ss

13 ม.ค. 2554

#เทคนิคการปั่นจักรยาน ตอน: มือใหม่หัดใช้คลิปเลส

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการปั่นจักรยาน

มือใหม่หัดใช้คลิปเลส [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

            อุปกรณ์ที่ช่วยให้การปั่นจักรยานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั่นก็คือคลิปเลส (Clipless) คลิปเลสนำมาใช้กับวงการจักรยานอย่างกว้างขวางแทบทุกประเภทของการขี่จักรยาน ซึ่งแต่เดิมนั้นการขี่จักรยานใช้แรงจากการกดฝ่าเท้าเพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงได้มีผู้คิดค้นพัฒนาระบบยึดรองเท้ากับบันไดโดยการใช้ตะกร้อเสียบเท้า หรือใช้สายรัดมารัดเท้ากับบันไดทั้งนี้การยึดเท้าเข้ากับบันไดจะทำให้เราสามารถออกแรงดึงบันไดขึ้นในจังหวะการดึงเท้ากลับซึ่งจะช่วยให้การควงรอบขาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นบันไดจักรยานแบบพิเศษ ที่สามารถล็อคกับโลหะที่ติดตั้งไว้ใต้รองเท้าได้ นั่นจึงเป็นที่มาของ คลิปเลส
          [เทคนิคการปั่นจักรยาน]  คลิปเลส คือบันไดที่มีกลไกล็อกกับโลหะที่ติดกับใต้รองเท้าได้ดังนั้นในการใช้งานคลิปเลสจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนดังนี้
1. บันไดคลิปเลส
2. ตัวครีทที่ถูกติดตั้งใต้พื้นรองเท้าเพื่อล็อกกับคลิปเลส
3. รองเท้าจักรยาน ที่มีรูให้ยึดครีท
            การใช้คลิปเลสนอกจากจะเป็นการช่วยให้การใช้รอบขาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การควบคุมรถทำได้ดีมากขึ้นกล่าวคือไม่ต้องกลัวเท้าจะหลุดออกจากบันไดง่าย ๆ ซึ่งถ้าจะให้เท้าหลุดออกจากบันไดต้องตั้งใจปลด ไม่ใช่เท้าหลุดจากบันไดโดยไม่ตั้งใจ เช่นเวลาเราขี่รถตลุยผ่านเส้นทางที่ขรุขระเมื่อเราลุกขึ้นยืนให้บันไดขนานพื้น เพื่อให้รถพุ่งผ่านเส้นทางดังกล่าว โอกาสที่เท้าจะหลุดออกจากบันไดก็มีสูงกว่าปกติ แต่เราใช้คลิปเลสมันจะช่วยให้เท้ากับบันไดมีความมั่นคงขึ้น ลดโอกาสเท้าหลุดจากบันได [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
            คลิปเลสก็เหมือนกันกับไฟ เมื่อมีคุณก็ต้องมีโทษ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหากเท้าไม่หลุดออกจากบันไดก็ย่อมทำให้ร่ายการบาดเจ็บได้มากกว่าปกติ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะต้องทำการฝึกฝนการใช้คลิปเลสให้คล่อง ๆ ก่อนออกไปขี่จริงเพื่อการให้งานให้เกิดประโยชน์และสร้างความปลอดภัย หลักของการใช้คลิปเลสที่มือใหม่ทุกคนต้องปฏิบัติให้ขึ้นใจคือ ปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุดก็จะช่วยให้ท่านไม่เจออุบัติเหตุจากการปลดคลิปเลสไม่ทันเวลารถหยุด แต่ถ้าหากใช้งานไปนาน ๆ แล้ว สิ่งนี้ก็จะติดเป็นสัญชาติญาณกับตัวของท่านเองโดยอัตโนมัติ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
            นอกจากการปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุด แล้ว การปรับมุมของครีทที่ติดตั้งเข้ากับพื้นรองเท้าก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้การปลดรองเท้าออกจากคลิปเลสทำได้ง่าย ต้องทำการปรับมุมของครีทให้รองเท้าหลุดออกจากคลิปเลส เมื่อมีการบิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อย เพื่อให้การปลดเท้าออกจากคลิปเลสทำได้ง่าย
            คลิปเลสบางรุ่นจะสามารถปรับตั้งความแข็งของสปริงชุดล็อคได้ขณะใช้งานใหม่ ๆ ควรปรับความแข็งของสปริงไปที่ตำแหน่งอ่อนสุดเพื่อให้ปลดคลิปได้ง่ายแต่ถ้าหากใช้ไปซักพักแล้วรู้สึกว่าคลิปหลุดง่ายเกินไปจึงค่อยตั้งค่าความแข็งของสปริงที่คลิปเลสให้มีสูงขึ้น จนได้ระดับความแข็งที่พอดี [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
            การฝึกใช้คลิปเลสสำหรับมือใหม่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการขึ้นไปนั่นบนรถที่จอดขนาดกับผนังจากนั้นใช้หัวไหล่พิงหรือมือดันผนังไว้แล้วให้ทดลองใช้เท้าด้านที่อยู่นอกผนังกดล็อกและปลดล็อกรองเท้ากับบันไดคลิปเลส เข้า ๆ ออก ๆ จนเกิดความชำนาญ จากนั้นจึงสลับฝึกอีกเท้าอีกข้าง
            เป็นไงบ้างครับ หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้รับความรู้เกี่ยวกับบันไดคลิปเลสไม่มาก็น้อย ปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุด อย่าลืมนะครับ..
เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน


           

การเลือกใช้ล้อสำหรับจักรยานเสือหมอบ

|0 ความคิดเห็น

จักรยานเสือหมอบ

ล้อแบบไหนที่เหมาะกับนักจักรยานเสือหมอบมือใหม่ ?

                ชุดล้อเปรียบเสมือนขาของรถจักรยาน หาได้ขาที่บึกบึนแข็งแรงเสมือนดั่งกว่ารถจักรยานของท่านก็จะวิ่งได้อย่างหนักแน่น ง่ายต่อการควบคุมหรือหาได้ขาที่เรียวงาม รถคันนั้นก็อาจจะวิ่งได้ประดุจนกที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ แต่ความเป็นจริงแล้ว การอุปมาอุปมัยคงช่วยเราฟันธงไม่ได้อยู่แล้ว เราจึงมีวิธีเลือกชุดล้อที่เหมาะกับทุกคน มาฝากกัน
-          งบประมาณ
ปฎิเสธไม่ได้แล้วล่ะว่าล้อตัวไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับเราในประเด็นนี้ เพราะเงินในกระเป๋าของแต่ละท่านนั้นไม่เท่ากัน ขีดจำกัดของการเลือกชื้อล้อก็ถูกขีดเส้นไว้ด้วย แต่ถึงแม้งบประมาณจะถูกจำกัด หากการเลือกซื้อที่ถูกไตร่ตรองด้วยเหตุผล ก็จะทำให้เราได้ล้อที่คุณภาพคุ้มเงินคุ้มราคาสำหรับเรา
-          ลักษณะการใช้งาน
เนื่องจากล้อจักรยานเสือหมอบมีหลายรูปแบบการใช้งานที่เหมาะกับชีวิตประจำวันและเหมาะกับลักษณะการใช้งานของเรา ภูมิประเทศหรือเส้นทางการปั่นก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญ
เมื่อได้แนวทางเรื่องงบประมาณ ลักษณะการใช้งานแล้ว ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับรูปแบบต่าง ๆ ของล้อจักรยานเสือหมอบกันดูบ้าง
-          ล้อประกอบ vs ล้อสำเร็จรูป
ล้อประกอบ  คือชุดล้อที่แยกประกอบกันระหว่างขอบ ดุม ซี่ลวด ผู้เล่นต้องศึกษาหาข้อมูลของ 3 สิ่งนี้ก่อนที่จะหาช่างที่ไว้ใจได้ขึ้นรูปให้เป็นวง วิธีนี้ไม่เหมาะกับนักจักรยานเสือหมอบมือใหม่แน่นอน เพราะการเลือกชุดล้อประกอบไม่ง่ายเลย ยากที่สุดคือการหาขนาดซี่ลวดที่พอดีกับดุมและขอบล้อ และที่สำคัญช่างที่ไว้ใจได้ก็ค่อนข้างหายากอีกด้วย
ล้อสำเร็จรูป  คือล้อที่ประกอบจากโรงงาน ข้อดีของล้อประเภทนี้คือ ไม่ยุ่งยาก ชอบยี่ห้อไหนก็เลือกซื้อได้เลย ได้รับการยอมรับว่าเป็นล้อที่ได้มาตรฐาน แข็งแรง   แต่ข้อเสียก็คือ ยกตัวอย่างง่าย ๆ แค่ซี่ลวดขาด งานก็เข้าแล้วรับ หมดสิทธิ์ที่ช่างท้องถิ่นหรือช่างทั่ว ๆ ไปจะทำได้ หากแม้ว่าทำได้ก็ต้องรอชิ้นส่วนที่เป็นของมันโดยตรง
-          ล้อขอบสูง vs ล้อขอบต่ำ
ล้อขอบสูง  ต้องสูงเท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่าเป็นล้อขอบสูง ? ไม่ได้ระบุอย่างแน่นอน แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นว่า 25 mm. ขึ้นไปถึงจะเรียกว่าเป็นล้อขอบสูง มีหลายเหตุผลที่ล้อขอบสูงเป็นที่นิยมของนักปั่นทั่ว ๆ ไป ข้อดีของลักษณะรูปทรงสูงว่ากันว่าได้ความแอร์โรไดนามิคส์ แอร์โรไดนามิคส์คืออะไร ? จะเรียกว่าตัดลมลู่ลมก็คงไม่ผิด แต่เมื่อมีคุณประโยชน์ก็ย่อมมีโทษ ในทางกลับกัน ล้อขอบสูงมีผลกับแรงลมที่ปะทะด้านข้าง ขอบยิ่งสูงก็ยิ่งกินลม เข้าตำรายิ่งสูงยิ่งหนาว
ล้อขอบต่ำ  เป็นล้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากคุณลักษณะการใช้งานแบบทั่ว ๆ ไป สามารถรองรับพฤติกรรมการปั่นได้เกือบทุกรูปแบบ จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีน้ำหนักเบา ผู้ที่อยู่บนพื้นราบสูงดูจะเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลที่สุดแล้ว หรือแม้แต่พื้นราบก็ไม่ได้เสียเปรียบมากมายอะไรนัก
-          ขอบล้อยางงัด vs  ขอบล้อยางฮาล์ฟ
ขอบล้อยางงัด (Clincher) เป็นขอบล้อที่ใช้สำหรับยางใน มีทั้งแบบขอบสูงและขอบต่ำ ตลาดส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญของขอบล้อชนิดนี้มากกว่า เนื่องจากเป็นที่ต้องการของผู้เล่นทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า ใช้งานง่ายดูแลรักษาง่าย เปลี่ยนยางในง่ายและรวดเร็ว ไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องกังวล แต่พกยางในสำรองไว้ก็อุ่นใจแล้ว ข้อเสียของระบบยางงัดคือ น้ำหนักยังไม่เบาเท่าที่ควร การเติมลมก็ทำได้น้อยกว่ายางฮาล์ฟ  ในปัจจุบันขอบล้อยางงัดมีระบบ (Tubeless) ไม่ต้องใช้ยางในให้เลือกอีกหนึ่งทางเลือก แต่ยังใหม่ต่อวงการเสือหมอบ ทำให้ผู้ผลิตยาง Tubeless สำหรับเสือหมอบยังมีไม่กี่แบรนด์เท่านั้น
ขอบล้อยางฮาล์ฟ (Tubular) เป็นขอบที่ใช้กับยางฮาล์ฟโดยเฉพาะ ด้วยการทากาวระหว่างยางกับขอบล้อ เป็นขอบที่มีน้ำหนักเบาแต่ค่อนข้างยุ่งยากเมื่อต้องเปลี่ยนยาง ต้องใช้ความชำนาญอยู่พอสมควร เติมลมได้มากกว่าขอบยางงัด จึงเหมาะกับเสือหมอบมือเก่าหรือนักกีฬาที่ใช้เพื่อการแข่งขัน มีทั้งแบบขอบต่ำและขอบสูง ขอบชนิดนี้ไม่ค่อยเหมาะกับเสือหมอบมือใหม่เท่าไหร่นัก
-          ขอบอลูมินั่ม vs ขอบคาร์บอน
ขอบอลูมินั่ม  ยังคงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของผู้เริ่มต้นจนถึงระดับอาชีพ เนื่องจากการพัฒนาที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง สมัยก่อนขอบล้อแบบอลูมินั่มยังมีน้ำหนักมาก แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นขอบสูงหรือขอบต่ำ ชุดล้ออลูมินั่มก็ไม่ได้เป็นรองขอบล้อคาร์บอนเลย แต่กระแสความนิยมเทใจให้ขอบอลูมินั่มในเรื่องของความแข็งแรงและเน้นด้วยว่าต้องเป็นขอบต่ำ ทำให้ทุกวันนี้ล้อแบบอลูมินั่มก็ยังคงเป็นที่ครองใจของชาวเสือหมอบทั่ว ๆ ไป
ขอบคาร์บอน  เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าล้อขอบคาร์บอนพบเห็นได้ในสนามแข่งขันทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก เราแทบจะไม่พบเห็นขอบอลูมิเนียมเลย เจ้าขอบคาร์บอนมันถูกจับคู่กับขอบยางฮาล์ฟ ทำให้ประสิทธิภาพของชุดล้อสมบูรณ์และลงตัว โดยเฉพาะขอบสูง มันกลายเป็นที่ไว้วางใจของนักแข่งระดับแนวหน้ามากมาย ด้วยการพัฒนาด้านคาร์บอนอย่างไม่หยุดยั้ง ขอบคาร์บอนในยุคนี้มีความสูงที่ 45 mm. หลายค่ายทำน้ำหนักได้เบากว่า 300  กรัม อีกทั้งยังคงพัฒนาในเรื่องการตัดลม ลู่ลม หรือที่เราเรียกกันติดหูว่า ล้อมันเหวี่ยง หรือว่านี่คืออนาคตในวันข้างหน้าที่เราต้องรอคำตอบจากจำนวนผู้บริโภค

         สุดท้ายนี้การเลือกซื้อล้อสำหรับนักจักรยานเสือหมอบมือใหม่ ต้องตอบคำถามของตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราจะซื้อแบบไหน “ซื้อแล้วจบ หรือว่าซื้อเผื่อเปลี่ยน” หากต้องการซื้อเพื่อจบ งบประมาณ เป็นเหตุผลเดียวที่ท่านต้องไตร่ตรองเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพียงพอกับเงินในกระเป๋าของท่าน ส่วนการซื้อเผื่อขาย ให้มองหาล้อที่มีประโยชน์ครบด้าน ซื้อง่าย ขายคล่อง เพื่อวันข้างหน้าต้องการขายจะได้ไม่ปวดหัว เท่านี้การปั่นของท่านทั้งหลายก็ราบรื่นไปนานแสนนาน

ที่มา : นิตยสาร Race Bicycle

10 ม.ค. 2554

GARY FISHER ผู้เปรียบเสมือนบิดาผู้ให้กำเนิดจักรยานเสือภูเขา

|0 ความคิดเห็น
จักรยานเสือภูเขา

GARY FISHER  ผู้เปรียบเสมือนบิดาผู้ให้กำเนิด
จักรยานเสือภูเขา


          Gary Fisher ชื่อนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักสำหรับจักรยานเสือภูเขาแล้วชื่อนี้คือผู้ให้กำเนิดเปรียบเสมือนบิดาแห่งจักรยานเสือภูเขา Gary Christopher Fisher คือชื่อเต็มของ Gary Fisher เขาเกิดในปี 1950 เริ่มเข้าสู่เส้นทางจักรยานเสือภูเขาตั้งแต่อายุ 12 ปี จากเด็กหนุ่มร่างโย่งที่ขี่จักรยานคลังเกอร์ (Clunker) ลงจากยอดเขาเมาท์แทม และได้ทำการดัดแปลงมันจนกลายเป็นจักรยานเสือภูเขาคันแรก นอกจากจะทำให้กับตัวเองแล้วเขายังทำให้กับเพื่อน ๆ ร่วมอุดมการณ์ของเขาด้วย จากจุดเริ่มนั้นในปี 1979 Gary Fisher และเพื่อนสนิท Charlie Kelly ได้ตั้งบริษัทผลิตตัวถังจักรยานเสือภูเขา และให้ชื่อบริษัทของเขาว่า “ Mountain Bikes” โดยมี Jeffrey Richnond และ Tom Rithcey เข้าร่วมในการทำตัวถังจักรยาน นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดจักรยานเสือภูเขาแล้วทีมงานเขายังมีส่วนร่วมกับ Shimano ในกรพัฒนาระบบเกียร์ซึ่งเป็นต้นแบบของเกียร์แบบกดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน Gary Fisher ได้ออกแบบตัวถังที่มีความกว้างของหางหลัง 135 มม. เป็นครั้งแรกเพื่อให้รองรับกับดุมหลังสำหรับจักรยานเสือภูเขาของชิมาโน ที่จะมีจำนวนเฟืองหลังมากขึ้น และกลายมาเป็นมาตรฐานของตัวถังจักรยานเสือภูเขาจนถึงปัจจุบันนี้

         จากการที่เป็นคนที่มีความคิดแบบไร้กรอบ แนวความคิดที่ไม่ซ้ำใครทำให้ผลงานที่เขาสร้างออกมาแต่ละชิ้นกลายเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นคอยไล่ตาม ไม่ว่าจะเป็น Genesis Geometry ซึ่งออกแบบให้มีมุม มีองศาที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลการวางตำแหน่งร่างกายของผู้ขี่จนผู้ผลิตรายอื่น ๆ ปรับมุมเปลี่ยนองศาตาม แค่นั้นยังไม่พอยังออกแบบบุกเบิกจักรยานเสือภูเขาที่ใช้ล้อที่มีขนาด 29 นิ้ว จนมีคำถามตามมาว่าจะดีกว่าล้อ 26 นิ้วอย่างไร ถึงตอนนี้ก็ได้คำตอบกันไปแล้วว่าล้อ 29 นิ้วดีอย่างไร เพราะยี่ห้ออื่น ๆ ก็เริ่มมีออกมาให้เห็นกันแล้ว ทาง UCI ได้รับรองแล้วว่าสามารถใช้แข่งขันได้ ทางทีม Subasu Gary Fisher Mountain Bike Team ซึ่งเป็นทีมของ Gary Fisher ก็แล้วแต่ใช้ Genesis eometry ล้อ 29 นิ้วทั้งหมด

          น่าเสียดายที่จากนี้ไปจะไม่มีโลโก้ของ Gary Fisher อีกแล้วจะมีก็แต่ Gary Fisher Collection ภายใต้แบรนด์ของ Trek เพราะถูกควบรวมกิจการไปอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จักรยานเสือภูเขา

5 ม.ค. 2554

ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear: การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]

|0 ความคิดเห็น


การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
            การเลือกขนาดของตัวถังที่เราจะนำมาใช้งาน ซึ่งการที่เราเลือกขนาดรถได้เหมาะสมกับร่างกายจะทำให้เราใช้งานรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสาย Tick และสายปั่น สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้ก่อนทำการเลือกขนาดของตัวถังที่จะนำมาขี่ ก็คือความยาวช่วงขา ซึ่งช่วงขาแป็นตัวแปรหลักในการเลือกขนาดรถมาใช้งาน เพราะว่ารถแต่ละขนาดก็จะออกแบบมาสำหรับคนที่มีช่วงขาไม่เท่ากันการวัดความยาวช่วงขาเป็นการวัดความยาวจากพื้นถึงหว่างขาเมื่อเรายืนตรงซึ่งคำนี่จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถ อีกส่วนหนึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่า Stand Over ของรถ [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
            Stand Over คือค่าที่ใช้วัดระยะความสูงของท่อบนรถเทียบกับพื้น ซึ่งค่ำนี้จะใช้ประกอบเปรียบเทียบกับค่าความยาวช่วงขา กล่าวคือหาค่าความยาวช่วงขามากกว่า Stand Over จะทำให้สามารถยืนให้หว่างขาคร่อมท่อบนได้แต่ถ้าหากความยาวหว่างขาน้อยกว่า Stand Over จะทำให้ไม่สามารถยืนคร่อมท่อบนได้ ทำให้หว่างขาพาดอยู่กับท่อบน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องตะแคงรถทิ้งน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่งที่เหยียบพื้นก่อน แล้วใช้ขาข้างที่เหลือเหยียบบันไดไว้
            เมื่อเราได้ทราบค่าความยาวช่วงขาแล้ว เราก็นำค่าที่เราวัดได้ไปเทียบกับตารางเทียบขนาดของผู้ผลิต หากไม่มีตารางเปรียบเทียบขนาดของผู้ผลิต ว่าช่วงขาเท่าไหน ควรจะขี่รถขนาดเท่าไร หรือหากไม่มีตารางเปรียบเทียบก็ใช้การกะขนาดเอาขนาดของตัวถังจะมีการบอกตามค่าความยาวของท่อนั่ง ซึ่งใช้หน่วยวัดความยาวสองมาตรฐานคือการวัดด้วยหน่วยเซนติเมตร (นิยมใช้ในจักรยานเสือหมอบ) และการวัดเป็นนิ้ว (นิยมใช้ในจักรยานเสือภูเขา) และมาตรฐานการวัดความยาวของตัวถังยังมีมาตรฐานการวัดอยู่สองแบบ คือการวัดแบบ Center to Center (C-C) เป็นการวัดความยาวจากจุดศูนย์กลางกะโหลกถึงจุดศูนย์กลางของจุดเชื่อมของท่อนั่งกับท่อบนและการวัดแบบ Center To top (C-T) เป็นการวัดความยาวของท่อนั่งจากจุดศูนย์กลางกะโหลกไปยังปากของท่อนั่งที่จะใส่หลักอาน
            การเลือกเฟรมมาใช้งานสำหรับชาวฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)  ต้องคำนึงถึงขนาดตัวถังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ประเภทของการใช้งานหากเป็นสายปั่นควรเลือกตัวถังให้พอดีตัวหรือเล็กกว่าเล็กน้อย โดยให้ท่อบนของรถอยู่ต่ำกว่าหว่างขาประมาณ 1-2 นิ้ว หากเป็นสาย Tick ก็ให้ใช้ตัวถังที่ท่อบนอยู่ต่ำกว่าหว่างขามากกว่า เพื่อความสะดวกในการลงรถฉุกเฉิน เพราะการขี่สาย Tick นั้นอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายหากเลือกรถที่มีท่อบนต่ำกว่าหว่างขามากกว่า 2 นิ้วจะช่วยให้ลดการโดยท่อบนกระแทกหว่างขา[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
            เสร็จจากการเลือกขนาดรถแล้วก็ให้ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสมตามความถนัดโดยการปรับความสูงของหลักอาน เรื่องต่อไปที่ผู้ขี่ต้องพิจารณาอีกเรื่องก็คือการปรับมุมการก้มขี่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วร่างกายคนเราจะมีความแตกต่างกัน บางคนช่วงขาสั้นแต่กระดูกสันหลังยาว บางคนก็อาจจะช่วงขายาวแต่กระดูกสันหลังสั้น ซึ่งการปรับมุมก้มของหลังจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 ตัวคือ หนึ่งความยาวท่อบนของตัวถัง สองความยาวและความสูงของคอแฮนด์ สามคือชนิดและความกว้างของแฮนด์ที่ใช้ ซึ่งผู้ที่จะต้องเลือกใช้และปรับแต่งตามความเหมาะสมของตัวเอง [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
            สำหรับสายปั่นอาจหาคอแฮนด์ที่มีความยาวและใช้แฮนด์เสือหมอบที่ต้องก้มหลังมากมาใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการขี่ ส่วนในสาย Tick ก็อาจจะให้คอแฮนด์ขนาดสั้นติดตั้งอยู่สูงจากตัวรถโดยดการใช้แหวนรองคอหลาย ๆ ตัวแล้วใช้แฮนด์ตรง ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์จะอยู่สูงทำให้ง่ายในการเล่นท่า หรืออาจจะติดตั้งคอแฮนด์ต่ำ ๆ แต่นำแฮนด์ยกสูงมาใช้ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์ ทำให้การเล่นท่าทำได้ง่าย
            หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง ในการเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกายและการปรับแต่งรถให้ขี่ได้อย่างเหมาะสมครับ..


อนาคตเสือภูเขา 9 สปีด [จักรยาน เสือภูเขา]

|0 ความคิดเห็น
 [จักรยาน เสือภูเขา]

อนาคตเสือภูเขา 9 สปีด [จักรยาน เสือภูเขา]
ลมหนาวผ่านมาทีไร เป็นได้เสียเงินกับอะไหล่จักรยานทุกปี วลีนี้ดูจะไม่เป็นการกล่าวเกินความจริงเลย เพราะแต่ละปีในช่วงปลายปีผู้ผลิตจักรยาน และสินค้าจักรยานต่างได้ ทำการเปิดตัวสินค้าใหม่ ๆ ออกมายั่วกิเลสนักจักรยานทั่วโลก รวมถึงในบ้านเรา ในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีนี้ได้เปลี่ยนแปลงคนทั้งโลกอย่างรวดเร็ว
            ในวงการจักรยานเสือภูเขาก็เช่นเดียวกันเมื่อ 28 ปีที่แล้ว (1982) ชุดอะไหล่จักรยานเสือภูเขารุ่นแรกของโลกคือ Shimano XT เกิดขึ้นมาด้วยเฟืองหลัง 7 สปีดในสมัยนั้น ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มจำนวนเฟืองหลังให้มีมากขึ้นเป็น 8 สปีดและ 9 สปีดตามลำดับจนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2009 SRAM ผู้ผลิตอะไหล่จักรยานชื่อดังจากอเมริกาได้เปิดตัวชุดอะไหล่ SRAM XX อันเป็นชุดอะไหล่จักรยานเสือภูเขา 10 สปีดรุ่นแรกของโลก นับตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีอะไรอยู่เกิดความคาดหมายของคนทั่วไป [จักรยาน เสือภูเขา]
            Shimano ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ SRAM ก็ได้ตอบโต้การเปิดตัวชุดอะไหล่ 10 สปีดของ SRAM ในรุ่น XX ด้วยการปรุงระบบขับเคลื่อนของชุดอะไหล่ XT และ SLX เท่ากับ SRAM ในเดือนเมษายนปี 2010 ซึ่งหลักจากนั้น SRAM ก็ได้เปลี่ยนชุดอะไหล่ในค่ายให้เป็นชุดอะไหล่ในค่ายให้เป็นระบบเกียร์ 10 สปีดหมดทั้งค่าย ไม่ว่าจะเป็น X0,X9,X7  คงมีเหลือแต่อะไหล่รุ่น X5 ที่ยังคงเป็นอะไหล่ 9 สปีด และในช่วงกันยายนของปีนี้ ทางค่าย Shimano ก็ได้เปิดตัวชุดอะไหล่ Shimano รุ่น XTR โฉมใหม่สำหรับตลาดปี 2011 ซึ่งก็เป็นชุด 10 สปีด
            ถ้าถามในแง่ว่าประสิทธิภาพอะไหล่ 10 สปีดกับ 9 สปีดอะไรดีกว่ากันก็ต้องบอกว่าอะไหล่ 10 สปีดที่มาใหม่ย่อมประสิทธิภาพดีกว่าเพียงแต่ว่าอะไหล่ 9 สปีดนั้นมันได้พิสูจน์ตัวเองตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาว่าเพียงพอและพอเพียงกับการใช้งานการที่ผู้ผลิตพัฒนาเป็นระบบอะไหล่ 10 สปีดก็เพราะเป็นกลยุทธทางการตลาด นอกจากนั้นยังเป็นการปรับปรุงสินค้าให้รองรับการเพิ่มขึ้นของรถจักรยานเสือภูเขาล้อ 29 นิ้ว [จักรยาน เสือภูเขา]
            แล้วในบ้านเราใครควรใช้อะไหล่ 9 สปีดหรือ 10 สปีด คำตอบมันค่อนข้างจะชัดเจนอยู่แล้ว่าสำหรับผู้ที่จะเริ่มซื้อรถใหม่หรือประกอบรถใหม่ ควรจะเป็นผู้ที่ใช้อะไหล่ 10 สปีด ส่วนผู้ที่มีอะไหล่ 9 สปีดใช้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอะไหล่ไว้ให้ใช้ไม่ว่าจะเป็น โซ่ หรือเฟือง ผู้ผลิตยังคงมีการผลิตอะไหล่ไปอย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่งและสินค้าที่มีค้างอยู่ในท้องตลาดก็ยังพอมีให้เลือกหากันได้สักระยะเหมือนกัน การเปลี่ยนจาก 9 สปีดไปใช้ 10 สปีด เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง จึงไม่มีความจำเป็น[จักรยาน เสือภูเขา]
            ในวิกฤตก็ยังมีโอกาส เพราะขนาดบอกว่าการเปลี่ยนจากอะไหล่ 9 สปีดไปเป็น 10 สปีดเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เชื่อว่าก็ยังคงมีหลายท่านทนต่อแรงยั่วยุทั้งจากตัวเองและเพื่อน ๆ เปลี่ยนไปใช้อะไหล่ 10 สปีดอย่างแน่นอน ซึ่งตรงจุดนี้ก็เป็นโอกาสให้ผู้ที่ยังคงรักที่จะใช้อะไหล่ 9 สปีดได้หาซื้ออะไหล่ 9 สปีดมือสองราคาย่อมเยา จากความนิยมไปใช้อะไหล่ 10 สปีด การใช้อะไหล่ให้คุ้มค่าตั้งแต่แรกเริ่มดูจะเป็นสิ่งที่ให้ความคุ้มค่ามากกว่าการที่เลือกซื้ออะไหล่แบบพอใช้งานไปก่อนแล้วไปอัพเกรดทีหลัง ซึ่งนอกจากจะเป็นการลงทุนทีเดียว อย่างคุ้มค่าแล้ว ยังไม่เป็นการขาดทุนจากการเร่ขายอะไหล่ที่ถอดในราคาต่ำ ๆ เพื่อจูงใจให้คนซื้อต่อ มาถึงจุดนี้หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านที่ใช้อะไหล่ 9 สปีดมองเห็นอนาคตและทิศทางของอะไหล่ในอนาคตของ 9 สปีดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด...
[จักรยาน เสือภูเขา]


4 ม.ค. 2554

ELECTRIC BIKE จักรยานไฟฟ้าอนาคตที่มาถึงแล้ว [จักรยาน จักรยานไฟฟ้า]

|0 ความคิดเห็น
[จักรยาน จักรยานไฟฟ้า]

ELECTRIC BIKE จักรยานไฟฟ้าอนาคตที่มาถึงแล้ว [จักรยาน จักรยานไฟฟ้า]
            กระแสลดโลกร้อนดูเหมือนจะเป็นกระแสที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก วงการจักรยานเองก็เช่นเดียวกันก็ได้มีการพัฒนานำระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามาใช้งานเพื่อเป็นพาหนะที่ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนยานพาหนะที่ใช้น้ำมัน ตลาดของรถจักรยานไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรปนอกนั้นก็กระจายตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกบ้างแต่ก็ยังมีประมาณไม่มากนักทั้งนี้เพราะจักรยานประเภทนี้มักมีราคาสูงกว่ารถจักรยานปกติ
ระบบจักรยานไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองแบบคือ
            1. จักรยานไฟฟ้าแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอย่างเดียว
            2. จักรยานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าผสมกับแรงคน
ซึ่งแบบที่สองนี้จะเป็นที่นิยมมากกว่าเพราะนอกจากจะใช้ไฟฟ้าช่วยในการขับเคลื่อนแล้วหากแบตเตอรี่หมดก็ยังสามารถปั่นเหมือนจักรยานปกติได้ ซึ่งจักรยานประเภทนี้ก็ยังแบ่งได้อีกสามชนิดตามการขับเคลื่อนได้ดังนี้
            2.1 จักรยานแบบขับเคลื่อนด้วยการติดตั้งมอเตอร์ที่ดุมหน้า  จักรยานแบบนี้จะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะว่ามีการดัดแปลงน้อยที่สุดและติดตั้งไม่ยุ่งยากเพียงแค่เปลี่ยนดุมหน้าที่เป็นมอเตอร์เท่านั้นก็ใช้งานได้แล้ว ซึ่งวิธีการใช้งานก็ขี่เหมือนจักรยานปกติหากผู้ขี่ต้องการผ่อนแรง ก็แค่ทำการเปิดมอเตอร์ที่ดุมหน้าให้มอเตอร์ทำงานหมุน ช่วยลดแรงปั่น ข้อดีอีกประการหนึ่งของจักรยานแบบนี้คือ สามารถใช้เกียร์ของจักรยานได้หลายเกียร์ เพราะว่ามีการติดตั้งมอเตอร์แค่ดุมหน้า ในส่วนดุมหลังก็ใช้ของเดิมทำให้ยังมีเกียร์ให้ใช้งานได้หลายเกียร์เหมือนเดิม
            2.2 จักรยานแบบขับเคลื่อนด้วยการติดตั้งมอเตอร์ที่ดุมหลัง  จักรยานแบบนี้ได้รับความนิยมตามมาเป็นอันดับสอง เพราะสามารถดัดแปลงจากจักรยานปกติได้ง่ายเพียงแค่ไปหาซื้อชุดดุมล้อหลังมอเตอร์พร้อมชุดแบตเตอรี่มาติดตั้งในจักรยานคันเดิมก็สามารถใช้งานเป็นจักรยานกึ่งไฟฟ้าได้แล้ว ข้อเสียของจักรยานระบบนี้ก็คือ เนื่องจากมีการติดตั้งมอเตอร์ที่ดุมหลังทำให้สามารถติดตั้งเฟืองหลังได้แค่เฟืองเดียว เป็นผลให้สามารถช้างานได้เกียร์เดียว หากแบตเตอรี่หมดก็ไม่มีเกียร์ช่วยทดแรงในการปั่น
            2.3 จักรยานแบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์อยู่ที่ชุดจาน  จักรยานแบบนี้จะมีการติดตั้งมอเตอร์ไว้ที่กลางตัวถังของจักรยานแล้วชุดมอเตอร์นี้ก็ไปขับเคลื่อนให้ชุดใบจานหมุนเพื่อที่จะได้ขับเคลื่อนเฟืองหลังทันที ซึ่งจักรยานแบบนี้เป็นที่นิยมน้อยที่สุด เพราะต้องซื้อใหม่ทั้งคันซึ่งมีราคาสูงไม่เหมือนจักรยานสองแบบแรกที่สามารถดัดแปลงได้ จากรถคันเดิมทำให้ประหยัดเงินไปได้เยอะ
            ทิศทางของจักรยานไฟฟ้าเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น สังเกตได้จาก Shimano ผู้ผลิตอะไหล่จักรยานชั้นนำของโลกได้ออกผลิตภัณฑ์ชุดอะไหล่ STEP ซึ่งเป็นชุดอะไหล่จักรยานไฟฟ้า โดยใช้ชุดอะไหล่เกียร์ดุมที่มีอยู่เดิม โดยเพิ่มดุมหน้ามอเตอร์ไฟฟ้าชุดแบตเตอรี่ ชุดชาร์ทไฟ และชุดควบคุมการขับเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไป
            ในอนาคตแนวโน้มการใช้จักรยานไฟฟ้าก็คงจะมีกระแสความนิยมไปทั่วโลก

การฝึกพื้นฐานการขี่รถดาวน์ฮิลล์ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

|0 ความคิดเห็น
 [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

การฝึกพื้นฐานการขี่รถดาวน์ฮิลล์ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
            เนื่องจากเส้นทางของการขี่จักรยานดาวน์ฮิลล์ส่วนใหญ่จะเป็นการขี่ลงภูเขาตามชื่อ ประเภทการขี่ตรง ๆ สิ่งที่เป็นพื้นฐานอย่างแรกที่เราอยากนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ทราบก็คือ การรักษาสมดุลของร่างกายตามทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ พูดแบบนี้หลาย ๆ ท่านอาจจะงง ปกติเวลาเราขี่จักรยานจะรักษาสมดุลซ้าย-ขวา เพื่อไม่ให้รถล้มใช่ไหมครับ แต่ขี่ดาวน์ฮิลล์นั้นทิศทางการเคลื่อนที่ของรถจะเป็นทิศทางการดิ่งลงแนวต่ำ ดังนั้นจึงจะต้องมีการรักษาสมดุลของรถตามการเคลื่อนที่ของรถ กล่าวคือหากเราขี่รถบนพื้นราบหลังเราจะตั้งตรงให้น้ำหนักตัวกระจายไปทั้งสองล้ออย่างเท่ากัน แต่ในกรณีการขี่ลงภูเขาหากเราไปขี่แบบนั้นจะทำให้รถม้วนหน้า เพราะว่าทางที่ไม่ได้ราบระดับแต่เป็นการขี่บนทางลาดเอียง หากเรายังขี่โดยลำตัวตั้งตรงน้ำหนักกระจายลงบนทั้งสองล้อเท่ากันก็จะทำให้รถคว่ำได้ง่าย ๆ การขี่ลงภูเขาไม่ให้รถคว่ำม้วนหน้า สามารถทำได้โดยการถ่ายน้ำหนักตัวไปล้อหลังของรถ โดยการหย่อนก้น ซึ่งก็สามารถฝึกได้ง่าย ๆ ดังนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
1. ขี่รถมาปกติ แล้วก็ปล่อยให้รถไหลวางตำแหน่งเท้าให้บันไดขนานพื้น ให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหลัง จากนั้นก็ยกก้นขึ้นจากเบาะ
2. เกร็งแขนและขาเพื่อเลี้ยงทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ แล้วค่อยหย่อนก้นลงต่ำด้านหลังเบาะ
3. ปล่อยให้รถไหลตรงไปเรื่อย ๆ ซักพักแล้วค่อยดึงตัวกลับไปนั่งบนเบาะเหมือนเดิม
            ในการฝึกท่านี้แรก ๆ อาจจะทำได้นิดเดียวครับ เพราะเป็นที่ใช้กำลังของขาและแขนมาก สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มฝึก แนะนำให้หย่อนก้นไปด้านหลังนิดเดียวก็พอ จากนั้นจึงค่อย ๆ หัดหย่อนให้มากขึ้น และเลี้ยงตัวให้นานขึ้น การฝึกท่านี้ควรจะทำควบคู่กับการยกเวทด้วย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงแขน [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
            หลังจากฝึกหย่อนก้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฝึกขี่ลงเนินเล็ก ๆ เพื่อให้เป็นการฝึกทักษะให้เกิดความเคยชินกับการขี่ลงเนินซึ่งก่อนจะฝึกขี่ลงเนินใด ๆ ก่อนทำการฝึกควรเดินสำรวจเส้นทางก่อนฝึกจะเป็นการดี เผื่อท่านอาจจะเจอตอไม้ จะได้ระวังไม่ให้ขี่ไปชนตัวไม้ดังกล่าว ส่วนขั้นตอนการฝึกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
1. ขี่รถมาที่ยอดเนิน ก่อนถึงยอดเนินก็ยกขึ้นจากเบาะเพื่อที่จะมองเส้นทางได้ชัด
2. ขณะที่ล้อหน้าเริ่มลงเนินไปแล้ว ก็ให้ทำการหย่อนก้นไปด้านหลังเหมือนที่ฝึก
3. เลี้ยงตัวให้รถไหลลงเนินอย่างช้า ๆ โดยการเลียเบรกช่วย เพื่อเป็นการฝึกการทรงตัวเวลาลงเนินและฝึกทักษะการใช้เบรกเพื่อรักษาการทรงตัวไปในตัว
4. เมื่อรถลงสุดเนินก็กลับมานั่งขี่บนเบาะเหมือนเดิม
            นี่คือเทคนิกการขี่ดาวน์ฮิลล์ขั้นพื้นฐาน ที่ต้องนำไปใช้งานกันบ่อยมากที่สุดครับ..

3 ม.ค. 2554

Wagon Wheels ล้อใหญ่ได้เปรียบหรือไม่ [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]

|0 ความคิดเห็น
[จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]

 Wagon Wheels ล้อใหญ่ได้เปรียบหรือไม่ [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]
            หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับการโต้แย้งมากที่สุดในตอนนี้ของจักรยานเสือภูเขาคือ วงล้อขนาด 29 นิ้ว จะให้ผลประโยชน์ที่สำคัญของการขี่ได้หรือไม่ อย่างไร หรือมันจะเป็นเพียงภาระของนักปั่นเท่านั้น  เราจะช่วยนำเอาการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ที่เกินจริงออกไปและจะนำความจริงมาเสนอให้คุณเห็น
            ทุก ๆ ปีจะเห็นพวกมันเพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องตลาด และออกมามีบทบาทบนเส้นทาง ตัวแทนจำหน่ายของดีลเลอร์ในแถมอเมริการวมทั้งฝั่งอังกฤษ ซึ่งจะมีการจำหน่ายวงล้อขนาดใหญ่นี้จนถือว่าเป็นสินค้าหลักของแบรนด์จักรยานทั้งหมดในช่วงปี 2010 และตอนนี้ผู้แข่งขันระดับโลก ได้เริ่มที่จะเอาชนะกันด้วยวงล้อจักรยานเสือภูเขาที่มีขนาดใหญ่ บางที่นี่อาจจะเป็นเวลาที่แจ้งให้ทราบถึงการมาของมันแล้วก็ได้
ขนาดเป็นเรื่องสำคัญ
            ย้อยกลับไปในปี 1986 Dr.Alex Moulton มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าที่มีล้อขนาดเล็ก สะดวกสบายในการใช้งานของเขา มันเป็นล้อขนาด 20 นิ้ว แต่โชคร้ายที่ Moulton ATB มีข้อบกพร่องขั้นที่พื้นฐานพอสมควร ล้อขนาด 20 นิ้วของมันไม่เหมาะที่จะใช้งานในสภาพสนามที่ต้องมีการกระแทกมาก ๆ ถ้าคุณเคยขี่ BMX บนเส้นทางจักรยานเสือภูเขา คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เป็นประสบการณ์ที่ดี มันยากที่จะใช้ขี่บนพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ลองคิดภาพถึงมันดู มุมตื้นของล้อที่ใหญ่กว่าสามารถขี่ข้ามผืนดินที่ไม่เรียบขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น แต่พวกเราสามารถสันนิษฐานได้หรือไม่ว่าล้อที่ใหญ่กว่าจะขี่ข้ามพื้นดินที่ขรุขระได้เร็วขึ้น มันไม่เสมอไป [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]
            ในทางทฤษฎีทุก ๆ รูปแบบ รวมถึงยางขนาดใหญ่ ทำให้ผืนดินดูเหมือนราบเรียบ แต่การปรับติดตั้งให้ล้อมีขนาดประมาณ 29 นิ้ว นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าขนาด 26 นิ้ว มันไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ารูปพอดีโดยปราศจากการออกแบบเฟรมใหม่ และล้อที่ใหญ่มักจะต้องการการติดตั้งรูปแบบเรขาคณิตที่ต่างกันออกไปเพื่อที่จะทำให้จักรยานเสือภูเขา มีลักษณะที่ดีที่สุด ล้อที่ใหญ่และยางที่ใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจะเร่งความเร็วได้ไม่ดีพอ และในขณะเดียวกัน มันมีโอกาสที่จะเกิดการกระแทกกับขอบหินได้ง่ายกว่า  และเมื่อความเร็วลดลงมันก็ยากที่จะเร่งความเร็วด้วยอัตราทดการปั่นที่กว้างกว่าล้อเล็ก
            ตลาดของจักรยานเสือภูเขาตอนนี้ถูกครอบครองโดยล้อขนาด 26 นิ้ว พวกมันดีสำหรับผู้ขี่ที่มีรูปร่างขนาดปานกลางยางที่ใหญ่ที่มีอากาศอัดแน่นสามารถมีความใหญ่ได้ถึง 27.5 นิ้ว แต่บางทีมันไม่พอดีกับโช๊คหน้าขนาดปกติ หรือระหว่าง Chain stay จริง ๆ แล้วการทำให้ยางโปรไฟล์สูงพอดีกับล้อขนาด 26 นิ้ว จะทำให้คุณได้ไอเดียว่าล้อขนาด 27.5 นิ้ว กับยางโปรไฟล์ปกติจะให้ความรู้สึกเป็นครึ่งทางระหว่าง 26 นิ้ว และ 29 นิ้ว บางคนพูดว่ามันเป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบมันให้ความคล่องแคล่วว่องไวที่พวกเราเคยมี แต่กับการขี่ที่ราบรื่นค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป
            ล้อขนาด 27.5 นิ้วสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบา และแข็งแรงกว่า 29 นิ้ว และรูปร่างของพวกมันก็ดูประณีตเรียบร้อยกว่า ไม่มีข้อสงสัยตัวสูง ๆ เมื่อกระแสของ 29 นิ้วออกมาในครั้งแรก พวกมันโชว์ศักยภาพออกมาแต่ถูกขัดขวางโดยตัวเลือกที่จำกัดของโช๊คหน้า และรูปทรงเรขาคณิตที่พยายามเลียนแบบ 26 นิ้ว Gary Fisher ผู้ที่ทำการวัดแบบ Genesis ในยุคต้น ๆ ได้ทำการวัดได้ แต่มันก็เป็นเพียงสองสามปีสุดท้ายที่นักออกแบบได้เริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างไอเดียรูปทรงเรขาคณิต 26 นิ้วกับ 29 นิ้วจริง ๆ มันไม่ใช่แค่ลงไปดึง หรือบิด ดัดที่มุมองศาต่าง ๆ ของโช๊ค ท่อด้านบนและ Chain Stay ด้านล่าง ทั้งหมดมีหน้าที่ช่วยค้ำ และทำให้เกิดเสถียรภาพโดยรวม และทำให้รู้สึกว่าเรากำลังขี่อยู่บนจักรยานเสือภูเขา ที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ
            คนอเมริกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายในการแข่งมาราธอน XC ปี 2009 และ 2010  พวกเค้าชนะการแข่งขันด้วยจักรยานเสือภูเขา ที่ใช้วงล้อ 29 นิ้ว และผู้แข่งหลายคนในทีม Trek ขี่ได้ดีขึ้นตั้งแต่เปลี่ยนมาขี่บนล้อ 29 นิ้ว รวมทั้ง Todd Wells ชนะสองรายการในการแข่งขันที่อเมริกาด้วยรถ Specialized Epic 29er โมเดล 2011 เมื่อเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา
            มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาล้อ 29 นิ้วโดยทั่วไปจะให้ความรู้สึกมั่นคง มีเสถียรภาพมากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และมีด้านหลังที่ยาวกว่า  แต่มันมีปัจจัยความมั่นคงอื่น ๆ นั่นก็คือ เพลาของล้อ 29 นิ้วถึงแม้ว่าจะสูงกว่า 26 นิ้วอยู่ 1.5 นิ้ว แต่เมื่อคุณนั่งให้อยู่ต่ำกว่าระหว่างเพลาของล้อ 29 นิ้ว มันทำให้คุณรู้สึกถึงจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของตัวเองดีกว่าล้อขนาด 26 นิ้วคนขี่จะมีความมั่นคงมากกว่า เพราะน้ำหนักของร่ายกายคนเราอยู่บนแกนที่อยู่ต่ำกว่าแกนของล้อจักรยานนั่นเอง

บทสรุปข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของล้อขนาด 29 นิ้ว [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]
ข้อได้เปรียบ การขับเคลื่อนอย่างราบรื่น และเร็วเหนือหลุมบ่อ และองศาของการขึ้นไปกระแทกที่ขอบ เกิดแรงกระทำอย่างสบาย ๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นในการขี่ คุณจะได้รับแรงฉุดมากขึ้น เป็นผลมาจากกการที่ยางของล้อจักรยานเสือภูเขา อยู่ติดกับพื้นดินมากขึ้น แต่เฉพาะในกรณีที่คุณใช้ประโยชน์จากปริมาณของลมที่มากขึ้น และทำให้ล้อนุ่มกว่าวงล้อ 26 นิ้ว การขับเคลื่อนที่แรงมากขึ้นด้วยความเร็วสูงทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และศูนย์เพลาข้อเหวี่ยง ประกอบกับท่านั่งที่ต่ำกว่าแกนกลางเพลาล้อเมื่อเปรียบกับล้อ 26 นิ้วที่คล้ายกัน เหตุผลหลักที่ห่วง หรือขอบล้อขนาดใหญ่กว่าสามารถหมุนไปได้อย่างราบเรียบกว่าคือมุมของเส้นโค้ง ลองหมุน Hula Hoop ดู หลังจากนั้นลองทำแบบเดียวกันกับวงแหวนผ้าเช็ดปาก มันมีความแตกต่างกัน แต่คุณก็ได้ไอเดียจาก ทั้งสองอย่างไปมุมตื้นของส่วนโค้งมันไม่ได้รับผลกระทบจากการกระเทือน เพราะมันจะข้ามให้พ้น ช่องว่างของรูปแบบขอบที่ยาก ๆ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมขี่ BMX ลงตามขั้นบันไดถึงยากกว่าบน จักรยานเสือภูเขา
ข้อเสียเปรียบ มันยากที่จะเร่งความเร็วจากความเร็วช้า ดังนั้นการกระแทกจากสาเหตุต่าง ๆ มันมีผลให้ความเร็วลดลงคุณควรขี่ให้ช้าลง เนื่องจากความต้องการ หรือความพยายามที่จะให้ความเร็วกลับขึ้นมาหลังจากการเบรกมันยากที่จะทำ Manual Wheelies เนื่องจากเพลาล้อที่สูงกว่า มันยากที่จะสร้างล้อที่ใหญ่ที่มีความแข็งแรงมากสำหรับการขี่ Freeride และการขี่  Downhill
            และนี่คือทั้งหมดก่อนที่คุณจะเริ่มพิจารณาหันมาใช้ล้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อย่าลืมข้อดีข้อด้อยของ Chainstay ที่ยาวขึ้น ระยะฐานล้อที่ยาวขึ้น และวิธีที่ยางสัมผัสกับพื้นสนาม มันมีอิทธิพลต่อจักรยานเวลาอยู่บนพื้นดินอย่างไร ไอเดียองค์ประกอบต่าง ๆ ของ 29 นิ้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตของโลกจักรยานเสือภูเขา ยังคงมีการคิดค้นอยู่อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่คล้ายกันกับความนิยมของล้อ 26 นิ้ว..
[จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]


New Manitou 2011 : The Way Of Life Style [Manitou]

|0 ความคิดเห็น
Manitou
New Manitou 2011 : The Way Of Life Style [Manitou]
            
        โช๊ค Manitou 2011 โฉมใหม่ เทคโนโลยีใหม่และความหลากหลายที่มีอย่างไม่จำกัดไม่ว่าจะเป็น Manitou R7 MRD, R7 Pro สำหรับ Cross Country Minute Pro 100,120 mm. สำหรับ Free Ride และ Circus Exper สำหรับ Dirt Bike ที่ต้องทึ่งกับการเปลี่ยนแปลง มั่นใจได้ในคุณภาพของการทำงานอย่างแน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเสริมศักยภาพให้สูงขึ้นจนคุณต้องประหลาดใน Manitou ที่เคยสร้างชื่อเสียงในเรื่องการออกแบบดีไซน์ในระดับผู้นำมาในอดีต วันนี้ได้เข้ามาร่วมอยู่ในค่ายบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯ HAYES BICYCLE GROUP ซึ่งบริษัทแม่มีนโยบายที่จะให้ Manitou  กลับมาใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือชั้น และทัดเทียมกับ Brand ยักษ์ใหญ่ได้อย่างสบายในราคาที่ไม่ต้องจ่ายหนัก
- Manitou R7 MRD
            พบการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในโช๊ค Manitou R7 MRD เริ่มตั้งแต่ Crown แบบ Forged Deep Bore Hollow Crown ที่ลดน้ำหนักลง พร้อมเพิ่มความทนทานต่อแรงบิดตัว (Stiffness) อันเป็นศัตรูตัวฉกาจของนักขี่ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของ Manitou เท่านั้น Manitou ยังนำเทคโนโลยี TPC และ Absolute+ มาในในรุ่น R7 MRD ที่ตอบสนองแรงกระแทกจากด้านล่างเท่านั้น จะไม่ยุบตัวขณะที่ผู้ขับขี่กดบันไดลง โดยมีช่วยยุบที่ 100 มม. ขาโช๊คทำจากวัสดุอลูมิเนียมเกรด 7050 Butted ลดน้ำหนักเฉพาะบางส่วนที่ไม่จำเป็นแต่ยังคงความหนาในส่วนที่ต้องการไว้ มี Option Milo Lockout ให้เลือก น้ำหนักเพียง 1.33 kg. และ 1.5 kg. สำหรับ Manitou รุ่น R7 Pro มาพร้อมดีไซน์ใหม่ล่าสุด
- Manitou Minute Pro
            ตามด้วยรุ่น Minuite  ที่นับว่าเป็นหนึ่งในโช๊คที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในวงการ MTB Free Ride, All Mountain Enduro ได้มีการนำระบบ TPC และ Absolute พร้อม Crown แบบ Forged Deep Bore Hollow Crown เพื่อลดน้ำหนักลง เข้ามาใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบ Bottom out ช่วยควบคุมการทำงานของ Spring ให้คืนตัวอย่างเหมาะสมสำหรับรุ่นนี้ มีช่วงยุบที่ 100,120 มม. ทำจากวัสดุอลูมินั่มเกรด 7050 Butted เสริม  Option Milo Lockout ให้เลือกใช้สะดวกในการควบคุมความแม่นยำของการใช้งาน
- Manitou Circus Expert
            น้องใหม่มาแรงกับรุ่น Circus Expert โช๊คสำหรับชาว Dirt Jump ดีไซน์แบบโดน ๆ โดย Manitou ได้นำ Concept จากตัวตลกในงานแสดงละครสัตว์มาเปลี่ยนเป็นลายสนุก ๆ มากมายให้ชาว Dirt Jump เลือกสรร นอกจากลวดลายโดยใจแล้วคุณภาพไม่แพ้กัน เนื่องจากเป็นโช๊คสำหรับชาว Dirt Jump ที่ต้องการการตอบสนองกับการเล่นแบบโหด ๆ Manitou จึงผลิตระบบ Air Spring พิเศษอย่างระบบ Act Air แม้แต่ในรุ่นนี้ก็ยังนำระบบ TPC และ Absolute+ เข้ามาใช้และมีการพัฒนา Casting ให้มีความทนทานขึ้น พิเศษที่ Crown เป็นแบบ I-Beam Style ซึ่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงและทนทานมากขึ้น..

2 ม.ค. 2554

# จักรยานเสือภูเขา : การเลือกใช้ยางให้เหมาะกับเส้นทาง

|0 ความคิดเห็น
จักรยานเสือภูเขา เสือหมอบ
จักรยานเสือภูเขา : การเลือกใช้ยางให้เหมาะกับเส้นทาง
          การเลือกใช้ยางให้เหมาะกับสภาพของเส้นทางและรูปแบบของการขี่จักรยานเสือภูเขา แบบครอสคันทรี่ต้องเจอกับสภาพหลายรูปแบบด้วยกัน บางเส้นทางอาจมีสภาพแบบเดียวกันตลอดเส้นทาง แต่บางเส้นทางอาจมีสภาพหลายแบบปนกันไม่ว่าจะเป็นทางเปียก ทางแห้ง ทางดิน ทางลูกรัง ทางยางมะตอย ทางหิน ทางทราย คงไม่มียางรุ่นไหนที่สามารถใช้ได้ดีกับทุกสภาพเส้นทาง ด้วยเหตุนี้ทางผู้ผลิตยางจึงได้ทำการออกแบบยางเพื่อรองรับกับการใช้งานได้ทำการออกแบบยางเพื่อรองรับการใช้งานในสภาพทางต่าง ๆ ให้ผู้ใช้เป็นคนเลือกใช้ยางให้เหมาะสมกับสภาพทางไม่ว่าจะเป็นแบบมียางในหรือไม่มียางก็ตาม ฉะนั้นเราจึงต้องรู้ว่ายางแต่ละรุ่นถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับสภาพทางอย่างไร เพื่อให้เราสามารถขี่ผ่านเส้นทางไปได้อย่างสนุกและปลอดภัย [จักรยานเสือภูเขา เสือหมอบ]
            ยางแต่ละรุ่นจะถูกออกแบบมาให้ใช้ดีที่สุดในสภาพทางรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรืออย่างมากก็ 3 รูปแบบ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ายางแบบไหนใช้กับสภาพทางไหน ขั้นแรกก็ให้อ่านจากฉลากที่ติดอยู่ที่ยาง โดยปกติแล้วฉลากนี้จะบอกคุณสมบัติต่าง ๆ ของยางเช่น เหมาะกับทางแห้งหรือทางเปียก ดินแข็งหรือดินร่วน หรือหินเป็นต้น ซึ่งดอกยางและเนื้อยางจะมีลักษณะต่างกันด้วย เพื่อให้ง่ายขึ้นผมขอแบ่งสภาพของเส้นทาออกเป็น  6 ประเภท [จักรยานเสือภูเขา เสือหมอบ]
1.  ทางแห้งเรียบลาดยาง (ยางมะตอย)  ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกยางใหญ่ไม่ถี่มากหรือมีดอกอยู่ช่วงกลางหน้ายาง หน้าสัมผัสจะน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน จึงทำให้ยางแบบนี้ไม่ถูกกับน้ำหรือทางเปียก หน้ายางควรมีขนาดไม่ต่ำหว่า 1.90 ไม่เกิน 2.00  ยกเว้นทางเรียบตลอดเส้นทางสามารถใช้ยางดอกเรียบ(สลิก) ที่มีขนาดตั้งแต่ 1.00 ได้
2.  ทางดินแข็ง  ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกเล็กค่อนข้างถี่ เพื่อกระจายหน้าสัมผัสให้ยึดเกาะกับผิวทาง นอกจากนี้ยังมีดอกที่คิ้วยางเพื่อช่วยในการยึดเกาะเวลาเลี้ยว ยางแบบนี้สามารถใช้ในทางที่ผิวทางแข็งแต่เปียกได้ ไม่เหมาะกับทางที่ผิวทางนิ่มและเปียก เพราะดอกยางที่ถี่จะทำให้ดินติดและออกยาก
3.  ทางดินหรือลูกรังร่วน  ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกยางค่อนข้างสูงเพื่อใช้จิกลงไปในผิวทาง นอกจากนี้ยังมีดอกที่คิ้วยางค่อนข้างถี่เพื่อช่วยในการตะกุยและการควบคุมขณะเลี้ยว ยางประเภทนี้จะมีคุณสมบัติร่วมกับยางที่ใช้ในทางประเภทอื่นด้วยคือทางหินและทางกรวด
4.  ทางหิน (เป็นก้อน)  ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกยางเป็นปุ่มใหญ่ค่อนข้างสูงทั้งกลางหน้ายางและคิ้วยาง เพื่อช่วยในการยึดเกาะ ร่องระหว่างดอกยางจะค่อนข้างห่างช่วยในการไต่ไปตามก้อนหินที่ตะปุ่มตะป่ำ เนื่องจากทางประเภทนี้มักมีไม่ตลอดทั้งเส้นทาง จึงเป็นเพียงคุณสมบัติรองของยางที่ใช้ในประเภทอื่น ๆ เช่น ทางเลน ทางกรวด
5.  ทางกรวด  ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกยางเป็นปุ่มค่อนข้างสูงเป็นร่องห่างกัน เพื่อใช้ตะกุยผ่านก้อนกรวด มีดอกที่คิ้วยางถี่บ้างห่างบ้าง ขึ้นอยู่กับว่ายางนั้นมีคุณสมบัติร่วมที่ใช้ได้กับทางประเภทอื่นสามารถใช้ดอกยางแบบเดียวกับทางหินและทางเลนได้
6.  ทางโคลนหรือเลน ยางที่ใช้กับทางประเภทนี้จะมีดอกยางกว้างหรือเป็นปุ่มสูง เพื่อใช้จิกและตะกุยอีกทั้งดอกยางยังห่างเพื่อช่วยในการสลัดหรือรีดเลนออกจากยาง หน้ายาจะมีขนาดไม่ใหญ่ เพื่อลดแรงดูดจากเลนที่เหนียว หน้ายางจะมีขนาด 1.70 – 1.75

ในการเลือกใช้ยางควรดูทั้งคุณสมบัติหลักและคุณสมบัติรอง เพื่อให้พร้อมรับกับสภาพทางที่หลากหลาย เมื่อมียางที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละเส้นทางแล้ว เราก็ควรที่จะรู้จักเลือกใช้ยางให้ตรงกับสภาพเส้นทางที่เราจะไป เพราะจะทำให้เราขี่ได้อย่างราบรื่นสนุกกับเส้นทางแล้วแถมยังปลอดภัยขึ้นอีกด้วยครับ...  [จักรยานเสือภูเขา เสือหมอบ]


บทความที่เกี่ยวข้อง :

>> ประเภทของการเลือกใช้ยางเสือภูเขา


บทความจักรยานที่เกี่ยวข้อง