึ่งหากพูดกันแบบวิทยาศาสตร์แล้วมันก็จริงแค่บางส่วน คุณสามารถขี่จักรยานทางไกลกว่า 100 ก.ม. ได้จริงด้วยการปั่นมาก ๆ เข้าไว้ สะสมไมล์เข้าไว้ แต่ก็ใช่ว่าปริมาณจะเป็นเครื่องชี้ขาดในเมื่อร่างกายมนุษย์นั้นมีระบบอะไร ๆ ที่ซับซ้อนให้คำนึงถึงอีกมาก ทั้งระบบกล้ามเนื้อ จิตใจ ระบบเผาผลาญอาหารและอื่น ๆ ที่รวมกันเป็นตัวขับเคลื่อนให้คุณขี่จักรยานได้ดี
          จึงจำเป็นต้องซ้อมหนักอย่างเดียว ใคร ๆ จะออกไปปั่นหนัก ๆ กินระยะทางหลาย ๆ กิโล ก็ได้ แต่กลเม็ดคือมันต้องมีหนทางที่เร็วที่สุด ฉลาดที่สุดและทรงประสิทธิภาพที่สุดเพื่อบรรลุเป้าหมายให้ได้ จงชื่นชมกับความสำเร็จของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความล้มเหลวด้วยเมื่อไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพื่อจะได้เรียนรู้จากมันไม่ให้เกิดความล้มเหลวซ้ำซาก ซึ่งจะสูญเปล่าทั้งเวลาและพลังงาน จงจำไว้อย่างหนึ่งว่ามีเพียงคุณเท่านั้นที่จะรู้ได้ว่าตัวเองไปได้แค่ไหน ดีหรือเลวอย่างไรในกีฬาประเภทนี้ พรสวรรค์เป็นสิ่งที่สำคัญแต่ต้องไม่ลืมว่าความขยันซ้อมและมีวินัยนี่แหละที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องมองภาพให้ออก พวกเราหลายคนที่จริงจังเกินไป เราวางเป้าหมายไว้สูงจนแตะไม่ถึง ก็เลยผิดหวังพอทำได้ไม่เท่าที่ตั้งใจ พาลจะทำให้หมดแรงบันดาลใจถึงกับถอดใจเอาง่าย ๆ
          ดังนั้นเมื่อใดที่พบตัวเองว่าเริ่มหมกมุ่นกับเป้าหมายนั้นแล้วต้องเตือนสติตัวเองให้ได้ ต้องไม่ลืมว่าคุณมาขี่จักรยานเพื่อความสนุกก่อนเป็นอันดับแรก มันไม่สำคัญว่าคุณจะแข่งชนะได้ที่หนึ่งหรือตำแหน่งที่ 51 ตราบใดที่คุณยังเตือนตัวเองว่ามาขี่จักรยานเพื่อสุขภาพและเพื่อความสนุกสนาน ต้องระวังว่าอย่าหักโหมเกินไป ต้องขยันและมุ่งมั่นอย่างมีเหตุผล และต่อไปนี้คือกลเม็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยให้คุณซ้อมปั่นได้สนุกขึ้นโดยไม่ต้องเอาตัวเลขหรือข้อมูลใด ๆ มาอ้างให้ปวดหัว


ต้องมีเป้าหมายแน่ชัดแล้วไปให้ถึง
          เท่าที่เราเคยได้ยินเพื่อนนักจักรยานบงคนบ่นคือ “ผมขี้เกียจแข่งมาก ๆ เพราะมันมารบกวนเวลาซ้อม” แน่ล่ะ ไม่ผิดหรอกถ้าจะขี่จักรยานแค่สุขภาพและความสนุกแทนที่จะซ้อมเพื่อแข่ง แต่การซ้อมอย่างเดียวมันไม่ใช่แค่เอาจักรยานออกมาขี่ไปเรื่อย ๆ แล้วก็จบแค่นั้นถ้าจะให้คุ้มกันจริง ๆ ก็ต้องมีเป้าหมายอันแน่ชัดด้วยเพื่อจะได้เป็นแรงจูงใจให้คุณวางแผนขี่จักรยานแล้วทำให้เป็นไปตามนั้น แทนที่จะจูงจักรยานออกไปขี่เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ลมสงบและตัวเองรู้สึกดีอยากขี่เพียงอย่างเดียว
          เป้าหมายที่ว่านี้เป็นอะไรก็ได้ที่จะมากระตุ้นคุณ อาจเป็นความหวังว่าจะขี่ 100 ก.ม. ให้ได้เป็นครั้งแรก หรือคุณอาจจะเคยขี่ไกล 100 ก.ม. มาหลายครั้งแล้วแต่ตอนนี้อยากทำเวลาให้เร็วกว่าเดิม หรือคิดว่าจะแข่งรายการเล็ก ๆ ระยะทางสั้น ๆ อะไรประมาณนี้ หรืออยากจะวางเป้าให้ตัวเองลดน้ำหนักให้ได้ 5 ก.ก. ก็ยังได้
          วิธีจะบรรลุเป้าหมายให้ได้นั้นไม่ยาก ก็แค่คุณต้องวางมันไม่ให้สูงเกินไปเท่านั้น ค่อย ๆ เขยิบเป้าหมายไปเรื่อย ๆ ทีละนิดเพื่อให้ไปถึงจะได้เกิดแรงบันดาลใจให้เขยิบมันขึ้นไปอีก ความมั่นใจช่วยให้คุณทำได้ทุกอย่าง อย่าว่าแต่จะปั่นให้ไกลขึ้นเลย จะไต่หน้าผาหรือวิ่งทางไกลก็ทำได้ถ้าไม่วางเป้าหมายไว้สูงเกินไป แต่ค่อย ๆ ทำเพื่อให้ขยายขอบเขตของความลำบากออกไปทีละนิดให้ร่างกายรับได้


กลวิธีเพื่อวางเป้าหมายไว้แล้วไปให้ถึง
          จะวางเป้าหมายแล้วไปให้ถึงนั้นไม่ยาก ก็แต่ตั้งธงหรือเป้าหมายขึ้นมาอันหนึ่งแล้วพยายามฝ่าฟันไปให้ถึง ฟังดูแล้วไม่ยากเลยแต่ก็ยังมีหลายคนที่ทำไม่เป็นจนในที่สุดก็หงุดหงิดเพราะทำไม่ได้ตามเป้า ลงท้ายก็ผิดหวังแล้วพาลเลิกซ้อมหันไปเล่นหมากเก็บแทน ขั้นตอนที่เราจะแนะนำท่านทั้ง 6 ข้อนี้คือหลักคิดง่าย ๆ เพื่อความสำเร็จในการซ้อม
          1. ต้องเจาจง : ต้องมีเป้าหมายที่แน่นอนมากกว่าจะคิดแบบกว้าง ๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเป้าของคุณคือ “ต้องขี่ไกลให้ได้ดีกว่าเดิม” มันก็กว้างไปเพราะอะไรล่ะคือความหมายของคำว่าดีกว่าเดิม จะวัดผลได้ยังไงหรือว่าแค่การขี่จนครบระยะทางแล้วไม่หมดรงคือความสำเร็จ งั้นหรือเปล่า ถ้ามีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ต้องการขี่ไกล 100 ก.ม. ให้ได้ภายในสี่ชั่วโมงล่ะ เห็นไหมว่าเงื่อนเวลาคือตัวกำหนด คุณอาจจะเคยขี่ได้นาน 4 ชั่วโมงครึ่งแต่พอลดลงมาอีกครึ่งชั่วโมงนั่นหมายความว่าเร็วขึ้นอีกและวัดเป็นตัวเลขได้คือ 30 นาที
          ที่เราว่าต้องเจาะจงก็คือเป้าหมายนั้นต้องวัดปริมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขระยะทางหรือน้ำหนักที่ลดลงภายในเงื่อนเวลาที่กำหนด หรืออะไรก็ตามคุณต้องวัดได้ชัด ๆ เพื่อประมาณความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม แล้วจะเกิดแรงบันดาลใจ แรงจูงใจให้ซ้อมหนักขึ้นอีกเพื่อขยายขีดจำกัด
          2. ขยายขีดจำกัดไปทีละขั้น : ง่าย ๆ คือต้องวางเป้าไว้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อค่อย ๆ เพิ่มขีดความสามารถไปเรื่อย ๆ มากกว่าแค่วางเป้าหมายระยะยาวอย่างเดียว คือถ้าคุณหมายใจไว้ว่าจะขี่ให้ได้ 150 ก.ม. ก็ต้องวางแผนเอาไว้ก่อนว่าสามเดือนแรกหลังจากเริ่มซ้อมจะขี่ให้ได้ 70 ก.ม. แล้วเดือนถัดมาก็เพิ่มเป็น 120 ก.ม. กับอีกสองเดือนหลังสุดจึงขี่ให้ได้ 150 ก.ม. สบาย ๆ การค่อย ๆ เพิ่มจะช่วยได้ทั้งความคุ้นเคยของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยได้ทั้งด้านจิตใจคือเมื่อคุณทำได้ก็จะมีแรงกระตุ้นให้ขยายขีดจำกัดของตัวเองออกไปเรื่อย ๆ เช่นกัน
          ต้องวางเป้าให้ยาก แต่อย่าให้สาหัสความหมายก็คือยิ่งยากขึ้นไปคุณก็ยิ่งเก่ง พอผ่านจุดนั้นไปได้แล้วก็จะสบายพร้อมวางเป้าให้ยากขึ้นไปอีก พอผ่านของยากไปได้ก็ควรจะตั้งเป้าให้ยากกว่าเดิมอีกนิดแล้วจะท้อ เช่น การวางเป้าว่าจะขี่ให้ไกล 100 ก.ม. ถ้าไม่เคยขี่ไกลกว่า 30 ก.ม.มาก่อนควรเขยิบขึ้นมาให้ได้สัปดาห์ละ 10 ก.ม. และควรมีเวลาขี่อย่างน้อยสัปดาห์ละสามวัน ไม่ใช่เคยขี่จักรยานได้ไกล 30 ก.ม. แล้วเพิ่มขึ้นฮวบฮาบเป็น 100 ก.ม. เลยรวดเดียว ระบบของคุณจะเสียหมด จะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาจถึงกับฉีก ปวดหลัง ปวดไหล่
         ยังไม่จบครับ ยังมีอีกหลายข้อโปรดติดตามตอนที่ 2 ครับ....

23 ก.ย. 2553

Bike Review : OYAMA จักรยานพับระดับ Premium Grade

|0 ความคิดเห็น

          OYAMA จักรยานพับได้ระดับ Premium Grade ที่ทุกคนรู้จักกันดีในเรื่องคุณภาพการผลิต วัสดุที่ใช้ และการดีไซน์ที่ไม่เป็นรองใคร การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น เรื่องราคาก็สบายกระเป๋า เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายไป เพราะคุณภาพสินค้าที่ได้กลับมา เทียบกันหมัดต่อหมัดกับ จักรยานพับแบรนด์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ถือว่าให้มาเกินคุ้ม

OYAMA รุ่น DOLPHIN PRO SRAM 8 จักรยานพับได้ที่ถูกออกแบบมาอย่างลงตัว ด้วยรูปทรงเฟรม Aluminum ที่โค้งทันสมัย วงล้อยางขนาด 20” X 1.2” ยางรุ่น Pro ที่สกรีนสีสะท้อนแสงที่ขอบล้อไม่เหมือนใคร ดุมล้อหน้า – หลัง ปลดได้ง่ายสะดวกสบาย ชุดเกียร์ 8 สปีดของ SRAM เบาะนั่งสีทูโทนออกแบบมาเข้ากันได้ดีกับเฟรม เห็นครั้งแรกต้องบอกว่าสวยสะดุดตาจนอยากเข้าไปทดลองขี่เลยทีเดียว และเมื่อได้ทดลองขี่และปั่นไปรอบ ๆ ดูบอกได้เลยว่าลงตัวมาก ๆ ขี่สบายไม่อึดอัดเหมือนจักรยานคันเล็ก ๆ ทั่วไป ช่วงจับแฮนด์ออกแบบมาได้ดีมาก เมื่อลองเพิ่มความเร็วดู ชุดเกียร์ SRAM ที่ให้มาก็ตอบสนองได้ดั่งใจทุกชุดเกียร์ ไม่มีสะดุดให้กวนใจ

OYAMA รุ่น SKYLINE PRO S-7 จักรยานพับอีกหนึ่งรุ่นที่ OYAMA ทำออกมาได้ดีลงตัวทั้งการออกแบบเฟรม Aluminum การทำสีที่เน้นสีของหลักอานและแฮนด์ เป็นสีดำตัดกับเฟรมสีขาวโดยสิ้นเชิง แต่ดูแล้วเท่ห์ มีสไตล์ วงล้อยางรุ่น PRO 20 X 1.2 นิ้ว สกรีนขอบล้อสะท้อนแสง ดุมล้อหน้า – หลัง ปลดง่าย ชุดเกียร์ชิมาโน 7 สปีด ความรู้สึกแรกที่ได้ทดลองขี่ ใส่แบบเต็ม ๆ ทั้งเร็วช้า ขึ้นเนิน-ลงเนิน เรียกว่าใช้มันทุกเกียร์ยอมรับเลยว่าชอบและสนุกกับการขี่เจ้า SKYLINE PRO S – 7 คันนี้มาก...

21 ก.ย. 2553

เสือภูเขาดาวน์ฮิลล์จากอดีตสู่ปัจจุบัน

|0 ความคิดเห็น
          กว่า 20 ปีที่แสนยาวนาน เต็มไปด้วยเรื่องราว และประวัติศาสตร์มากมาย วันนี้เราจะเข้ามามองย้อนไปถึงพัฒนาการของรถจักรยาน นักกีฬา และเทคโนโลยีที่มีส่วนทำให้กีฬานี้กลายเป็นที่คลั่งไคล้ของคนที่หลงใหลกีฬาจักรยานแบบ Extreme นี่ไปทั่วโลกกัน
          หากใครที่เคยอยู่ในยุคแรกเริ่มของกีฬาดาวน์ฮิลล์ จ่าจะยังจำความรู้สึกของฟันกระทบกัน เพราะระบบกันสะเทือนที่มีช่วงยุบแสนสั้น แถมยังต้องลุ้นกับระยะเบรกแสนยาว ของระบบเบรกรุ่นเก่า หากมองย้อนกลับไป ด้วยรถและอุปกรณ์ อีกทั้งเครื่องแต่งกายแบบรัดรูป ที่มีในสมัยนั้น นักกีฬาที่รอดตามมาจนถึงทุกวันนี้ได้ถือว่าสุดยอดจริง ๆ อันที่จริงต้องขอบคุณจุดเริ่มต้นอันแสนสุ่มเสี่ยงในวันนั้น ที่ทำให้เรามีพัฒนาการ และเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดจนทำให้เรามีวันนี้
         ครั้งแรกของการแข่งขันดาวน์ฮิลล์ที่ได้มีการบันทึกไว้น่าจะเริ่มต้นที่รายการ Repck Series ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาในปลายยุค 70 ก็ยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก จวบจนมาถึงปี 1988 การแข่งขันเริ่มสร้างความเร้าใจมากขึ้น ในรายการ Kamikaze DH ซึ่งจัดขึ้นที่ภูเขา Mammoth นักกีฬาสามารถทำความเร็วพุ่งขึ้นไปถึงกว่า 60 กม./ชม.โดยใช้ถนนแนวกันไฟบนภูเขาเป็นเส้นทางแข่งขัน ไม่มีเนินโดด ไม่มีแบงค์ ดิ่งกันล้วน ๆ การแข่งขันดาวน์ฮิลล์จริง ๆ น่าจะเริ่มจากรายการนี้นี่เองนักกีฬาในสมัยนั้นก็ได้แก่ Tomac,Overend,Herbold,Futado,Henderson และ Jason McRoy
          รูปแบบการแข่งขันในยุคนั้นก็จะคล้าย ๆ กับสมัยนี้คือเป็นแบบแพ้คัดออก ความเร็วเฉลี่ยในการแข่งขันค่อนข้างสูง อุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ ภาพของการแข่งขันมักจะได้ขึ้นปกนิตยสารจักรยานในยุคนั้นเป็นประจำ ตัวรถจักรยานนั้นค่อนข้างเบสิคเอามาก ๆ หากเปรียบเทียบกับสมัยนี้ก็ประมาณรถครอสคันทรี่นั่นแหละ ซึ่งต่างจากรถจักรยานดาวน์ฮิลล์ในยุค 90 ที่เน้นไปที่ระบบกันสะเทือนอย่างสิ้นเชิง จำได้ว่าตอนนั้น John Tomac ขี่ให้กับ Yeti มีภาพขึ้นปกนิตยสาร Mountain Bining UK เสียด้วย ในยุคนั้นมักมีอะไรประหลาดให้เห็นอย่างเช่น Doug Braduty ใส่โช๊ค Manitau คู่กับแฮนด์ที่ใส่บาร์เอนด์ จริง ๆ ต้องบอกว่าเป็นเพราะสภาพสนามในยุคนั้น ทั้งคนและรถจึงเป็นอย่างที่เห็น
           ต่อมาเมื่อการแข่งขันร้อนแรงมากขึ้น รูปแบบสนามเริ่มเปลี่ยนไป เทคโนโลยีของระบบกันสะเทือนจึงเข้ามีบทบาทอย่างชัดเจน จนรถจักรยานทุกคันกลายเป็นรถ Full Suspension หรือ 2 โช๊คไปโดยปริยาย รายการแข่งก็มีมากขึ้นทั้งทางฝั่งอเมริกา ได้แก่ รายการ NORBA Series และอังกฤษ ได้แก่ รายการ UK”SBMBF จนกระทั่งได้รับความนิยมระบาดไปทั่วโลก และถูกพัฒนาไปเป็นรายการใหญ่ระดับโลกอย่าง World Cup Series ที่รวบรวมเอาเหล่าบรรดานักดิ่งชั้นหัวกระทิจากทั่วโลกไว้ด้วยกัน และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือเม็ดเงินมหาศาล ผู้ผลิตจักรยานเองก็เริ่มสร้างรถที่เป็นรถดาวน์ฮิลล์แท้ ๆ ส่งเข้ามาแข่งขันกันจนทำให้รถกระเทย รถลูกผสมประหลาด ๆ สูญพันธุ์ไปโดยปริยาย หากมองลึกเข้าไปเราจะเห็นว่าแทบจะทุกอย่างที่ทำให้วงการนี้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าล้วนเกิดมาจากสนามแข่งขันแทบทั้งสิ้น น่าแปลกที่บ้านเรากลับไม่เห็นความสำคัญตรงนี้ มองเพียงแค่ว่ามันเป็นกีฬาที่เล่นกันอยู่ในป่าในเขา คิดเอาแต่ว่าไม่มีใครเห็น ทั้งที่ประวัติศาสตร์ของโลกจักรยานก็บอกอยู่อย่างชัดเจน
          แบรนด์ที่สร้างงานออกแบบสุดคลาสิค จนถูกจารึกไว้ได้แก่ Saacen, Kona,Sintesi ,Iron House ในสมัยก่อนชื่อว่า Verlicchi (อาจจะไม่คุ้นหูนัก ในยุคนี้ แต่ชื่อดังที่กล่าวมานั้น อาจจะพัฒนาหรือขยายกิจการเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ที่แตกต่างออกไป) และผู้ขี่มันคือนักดิ่งชาวอเมริกันชื่อ Dave Cullinan ซึ่งเป็นคนแรกที่ชนะเลิกการแข่งขัน โดยใช้รถแบบ 2 โช๊ค และทำให้รถยี่ห้อ Verlicchi โด่งดังมาในยุคนั้น รถรุ่นนี้ออกแบบมาให้ใช้โช๊คร่วมกับ Marzocchi ที่มีช่วงยุบ 2 นิ้ว ทั้งหน้าและหลัง ใช้จุดหมุนเดี่ยวร่วมกับ Swingarm แบบให้ตัวได้ ซึ่งถือว่าเป็นรถที่ดูทันสมัยมากในยุดนั้น
          จากนั้นระบบกันสะเทือนก็กลายมาเป็นหัวใจของรถประเภทนี้ และทำให้เกิดการแข่งขันจากผู้ผลิตขึ้นด้วยเช่นกัน Rockshox ได้พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งยังขยายช่วงยุบให้มากขึ้นในรุ่น Mag 21 ขึ้น ทำให้แบรนด์อื่นอย่าง Marzocchi และ Manitau ก็อยู่นิ่งไม่ได้ จนในที่สุดจักรยานจากค่ายอเมริกันนามว่า Mountain Cycle ก็ประกาศตัวจักรยานรุ่น San Andreas (เริ่มคุ้นหูกันบ้างแล้วซิ) เป็นจักรยานคันแรกที่มีช่วงยุบมากถึง 6 นิ้ว และให้งานได้ดี ต่อมาในช่วงกลางยุค 90 GT ก็ประสบความสำเร็จกับระบบเฟรมแบบใหม่ที่เรียกว่า RST เป็นระบบที่แก้ไขปัญหาระหว่างการเบรกกับการยุบตัวของรถ พร้อมกับได้ตัว Nicolas Vouilloz นั่งดิ่งอัฉริยะชาวฝรั่งเศสขี่ให้ ซึ่งจากจุดนี้ก็เป็นจุดสำคัญอีกช่วงหนึ่งของวงการ

ยุคทองของนักดิ่งชาวฝรั่งเศส
          ในปี 1955 Nicolas Vouilloz ได้แชมป์ Senior World Champs เป็นครั้งแรก จากครั้งนั้นเขาก็ไม่เคยหันหลังกลับ เดินหน้าคว้าแชมป์เรื่อยมา และได้ย้ายไปสังกัดกับทีม Sunn Chippie ซึ่งเป็นทีมที่มีส่วนอย่างมากในการเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของรถจักรยานดาวน์ฮิลล์ไปตลอดกาล ต่อมาในปี 1996 นักดิ่งสาวชาวฝรั่งเศส Anne Caroline Chausson เริ่มต้นการสะสมแชมป์ของเธอ และทำให้ทีม Sunn กลายเป็นทีมที่ร้อนแรงที่สุดในยุคนั้นทั้งยังได้ว่าจ้างให้จอมอัจฉริยะ Oliver Bosserd เข้าช่วยจัดการเรื่องระบบกันสะเทือนเพื่อความลงตัวกับจักรยานสั่งตัดพิเศษให้กับ Nicolas Vouilloz โดยเฉพาะจากนั้น Nicolas Vouilloz กว่าคว้าแชมป์ติดต่อกันถึง 10 สมัย ส่วนสาวชาวฝรั่งเศศ Anne Caroline นั้นทำไว้ถึง 12 สมัย

           และผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการอีกครั้งนั่นคือ หนุ่มลายสักชาวอเมริกัน Shaun Palmer จากทีม Smithfield ผู้กำชัยชนะอันดับ 2 ในรายการ World Champs ในปี 1996 ทีเมือง Cairns ประเทศออสเตรเลีย เขาใช้จักรยาน Intense M1 ที่ออกแบบโดยชายอเมริกันและที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือมันเป็น M1 ที่คาดลวดลายสไตล์ Troy Lee Desings แบบไม่เหมือนใคร และแน่นอนมันได้รับความสนใจมากมายจากเหล่าบรรดานักดิ่ง ไม่เพียงเฉพาะจักรยานเท่านั้น Shaun Palmer ยังมาพร้อมกับชุดแข่งแบบเดียวกัน จากนั้นชุดรัดรูปก็ถูกฝังลืมไป จากจุดนี้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับกีฬาก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นระบบกันสะเทือน ดิสค์เบรค ยาง ทุกอย่างถูกออกแบบให้ใช้เฉพาะกับจักรยานดาวน์ฮิลล์ พร้อมกับเม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมาย
          มากกว่า 10 ปี ที่เทคโนโลยีของทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับกีฬานี้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นระบบกันสะเทือน จักรยาน ชุดแข่ง ทุกอย่างถูกพัฒนามาตามกาลเวลาก่อนที่นักแข่ง และความยากของสนามจะเกิดขึ้นเสียอีก จากเมื่อก่อนสนาม Schlandming และ Fort William เป็นอะไรที่ท้าท้ายนักแข่งสุด ๆ แต่วันนี้ก็กลายเป็นสนามมาตรฐานของรายการ World Cups ไปแล้ว ต้องขอบคุณ Steve Peat บุคคลซึ่งยืนหยัดเป็นสักขีพยานตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน


          ในปี 2002 Sam Hill ได้ทำให้ทั้งโลกต้องตะลึงกับความสามารถของเขา เขาได้แสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่าเขาและจักรยานดาวน์ฮิลล์ในยุคนี้สามารถข้ามผ่านขีดจำกัดที่เคยมีไปได้จริง ด้วยการคว้าแชมป์ทั้ง 2 รายการในปีเดียวกัน และมีชัยชนะที่ทิ้งห่างจากคู่แข่งแบบเหนือ ๆ 

          ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาจักรยานดาวน์ฮิลล์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Steve Peat เพราะเขาเริ่มชีวิตนักแข่งดาวน์ฮิลล์ตั้งแต่ยุค 90 จากวันนั้นจนถึงวันนี้เขายังคงเป็นนักแข่งที่ยังยืนอยู่บนแถวหน้าเสมอแม้อายุที่เพิ่มขึ้นก็ไม่อาจลดทอนความแข็งแกร่งของเขาลงได้ Steve Peat เปรียบเสมือนบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ยังคงโลดแล่น และกระหายชัยชนะในการแข่งขันอยู่ตลอด เขาใช้เวลาถึง 16 ปีต่อเนื่องยาวนานเพื่อคว้าแชมป์รายการ World Champs และเขาทำได้แล้วในวันนี้ ส่วน Shaun Palmer หนึ่งในผู้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ และเติมแต่งสีสันให้กับวงการนี้ หลังจากหยุดแข่งไปนานแสนนาน ในปีที่ผ่านมาเขาได้กลับมาลงแข่งอีกครั้ง และในปีนี้เขาจะมาแบบเต็มรูปแบบ และต่อไปจะมีอะไรคือความตื่นเต้นครั้งใหม่วงการ... คงต้องติดตามกันต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง:

>> การฝึกพื้นฐานการขี่รถดาวน์ฮิลล์


Fixed Gear : จักรยาน Fixed Gear MASI ต้นตำรับแห่งความคลาสสิค

|0 ความคิดเห็น
          ต้นกำเนิด Masi Bicycle เกิดจาก ประเทศ ITALY โดย Faliero Masi ผู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการสรรสร้างจักรยานอันทรงคุณภาพมากว่า 70 ปี มีชื่อเสียงจากการทำเฟรมให้กับนักแข่งในยุค 60’-70’s เช่น Fausto Coppi, Luison Bobet, Felice Gimondi, Rick Van Looy, Jacques Aaqetil and Eddy Merckx กับชัยชนะที่มากมายในระดับ Tour De France, Giro D’talia ,World Championships and the Olympics ไม่เพียงแต่จักรยานชนิดแข่งขันเท่านั้น ยังได้ผลิตจักรยานในฝันสำหรับชาวเมืองผู้ไม่ประสงค์จะแข่ง ให้มีความสุนทรีภาพในการขับขี่บนถนนในเองได้อย่างสนุกด้วยการออกแบบ และสร้างสรรค์จักรยานในสไตล์อิตาลีดั้งเดิม Faliero Masi ได้นำเอาจักรยาน Masi มาสู่สหรัฐอเมริกา เพื่อหวังจะพัฒนา Brand Masi ให้ยิ่งใหญ่ขึ้น โดยยึด Concept ที่จะรักษารูปแบบดั้งเดิมให้ความเป็น Italy Bike คงอยู่ในโลกต่อไป
          นอกเหนือจากจักรยานประเภทเสือหมอบถนน แล้ว Masi ยังผลิตจักรยานประเภทลู่ หรือ Single Speed ที่กลับมาได้รับความนิยมจากวัยรุ่นผู้ต้องการความแปลกใหม่ในการขับขี่จักรยานชนิด Fixed gear บนถนนรวมถึงการทำกิจกรรมในลักษณะ Extreme ผสมผสานไปด้วย สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้จะได้ไม่ต้องแสวงหารถด้วยความยากลำบาก และแพงจนหูฉี่ เพราะ Asia Bike ได้นำเข้าจักรยานชนิด Classic เหล่านี้มาในจำนวนไม่มากนักดังนี้


Special Fixed LTD Drop&Flat จักรยาน Single Speed ที่ยึดความคลาสสิคแบบดั้งเดิม โดยเลือกใช้ท่อบน ท่อนั่ง ท่อล่าง ท่อคอ และท่อสเตย์ที่มีขนาดเล็ก พร้อมตะเกียบหน้าที่ผลิตจากวัสดุ Cromoly และเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ ดังกล่าวด้วยระบบ Lugged หางหลัง (Dropout) เป็นแบบขนานเช่นเดียวกับหางรถลู่ (Track Bike) ปีนี้เลือกความลงตัวที่สีขาว ซึ่งเป็นสียอดนิยม
           แฮนด์เสือหมอบโค้งแบบรถลู่ตัดกับผ้าพันแฮนด์สีขาว อานแบบดั้งเดิม บันไดพร้อมตะกร้อ จานหน้า Sugino รุ่น Massenger 46T และเฟืองหลัง 16 ฟัน ดุม Seal Bearing แบบ Track Hub ขนาดล้อ 28” ยางใช้ Vittoria Zaffiro


Special Fixed Riser & Drop ออกแบบให้ใช้ท่อบน ท่อนั่ง ท่อล่าง ท่อคอและท่อสเตย์ มีขนาดเล็กพร้อมตะเกียบหน้าที่ผลิตจากวัสดุ Cromoly และเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ ดังกล่าวด้วยระบบ Lugged หางหลัง เป็นแบบขนาด มีสีให้เลือก คือ ส้ม Molteni Orange, สีดำ Disco Black และสีแดง Mattalic Red แฮนด์เสือหมอบโค้งแบบรถลู่ อานคงไว้ในแบบดั้งเดิม บันไดพร้อมตะกร้อ จานหน้า Lasco 46T เฟืองหลัง 16 ฟัน ดุม Seal Bearing แบบ Track hub ขนาดล้อ 28”C(700C) มีมาให้เลือกด้วยกัน 4 ไซต์ 49,51,53 และ 56 Cm


         Soulville 3 รูปแบบจักรยาน ฟิกเกียร์ ที่เป็นงานศิลป์อย่างชัดเจนดูได้จากการโค้งมนรับกันอย่างลงตัวทั้งคัน สีขาว Pearl White ระบบขับเคลื่อน 3 สปีด ของ Sram ใช้คู่กับดุมแบบเกียร์ในดุมทำให้ไม่ซับซ้อน ไม่ยุ่งยาก อานหนังแท้คงแบบดั้งเดิม ใครได้สัมผัส Soulville 3 รู้ได้ทันทีเลยว่าเป็นจักรยาน Fixed gear ที่ขี่ง่าย งามสง่า หรูหรา และทันสมัย มีชนิดทรงให้เลือกสำหรับผู้ชายและผู้หญิง Soulville 7 (สำหรับคุณผู้ชาย) , Soulville 7 Mixte (สำหรับคุณผู้หญิง) จักรยานสำหรับใช้งานบนถนนในเมืองที่นับว่า Classic ที่สุดจากการออกแบบในสไตล์อิตาลี่ที่เป็นที่ยอมรับและนิยมเป็นอย่างมากในยุโรป และอเมริกา ซึ่งยังคงใช้โลหะผลิตท่อชนิด Double Butted Cr-mo ท่อบนและ Seat Stay ออกแบบให้โค้งรับกันอย่างลงตัว แฮนด์ตรงขับขี่ง่าย Grip เป็นไม้ก๊อก อานเป็นหนังแท้แบบดั้งเดิมสีน้ำตาล พร้อมด้วยบังโคลนแบบแบนเรียบที่วางเหนือยางเพียงเล็กน้อยไม่เทอะทะ ระบบขับเคลื่อน 7 สปีดของ Shimano Nexus
(Fixed Gear,ฟิกซ์เกียร์,Fixed Gear,ฟิกซ์เกีียร์,Fixed Gear,ฟิกซ์เกียร์,Fixed Gear,ฟิกซ์เกียร์)

บทความที่เกี่ยวข้อง :

>> ทิศทางรถฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear) ปี 2011
>> แนะนำอุปกรณ์ตกแต่งจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)
>> การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
>> VDO เทคนิคการปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)
>> Fixed Gear แหกกฎเซ็ตรถเล่นทริก
>> Fixed Gear Corner : Fixed Gear Development

>> Fixgear Corner : ประเภทของจักรยาน Fixgear
>> แนวทางการเลือกตกแต่ง รถ FIXED GEAR อย่างมีสไตล์

19 ก.ย. 2553

BMX CORNER : การเลือกซื้อ จักรยาน BMX RACING

|3 ความคิดเห็น
          ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อจักรยาน BMX เราควรทำความรู้จักส่วนต่าง ๆ ของจักรยาน BMX กันก่อน
          อย่างแรกคือ เฟรม (Fram) ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเลือกใช้เฟรมที่ทำมากจา Aluminun ไม่ว่าจะเป็นเนื้อโลหะ 6061 และ 7005 หรือ Cro-Moly 100 %, Titanium และ Carbon Fiber


วัสดุแต่ละอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้

Aluminum
    - ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบาและมีความรู้สึกแข็งแรง
    - ข้อเสีย คือ Aluminum จะมีเนื้อที่แข็งกระด้างจะให้ความรู้สึกไม่นุ่มนวล


Cro-Moly
     - ข้อดี คือ มีความแข็งแรงทำให้มีความนุ่มนวล
     - ข้อเสีย คือ มีความนุ่มนวลมากเกินไปซึ่งจะทำให้สูญเสียการทำความเร็ว แต่สำหรับ ผู้ที่ชื่นชอบความนุ่มนวลก็สามารถเลือกใช้ได้


Titanium
     - ข้อดี คือ มีความแข็งแรงมากและมีน้ำหนักเบา
     - ข้อเสีย คือ เนื้อ Titanium จะให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างเกินไป ซึ่งใน BMX นั้นจะไม่นิยมใช้เฟรมชนิดนี้ เพราะเฟรมส่วนใหญ่เมื่อใช้แล้วจะมีรอยแตกร้าวบริเวณรอยเชื่อมต่าง ๆ


Carbon Fiber
     - ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา
    - ข้อเสีย คือ มีอายุการใช้งานไม่นานเปราะบาง สำหรับเฟรม Carbon ใน BMX Racing ยังไม่ค่อยนิยมใช้กันเท่าไรนัก
     - การเลือกซื้อตัวถังนั้นเราจะดูจากจุด Top Tube โดยวัดจากเส้นผ่าจุดศูนย์กลาง ระหว่างท่อหลักอานและเส้นผ่าศูนย์กลางของถ้วยคอ


การเลือกซื้ออุปกรณ์จักรยานประเภท BMX Racing


1. ปลอกแฮนด์ (Grips)
          อย่างแรกคือปลอดแฮนด์ ปัจจุบันปลอดแฮนด์มีหลายยี่ห้อให้คุณได้เลือกใช้แต่ที่นิยมกันมากคือปลอดแฮนด์ที่มีความนุ่มนวลเพื่อลดแรงกระแทกจากพื้นถนนที่ไม่เรียบ และขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบลักษณะแบบไหน แต่ปลอดแฮนด์หลัก ๆ มีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือแบบที่มีน็อตใช้ล็อคได้ กับแบบสวมเข้าไปโดยที่ไม่มีน๊อคล็อค
2. แฮนด์ (Handle Bar)
          ในปัจจุบันเนื้อโลหะของแฮนด์จักรยานประเภท BMX Racing นั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน 1. Aluminum 2. Cro-Moly 100 % 3. Carbon Fiber
         2.1 Aluminum มีน้ำหนักเบาราคาไม่แพง แต่บ้านเราของหายากไปหน่อย
         2.2 Cro-Moly 100 % ซับแรงกระแทกเวลากระโดดเนินได้ดี แข็งแรงทนทานอายุการใช้งานยาว
         2.3 Carbon Fiber มีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่จะเป็นแฮนด์สำหรับเด็กที่มมีอายุต่ำกว่า 12 ปี
สำหรับการเลือกขนาดของแฮนด์ให้เข้ากับตัวเองควรใช้แฮนด์ที่กว้างเพราะจะควบคุมจักรยานได้ง่ายขึ้น
3. สเต็ม (Stem) หรือคอจับแฮนด์
          จะมีขนาดหน้าจับแฮนด์กว้างกว่าสเต็มของจักรยาน BMX ประเภท สตรีทปาร์ค แต่ส่วนใหญ่จะใช้สเต็มของรถสตรีทปาร์คเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงจึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้สเต็มของจักรยานประเภท BMX Racing โดยตรง แต่ส่วนใหญ่สเต็มของ BMX Racing นั้นจะมีขนาดให้เลือกอยู่มาก แต่ในการแข่งขันส่วนใหญ่จะใช้สเต็มที่มีขนาด 30-55 ม.ม.
4. จุกปิดปลายแฮนด์ (End Grip)
           เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราลดอันตรายเวลาเกิดอุบัติเหตุไม่ให้ปลายแฮนด์เสียบไปในร่างกายของเราและเพื่อลดการบาดเจ็บ เอ็นกริ๊บมีให้เลือกหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก หรืออะลูมิเนียม
5. เบรก (Brakes) เบรคของจักรยานประเภท BMX Racing นั้นมี 2 แบบ
          แบบที่ 1 วีเบรค (V-BRAKE) ส่วนมากจะนิยมใช้กันในประเภทรถครอสคันทรี่และ BMX Racing
          แบบที่ 2 ยูเบรค (U-BRAKE) บ้านเราเรียกว่าเบรกก้ามปู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวถัง BMX ว่าออกแบบมาให้ใช้กับเบรกชนิดไหน แต่ส่วนมาก BMX Racing นิยมใช้แบบ V-BRAKE กันหมดแล้ว เพราะว่า V-BRAKE ใช้ Aluminum และ Tianium ในการผลิตทำให้มีน้ำหนักเบา
6. ขาจาน (Cranks)
          สำหรับรถจักรยานประเภท BMX Racing นั้นจะต้องมีความแข็งแรงและทนต่อแรงกระแทกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลากระโดดลงสู่พื้น หรือเวลาเกิดอุบัติเหตุ ขาจานของ BMX Racing จะมีอยู่ 3 แบบคือ Aluminum, Cro-moly และ Carbon Fiber ถ้าต้องการจะเลือกซื้อขอแนะนำว่าควรเลือกขาจานที่ทำมาจาก Aluminun เพราะว่า ขาจาน Aluminum จะมีความแข็งแรงมาก และมีความทนทาน เห็นได้จากผู้เข้าแข่งขันในรายการชิงแชมปโลกสนามต่าง ๆ จะนิยมใช้ Shimano DXR เป็นจำนวนมาก และขาจานจะมีความยาวไม่เท่ากัน โดยจะมีความยาวตั้งแต่ 150-180 ซ.ม. ในการเลือกขนาดให้เข้ากับตัวเรานั้น จะวัดความยาวของขาเราเป็นหลัก
7. ตะเกียบ (Fork) BMX Racing มีอยู่ 3 ชนิด
          7.1 Aluminum มีความแข็งแรงทนทาน แต่มีน้ำหนักมาก
          7.2 Cro-Moly แข็งแรงมีอายุกานใช้งานที่ยาวนาน เบาพอประมาณ แต่มีความกระด้างสูง
          7.3 Carbon Fiber ง่ายต่อการควบคุม แข็งแรง มีน้ำหนักเบากว่าตะเกียบทุกชนิด ทำให้มีคามรู้สึกนุ่มนวล ไม่กระด้าง และเป็นตะเกียบที่นักแข่งนิยมใช้มากที่สุด
8. กะโหลก (Bottom Bracket) ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ
          8.1 กระโหลกแบบ Euro size BB ซึ่งกะโหลกแบบ BB จะมีความนิยมมากกว่าเพราะมีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบา
          8.2 กะโหลก แบบ American หรือ U.S.size BB ปัจจุบันยังมีความนิยมน้อยกว่าแบบแรก เพราะขนาดที่ใหญ่มีน้ำหนักมาก
9. บันไดจักรยาน (Pedals) มีอยู่ 2 แบบ
          9.1 แบบบันไดธรรมดา (Platform)
          9.2 แบบบันไดที่มีคลิ๊บ (Clipless)


บันไดที่เหมาะสำหรับใช้แข่งขันจะเป็นบันไดคลิ๊บมากกว่าเพราะว่าเวลาปั่นสามารถทำความเร็วและเท้าจะได้ไม่หลุดจากบันได ส่วนบันไดธรรมดาจะไม่เหมาะ สำหรับใช้ในการแข่งขันเนื่องจากทำความเร็วได้ไม่เต็มที่
10. ใบจาน (Sprocket, Chain Wheel)
          สำหรับ BMX Racing จะใช้ใบจานที่มี 43-44 ฟัน และโซ่เฟืองหลังตั้งแต่ 14-16 ฟัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงปั่นของเรา โดยสามารถทำการทดสอบในระยะทาง 60 เมตรโดยใช้ 44,16 ทำการจับเวลา และลองใช้ 44,15 จับเวลาดูอีกครั้งแล้วลองดูว่าแบบไหนดีกว่า
           ในการคำนวณอัตราทดนั้น ให้เอาใบจานหน้าหารกับเฟืองหลัง เช่น 44 หาร 16= 2.75 และ 44 หาร 15 =2.93 การคำนวณเช่นนี้ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าการทด 44,15 จะหนักกว่าการใช้ใบจาน 44,16 เฟือง โดยส่วนมากจะเลือกใช้ใบจาน 44 ,16 เฟือง ครับ
11. ล้อ BMX Racing
          ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่ทำจาก Aluminum ในการเลือกซื้อนั้นควรจะเลือกที่มีความแข็งแรงจะมีล้อ 2 ชั้นและ3 ชั้น ล้อจะมีซี่ลวด 36-48 ซี่ และในจักรยานประเภท BMX Racing ส่วนใหญ่จะมี 36 ซี่
12. ยาง สำหรับ BMX Racing
          ยาง BMX Racing นั้นจะต้องเป็นยางที่มีดอกยางแบบวิบาก ยางจะมีขนาดหน้ากว้างตั้งแต่ 1.75-2.15 นิ้ว ในการแข่งขันนั้นจะใช้ยางหน้าใหญ่กว่ายางหลัง เพราะในเวลาปั่น น้ำหนักตัวจะกดลงไปที่ล้อหน้ามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเวลาเข้าโค้ง หรือตอนลงจากเนิน ฉะนั้นยางหน้าจึงต้องใหญ่เพื่อจะได้ยึดเกาะถนนได้ดี ส่วนล้อหลังที่ต้องมีขนาดเล็กกว่าเพราะช่วยลดแรงเสียดทางกับถนน จะได้ทำความเร็วขึ้น ส่วนดอกยางนั้นก็มีให้เลือกอยู่มากมาย แต่การเลือกใช้ยางนั้นต้องขึ้นอยู่กับสนามต่าง ๆ เช่น สนามที่เปียกก็ควรใช้ยางที่มีดอกสูง และสนามไหนที่มีความเรียบแห้งก็ควรใช้ยางที่มีดอกน้อย
          สุดท้ายนี้ในการเลือกซื้อจักรยานประเภท BMX Racing ให้เหมาะสมกับร่างกายของคุณ ลองศึกษาดูว่าตัวคุณชอบแบบไหน สีอะไร พอใจกับราคาหรือเปล่า...

บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง